คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ริบของกลาง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 468 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1673/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางคดีศุลกากร: ระยะเวลาเรียกร้องคืนของกลางต่างกันเมื่อมี/ไม่มีการฟ้องคดีอาญา
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 24 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 มาตรา 3 บัญญัติว่า "สิ่งใดๆ อันจะพึงต้องริบตามพระราชบัญญัตินี้พนักงานศุลกากร พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจยึดในเวลาใดๆ และ ณ สถานที่ใดๆ ก็ได้
สิ่งที่ยึดไว้นั้น ถ้าเจ้าของหรือผู้มีสิทธิไม่มายื่นคำร้องเรียกเอาภายในกำหนดหกสิบวันสำหรับยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิด สามสิบวันสำหรับสิ่งอื่นนับแต่วันยึด ให้ถือว่าเป็นสิ่งของที่ไม่มีเจ้าของ และให้ตกเป็นของแผ่นดิน" นั้น ใช้บังคับเฉพาะกรณีการร้องขอคืนของกลางที่ถูกยึดโดยไม่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลเท่านั้น หากพระราชบัญญัติศุลกากรฯประสงค์จะใช้บังคับแก่กรณีที่ได้มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลด้วย ก็คงจะได้บัญญัติกำหนดระยะเวลาเรียกร้องคืนของกลาง "นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด" ไว้ดังเช่นที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1327 วรรคแรก หากถือว่าของกลางตกเป็นของแผ่นดินแล้วพนักงานอัยการโจทก์ก็ไม่จำต้องร้องขอให้ศาลพิพากษาริบของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินแล้วให้ยกเป็นของแผ่นดินอีก
มาตรา 17 แห่งประมวลกฎหมายอาญาได้บัญญัติให้ใช้บทบัญญัติอันเป็นหลักทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ในภาค 1 ของประมวลกฎหมายอาญานี้ ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย เว้นแต่กฎหมายนั้นจะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ส่วนพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ดังกล่าวก็มิได้บัญญัติ เกี่ยวกับการร้องขอคืนของกลางที่มีตัวผู้ต้องหาและมีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลไว้ด้วย ฉะนั้นในคดีที่ได้มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลและศาลพิพากษาสั่งริบเรือของกลางที่ใช้ในการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 32 ต้องถือว่าเป็นการริบทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 วรรคแรก ผู้มีสิทธิเรียกร้องเอาเรือของกลางคืนได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ไม่ขัดกันกับพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 24 ซึ่งแก้ไขโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 มาตรา 3 เพราะใช้บังคับต่างกรณีกัน ดังนี้จะนำพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 120 ซึ่งบัญญัติไว้ใจความว่า เมื่อใดพระราชบัญญัติศุลกากรแตกต่างกับบทกฎหมายอื่นให้ยกเอาบทบัญญัติในพระราชบัญญัติศุลกากรขึ้นใช้บังคับมาบังคับในกรณีที่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลไม่ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางในความผิดศุลกากร: ศาลมีอำนาจพิจารณาคืนของกลางให้เจ้าของได้ แม้คดีถึงที่สุดแล้ว โดยอาศัยหลักประมวลกฎหมายอาญา
ศาลลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13)พ.ศ.2499 มาตรา 4(คือมาตรา 27 ทวิ) ฐานพาเอาของที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นของนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษี ด้วยการพาจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งนั้น เป็นความผิดขึ้นใหม่อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละอย่างกันความผิดฐานนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษีตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2467 มาตรา 27 ซึ่งมีบัญญัติให้ลงโทษไว้แต่เดิม และมีมาตรา 32 เป็นบทบัญญัติให้ริบของกลางในความผิดฐานนั้น ฉะนั้น มาตรา 32 ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ริบของกลางที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยไม่เสียภาษีจึงมิใช่เป็นบทริบทรัพย์ในความผิดตามมาตรา 27 ทวิ เพราะเป็นความผิดคนละอย่าง การริบทรัพย์ตามมาตรา 27 ทวิ มิได้มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากร จึงอยู่ในบังคับแห่งหลักว่าด้วยการริบทรัพย์ทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 เมื่อการริบทรัพย์ในกรณีแห่งความผิดของจำเลยเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 แล้ว การขอคืนทรัพย์ของกลางในคดีนี้ผู้ร้องก็ย่อมร้องขอคืนได้ภายใน 1 ปีนับแต่วันคดีถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 ด้วย
