พบผลลัพธ์ทั้งหมด 829 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5476/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีต้องดำเนินการต่อเนื่องภายใน 10 ปีนับจากวันมีคำพิพากษา มิใช่แค่นำยื่นคำขอออกหมายบังคับคดี
คำว่า ร้องขอให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271หาได้มีความหมายแต่เพียงว่ายื่นคำขอต่อศาลเพื่อออกหมายบังคับคดีเท่านั้นไม่ แต่มีความหมายรวมไปถึงหน้าที่อื่น ๆที่ผู้ขอให้บังคับคดีจึงพึงต้องกระทำเพื่อต้องกระทำเพื่อให้การบังคับคดีดำเนินไปได้อีกด้วย โจทก์ร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2521 แล้วมิได้ดำเนินการใด ๆ ใน ทางบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 อีกเลย คงแถลงต่อเจ้าพนักงาน บังคับคดีให้ยึดแต่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 เท่านั้น โจทก์เพิ่มจะมาร้องขอ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ ของจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2533 และนำเจ้าพนักงาน บังคับคดีไปยึดเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2533 ซึ่งพ้นสิบปี นับแต่วันมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับคดี แก่ทรัพย์ของจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5400/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้: ต้องมีเหตุให้เจ้าหนี้เสียประโยชน์จริง หากลูกหนี้มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้
การที่เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ฟ้องคดีในนามของตนเองนั้น นอกจากลูกหนี้จะต้องขัดขืนหรือเพิกเฉยไม่ใช้สิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว การขัดขืนหรือเพิกเฉยไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเช่นนั้นจะต้องทำให้เจ้าหนี้เสียประโยชน์ด้วย ซึ่งหมายความว่าทรัพย์สินของลูกหนี้ที่มีอยู่โดยไม่ต้องใช้สิทธิเรียกร้องนั้นไม่พอจะชำระหนี้ หากลูกหนี้มีทรัพย์สินอยู่พอที่จะทำให้เจ้าหนี้ได้รับการชำระหนี้แล้ว การที่ลูกหนี้ไม่ใช้สิทธิเรียกร้อง ก็ไม่ทำให้เจ้าหนี้เสียประโยชน์แต่ประการใด โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ที่ 1เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 19 ตามตั๋วเงินจำนวน 58,267,483.30 บาทแต่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่า หากมีการชำระบัญชีถึงที่สุดจำเลยที่ 19 มีความสามารถชำระหนี้เป็นเงินไม่เกิน 500 ล้านบาทแสดงว่าขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 19 มีทรัพย์สินประมาณ 500 ล้านบาทซึ่งหากโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าหนี้จำนวนดังกล่าวจริง ทรัพย์สินของจำเลยที่ 19 ก็สามารถชำระหนี้แก่โจทก์ได้ครบถ้วน ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามฟ้องโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 18 กระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 19 และจำเลยที่ 19 ขัดขืนหรือเพิกเฉยไม่ใช้สิทธิเรียกร้องก็ก็ไม่ทำให้โจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด โจทก์ที่ 1 จึงไม่สามารถใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 233มาฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 18 ได้โจทก์ที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์ที่ 1 อุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์ทั้งห้าชำระค่าทนายความแทนจำเลยทั้งสิบเก้า จำนวน 5,000,000 บาท เป็นการไม่ชอบ ย่อมเป็นประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัย การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยปัญหานี้ จึงเป็นการไม่ชอบ การกำหนดค่าทนายความแก่ผู้ชนะคดีเป็นดุลพินิจของศาลซึ่งตามตาราง 6 ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้ศาลกำหนดค่าทนายความให้แก่ผู้ชนะโดยพิจารณาตามความยากง่ายแห่งคดีกับเทียบดูเวลาและงานที่ทนายความต้องปฏิบัติในการว่าคดีเรื่องนั้นเฉพาะในศาลชั้นต้นอัตราขั้นสูงไม่เกินร้อยละ 5 ของทุนทรัพย์ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความ 5,000,000 บาท เพราะเหตุคดีมีทุนทรัพย์สูงถึง 5,857 ล้านบาทเศษ และใช้เวลาพิจารณานานเกือบ7 ปี กับเมื่อเปรียบเทียบอัตราค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นกำหนดกับอัตราที่กฎหมายกำหนดแล้ว อัตราที่ศาลชั้นต้นกำหนดยังต่ำกว่าที่กฎหมายให้อำนาจอยู่มาก จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบด้วยกฎหมายและเหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5344/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: กำหนดเวลา 10 ปี และการยึดทรัพย์ซ้ำ
