พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,515 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 495/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้เช่าเมื่อถูกโต้แย้งสิทธิจากภาระจำยอม และการพิจารณาคดีที่ต้องรอผลคำพิพากษาอื่น
โจทก์ที่ 1 เป็นผู้เช่าที่ดินจากจำเลย โดยมีคำรับรองของจำเลยว่าที่ดินที่ให้เช่าไม่มีภาระผูกพันใด ๆ กับบุคคลอื่น แต่ภายหลังกลับปรากฏว่าจำเลย และโจทก์ที่ 1 ถูกฟ้องได้เปิดทางภาระจำยอม ศาลมีคำสั่งให้คุ้มครองชั่วคราว โดยให้รื้อรั้วที่โจทก์ที่ 1 ก่อสร้างขึ้นเพื่อเปิดทางผ่านเข้าออก เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 1 ไม่ได้รับความสะดวกและปลอดภัยในการใช้ที่ดินที่เช่า ถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 ถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์ที่ 1 จึงมีอำนาจฟ้อง
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้รื้อรั้วคอนกรีตกั้นทางเดินที่อ้างว่าเป็นภาระจำยอมออกจนกว่า ศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 1 ไม่สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินที่เช่าอย่างเต็มที่ แต่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลยังไม่ถึงที่สุด เด็ดขาดว่าที่ดินที่เช่ามีภาระผูกพันจริง กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาเช่า
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้รื้อรั้วคอนกรีตกั้นทางเดินที่อ้างว่าเป็นภาระจำยอมออกจนกว่า ศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 1 ไม่สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินที่เช่าอย่างเต็มที่ แต่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลยังไม่ถึงที่สุด เด็ดขาดว่าที่ดินที่เช่ามีภาระผูกพันจริง กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาเช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 495/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องสัญญาเช่าและภารจำยอม: ศาลฎีกาชี้ว่าการถูกโต้แย้งสิทธิจากคดีภารจำยอมทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องได้
จำเลยรับรองต่อโจทก์ที่ 1 ผู้เช่าที่ดินว่า ที่ดินที่ให้เช่าไม่มีภาระผูกพัน แต่ต่อมาโจทก์ที่ 1 และจำเลยถูกฟ้องให้เปิดทางภารจำยอม และศาลมีคำสั่งให้รื้อรั้วที่ปิดทางผ่านเข้าออก ทำให้โจทก์ที่ 1 ไม่ได้รับความสะดวกและปลอดภัยในการใช้ที่ดินที่เช่าถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 ถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว ส่วนข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามฟ้องหรือไม่เป็นเรื่องที่ต้องนำสืบต่อไปในชั้นพิจารณา โจทก์ที่ 1 มีอำนาจฟ้อง
สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องโจทก์ที่ 1 เป็นเรื่องจำเลยผิดสัญญาเช่าเพราะที่ดินที่เช่าถูกบุคคลภายนอกฟ้องว่าตกอยู่ในภารจำยอม ทำให้โจทก์ที่ 1 ไม่อาจใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ซึ่งผิดจากคำรับรองของจำเลย ปัญหาที่ว่าที่ดินที่เช่าตกอยู่ในภารจำยอมหรือไม่จึงเป็นประเด็นโดยตรงไปสู่การวินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าตามฟ้องหรือไม่ และการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในคดีอื่นให้รื้อรั้วกั้นทางเดินออกจนกว่าจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นนั้น นับว่าทำให้โจทก์ที่ 1 ไม่อาจใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ แต่เมื่อคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาซึ่งยังไม่ถึงที่สุดว่าที่ดินที่เช่ามีภาระผูกพันจริง ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาเช่า กรณีต้องอาศัยทั้งหมดหรือแต่บางส่วนซึ่งคำชี้ขาดตัดสินบางข้อของศาลในคดีดังกล่าวนั้นเอง จึงมีเหตุสมควรที่ต้องเลื่อนการพิจารณาต่อไปจนกว่าจะได้มีการพิพากษาหรือชี้ขาดในข้อนั้น ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 39 วรรคหนึ่ง
สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องโจทก์ที่ 1 เป็นเรื่องจำเลยผิดสัญญาเช่าเพราะที่ดินที่เช่าถูกบุคคลภายนอกฟ้องว่าตกอยู่ในภารจำยอม ทำให้โจทก์ที่ 1 ไม่อาจใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ซึ่งผิดจากคำรับรองของจำเลย ปัญหาที่ว่าที่ดินที่เช่าตกอยู่ในภารจำยอมหรือไม่จึงเป็นประเด็นโดยตรงไปสู่การวินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าตามฟ้องหรือไม่ และการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในคดีอื่นให้รื้อรั้วกั้นทางเดินออกจนกว่าจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นนั้น นับว่าทำให้โจทก์ที่ 1 ไม่อาจใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ แต่เมื่อคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาซึ่งยังไม่ถึงที่สุดว่าที่ดินที่เช่ามีภาระผูกพันจริง ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาเช่า กรณีต้องอาศัยทั้งหมดหรือแต่บางส่วนซึ่งคำชี้ขาดตัดสินบางข้อของศาลในคดีดังกล่าวนั้นเอง จึงมีเหตุสมควรที่ต้องเลื่อนการพิจารณาต่อไปจนกว่าจะได้มีการพิพากษาหรือชี้ขาดในข้อนั้น ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 39 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4843/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องเป็นการครอบครองทรัพย์ของผู้อื่น มิใช่ทรัพย์ของตนเอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
การครอบครองอสังหาริมทรัพย์ อันจะทำให้ผู้ครอบครองได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 นั้น นอกจากจะต้องเป็นการครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา10 ปีแล้ว ยังจะต้องเป็นการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นของบุคคลอื่นด้วย หากเป็นการครอบครองทรัพย์สินของตนเองแล้ว ก็หามีผลที่จะทำให้ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองไม่
การที่โจทก์บรรยายฟ้องยืนยันว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ซึ่งรับมรดกมาจากบิดาเช่นนี้ ศาลไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของโจทก์เองได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
การที่โจทก์บรรยายฟ้องยืนยันว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ซึ่งรับมรดกมาจากบิดาเช่นนี้ ศาลไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของโจทก์เองได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4817/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายโดยนิตินัย vs. ผู้มีอำนาจจัดการแทน & การอุทธรณ์/ฎีกาที่ขัดต่อกฎหมาย
ผู้เสียหายที่มีสิทธิฟ้องคดีอาญาต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) หรือต้องเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5 การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้เฉี่ยวชนกับรถยนต์ที่โจทก์ขับ ทำให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัส และบุคคลอื่นหลายคนซึ่งโดยสารมาในรถยนต์ที่โจทก์ขับถึงแก่ความตาย ได้รับอันตรายสาหัส และได้รับอันตรายแก่กาย และขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291,300 และ 390 พระราชบัญญัติจราจรทางบกฯมาตรา 43(4) และ 157 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหายอื่นที่เป็นผู้เยาว์ หรือเป็นผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือสามีผู้เสียหายอื่นซึ่งถึงแก่ความตาย หรือได้รับอันตรายสาหัส หรือได้รับอันตรายแก่กาย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายเหล่านั้น ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291,300 และ 390 ซึ่งบุคคลอื่นเป็นผู้เสียหาย และโดยที่โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ เพราะความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นความผิดต่อรัฐ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรฯ ด้วย
คดีที่ต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ชอบที่จะพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 รับอุทธรณ์ของโจทก์และพิพากษามานั้นเป็นการไม่ชอบ เมื่อโจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับที่โจทก์อุทธรณ์อีก จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 แม้โจทก์จะยื่นฎีกาโดยมีผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาก็ตาม แต่การอนุญาตดังกล่าวไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ซึ่งผู้พิพากษาดังกล่าวจะอนุญาตให้ฎีกาได้เฉพาะในคดีซึ่งห้ามฎีกาไว้โดยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218,219 และ 220 เท่านั้น มิได้ให้ผู้พิพากษานั้นอนุญาตให้ฎีกาในกรณีดังกล่าวได้ โจทก์ย่อมไม่อาจฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์มานั้นจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและพิพากษามานั้น เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อันว่าด้วยอุทธรณ์ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คดีที่ต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ชอบที่จะพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 