คดีเดิมศาลพิพากษาให้ริบของกลางตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469 มาตรา 32 และคดีถึงที่สุดไปแล้ว คำพิพากษาในคดีซึ่งมีอยู่แล้วแต่เดิมนั้นไม่ผูกพันผู้ร้อง ซึ่งร้องขอคืนของกลางเพราะเป็นคนภายนอก ศาลย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15-16 และ 17/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางในความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร การพิจารณาตามประมวลกฎหมายอาญา และสิทธิขอคืนของกลาง
ศาลลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13)พ.ศ.2499 มาตรา 4(คือมาตรา 27 ทวิ).ฐานพาเอาของที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นของนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษี ด้วยการพาจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งนั้น. เป็นความผิดขึ้นใหม่อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละอย่างกันความผิดฐานนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษีตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2467 มาตรา 27. ซึ่งมีบัญญัติให้ลงโทษไว้แต่เดิม และมีมาตรา 32 เป็นบทบัญญัติให้ริบของกลางในความผิดฐานนั้น. ฉะนั้น มาตรา 32 ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ริบของกลางที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร.โดยไม่เสียภาษี.จึงมิใช่เป็นบทริบทรัพย์ในความผิดตามมาตรา27 ทวิ. เพราะเป็นความผิดคนละอย่าง การริบทรัพย์ตามมาตรา 27 ทวิ. มิได้มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากร.จึงอยู่ในบังคับแห่งหลักว่าด้วยการริบทรัพย์ทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 เมื่อการริบทรัพย์ในกรณีแห่งความผิดของจำเลยเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 แล้ว. การขอคืนทรัพย์ของกลางในคดีนี้ผู้ร้องก็ย่อมร้องขอคืนได้ภายใน 1 ปีนับแต่วันคดีถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 ด้วย.
คดีเดิมศาลพิพากษาให้ริบของกลางตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469 มาตรา 32 และคดีถึงที่สุดไปแล้ว. คำพิพากษาในคดีซึ่งมีอยู่แล้วแต่เดิมนั้นไม่ผูกพันผู้ร้อง. ซึ่งร้องขอคืนของกลางเพราะเป็นคนภายนอก ศาลย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นได้. (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15-16 และ 17/2512).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางและการคืนราคาข้าวที่จำหน่ายแล้วในคดีการค้าข้าวที่ไม่ปฏิบัติตามประกาศพนักงานเจ้าหน้าที่
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยไม่ปฏิบัติตามประกาศพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งให้ผู้ประกอบการค้าข้าวทำรายงานการค้าข้าวประจำวันให้เสร็จสิ้นในวันรุ่งขึ้น และคำขอตามฟ้องส่วนหนึ่งขอให้สั่งคืนหรือใช้ราคาข้าวจำนวนที่จำเลยได้จำหน่ายไปเสียก่อนแล้ว เมื่อปรากฏว่าข้าวจำนวนนี้จำเลยได้จำหน่ายไปแล้ว ก็ไม่มีข้าวที่ศาลจะสั่งริบได้ และจึงไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปว่าจะสั่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาข้าวจำนวนนี้แก่แผ่นดินตามคำขอของโจทก์ได้หรือไม่ด้วย (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางและการคืนราคาข้าวในคดีละเมิดกฎหมายการค้าข้าว: ศาลฎีกาตัดสินว่าการริบของกลางต้องมีเหตุผลและข้าวที่จำหน่ายไปแล้วไม่ต้องคืนราคา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยไม่ปฏิบัติตามประกาศพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งให้ผู้ประกอบการค้าข้าวทำรายงานการค้าข้าวประจำวันให้เสร็จสิ้นในวันรุ่งขึ้น และคำขอตามฟ้องส่วนหนึ่งขอให้สั่งคืนหรือใช้ราคาข้าวจำนวนที่จำเลยได้จำหน่ายไปเสียก่อนแล้ว เมื่อปรากฏว่าข้าวจำนวนนี้จำเลยได้จำหน่ายไปแล้ว ก็ไม่มีข้าวที่ศาลจะสั่งริบได้ และจึงไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปว่าจะสั่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาข้าวจำนวนนี้แก่แผ่นดินตามคำขอของโจทก์ได้หรือไม่ด้วย(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางและการคืนราคาข้าวในคดีการค้าข้าวที่ไม่ปฏิบัติตามประกาศเจ้าหน้าที่ ศาลฎีกาตัดสินให้คืนของกลางและยกคำขอคืนราคาข้าวที่จำหน่ายไปแล้ว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยไม่ปฏิบัติตามประกาศพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งให้ผู้ประกอบการค้าข้าวทำรายงานการค้าข้าวประจำวันให้เสร็จสิ้นในวันรุ่งขึ้น. และคำขอตามฟ้องส่วนหนึ่งขอให้สั่งคืนหรือใช้ราคาข้าวจำนวนที่จำเลยได้จำหน่ายไปเสียก่อนแล้ว. เมื่อปรากฏว่าข้าวจำนวนนี้จำเลยได้จำหน่ายไปแล้ว. ก็ไม่มีข้าวที่ศาลจะสั่งริบได้. และจึงไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปว่าจะสั่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาข้าวจำนวนนี้แก่แผ่นดินตามคำขอของโจทก์ได้หรือไม่ด้วย.(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2511).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางในความผิดศุลกากร: ศาลมีอำนาจริบตามประมวลกฎหมายอาญา แม้ฟ้องไม่ระบุ
