พบผลลัพธ์ทั้งหมด 278 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12114/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อในการซ่อมรถบรรทุกน้ำมัน ทำให้เกิดระเบิดและเสียชีวิต
การที่จำเลยนำรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปซ่อมรอยรั่วซึมของถังน้ำมัน โดยจำเลยไม่ได้แจ้งให้นายจ้างทราบก่อน กลับแจ้งผู้ตายโดยตรงให้ซ่อมถังน้ำมันของรถยนต์บรรทุกน้ำมัน อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในการทำงานที่มีขึ้นเพื่อความปลอดภัย และจำเลยไม่ได้บอกผู้ตายว่ารถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุบรรทุกน้ำมันเบนซินมาด้วย ทำให้ผู้ตายไม่ทราบข้อเท็จจริงจึงไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนในการทำงาน เป็นเหตุให้รถยนต์บรรทุกน้ำมันเกิดระเบิดขึ้นและผู้ตายถึงแก่ความตาย นับเป็นผลโดยตรงจากความประมาทของจำเลยฝ่ายเดียวที่งดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้น หาได้เกิดจากความประมาทของผู้ตายด้วยไม่ จำเลยจึงมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7016/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนองหลังผู้จำนองเสียชีวิต, เบี้ยปรับภาษีอากร และการประเมินที่ถูกต้องตามกฎหมาย
แม้โจทก์ฟ้องคดีเกิน 1 ปี หลังจากรู้ว่า ก. ตายก็ตาม แต่โจทก์ผู้รับจำนองยังสามารถใช้สิทธิบังคับจำนองได้ เพราะเหตุดังกล่าวไม่ทำให้หนี้ตามสัญญาจำนองระงับสิ้นไปตามที่ระบุไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 744
ป.รัษฎากร มาตรา 67 ตรี ได้กำหนดบทลงโทษให้ผู้เสียภาษีชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจประเมินให้จำเลยที่ 1 เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 26 อีก
บทบัญญัติใน ป.รัษฎากร มาตรา 89 มิได้มุ่งหมายให้ลงโทษผู้กระทำผิดเรียงตามอนุมาตราไป แต่มุ่งหมายให้ลงโทษตามอนุมาตราที่กำหนดเบี้ยปรับสูงสุดเพียงอนุมาตราเดียว จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (2) (3) (4) หรือ (10) เพียงอนุมาตราเดียวซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์สามารถเรียกเก็บเบี้ยปรับได้สูงสุด
สำหรับกรณีเบี้ยปรับตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (8) และ (9) ทั้งสองกรณี เป็นการเสียเบี้ยปรับที่สามารถแยกจากบทบัญญัติตามมาตรา 89 (2) (3) (4) (10) ได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (8) หรือ (9) อีกฐานหนึ่ง
ป.รัษฎากร มาตรา 67 ตรี ได้กำหนดบทลงโทษให้ผู้เสียภาษีชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจประเมินให้จำเลยที่ 1 เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 26 อีก
บทบัญญัติใน ป.รัษฎากร มาตรา 89 มิได้มุ่งหมายให้ลงโทษผู้กระทำผิดเรียงตามอนุมาตราไป แต่มุ่งหมายให้ลงโทษตามอนุมาตราที่กำหนดเบี้ยปรับสูงสุดเพียงอนุมาตราเดียว จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (2) (3) (4) หรือ (10) เพียงอนุมาตราเดียวซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์สามารถเรียกเก็บเบี้ยปรับได้สูงสุด
สำหรับกรณีเบี้ยปรับตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (8) และ (9) ทั้งสองกรณี เป็นการเสียเบี้ยปรับที่สามารถแยกจากบทบัญญัติตามมาตรา 89 (2) (3) (4) (10) ได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (8) หรือ (9) อีกฐานหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16040/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นสิทธิเฉพาะตัว สิ้นสุดเมื่อบิดามารดาเสียชีวิต ไม่ตกทอดเป็นมรดก
