คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาประนีประนอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 506 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2830/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมที่ทำภายใต้การข่มขู่เป็นโมฆียะ บอกล้างได้ภายใน 1 ปี
จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความเพราะผู้สอบสวนของผู้อำนวยการป้องกันและปราบปรามของคณะปฏิวัติขู่ว่าจะขังจำเลยฐานเป็นภัยต่อสังคม ดังนี้เป็นโมฆียะ เมื่อบอกล้างภายใน 1 ปี ก็ตกเป็นโมฆะ บังคับจำเลยตามนั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมต้องมีพยานลงชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือครบถ้วนจึงมีผลบังคับใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีพยานลงชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือสองคนคู่สัญญาคนหนึ่งมาลงลายพิมพ์นิ้วมือให้ในภายหลังซึ่งพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือที่ได้ลงชื่อเป็นพยานไว้ก่อนไม่รู้เห็นด้วย จึงเป็นลายพิมพ์นิ้วมือที่ไม่มีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยสองคน สัญญาประนีประนอมดังกล่าวไม่เป็นหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 851 ประกอบด้วย มาตรา 9 วรรค 3 จะใช้ฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้แม้เรื่องนี้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมา แต่ก็เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้ เมื่อเห็นสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนรับรองบุตรและการเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความที่ขัดต่อกฎหมาย
บิดาของเด็กเท่านั้นที่จะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรได้ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1527 เมื่อจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรแล้วก็จะถอนมิได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1531 และเมื่อมีการจดทะเบียนดังกล่าวแล้วจะฟ้องขอให้ถอนการจดทะเบียนได้ก็ด้วยเหตุที่ว่าผู้ขอให้จดทะเบียนมิใช่บิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1528 เท่านั้น
จำเลยยอมให้เงินโจทก์ 20,000 บาท เป็นค่าตอบแทนให้แก่โจทก์ในการที่โจทก์ยินยอมจะไปเพิกถอนการจดทะเบียนรับรองบุตร ซึ่งไม่มีข้อเท็จจริงที่ยุติว่าจำเลยมิใช่บิดาแท้จริงของเด็กนั้น สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมของศาลจึงขัดกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1528 ซึ่งเป็นบทกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 195/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามคำพิพากษาตามยอม: การปฏิบัติตามหน้าที่ตามสัญญาประนีประนอมความสำคัญกว่าการรอไต่สวนฝ่ายผิดสัญญา
เมื่อศาลพิพากษาตามยอมให้โจทก์และจำเลยต่างปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษา ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จำเลยต่างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จำเลยย่อมชอบที่จะร้องขอให้ดำเนินการบังคับไปตามคำพิพากษาในส่วนที่บังคับอีกฝ่ายให้ปฏิบัติ ในเมื่อคดีนี้ยังไม่มีการบังคับคดี จำเลยจึงจะขอให้งดการบังคับคดี เพื่อที่จะไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษานั้นหาได้ไม่ และคดีไม่จำเป็นต้องไต่สวนว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1829/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องจากการซื้อขายที่ดินที่มีภาระจำนอง: สัญญาประนีประนอมยอมความขัดแย้งกับสิทธิการไถ่ถอน