รับอุทธรณ์ของโจทก์และพิพากษามานั้นเป็นการไม่ชอบ เมื่อโจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับที่โจทก์อุทธรณ์อีก จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 แม้โจทก์จะยื่นฎีกาโดยมีผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาก็ตาม แต่การอนุญาตดังกล่าวไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ซึ่งผู้พิพากษาดังกล่าวจะอนุญาตให้ฎีกาได้เฉพาะในคดีซึ่งห้ามฎีกาไว้โดยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218,219 และ 220 เท่านั้น มิได้ให้ผู้พิพากษานั้นอนุญาตให้ฎีกาในกรณีดังกล่าวได้ โจทก์ย่อมไม่อาจฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์มานั้นจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและพิพากษามานั้น เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อันว่าด้วยอุทธรณ์ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4817/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายอื่นหรือเป็นผู้เสียหายเอง มิฉะนั้นขาดอำนาจฟ้อง
โจทก์ซึ่งได้รับอันตรายสาหัสฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291,300 และ 390 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(4)และ 157 แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหายอื่นที่เป็นผู้เยาว์หรือเป็นผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือสามีผู้เสียหายอื่นซึ่งถึงแก่ความตาย หรือได้รับอันตรายสาหัส หรือได้รับอันตรายแก่กาย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายเหล่านั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(1) และ (2) โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291,300 และ 390 ซึ่งบุคคลอื่นเป็นผู้เสียหาย และโดยที่โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(4) และ 157 เพราะความผิดดังกล่าวเป็นความผิดต่อรัฐ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดตามมาตรา 43(4) และ 157 ด้วย ศาลชั้นต้นชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 และ 390 และพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43(4) และ 157
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์มีส่วนขับรถยนต์โดยประมาทโจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย พิพากษายกฟ้อง เมื่อโจทก์เป็นผู้เสียหายเฉพาะในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า เหตุรถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยแต่ฝ่ายเดียว โจทก์ไม่ได้มีส่วนประมาท เป็นอุทธรณ์โต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ของโจทก์และพิพากษามานั้น จึงเป็นการไม่ชอบ เมื่อโจทก์ฎีกาเช่นเดียวกับที่โจทก์อุทธรณ์อีก จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ แม้จะมีผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกา ก็ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ซึ่งจะอนุญาตให้ฎีกาได้เฉพาะในคดีซึ่งห้ามฎีกาไว้โดยมาตรา 218,219 และ 220 เท่านั้น มิได้ให้อนุญาตให้ฎีกาในกรณีดังกล่าวได้ โจทก์ย่อมไม่อาจฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์มีส่วนขับรถยนต์โดยประมาทโจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย พิพากษายกฟ้อง เมื่อโจทก์เป็นผู้เสียหายเฉพาะในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า เหตุรถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยแต่ฝ่ายเดียว โจทก์ไม่ได้มีส่วนประมาท เป็นอุทธรณ์โต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ของโจทก์และพิพากษามานั้น จึงเป็นการไม่ชอบ เมื่อโจทก์ฎีกาเช่นเดียวกับที่โจทก์อุทธรณ์อีก จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ แม้จะมีผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกา ก็ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ซึ่งจะอนุญาตให้ฎีกาได้เฉพาะในคดีซึ่งห้ามฎีกาไว้โดยมาตรา 218,219 และ 220 เท่านั้น มิได้ให้อนุญาตให้ฎีกาในกรณีดังกล่าวได้ โจทก์ย่อมไม่อาจฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทการขนส่งทางทะเล: หน้าที่การออก/ส่งมอบใบตราส่ง และอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหาย
โจทก์ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้ขนส่งสินค้าจากท่าเรือกรุงเทพไปส่งให้แก่ผู้ซื้อสินค้าที่ท่าเรือเมืองนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา จึงเป็นการว่าจ้างให้ขนส่งสินค้าทางทะเลจากที่แห่งหนึ่งแห่งใดในราชอาณาจักรไปยังที่อีก แห่งหนึ่งนอกราชอาณาจักร ซึ่งต้องนำ พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดกรณีพิพาทคดีนี้มาใช้บังคับตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว ทั้ง พ.ร.บ. ดังกล่าวได้บัญญัติถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ส่งของและผู้ขนส่งไว้ โดยเฉพาะ มาตรา 12 ได้บัญญัติไว้ว่า เมื่อผู้ขนส่งได้รับของไว้ในความดูแลแล้ว ถ้าผู้ส่งของเรียกเอาใบตราส่งผู้ขนส่งต้องออกให้ ข้อพิพาทที่ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ยอมส่งมอบใบตราส่งหรือโจทก์ไม่ยอมมารับใบตราส่งจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับหน้าที่ระหว่างผู้ขนส่งกับผู้ส่งของว่าผู้ใดเป็นฝ่ายไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามที่ พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 บัญญัติไว้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้ขนส่งสินค้าของโจทก์ทางเรือจากท่าเรือกรุงเทพไปยังท่าเรือเมืองนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา โจทก์ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมมอบใบตราส่งให้แก่โจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยไม่สามารถรับสินค้าหรือโอนสินค้าให้แก่ลูกค้าได้ ต้องเสียค่าเก็บของในคลังสินค้า จนต่อมารัฐบาลสหรัฐอเมริกาต้องนำสินค้าของโจทก์ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ค่าเก็บของในคลังสินค้านั้น เห็นได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ได้บรรยายให้เห็นว่าโจทก์ถูกจำเลยที่ 1 โต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่งและเกิดความเสียหายแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลได้ ส่วนการนำสินค้าของโจทก์ออกขายทอดตลาดแล้วหรือไม่ หรือขายแล้วได้เงินเท่าใด เป็นข้อเท็จจริงอันเป็นรายละเอียดที่จะนำมาพิจารณาต่อไป
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้ขนส่งสินค้าของโจทก์ทางเรือจากท่าเรือกรุงเทพไปยังท่าเรือเมืองนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา โจทก์ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมมอบใบตราส่งให้แก่โจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยไม่สามารถรับสินค้าหรือโอนสินค้าให้แก่ลูกค้าได้ ต้องเสียค่าเก็บของในคลังสินค้า จนต่อมารัฐบาลสหรัฐอเมริกาต้องนำสินค้าของโจทก์ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ค่าเก็บของในคลังสินค้านั้น เห็นได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ได้บรรยายให้เห็นว่าโจทก์ถูกจำเลยที่ 1 โต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่งและเกิดความเสียหายแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลได้ ส่วนการนำสินค้าของโจทก์ออกขายทอดตลาดแล้วหรือไม่ หรือขายแล้วได้เงินเท่าใด เป็นข้อเท็จจริงอันเป็นรายละเอียดที่จะนำมาพิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับขนของทางทะเล: หน้าที่ของผู้ขนส่งในการส่งมอบใบตราส่ง และอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหาย
โจทก์จ้างจำเลยที่ 1 ให้ขนส่งสินค้าจากท่าเรือกรุงเทพไปส่งที่ท่าเรือในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นการว่าจ้างให้ขนส่งสินค้าทางทะเลจากในราชอาณาจักรไปนอกราชอาณาจักร ต้องนำพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาใช้บังคับตามมาตรา 4 ทั้งมาตรา 12 ได้บัญญัติไว้ว่า เมื่อผู้ขนส่งได้รับของไว้ในความดูแลแล้ว ถ้าผู้ส่งของเรียกเอาใบตราส่งผู้ขนส่งต้องออกให้ข้อพิพาทที่ว่าจำเลยไม่ยอมส่งมอบใบตราส่งหรือโจทก์ไม่ยอมมารับใบตราส่งจากจำเลย จึงเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับหน้าที่ระหว่างผู้ขนส่งกับผู้ส่งของว่าผู้ใดเป็นฝ่ายไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามที่พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 บัญญัติไว้ดังกล่าว