จำเลยรับปลิงทะเลของกลางไว้โดยรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยหลีกเลี่ยงอากรข้อห้ามข้อจำกัด อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499 มาตรา 4 แต่โดยที่มาตรา 27 ทวินี้มีกำหนดโทษเบากว่ามาตรา 27 และเพิ่งบัญญัติขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2499 จึงเป็นที่เห็นได้ว่าความผิดตามมาตรา 27 ทวินี้ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 27 จึงได้บัญญัติมาตรา 27 ทวิขึ้น ส่วนการริบของกลางนั้น มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2482 ระบุถึงการริบทรัพย์อันเนื่องด้วยความผิดตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 เมื่อจำเลยไม่ผิดตามมาตรา 27 แล้ว จึงริบของกลางตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2482 ไม่ได้ แต่ศาลมีอำนาจสั่งริบของกลางตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ได้ เพราะมาตรา 27 ทิวไม่มีข้อความแสดงว่าจะมิได้ตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 33 แห่งประมวลกฎหมายอาญา แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้อ้างประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ก็ตาม แต่ก็มีคำขอให้ริบของกลางมาแล้ว ดังนั้น ศาลสั่งให้ริบตามบทกฎหมายที่ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางในความผิดศุลกากร: ศาลสั่งริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา แม้ฟ้องไม่ระบุ
จำเลยรับปลิงทะเลของกลางไว้โดยรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยหลีกเลี่ยงอากรข้อห้ามข้อจำกัดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499 มาตรา 4 แต่โดยที่มาตรา 27 ทวิ นี้มีกำหนดโทษเบากว่ามาตรา 27 และเพิ่งบัญญัติขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2499 จึงเป็นที่เห็นได้ว่าความผิดตามมาตรา 27 ทวิ นี้ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 27 จึงได้บัญญัติมาตรา 27 ทวิ ขึ้นส่วนการริบของกลางนั้น มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2482 ระบุถึงการริบทรัพย์อันเนื่องด้วยความผิดตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 เมื่อ จำเลยไม่ผิดตามมาตรา 27 แล้ว จึงริบของกลางตามมาตรา17 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2482 ไม่ได้ แต่ศาลมีอำนาจสั่งริบของกลางตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ได้เพราะมาตรา 27 ทวิ ไม่มีข้อความแสดงว่าจะมิได้ตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 33 แห่งประมวลกฎหมายอาญาแม้ฟ้องโจทก์จะมิได้อ้างประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ก็ตาม แต่ก็มีคำขอให้ริบของกลาง มาแล้ว ดังนั้น ศาลสั่งให้ริบตามบทกฎหมายที่ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1151/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพและการริบของกลาง: แม้จำเลยอ้างว่าของกลางไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของตน ก็ยังถือเป็นการรับสารภาพตามฟ้อง ศาลมีอำนาจดุลยพินิจในการริบ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเล่นการพนัน ขอให้ริบของกลาง จำเลยให้การรับสารภาพตลอดข้อหา และยื่นคำร้องว่าโต๊ะบิลเลียดไฟฟ้าของกลางไม่ใช่ของจำเลยเมื่อฟ้องของโจทก์ไม่ได้ระบุว่าโต๊ะบิลเลียดไฟฟ้าของกลางเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยจึงถือได้ว่าจำเลยรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการอยู่ ศาลจะพิพากษาริบของกลางหรือไม่นั้นอยู่ในดุลยพินิจของศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1151/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพตามฟ้องและการริบของกลาง: ศาลมีดุลพินิจในการริบของกลาง แม้จำเลยจะปฏิเสธกรรมสิทธิ์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเล่นการพนัน ขอให้ริบของกลางจำเลยให้การรับสารภาพตลอดข้อหา และยื่นคำร้องว่าโต๊ะบิลเลียดไฟฟ้าของกลางไม่ใช่ของจำเลย เมื่อฟ้องของโจทก์ไม่ได้ระบุว่าโต๊ะบิลเลียดไฟฟ้าของกลางเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย จึงถือได้ว่าจำเลยรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ ทุกประการอยู่ศาลจะพิพากษาริบของกลางหรือไม่นั้น อยู่ในดุลพินิจของศาล
of 47