พบผลลัพธ์ทั้งหมด 703 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2409/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเพื่อกันเช็คขาดอายุความ ไม่ถือเป็นคำร้องทุกข์ตามกฎหมายอาญา
การแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเรื่องจำเลยออกเช็คโดยเจตนาไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คว่า ผู้แจ้งเกรงว่าเช็คฉบับดังกล่าวจะขาดอายุความจึงมาแจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจทราบเพื่อกันเช็คขาดอายุความ ผู้แจ้งยังไม่ประสงค์จะร้องทุกข์มอบคดีต่อพนักงานสอบสวนแต่อย่างใดโดยผู้แจ้งจะไปติดต่อด้วยตนเองอีกครั้งหนึ่งก่อน หากไม่ได้ผลจะมาร้องทุกข์อีกครั้งในภายหลัง ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการร้องทุกข์ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีอาญา: จำเลยวิกลจริตกระทำหลายกรรมต่อเนื่องถึงแก่ความตาย
จำเลยวิกลจริตยิง บ. ตายแล้วลงเรือนไป อีก 2-3 นาทีจำเลยกลับขึ้นมายิง จ. อีก เป็นการกระทำหลายกรรมต่างกัน จำเลยรู้ผิดชอบอยู่บ้าง เป็นความผิดตาม มาตรา 288,288,80, 65 เรียงกระทงลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3031/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานยักยอกเงินสวัสดิการข้าราชการ: การพิจารณาฐานความผิดทางอาญา
เทศบาลมอบเงินรายได้ส่วนหนึ่งจากค่าเช่าที่ขายทุเรียนในงานตลาดทุเรียนให้จังหวัด จังหวัดจะนำไปใช้อย่างใดก็ได้ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบเงินนี้ให้จำเลยซึ่งเป็นเสมียนตราจังหวัดเก็บรักษาและทำบัญชีไว้ โดยถือว่าเป็นเงินของจังหวัด ต่อมาผู้ว่าราชการจังหวัดให้นำเงินนี้เป็นเงินสวัสดิการข้าราชการเพื่อให้ข้าราชการผู้มีเงินเดือนน้อยของจังหวัดนั้นได้กู้ยืมไปบรรเทาความเดือดร้อน ได้วางระเบียบว่าด้วยเงินสวัสดิการข้าราชการขึ้นและตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาและดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนั้น
จำเลยได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการทำหน้าที่เหรัญญิก ดังนี้ วัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงินดังกล่าวนี้หาได้มุ่งหมายใช้จ่ายในทางราชการไม่ แต่เป็นการใช้จ่ายในทางช่วยเหลือข้าราชการเป็นการส่วนตัว อันเป็นกิจการพิเศษซึ่งไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายใดกำหนดไว้และการที่จำเลยมีหน้าที่รักษาและรับจ่ายเงินนี้ก็โดยได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ทำหน้าที่เหรัญญิกซึ่งการแต่งตั้งนี้ก็ไม่ต้องอาศัยอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายไม่ต้องอาศัยฐานะที่จำเลยเป็นเสมียนตราจังหวัดหรือเป็นข้าราชการในบังคับบัญชาของผู้ว่าราชการจังหวัด การที่จำเลยปฏิบัติหน้าที่นี้จึงมิใช่เป็นการที่เจ้าพนักงานปฏิบัติราชการตามตำแหน่งหน้าที่ราชการเมื่อจำเลยเบียดบังยักยอกเงินดังกล่าวไป จึงถือไม่ได้ว่าเบียดบังยักยอกไปในฐานะเจ้าพนักงาน คงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 เท่านั้น
จำเลยได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการทำหน้าที่เหรัญญิก ดังนี้ วัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงินดังกล่าวนี้หาได้มุ่งหมายใช้จ่ายในทางราชการไม่ แต่เป็นการใช้จ่ายในทางช่วยเหลือข้าราชการเป็นการส่วนตัว อันเป็นกิจการพิเศษซึ่งไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายใดกำหนดไว้และการที่จำเลยมีหน้าที่รักษาและรับจ่ายเงินนี้ก็โดยได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ทำหน้าที่เหรัญญิกซึ่งการแต่งตั้งนี้ก็ไม่ต้องอาศัยอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายไม่ต้องอาศัยฐานะที่จำเลยเป็นเสมียนตราจังหวัดหรือเป็นข้าราชการในบังคับบัญชาของผู้ว่าราชการจังหวัด การที่จำเลยปฏิบัติหน้าที่นี้จึงมิใช่เป็นการที่เจ้าพนักงานปฏิบัติราชการตามตำแหน่งหน้าที่ราชการเมื่อจำเลยเบียดบังยักยอกเงินดังกล่าวไป จึงถือไม่ได้ว่าเบียดบังยักยอกไปในฐานะเจ้าพนักงาน คงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางอาญาสำหรับความผิดหลายกระทงเกี่ยวกับยาเสพติด และการเรียงกระทงตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้บังอาจกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายบทหลายกระทง โดยมีเฮโรอีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษ ซึ่งต้องห้ามโดยเด็ดขาดไว้ในครอบครองและได้บังอาจจำหน่ายเฮโรอีนให้แก่ผู้อื่นโดยผิดกฎหมาย ฯลฯ จำเลยให้การรับสารภาพดังนี้ การที่จำเลยมีเฮโรอีนไว้ในความครอบครองและได้จำหน่ายเฮโรอีนแก่ผู้อื่น การกระทำของจำเลยแยกได้เป็นสองกระทง แต่ละกระทงเป็นความผิดตามกฎหมาย ศาลย่อมลงโทษจำเลยฐานมีเฮโรอีนและฐานจำหน่ายเฮโรอีนได้
มีเฮโรอีนไว้ในความครอบครอง และได้จำหน่ายเฮโรอีนให้แก่ผู้อื่นโดยผิดกฎหมาย เป็นความผิดสองกระทง เมื่อจำเลยกระทำความผิดภายหลังวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11มีผลใช้บังคับแล้ว แม้โจทก์จะมิได้อ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 มาในคำขอท้ายฟ้อง แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายบทหลายกระทงมาด้วย ศาลย่อมมีอำนาจเรียงกระทงลงโทษจำเลยได้
มีเฮโรอีนไว้ในความครอบครอง และได้จำหน่ายเฮโรอีนให้แก่ผู้อื่นโดยผิดกฎหมาย เป็นความผิดสองกระทง เมื่อจำเลยกระทำความผิดภายหลังวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11มีผลใช้บังคับแล้ว แม้โจทก์จะมิได้อ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 มาในคำขอท้ายฟ้อง แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายบทหลายกระทงมาด้วย ศาลย่อมมีอำนาจเรียงกระทงลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2082/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประมาทในการขับรถแซง ทำให้เกิดอุบัติเหตุและบาดเจ็บแก่ผู้อื่น ศาลพิจารณาความรับผิดทางอาญา
การที่โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยขับรถโดยประมาท เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจและทรัพย์สินของโจทก์ร่วมและบุคคลอื่นนั้นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดฐานนี้โดยตรง จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย และไม่มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ ส่วนความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายมีสิทธิจะอุทธรณ์ฎีกาตามลำพังได้
ปัญหาที่ว่า ตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมา จะถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 หรือไม่นั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย โดยเห็นว่าเป็นปัญหาข้อเท็จจริงนั้น ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนั้นไปทีเดียว โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 208(2) ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยขับรถยนต์แซงรถบรรทุกหินซึ่งจอดอยู่ที่ขอบถนนด้านซ้ายในเส้นทางของรถจำเลย ล้ำเข้าไปในเส้นทางของรถโจทก์ร่วมที่กำลังสวนทางมา และตรงที่เกิดเหตุมีเส้นแบ่งแนวจราจรเป็นเส้นทึบคู่ห้ามขับรถคร่อมไปตามเส้นหรือล้ำออกนอกเส้นทางไปทางขวา เพื่อป้องกันอันตราย เป็นเหตุให้รถทั้งสองคันชนกันในเส้นทางของรถโจทก์ร่วม โดยจำเลยมิได้ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอกับวิสัยและพฤติการณ์โดยมองไปข้างหน้าว่ามียานพาหนะอื่นใดสวนทางมาหรือไม่หรือหากมองไม่เห็น เพราะมีส่วนโค้งของถนนหรือสะพานบังอยู่ก็ชอบที่จะชะลอรถให้ช้าลงเมื่อเห็นว่าปลอดภัยดีแล้วจึงค่อยแซงรถที่จอดอยู่ขึ้นไป ดังนี้นับว่าเป็นความประมาทของจำเลยหาใช่อุบัติเหตุไม่
ปัญหาที่ว่า ตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมา จะถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 หรือไม่นั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย โดยเห็นว่าเป็นปัญหาข้อเท็จจริงนั้น ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนั้นไปทีเดียว โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 208(2) ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยขับรถยนต์แซงรถบรรทุกหินซึ่งจอดอยู่ที่ขอบถนนด้านซ้ายในเส้นทางของรถจำเลย ล้ำเข้าไปในเส้นทางของรถโจทก์ร่วมที่กำลังสวนทางมา และตรงที่เกิดเหตุมีเส้นแบ่งแนวจราจรเป็นเส้นทึบคู่ห้ามขับรถคร่อมไปตามเส้นหรือล้ำออกนอกเส้นทางไปทางขวา เพื่อป้องกันอันตราย เป็นเหตุให้รถทั้งสองคันชนกันในเส้นทางของรถโจทก์ร่วม โดยจำเลยมิได้ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอกับวิสัยและพฤติการณ์โดยมองไปข้างหน้าว่ามียานพาหนะอื่นใดสวนทางมาหรือไม่หรือหากมองไม่เห็น เพราะมีส่วนโค้งของถนนหรือสะพานบังอยู่ก็ชอบที่จะชะลอรถให้ช้าลงเมื่อเห็นว่าปลอดภัยดีแล้วจึงค่อยแซงรถที่จอดอยู่ขึ้นไป ดังนี้นับว่าเป็นความประมาทของจำเลยหาใช่อุบัติเหตุไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1555/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษทางอาญา: ศาลอุทธรณ์แก้โทษกักขังเป็นรอการลงโทษ ไม่ถือว่าเป็นการเพิ่มโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 7 วัน และปรับ 500บาท โทษจำคุกเปลี่ยนเป็นกักขัง จำเลยฝ่ายเดียวอุทธรณ์การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ว่า โทษจำคุก 7 วันไม่เปลี่ยนเป็นกักขัง และให้รอการลงโทษมีกำหนด 1 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น นั้นไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย เพราะการรอการลงโทษ จำเลยยังไม่ต้องรับโทษ จึงเบากว่าโทษกักขัง
ฎีกาโจทก์ที่ขอให้ลงโทษกักขังจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าว เป็นฎีกาดุลพินิจการลงโทษ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้มาก ก็ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
ฎีกาโจทก์ที่ขอให้ลงโทษกักขังจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าว เป็นฎีกาดุลพินิจการลงโทษ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้มาก ก็ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 143/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้: 'ผู้อื่น' ตาม ม.350 อาญา
คำว่า 'ผู้อื่น' ตามมาตรา 350 แห่งประมวลกฎหมายอาญานั้น หมายความถึงบุคคลอื่นนอกจากตัวลูกหนี้ จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ร่วม แล้วจำเลยที่ 1โอนที่ดินของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 3 ผู้มิได้เป็นลูกหนี้ของโจทก์ร่วม ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้อื่น ตามความหมายแห่งมาตรา 350 นั้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1337/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้อำนาจเกินสมควรในการจับกุม และเหตุบรรเทาโทษทางอาญา
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจทำหน้าที่รักษาความสงบอยู่ในงานวัด ได้เข้าไปจับกุม น. เพราะมีคนมาแจ้งว่ามีอาวุธปืนและกำลังจะก่อเหตุร้ายในวงรำวง น. สลัดหลุดจนจำเลยล้มลงพอจำเลยลุกขึ้นได้ก็ใช้ปืนยิงไปทาง น. ซึ่งกำลังวิ่งหนี โดย น. มิได้ใช้อาวุธปืนยิงจำเลยก่อน กระสุนปืนที่จำเลยยิงพลาดไปถูก ส.ซึ่งอยู่ใกล้วงรำวงถึงแก่ความตาย ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้วิธีที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับหรือเป็นการกระทำเพื่อป้องกันตัวจำเลย จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่า ส. โดยเจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 60แต่การกระทำของจำเลยนับได้ว่าเป็นการกระทำผิดอันเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่ในการจับกุมคนร้าย โดยจำเลยมิได้มีสาเหตุส่วนตัวกับ น. หรือผู้ตาย ความผิดของจำเลยเห็นได้ว่าเกิดจากการใช้วิธีการที่เกินสมควรแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับกุม น. ด้วยการตัดสินใจผิดในขณะที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉิน เข้าลักษณะในเหตุอื่นอันเป็นเหตุบรรเทาโทษประการหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 จึงสมควรลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2624/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: ความสมบูรณ์ของสัญญาและการแยกข้อพิพาทอาญาออกจากข้อพิพาทแพ่ง
คู่กรณีในคดีอาญาไม่ว่าจะเป็นความผิดอันยอมความกันได้หรือไม่ก็ตาม อาจตกลงประนีประนอมยอมความเรื่องค่าเสียหายในทางแพ่งอันพึงมีพึงได้ตามสิทธิของตนได้ กฎหมายห้ามเฉพาะการตกลงประนีประนอมยอมความเพื่อระงับหรืองดการฟ้องคดีอาญาที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้น
สัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยทำให้ไว้แก่โจทก์เนื่องจากจำเลยบุกรุกขึ้นไปบนเรือนโจทก์ในเวลากลางคืนและกระทำอนาจารโจทก์ มีข้อความว่า จำเลยยอมเสียค่าทำขวัญให้แก่โจทก์เป็นเงินจำนวนหนึ่งภายในเวลาที่กำหนด หากไม่ทำตาม ยอมให้ดำเนินคดีต่อไปนั้น เป็นเรื่องทำสัญญาประนีประนอมยอมความชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดให้แก่โจทก์ในทางแพ่งเท่านั้น ไม่ใช่ค่าเสียหายที่เรียกร้องเพื่อระงับการฟ้องคดีอาญาซึ่งกฎหมายห้ามไว้แต่อย่างใด จึงสมบูรณ์ใช้บังคับได้
สัญญาประนีประนอมยอมความนั้น กฎหมายมิได้บังคับว่าคู่กรณีจะต้องลงชื่อทั้งสองฝ่าย แม้จำเลยผู้เดียวลงชื่อรับผิดต่อโจทก์ก็เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความได้
สัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยทำให้ไว้แก่โจทก์เนื่องจากจำเลยบุกรุกขึ้นไปบนเรือนโจทก์ในเวลากลางคืนและกระทำอนาจารโจทก์ มีข้อความว่า จำเลยยอมเสียค่าทำขวัญให้แก่โจทก์เป็นเงินจำนวนหนึ่งภายในเวลาที่กำหนด หากไม่ทำตาม ยอมให้ดำเนินคดีต่อไปนั้น เป็นเรื่องทำสัญญาประนีประนอมยอมความชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดให้แก่โจทก์ในทางแพ่งเท่านั้น ไม่ใช่ค่าเสียหายที่เรียกร้องเพื่อระงับการฟ้องคดีอาญาซึ่งกฎหมายห้ามไว้แต่อย่างใด จึงสมบูรณ์ใช้บังคับได้
สัญญาประนีประนอมยอมความนั้น กฎหมายมิได้บังคับว่าคู่กรณีจะต้องลงชื่อทั้งสองฝ่าย แม้จำเลยผู้เดียวลงชื่อรับผิดต่อโจทก์ก็เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1622-1623/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยทั้งอาญาและแพ่ง เนื่องจากฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา/แพ่ง
ฎีกาว่า การที่จำเลยเข้าทำนาพิพาทไม่เป็นการบุกรุก เพราะเมื่อจำเลยเห็นว่าโจทก์กับพวกสมคบกันฉ้อโกง จะกระทำการเป็นปรปักษ์เกี่ยวแก่ที่ดินพิพาทว่าเป็นของตน จำเลยจึงเข้าป้องกันทรัพย์พิพาทโดยเข้าปลูกข้าวโดยเข้าใจโดยสุจริตว่าจำเลยมีความชอบธรรมที่จะทำได้ตามกฎหมายดังนี้เท่ากับโต้เถียงว่าจำเลยไม่มีเจตนาทางอาญาในการบุกรุกอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุก 4 เดือน ปรับ 400 บาท โทษจำคุกให้รอไว้ ฎีกาดังกล่าวจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218
ฎีกาในเรื่องค่าเสียหาย ที่ไม่กล่าวโต้แย้งข้อเท็จจริง ไม่ยกเหตุผลให้ชัดแจ้งว่า เหตุใดที่ไม่ควรให้จำเลยรับผิดตามจำนวนที่ศาลล่างให้ชดใช้และมีเหตุผลใดที่จะให้รับผิดเพียงเท่าที่ฎีกา ดังนี้ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
ฎีกาในเรื่องค่าเสียหาย ที่ไม่กล่าวโต้แย้งข้อเท็จจริง ไม่ยกเหตุผลให้ชัดแจ้งว่า เหตุใดที่ไม่ควรให้จำเลยรับผิดตามจำนวนที่ศาลล่างให้ชดใช้และมีเหตุผลใดที่จะให้รับผิดเพียงเท่าที่ฎีกา ดังนี้ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249