การร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษานั้น เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี และแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้ครบถ้วนภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 แล้วหากขายทอดตลาดทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดมาแล้วได้เงินไม่คุ้มหนี้และโจทก์ประสงค์จะบังคับคดีอีก โจทก์ก็จะแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของลูกหนี้เกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งหาได้ไม่ มิฉะนั้นจะมีผลให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาถูกบังคับคดีได้ไม่สิ้นสุดซึ่งมิใช่เจตนารมณ์ของกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5344/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนด 10 ปีบังคับคดี: เจ้าหนี้ต้องดำเนินการภายในกำหนด หากพ้นกำหนดจะบังคับคดีไม่ได้
การร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษา เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี และแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้ครบถ้วนภายใน 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ดังนั้นหากเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษามาแล้วขายทอดตลาดได้เงินไม่คุ้มหนี้และโจทก์ประสงค์จะบังคับคดีอีก โจทก์จะแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้เมื่อเกินกำหนด 10 ปีแล้วไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4996/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในการเฉลี่ยทรัพย์ - ห้ามลูกหนี้โต้แย้งระหว่างเจ้าหนี้ด้วยกัน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290เป็นบทบัญญัติที่คุ้มครองเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ข้ออ้างที่ว่าจำเลยยังมีทรัพย์สินอื่นที่ผู้ร้องสามารถบังคับชำระหนี้ได้เป็นข้ออ้างที่ใช้โต้แย้งระหว่างเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาด้วยกันจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะยกขึ้นโต้แย้งหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4955/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ภายหลังการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและการประเมินภาษี
เมื่อศาลเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย และโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ถูกจำกัดอำนาจโดยมีบุคคลอื่นจัดการทรัพย์สินหรือกิจการแทนตามพ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 58 โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ย่อมมีความสามารถประกอบกิจการหรือจัดการทรัพย์สินได้ต่อไป เมื่อการให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานประเมินตามที่โจทก์ถูกเรียกตรวจสอบไต่สวนการเสียภาษี การอุทธรณ์การประเมินต่อคณะ-กรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เป็นการจัดการทรัพย์สินอย่างหนึ่งจึงอยู่ในอำนาจของโจทก์ที่จะจัดการได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
แม้โจทก์จะได้รับการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแล้วแต่จำเลยมิได้ยินยอมด้วยในการประนอมหนี้นั้น จึงไม่อาจผูกมัดเจ้าพนักงานประเมินในการเรียกเก็บภาษีอากรจากโจทก์ เพราะโจทก์ไม่อาจหลุดพ้นจากหนี้ดังกล่าวโดยคำสั่งปลดจากล้มละลายตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 56, 77
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 77 บัญญัติเพียงว่าคำสั่งปลดจากล้มละลายทำให้บุคคลล้มละลายหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระได้โดยมีข้อยกเว้นหนี้อันพึงขอรับชำระได้เพียง 2 กรณี ซึ่งข้อยกเว้นกรณีนี้กฎหมายหาได้บัญญัติว่าจะต้องเป็นหนี้ที่ได้ยื่นขอรับชำระแล้ว หรือเป็นบทบัญญัติที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 91 แม้จำเลยมิได้ยื่นขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดตาม มาตรา 91 เจ้าพนักงาน-ประเมินก็มีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีอากรจากโจทก์
แม้โจทก์จะได้รับการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแล้วแต่จำเลยมิได้ยินยอมด้วยในการประนอมหนี้นั้น จึงไม่อาจผูกมัดเจ้าพนักงานประเมินในการเรียกเก็บภาษีอากรจากโจทก์ เพราะโจทก์ไม่อาจหลุดพ้นจากหนี้ดังกล่าวโดยคำสั่งปลดจากล้มละลายตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 56, 77