ป.พ.พ. มาตรา 1598/41 กำหนดถึงสิทธิของผู้เยาว์ที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดาว่าจะสละหรือโอนไม่ได้ และไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดี สิทธิหน้าที่เกี่ยวกับค่าอุปการะเลี้ยงดูจึงเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้ทรงสิทธิและหน้าที่ที่จะต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวเช่นกัน หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย สิทธิและหน้าที่ดังกล่าวก็เป็นอันสิ้นสุดลงไม่ตกทอดไปยังทายาท เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นบิดาถึงแก่ความตายไปแล้วสภาพบุคคลของโจทก์ก็หมดสิ้นไป ภาระหน้าที่ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์นับแต่มีคำพิพากษาจนบุตรบรรลุนิติภาวะจึงยุติไปด้วย แม้โจทก์จะทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทไว้ก็ตาม หน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูของโจทก์ก็ไม่ตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 และมาตรา 1600 กองมรดกของโจทก์ไม่ต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองให้แก่จำเลยอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังผู้มอบอำนาจเสียชีวิต: หนังสือมอบอำนาจสิ้นผล ทำให้การโอนไม่สมบูรณ์
ส. ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ป. ไปจดทะเบียนขายที่ดิน แต่ตราบใดที่ยังมิได้ไปจดทะเบียนขายที่ดิน การขายก็ยังไม่มีขึ้นโดยสมบูรณ์ เพราะยังไม่ได้ทำตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง เมื่อ ส. ถึงแก่ความตาย หนังสือมอบอำนาจย่อมสิ้นผล ตาม ป.พ.พ. มาตรา 826 วรรคสอง การที่ ป. นำหนังสือมอบอำนาจที่สิ้นผลแล้วไปดำเนินการจดทะเบียนขายที่ดินหลังจาก ส. ถึงแก่ความตายแล้ว จึงไม่มีผลให้ผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนกองมรดกของ ส. เพื่อประโยชน์ของทายาทต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7632/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คู่ความในชั้นขอกันส่วน: จำเลยไม่ต้องเข้าเป็นคู่ความแทนเมื่อถึงแก่ความตาย
คู่ความ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล ซึ่งในชั้นขอกันส่วน คู่ความคือ ผู้ร้องทั้งสองกับโจทก์ผู้ซึ่งยื่นคำคัดค้านเข้ามาในคดี ส่วนจำเลยทั้งสองนั้นหาได้เป็นคู่ความในชั้นขอกันส่วนไม่ คู่ความคงมีเฉพาะผู้ร้องกับโจทก์เท่านั้น ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายไปก่อนวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ก็มิใช่กรณีที่จะต้องเลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาออกไป จนกว่าจะมีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7632/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คู่ความในชั้นขอกันส่วน: จำเลยไม่ต้องมีผู้แทนเมื่อเสียชีวิต
คู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1(11) หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาลซึ่งในชั้นร้องขอกันส่วน คู่ความ คือผู้ร้องทั้งสองกับโจทก์ผู้ซึ่งยื่นคำคัดค้านเข้ามาในคดี ส่วนจำเลยทั้งสองนั้นหาได้เป็นคู่ความในชั้นขอกันส่วนไม่ คู่ความคงมีเฉพาะผู้ร้องกับโจทก์เท่านั้น ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายไปก่อนวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ก็มิใช่กรณีที่จะขอให้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาออกไปจนกว่าจะมีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11076/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายฟ้องคดีหลังผู้มอบอำนาจเสียชีวิต: ศาลไม่รับฎีกาหากทนายไม่มีอำนาจตามกฎหมาย