โจทก์ว่าจ้างจำเลยขนส่งสินค้าของโจทก์จากท่าเรือกรุงเทพไปยังท่าเรือในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยส่งมอบสินค้าให้แล้วแต่จำเลยไม่ยอมมอบใบตราส่ง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถรับสินค้าหรือโอนสินค้าให้แก่ลูกค้าได้ ต้องเสียค่าเก็บของในคลังสินค้าจนต่อมารัฐบาลสหรัฐอเมริกาต้องนำสินค้าของโจทก์ออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินมาชำระหนี้ค่าเก็บของในคลังสินค้า เป็นกรณีที่โจทก์ถูกจำเลยโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง ส่วนการนำสินค้าของโจทก์ออกขายทอดตลาดแล้วหรือไม่ หรือขายแล้วได้เงินเท่าใดเป็นรายละเอียดที่จะนำมาพิจารณาประกอบการกำหนดค่าเสียหายของโจทก์ แต่ความเสียหายของโจทก์ได้เกิดขึ้นแล้ว ไม่ว่าจะมีการนำสินค้าของโจทก์ไปขายหรือไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ว่าจ้างจำเลยขนส่งสินค้าของโจทก์จากท่าเรือกรุงเทพไปยังท่าเรือในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยส่งมอบสินค้าให้แล้วแต่จำเลยไม่ยอมมอบใบตราส่ง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถรับสินค้าหรือโอนสินค้าให้แก่ลูกค้าได้ ต้องเสียค่าเก็บของในคลังสินค้าจนต่อมารัฐบาลสหรัฐอเมริกาต้องนำสินค้าของโจทก์ออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินมาชำระหนี้ค่าเก็บของในคลังสินค้า เป็นกรณีที่โจทก์ถูกจำเลยโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง ส่วนการนำสินค้าของโจทก์ออกขายทอดตลาดแล้วหรือไม่ หรือขายแล้วได้เงินเท่าใดเป็นรายละเอียดที่จะนำมาพิจารณาประกอบการกำหนดค่าเสียหายของโจทก์ แต่ความเสียหายของโจทก์ได้เกิดขึ้นแล้ว ไม่ว่าจะมีการนำสินค้าของโจทก์ไปขายหรือไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4549/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคลและผู้มีอำนาจกระทำการ, ฟ้องเคลือบคลุม, การกระทำแทนบริษัท
ฟ้องโจทก์ระบุว่า โจทก์ที่ 1 มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแห่งประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย ประเภทบริษัทจำกัด ใช้ชื่อว่าบริษัท ว. จำกัด มี ม. เป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวและเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้แทนโจทก์ที่ 1 และในฐานะส่วนตัวได้ติดต่อสั่งซื้อสินค้าประเภทเครื่องหนังและรองเท้ากับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ในฐานะกรรมการและผู้แทนของจำเลยที่ 2 ขายสินค้าให้โจทก์ภายหลังโจทก์พบว่า สินค้าของจำเลยชำรุดบกพร่อง ได้แจ้งให้จำเลยทั้งสามทราบและรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหาย แต่จำเลยเพิกเฉย คำฟ้องโจทก์ได้กล่าวบรรยายถึงฐานะโจทก์สภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างอันเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้โจทก์ที่ 1 เป็นนิติบุคคล ในคำฟ้องก็ไม่จำต้องระบุชื่อผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 ในช่องชื่อโจทก์ เป็นเรื่องที่โจทก์ต้องบรรยายในคำฟ้องอยู่แล้ว และตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองได้บรรยายไว้แล้วว่า โจทก์ที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1แต่เพียงผู้เดียว โจทก์ที่ 1 จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ที่ 2 กระทำการแทนบริษัทโจทก์ที่ 1 เมื่อสัญญาพิพาทเป็นสัญญาที่โจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นนิติบุคคลทำขึ้นโดยผู้มีอำนาจกระทำการเป็นผู้ทำแทนจึงย่อมผูกพันเฉพาะโจทก์ที่ 1 และเฉพาะโจทก์ที่ 1 เท่านั้น มีอำนาจฟ้องคดีได้ ผู้มีอำนาจกระทำการแทนจะฟ้องคดีในนามของตนเองแทนโจทก์ที่ 1 ตามสัญญานั้นไม่ได้ โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
แม้โจทก์ที่ 1 เป็นนิติบุคคล ในคำฟ้องก็ไม่จำต้องระบุชื่อผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 ในช่องชื่อโจทก์ เป็นเรื่องที่โจทก์ต้องบรรยายในคำฟ้องอยู่แล้ว และตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองได้บรรยายไว้แล้วว่า โจทก์ที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1แต่เพียงผู้เดียว โจทก์ที่ 1 จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ที่ 2 กระทำการแทนบริษัทโจทก์ที่ 1 เมื่อสัญญาพิพาทเป็นสัญญาที่โจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นนิติบุคคลทำขึ้นโดยผู้มีอำนาจกระทำการเป็นผู้ทำแทนจึงย่อมผูกพันเฉพาะโจทก์ที่ 1 และเฉพาะโจทก์ที่ 1 เท่านั้น มีอำนาจฟ้องคดีได้ ผู้มีอำนาจกระทำการแทนจะฟ้องคดีในนามของตนเองแทนโจทก์ที่ 1 ตามสัญญานั้นไม่ได้ โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4383/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: ผู้รับเงินตามเช็คมีอำนาจฟ้องได้ แม้สลักหลังเช็ค และไม่จำกัดเฉพาะผู้ทรงเช็ค ณ เวลาปฏิเสธการจ่าย