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 77 บัญญัติเพียงว่าคำสั่งปลดจากล้มละลายทำให้บุคคลล้มละลายหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระได้โดยมีข้อยกเว้นหนี้อันพึงขอรับชำระได้เพียง 2 กรณี ซึ่งข้อยกเว้นกรณีนี้กฎหมายหาได้บัญญัติว่าจะต้องเป็นหนี้ที่ได้ยื่นขอรับชำระแล้ว หรือเป็นบทบัญญัติที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 91 แม้จำเลยมิได้ยื่นขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดตาม มาตรา 91 เจ้าพนักงาน-ประเมินก็มีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีอากรจากโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4854/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและการบังคับคดี: เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ใช่ตัวแทนลูกหนี้/เจ้าหนี้ เงื่อนไขการบังคับคดีผูกพันเฉพาะผู้ซื้อ/เจ้าพนักงาน
การขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลของเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีมิใช่ตัวแทนของลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาฉะนั้นเงื่อนไขใด ๆ ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดขึ้นในการขายทอดตลาดจึงผูกพันกันระหว่างผู้เข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดหรือผู้ซื้อทรัพย์กับเจ้าพนักงานบังคับคดีเท่านั้น หาได้โอนมายังลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ เพราะไม่ใช่สัญญาตัวแทนดังนั้น ลูกหนี้ตามคำพิพากษาจึงไม่มีสิทธิที่จะอ้างเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดขึ้นมาฟ้องเรียกค่าภาษีอากรและค่าธรรมเนียมการโอนทรัพย์ที่ซื้อจากผู้ซื้อทรัพย์ได้ แม้ตามคำฟ้องของโจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาด จะเป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นส่งเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไปชำระค่าธรรมเนียมการโอน และศาลชั้นต้นได้จัดส่งเงินไปให้ตามขอ โดยจำเลยที่ 1 ให้สัตยาบันในการกระทำของจำเลยที่ 2และรับโอนที่ดินแปลงดังกล่าวมาเป็นของตนก็ตาม แต่การจะให้ส่งเงินไปตามคำร้องหรือไม่ เป็นอำนาจของศาล จึงเป็นเรื่องระหว่างศาลกับลูกหนี้ตามคำพิพากษา หากเห็นว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในประกาศขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาก็ควรจะอุทธรณ์คำสั่งของศาลนั้น ในคำฟ้องโจทก์ก็ปรากฏว่าโจทก์ได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นแต่ศาลสั่งไม่รับเพราะอุทธรณ์เกินกำหนดโจทก์ก็ควรยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขคำสั่งนั้นได้ ข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วมีคำสั่งว่า จำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้ยกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับเป็นการวินิจฉัยถึงเนื้อหาแห่งคดีแล้ว มิใช่กรณีสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ศาลชั้นต้นไม่คืนค่าขึ้นศาลแก่โจทก์จึงชอบแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้ให้คืนค่าขึ้นศาลแก่โจทก์นั้น แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4832/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการบังคับคดีและการกันส่วนทรัพย์สิน: ทรัพย์สินที่ไม่ได้เป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา
บ้านพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการขายฝาก จึงมิใช่ทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา การที่โจทก์ขอให้บังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการให้โจทก์เข้าครอบครองบ้านพิพาทนั้นเป็นการใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิที่จะยึดไว้มิใช่เป็นการบังคับคดี หรือบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจึงไม่เข้าเกณฑ์ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในอันที่ผู้ร้องจะขอกันส่วนบ้านพิพาทได้ ทั้งนี้ เพราะการร้องขอกันส่วนได้แก่การที่บุคคลภายนอกผู้เป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่มีการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินนั้น หรือขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายหรือจำหน่ายทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษามาชำระหนี้ของตนก่อนเจ้าหนี้อื่น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287หรือ 289 แล้วแต่กรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4832/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการใช้สิทธิเอาคืนทรัพย์สิน: ทรัพย์สินที่ตกเป็นของโจทก์แล้วไม่อยู่ในอำนาจบังคับคดี