จำเลยที่ 1 จำนองที่พิพาทต่อจำเลยที่ 2 ภายในวงเงิน 400,000 บาท ต่อมาจำเลยที่ 2 ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ แล้วคู่ความตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้หนึ่งล้านบาทเศษ และต้องเอาที่พิพาทขายทอดตลาด ชำระหนี้ด้วย หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้โจทก์ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้จำเลยที่ 1 ไปไถ่ถอนจำนองที่พิพาทแล้วโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ ให้จำเลยที่ 2 รับไถ่ถอนจำนองจากจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 400,000 บาท ตามสัญญาจำนอง ดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 รับไถ่ถอนการจำนองก็โดยโจทก์ใช้สิทธิของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้แต่ปรากฏว่าตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว จำเลยที่ 1 เองก็ไม่มีสิทธิจะไถ่ถอนจำนองจากจำเลยที่ 2 ในวงเงิน 400,000 บาทแล้ว ฉะนั้นการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้โจทก์ จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะต้องฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ให้รับไถ่ถอนจำนองที่พิพาทในวงเงิน 400,000 บาทได้
ศาลมีอำนาจหยิบยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ได้เองโดยไม่จำเป็นต้องให้คู่ความร้องขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1829/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินภายหลังสัญญาประนีประนอมฯ สิทธิเรียกร้องจำกัดเฉพาะคู่สัญญา
จำเลยที่ 1 จำนองที่พิพาทต่อจำเลยที่ 2 ภายในวงเงิน 400,000 บาท ต่อมาจำเลยที่ 2 ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ แล้วคู่ความตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้หนึ่งล้านบาทเศษ และต้องเอาที่พิพาทขายทอดตลาดชำระหนี้ด้วย หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้โจทก์ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้จำเลยที่ 1 ไปไถ่ถอนการจำนองที่พิพาทแล้วโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ ให้จำเลยที่ 2 รับไถ่ถอนจำนองจากจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 400,000 บาท ตามสัญญาจำนอง ดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับไถ่ถอนการจำนองก็โดยโจทก์ใช้สิทธิของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ แต่ปรากฏว่าตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว จำเลยที่ 1 เองก็ไม่มีสิทธิจะไถ่ถอนจำนองจากจำเลยที่ 2 ในวงเงิน 400,000 บาทแล้ว ฉะนั้นการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้โจทก์ จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ให้รับไถ่ถอนจำนองที่พิพาทในวงเงิน 400,000 บาทได้
ศาลมีอำนาจหยิบยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ได้เองโดยไม่จำเป็นต้องให้คู่ความร้องขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 152/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความผิดนัดชำระหนี้ การบังคับตามสัญญา และผลของการผิดนัด
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับค่าเสียหายไว้ว่าต้องเสียเงินเพื่อเป็นค่าทำศพ 10,000 บาท ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ส่วนค่าทำศพจะมีอะไรบ้าง จำนวนเงินเท่าใดเป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา
เมื่อลูกจ้างของจำเลยขับรถด้วยความประมาทแล้ว แม้ผู้ขับรถคันที่ผู้ตายโดยสารมาจะประมาทด้วยก็ตาม จำเลยก็จะยกขึ้นอ้างเพื่อให้ความรับผิดในความเสียหายของจำเลยลดลงหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความผิดนัดชำระหนี้ ศาลสั่งโอนที่ดินได้ตามสัญญา
สัญญาประนีประนอมยอมความมีความว่า จำเลยจะผ่อนชำระเงินให้โจทก์เป็นงวด ๆ ละ 3 เดือน โดยให้จำเลยชำระงวดที่สองนับแต่วันที่ชำระงวดแรก ปรากฏว่าจำเลยได้ชำระเงินงวดแรกในวันที่ 20 สิงหาคม 2512 จำเลยจึงต้องชำระเงินงวดที่สองให้โจทก์ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2512 และชำระเงินงวดที่สามในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2513 เมื่อจำเลยไม่ชำระเงินตามเวลาดังกล่าว ก็ต้องถือว่าจำเลยผิดสัญญา
สัญญาประนีประนอมยอมความมีความต่อไปว่า ถ้าจำเลยผิดนัดชำระเงินตั้งแต่งวดที่สอง สองงวดติดกัน ให้โจทก์ริบเอาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นกรรมสิทธิ์ของโจกท์ได้ทันที และจำเลยต้องไปโอนใน 3 วัน ถ้าไม่ไปก็ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย เช่นนี้ เห็นได้ว่า กำหนดเวลาที่จำเลยจะต้องโอนที่ดินดังกล่าวได้ล่วงพ้นมาตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2513 จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดนัดผิดสัญญาตามสัญญาประนีประนอมยอมความในข้อนี้อีกด้วย เมื่อศาลฎีกาไม่อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินโอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้ หาใช่จะต้องมาเริ่มนับเวลาชำระหนี้กันใหม่ตั้งแต่วันถัดจากวันที่จำเลยฟังคำสั่งของศาลฎีกาที่ไม่อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับไม่ เพราะการให้ทุเลาการบังคับ เป็นเรื่องรอการบังคับไว้จนกว่าศาลจะพิพากษา เป็นคนละเรื่องกันกับกำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลได้มีคำพิพากษาและมีคำบังคับตามยอมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1156/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมายเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม: สัญญาประนีประนอมยอมความและสิทธิของเจ้าของทรัพย์สิน
โจทก์ได้เช่าตึกพิพาทจาก ส. แต่เข้าครอบครองตึกชั้นล่างไม่ได้เพราะจำเลยครอบครองอยู่ จึงได้มีการฟ้องคดีกันระหว่างโจทก์จำเลยหลายคดี ในที่สุดได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมให้จำเลยอาศัยอยู่ในตึกพิพาทชั้นล่าง จนสิ้นเดือนมีนาคม 2519 แต่ยังไม่ครบกำหนด โจทก์ก็มาฟ้องคดีนี้ขอให้ศาลหมายเรียก ส.เข้ามาเป็นโจทก์ร่วมด้วย เช่นนี้ จำเลยอยู่ในตึกพิพาทโดยอาศัยสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยมิได้รบกวนขัดขวางสิทธิโจทก์และไม่ได้โต้แย้งสิทธิของ ส. เมื่อโจทก์ให้จำเลยอาศัยเอง และหากศาลพิพากษาให้โจทก์แพ้คดี โจทก์ย่อมไม่อาจฟ้องหรือถูก ส. ฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ทดแทน และไม่ใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้บุคคลภายนอกเข้ามาในคดี กรณีจึงไม่ชอบที่จะหมายเรียก ส. เข้ามาในคดีตามมาตรา 549 ประกอบด้วยมาตรา 477 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และตามาตรา 57(3) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลจึงบังคับให้ขับไล่จำเลยตามคำขอของ ส. ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1156/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมายเรียกบุคคลภายนอกเป็นโจทก์ร่วม กรณีสัญญาประนีประนอมยอมความและสิทธิการครอบครอง
โจทก์ได้เช่าตึกพิพาทจากส.แต่เข้าครอบครองตึกชั้นล่างไม่ได้เพราะจำเลยครอบครองอยู่ จึงได้มีการฟ้องคดีกันระหว่างโจทก์จำเลยหลายคดี ในที่สุดได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมให้จำเลยอาศัยอยู่ในตึกพิพาทชั้นล่างจนสิ้นเดือนมีนาคม 2519 แต่ยังไม่ครบกำหนด โจทก์ก็มาฟ้องคดีนี้และขอให้ศาลหมายเรียก ส. เข้ามาเป็นโจทก์ร่วมด้วย เช่นนี้ จำเลยอยู่ในตึกพิพาทโดยอาศัยสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยมิได้รบกวนขัดขวางสิทธิโจทก์และไม่ได้โต้แย้งสิทธิของ ส. เมื่อโจทก์ให้จำเลยอาศัยเองและหากศาลพิพากษาให้โจทก์แพ้คดี โจทก์ย่อมไม่อาจฟ้องหรือถูก ส. ฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทน และไม่ใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้บุคคลภายนอกเข้ามาในคดี กรณีจึงไม่ชอบที่จะหมายเรียก ส. เข้ามาในคดีตามมาตรา 549 ประกอบด้วยมาตรา 477 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และตามมาตรา 57(3) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลจึงบังคับให้ขับไล่จำเลยตามคำขอของ ส. ไม่ได้
of 51