เช็คพิพาทระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงิน แต่ไม่ได้ขีดฆ่าคำว่าผู้ถือเช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือด้วย การสลักหลังเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ ป.พ.พ. มาตรา 921 ประกอบด้วยมาตรา 989 บัญญัติว่าเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย หาได้ถือว่าเป็นผู้สลักหลังตามกฎหมายไม่ ดังนั้น การที่โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทไม่ว่าจะเป็นการกระทำเพื่อเรียกเก็บเงินผ่านบัญชีของผู้อื่นซึ่งเป็นตัวแทน หรือโอนเช็คพิพาทไป เมื่อเช็คพิพาทถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ได้เช็คพิพาทกลับมาอยู่ในความยึดถือครอบครอง โจทก์ย่อมมีฐานะเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท ตามป.พ.พ. มาตรา904 จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้สั่งจ่ายภายในอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่เช็คพิพาทถึงกำหนด ตามป.พ.พ. มาตรา 1002
ผู้ทรงเช็คที่จะมีอำนาจฟ้องผู้สั่งจ่ายให้ใช้เงินตามเช็คมิได้จำกัดเฉพาะผู้ทรงเช็คขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเท่านั้น ผู้ที่รับโอนเช็คมาโดยสุจริตหลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก็เป็นผู้ทรงเช็คที่มีอำนาจฟ้องผู้สั่งจ่ายให้ใช้เงินตามเช็คได้ ดังนั้นโจทก์จะเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินหรือไม่ก็ตาม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
ผู้ทรงเช็คที่จะมีอำนาจฟ้องผู้สั่งจ่ายให้ใช้เงินตามเช็คมิได้จำกัดเฉพาะผู้ทรงเช็คขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเท่านั้น ผู้ที่รับโอนเช็คมาโดยสุจริตหลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก็เป็นผู้ทรงเช็คที่มีอำนาจฟ้องผู้สั่งจ่ายให้ใช้เงินตามเช็คได้ ดังนั้นโจทก์จะเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินหรือไม่ก็ตาม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4383/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: ผู้รับเงินตามเช็คมีอำนาจฟ้องได้แม้สลักหลังเช็คหรือไม่ และอายุความฟ้อง
เช็คพิพาทระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินแต่ไม่ได้ขีดฆ่าคำว่าผู้ถือ จึงเป็นเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือด้วย ย่อมโอนได้ด้วยการส่งมอบ ไม่จำต้องสลักหลัง หากมีการสลักหลังเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921 ประกอบด้วยมาตรา 989 บัญญัติว่าเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย หาได้ถือว่าเป็นผู้สลักหลังตามกฎหมายไม่ การที่โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทไม่ว่าจะเป็นการกระทำเพื่อเรียกเก็บเงินผ่านบัญชีของผู้อื่นซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์หรือโอนเช็คพิพาทไป เมื่อเช็คพิพาทถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ได้เช็คพิพาทกลับมาอยู่ในความยึดถือครอบครอง โจทก์ย่อมมีฐานะเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 ไม่อยู่ในฐานะผู้สลักหลัง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้สั่งจ่ายภายในอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่เช็คพิพาทถึงกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 ไม่ใช่กรณีที่จะบังคับตามมาตรา 1003 ซึ่งมีอายุความ 6 เดือนนับแต่วันที่ผู้สลักหลังถือเอาตั๋วเงินและใช้เงิน คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
ผู้ทรงเช็คที่จะมีอำนาจฟ้องผู้สั่งจ่ายให้ใช้เงินตามเช็ค ไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ทรงเช็คขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเท่านั้น ผู้ที่รับโอนเช็คมาโดยสุจริต หลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก็เป็นผู้ทรงเช็คที่มีอำนาจฟ้องผู้สั่งจ่ายให้ใช้เงินตามเช็คได้ โจทก์จะเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทขณะยื่นฟ้อง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
ผู้ทรงเช็คที่จะมีอำนาจฟ้องผู้สั่งจ่ายให้ใช้เงินตามเช็ค ไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ทรงเช็คขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเท่านั้น ผู้ที่รับโอนเช็คมาโดยสุจริต หลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก็เป็นผู้ทรงเช็คที่มีอำนาจฟ้องผู้สั่งจ่ายให้ใช้เงินตามเช็คได้ โจทก์จะเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทขณะยื่นฟ้อง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้