เมื่อบ้านพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการขายฝากบ้านพิพาทจึงมิใช่ทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาการที่โจทก์ขอให้บังคับคดี และเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการให้โจทก์เข้าครอบครองบ้านพิพาทนั้น เป็นการใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดไว้ มิใช่เป็นการบังคับคดีหรือบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา จึงไม่เข้าเกณฑ์ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง อันที่ผู้ร้องจะขอกันส่วนบ้านพิพาทในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4570/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้: การปฏิบัติโดยสมควรเพื่อเรียกหนี้และการยักยอก
แม้ในคำอุทธรณ์ของโจทก์จะไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดในการเสียภาษีสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2521 แต่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านว่าการตัดรายการจำหน่ายหนี้สูญสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2520 ของโจทก์ออกเป็นผลให้โจทก์ไม่มีผลขาดทุนสุทธิไปหักเป็นรายจ่ายสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2521ทำให้รอบระยะเวลาบัญชีปี 2521 มีกำไรสุทธิตามที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินโจทก์ ถือว่าโจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2521 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (9) ที่ใช้บังคับในขณะนั้นบัญญัติว่า "การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้ว..." หนี้ดังกล่าวมิได้กำหนดว่าจะต้องเป็นหนี้เฉพาะทางการค้าของโจทก์เท่านั้น หนี้ที่เกิดจากกรรมการของโจทก์ยักยอกถือเป็นหนี้อย่างหนึ่งที่สามารถจำหน่ายเป็นหนี้สูญได้ เพียงแต่โจทก์ต้องปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้
เมื่อโจทก์ทราบว่า พ. ยักยอกเงินไป โจทก์ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจให้ดำเนินคดีอาญาฐานยักยอก ทั้งโจทก์ได้ฟ้องห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ค. ซึ่ง พ. เป็นหุ้นส่วนอยู่จนได้รับชำระหนี้มาแล้วส่วนหนึ่ง กรณีเช่นนี้นับได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติการจนสุดความสามารถที่จะให้ได้รับชำระหนี้รายนี้แม้ว่าโจทก์จะไม่ได้เรียกร้องเอาจากกรรมการคนอื่นที่ได้ลงลายมือชื่อในเช็คที่ พ.เอาไปเบิกเงินแล้วยักยอกไป เมื่อปรากฏว่า พ. แต่ผู้เดียวเป็นผู้ยักยอกโดยบุคคลที่ลงลายมือชื่อร่วมด้วย มิได้รู้เห็นหรือรับประโยชน์จากการที่ พ. ยักยอกแต่ประการใด ทั้งโจทก์ปฏิบัติการจนสุดความสามารถที่จะให้ได้รับชำระหนี้และไม่สามารถจะเอาทรัพย์สินจาก พ. มาชำระหนี้ได้ โจทก์ย่อมจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีได้
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (9) ที่ใช้บังคับในขณะนั้นบัญญัติว่า "การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้ว..." หนี้ดังกล่าวมิได้กำหนดว่าจะต้องเป็นหนี้เฉพาะทางการค้าของโจทก์เท่านั้น หนี้ที่เกิดจากกรรมการของโจทก์ยักยอกถือเป็นหนี้อย่างหนึ่งที่สามารถจำหน่ายเป็นหนี้สูญได้ เพียงแต่โจทก์ต้องปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้
เมื่อโจทก์ทราบว่า พ. ยักยอกเงินไป โจทก์ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจให้ดำเนินคดีอาญาฐานยักยอก ทั้งโจทก์ได้ฟ้องห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ค. ซึ่ง พ. เป็นหุ้นส่วนอยู่จนได้รับชำระหนี้มาแล้วส่วนหนึ่ง กรณีเช่นนี้นับได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติการจนสุดความสามารถที่จะให้ได้รับชำระหนี้รายนี้แม้ว่าโจทก์จะไม่ได้เรียกร้องเอาจากกรรมการคนอื่นที่ได้ลงลายมือชื่อในเช็คที่ พ.เอาไปเบิกเงินแล้วยักยอกไป เมื่อปรากฏว่า พ. แต่ผู้เดียวเป็นผู้ยักยอกโดยบุคคลที่ลงลายมือชื่อร่วมด้วย มิได้รู้เห็นหรือรับประโยชน์จากการที่ พ. ยักยอกแต่ประการใด ทั้งโจทก์ปฏิบัติการจนสุดความสามารถที่จะให้ได้รับชำระหนี้และไม่สามารถจะเอาทรัพย์สินจาก พ. มาชำระหนี้ได้ โจทก์ย่อมจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีได้