คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนี้สิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2259/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองไก่เพื่อขาย: ความแตกต่างระหว่างการยักยอกทรัพย์กับหนี้สิน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยนำไก่ซึ่งฆ่าแล้วจำนวน 100 ตัวราคา 3,800 บาท ของผู้เสียหายซึ่งมอบหมายให้จำเลยครอบครองแล้วนำไปขายให้กับประชาชนทั่วไป แต่เมื่อจำเลยนำไก่ไปขายหมดแล้ว จำเลยได้บังอาจเบียดบังเอาเงิน3,800 บาท ของผู้เสียหายไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตนโดยทุจริต ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ดังนี้ ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ฟ้องคงได้ความเพียงว่าจำเลยนำไก่ซึ่งฆ่าแล้วของผู้เสียหายซึ่งมอบหมายให้จำเลยครอบครองแล้วนำไปขายให้กับประชาชนทั่วไปเท่านั้น ไม่ได้ความว่าผู้เสียหายมอบหมายให้จำเลยเป็นตัวแทนขายไก่กรณีจึงอาจเป็นได้ว่าผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยรับไก่ไปขายอย่างเป็นของจำเลยเองก็ได้ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นเงินที่ขายได้ก็เป็นของจำเลย จำเลยเป็นแต่เพียงลูกหนี้ที่จะต้องชำระเงินจำนวนหนึ่งแก่ผู้เสียหายเท่านั้นข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ฟ้องจะว่าจำเลยยักยอกเงินค่าไก่ยังไม่ได้ แม้จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลก็ลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3367/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย เมื่อเจ้าหนี้ทราบถึงหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้
ปัญหาที่ว่า หนี้ที่ขอรับชำระเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้น เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ดีถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิที่จะรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94(2) หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิใช่เป็นประเด็นที่ได้เคยยกขึ้นว่ากันมาแต่แรก เจ้าหนี้ผู้โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ก็มีสิทธิที่จะยกขึ้นมาอ้างอิงในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 287/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการกันเงินจากทรัพย์สินที่ได้มาจากการอยู่กินฉันสามีภรรยา กรณีลูกหนี้ผิดสัญญา
จำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลที่ทำไว้กับโจทก์ โจทก์จึงนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินหนึ่งแปลงพร้อมเรือนหนึ่งหลังซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินแปลงดังกล่าว อ้างว่าเป็นของจำเลย ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลกันเงินที่ขายทอดตลาดที่ดิน และโรงเรือนดังกล่าวไว้จ่ายให้ผู้ร้องครึ่งหนึ่ง เพราะทรัพย์ดังกล่าวเป็นผู้ร้องและจำเลยรวมกันได้มาระหว่างอยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยา ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องและจำเลยอยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยาและต่างก็มีรายได้ ที่ดินและเรือนพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องและจำเลยทำมาหาได้ร่วมกัน หนี้สินระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นเรื่องเฉพาะตัว ดังนี้ การที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยไปยืมเงินโจทก์มาใช้จ่ายในการดำรงชีพและนำมาซื้อที่ดินพร้อมทั้งปลูกเรือนพิพาท และผู้ร้องรู้เห็นในการกู้ยืมด้วย จึงเป็นการฎีกาโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 6 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2649/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบหมายให้ดำเนินการกู้เงิน เงินที่ได้รับถือเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ในการเรียกร้องหนี้สินได้เต็มจำนวน
ลูกหนี้ได้กู้เงินเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ไปสองครั้งโดยได้ทำสัญญากู้ไว้ 2 ฉบับฉบับละ 400,000 บาท แม้จะปรากฏว่าเงินที่เจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กู้ในครั้งแรกจำนวน 400,000 บาท เป็นเงินของเจ้าหนี้เอง 200,000 บาท และเป็นเงินของบิดาเจ้าหนี้ 200,000 บาท และเงินที่ให้ลูกหนี้กู้ในครั้งที่สองเป็นเงินของเจ้าหนี้เอง 100,000 บาท เป็นของบิดาเจ้าหนี้ 100,000 บาท และเป็น ของ ท. ป้าของเจ้าหนี้ 200,000 บาท ก็ตาม เงินในส่วนที่เป็นของบิดาเจ้าหนี้และของป้าเจ้าหนี้ ถือได้ว่าเป็นเงินที่บิดาและป้ามอบหมายให้เจ้าหนี้เป็นผู้ดำเนินการให้ลูกหนี้กู้ไป จึงเท่ากับเจ้าหนี้เป็นผู้ให้กู้สำหรับจำนวนเงินทั้งหมดตามสัญญากู้ทั้งสองฉบับนั้นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิเรียกร้องจากลูกหนี้ได้เต็มตามจำนวนที่ลูกหนี้ได้ทำสัญญากู้ไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1830/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่าร้าง: การยินยอมให้แยกอยู่เพื่อหลบหนี้สิน ไม่ถือเป็นการละทิ้งร้าง
การที่จำเลย (ภริยา) หลบหนี้สินไปอยู่ที่อื่นโดยโจทก์ (สามี) ยินยอมทั้งจำเลยเป็นฝ่ายเลี้ยงดูบุตรตลอดมา และระหว่างนั้นจำเลยไปหาโจทก์ก็ถูกภริยาใหม่ของโจทก์ไล่กลับนั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์อันเป็นเหตุฟ้องหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1500(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 918/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้สินจากการซื้อขายและการบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการในคดีล้มละลาย
คดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทไทยวีระพล จำกัด(ลูกหนี้) เด็ดขาดเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2517 ต่อมาวันที่ 25 กันยายน 2517รัฐวิสาหกิจธิมมิลอร์ทแห่งรูเมเนียโดยนายคอสติกาคิลเลีย ผู้ช่วยผู้จัดการในฐานะเป็นเจ้าหนี้ได้มอบอำนาจให้นายเปรมปรีชาทิพยวาน ยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าสินค้าค้างชำระและค่าธรรมเนียม ปรากฏรายละเอียดตามบัญชีที่ยื่นพร้อมกับคำขอรับชำระหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้นัดลูกหนี้และเจ้าหนี้ทั้งหลายมาพร้อมกันเพื่อตรวจคำขอรับชำระหนี้และดำเนินการสอบสวนหนี้สินรายนี้แล้วทำความเห็นต่อศาลชั้นต้นว่า เจ้าหนี้มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ แต่การผิดนัดชำระหนี้ของลูกหนี้ไม่อาจถือได้ว่าเป็นข้อขัดแย้งอันเกิดจากสัญญาแต่อย่างใดจะนำคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการมาบังคับลูกหนี้ให้ปฏิบัติตามไม่ได้ และเจ้าหนี้นำหนี้สินรายนี้มายื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกว่า 2 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงขาดอายุความแล้ว กรณีต้องห้ามมิให้ได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 94(1) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 เห็นควรให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของรัฐวิสาหกิจธิมมิลอร์ท เจ้าหนี้รายนี้เสียตามมาตรา 107(1) แห่งล้มละลาย พุทธศักราช 2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดจากยึดรถของผู้อื่นโดยเข้าใจผิดถึงหนี้สิน และความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง
รถยนต์พิพาทเป็นของโจทก์ น้องชายโจทก์เช่าไปขับรับจ้างชักลากไม้ให้บริษัทจำเลยที่ 3 โดยน้องชายโจทก์ได้เบิกเงินค่าจ้างล่วงหน้าไปจากจำเลยที่ 3 แล้วยังชักลากไม้ให้ไม่ครบตามจำนวนเงินที่ขอเบิกล่วงหน้าไปต่อมาโจทก์ต้องการใช้รถยนต์พิพาท จึงให้น้องชายโจทก์พาคนไปขับรถยนต์พิพาทไปเสียจากบริษัทจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานของบริษัทจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ควบคุมรถยนต์บรรทุกไม้รู้อยู่แล้วว่ารถยนต์พิพาทเป็นของโจทก์ ได้ไปขอกำลังตำรวจติดตามไปยึดรถยนต์พิพาทไว้โดยคำนึงอยู่แต่อย่างเดียวว่าน้องชายโจทก์ยังติดค้างหนี้สินบริษัทจำเลยที่ 3 อยู่ ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมายและเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย ถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากการกระทำนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 3 ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในระหว่างที่ทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ของบริษัทจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในความเสียหายซึ่งเกิดจากผลของการละเมิดที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นในฐานะเป็นผู้แทนนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 451 ส่วนจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจได้ติดตามรถยนต์พิพาทไปกับจำเลยที่ 1 และแจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจอีกท้องที่หนึ่งยึดรถยนต์พิพาทไว้ เมื่อปรากฏว่าได้กระทำไปตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยสุจริตใจจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี การไม่อุทธรณ์ และผลกระทบต่อการเป็นหนี้สินในคดีล้มละลาย
เจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้ จำเลยไม่อุทธรณ์ เมื่อจำเลยถูกฟ้องให้ล้มละลายเพราะไม่ชำระค่าภาษีจำเลยยกข้อต่อสู้ว่าเจ้าพนักงานประเมินภาษีไม่ถูกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 181/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายภูมิลำเนาไม่สมบูรณ์ และการพิพากษาคดีล้มละลายตามภูมิลำเนาเดิม รวมถึงการพิจารณาหนี้สินล้นพ้นตัว
การแจ้งทะเบียนสำมะโนครัวย้ายที่อยู่ยังไม่เป็นการย้ายภูมิลำเนาจนกว่าจะได้ย้ายถิ่นที่อยู่เปลี่ยนภูมิลำเนาจริงก่อนครบ 1 ปี หลังจากย้ายภูมิลำเนา เจ้าหนี้ยังฟ้องคดีล้มละลายต่อศาลตามภูมิลำเนาเดิม ของลูกหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 913/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินโดยเสน่หาเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน เจ้าหนี้มีสิทธิขอเพิกถอนได้ แม้ผู้รับโอนไม่มีส่วนรู้เห็น
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดิน 2 แปลง พร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 2, ที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรชายและบุตรสะใภ้ จำเลยให้การว่าที่ดินแปลงหนึ่งติดจำนอง อีกแปลงหนึ่งติดขายฝาก จำเลยที่ 2, ที่ 3 นำเงินไปไถ่ถอน จำเลยที่ 1 จึงโอนที่ดินพร้อม สิ่งปลูกสร้างให้เป็นการกระทำโดยสุจริต ที่จำเลยนำสืบว่าที่ดินแปลงหนึ่งพร้อมสิ่งปลูกสร้างเดิมเป็นของ พ. ยกให้จำเลยที่ 2 ในวันแต่งงาน แต่โอนใส่ชื่อจำเลยที่ 1 ไว้ก่อน ต่อมาจำเลยที่ 1 จึงทำนิติกรรมโอน ทรัพย์นั้นให้แก่จำเลยที่ 2, ที่ 3 เป็นการนำสืบนอกประเด็นศาลไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 ไปกู้เงินบุคคลอื่นเอามาให้จำเลยที่ 1 ไถ่ถอนการขายฝากที่ดินแปลงดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงโอนทรัพย์นั้นให้หากจำเลยที่ 2 ทำเช่นนั้นจริง ก็เป็นการทำเพื่อช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ผู้เป็นมารดาการโอนทรัพย์เช่นนั้นจะถือว่าเป็นการโอนให้โดยมีค่าภารติดพันหาได้ไม่
of 48