ตามคำร้องของทนายโจทก์ที่ 2 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2545 ปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2545 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ทนายโจทก์ที่ 2 ดำเนินคดีแทนโจทก์ที่ 2 ในฐานะตัวแทนเพื่อไม่ให้กระบวนพิจารณาเสียหายเท่านั้น หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่ามีผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือภริยาของโจทก์ที่ 2 ประสงค์เข้าดำเนินคดีแทนโจทก์ที่ 2 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 29 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 การที่โจทก์ที่ 2 ฎีกาโดยทนายโจทก์ที่ 2 เป็นผู้กระทำการแทนและลงลายมือชื่อเป็นผู้ฎีกาเช่นนี้ เมื่อโจทก์ที่ 2 ถึงแก่ความตายระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นนับจนถึงเวลาที่ทนายโจทก์ที่ 2 ยื่นฎีกาเป็นเวลาเกือบ 3 ปี ทนายโจทก์ที่ 2 ย่อมหมดสภาพจากการเป็นทนายของโจทก์ที่ 2 และล่วงเลยเวลาที่ทนายโจทก์ที่ 2 จะจัดการอันสมควรเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ที่โจทก์ที่ 2 มอบหมายแก่ตน จนกว่าจะมีผู้เข้าดำเนินคดีแทนโจทก์ที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 828 แล้ว จึงไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 2 อีกต่อไป ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ที่ 2 มาเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6393/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขาดไร้อุปการะจากการเสียชีวิต: ความคุ้มครองประกันภัยแยกจากค่าเสียหายอื่น
ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุจำนวนเงินจำกัดความรับผิด กรมธรรม์ประกันภัยนี้ให้ความคุ้มครองเฉพาะสัญญาข้อที่มีจำนวนเงินจำกัดความรับผิดระบุไว้เท่านั้น ในข้อสัญญาดังกล่าวไม่ระบุถึงต้องรับผิดในส่วนค่าขาดไร้อุปการะด้วยการที่จำเลยจ่ายเงินไปเห็นได้ชัดว่าเป็นค่าปลงศพเท่านั้น การจ่ายเงินค่าซ่อมรถก็เป็นค่าเสียหายต่อทรัพย์สินซึ่งค่าเสียหายทั้งสองรายการนี้ต้องจ่ายตามกรมธรรม์ประกันภัยที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับจำเลยร่วมเท่านั้น ในการทำละเมิดเป็นเหตุให้บุตรของโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตาย โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสาม ประกอบมาตรา 1563 ไม่ว่าในขณะเกิดเหตุผู้ตายจะได้อุปการะเลี้ยงดูโจทก์ทั้งสองจริงหรือไม่ และในอนาคตจะอุปการะกันหรือไม่ การที่โจทก์ทั้งสองถอนฟ้องจำเลยร่วมที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ขอให้ศาลเรียกเข้ามานั้น ไม่มีผลเกี่ยวกับจำเลยทั้งห้าเพราะคดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้จำเลยทั้งห้าชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย ไม่ใช่ค่าปลงศพและค่าเสียหายต่อทรัพย์สินของกรมธรรม์ประกันภัย จึงไม่เป็นการปลดหนี้ให้แก่จำเลยร่วมอันจะมีผลทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 หลุดพ้นจากความรับผิดในส่วนนี้ ทั้งการที่โจทก์ทั้งสองทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยร่วมว่าไม่ติดใจเรียกร้องอะไรอีกนั้น เป็นกรณีเฉพาะการประนีประนอมยอมความกันในเรื่องค่าซ่อมรถเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2423/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารมีหน้าที่คืนเงินฝากตามสัญญา แม้ผู้ฝากเสียชีวิต สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากความล่าช้าในการคืนเงิน
ประเด็นข้อพิพาทมีว่า จำเลยมีสิทธิระงับการเบิกถอนเงินของโจทก์จากบัญชีพิพาทหรือไม่ ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่า ผู้ฝากเงินกับธนาคารมีนิติสัมพันธ์กันตามลักษณะฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 665 บัญชีพิพาทถือมิได้ว่าเป็นบัญชีเงินฝากของ ท. ดังนั้น จำเลยผู้รับฝากเงินจึงไม่มีสิทธิระงับการเบิกถอนเงินของโจทก์ผู้ฝากเงินจากบัญชีพิพาท เมื่อโจทก์ขอเบิกถอนเงินจำเลยต้องคืนเงินฝากให้แก่โจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า เมื่อโจทก์ปิดบัญชีพิพาทกับจำเลยย่อมทำให้จำเลยเป็นผู้ทรงสิทธิในการคืนเงินแก่โจทก์ และมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่จำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิยึดหน่วงทรัพย์สินนั้นไว้ได้โดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 241 เท่ากับวินิจฉัยในประเด็นว่าจำเลยมีสิทธิยึดหน่วงเงินฝากในบัญชีพิพาทหรือไม่ ทั้งเป็นการก้าวล่วงไปวินิจฉัยในเรื่องมรดกว่าจำเลยมีสิทธิยึดหน่วงเงินฝากเพื่อคุณประโยชน์ของทายาทอื่นของ ท. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก อันเป็นการนอกเหนือไปจากที่ ป.พ.พ. มาตรา 241 บัญญัติไว้ว่า ให้ยึดหน่วงได้เฉพาะหนี้อันเป็นคุณประโยชน์กับคู่กรณีเท่านั้นจึงเป็นการผิดไปจากที่กฎหมายกำหนดไว้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่โจทก์และจำเลยโต้แย้งกัน รวมทั้งก้าวล่วงไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงเรื่องเอกสารการเปิดบัญชีเงินฝากประจำของ ท. ที่ตามคำฟ้องของโจทก์และจำเลยไม่ได้โต้เถียงกันให้เห็นเป็นอย่างอื่นอีกด้วยว่ามีลักษณะเป็นการหลอกลวงหรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้จึงเป็นการวินิจฉัยเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องและคำให้การ เป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้แม้โจทก์ไม่ได้ยกขึ้นฎีกาแต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 และเมื่อปรากฏว่าคดีมีพยานหลักฐานเพียงพอแก่การวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยต่อไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
หลังจากโจทก์เบิกเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของ ท. บิดาโจทก์ไปแล้ว แม้ว่าต่อมาโจทก์นำเงินมาฝากตามบัญชีพิพาทในนามของโจทก์ เท่ากับโจทก์เป็นผู้ฝากเงินตามบัญชีพิพาท ส่วนปัญหาที่ว่าเงินในบัญชีพิพาทเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ บรรดาทายาทต้องไปว่ากล่าวเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหากไม่เกี่ยวกับคดีนี้ นอกจากนี้ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น มีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ท. ซึ่งตามคำให้การของจำเลย จำเลยรับว่าจะคืนเงินให้แก่ทายาทที่ศาลมีคำสั่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของ ท. ต่อไป เงื่อนไขอันเป็นข้อต่อสู้เรื่องระงับการเบิกถอนเงินของจำเลยหมดสิ้นไปแล้วส่วนการที่โจทก์เบิกเงินฝากประจำของ ท. ไปก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ท. และจำเลยยินยอมให้โจทก์เบิกเงินดังกล่าวไปได้ ก็ถือเป็นการยอมรับความเสี่ยงภัยของจำเลยเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 665 วรรคสอง ไม่เกี่ยวกับบัญชีเงินฝากพิพาท ดังนั้น เมื่อโจทก์ประสงค์จะถอนเงินฝากจากบัญชีพิพาท จำเลยก็ต้องคืนให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 665 วรรคสอง เมื่อโจทก์ไปยื่นคำขอเบิกเงินจากบัญชีพิพาทจากจำเลยครั้งแรก แต่จำเลยระงับการจ่ายเงินให้แก่โจทก์ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์
ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาจากการที่จำเลยไม่ยินยอมให้โจทก์ถอนเงินฝากโดยอ้างว่าโจทก์ได้รับความเดือดร้อนขอค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน 350,000 บาท และโจทก์ไม่สามารถนำเงินจากบัญชีพิพาทไปร่วมลงทุนกับญาติทำการค้าขายเครื่องยนต์เก่าและเครื่องมือช่างได้ ทำให้ขาดกำไรเป็นเงินวันละ 1,000 บาท ถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากพฤติการณ์พิเศษซึ่งคู่กรณีต้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นก่อนแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคสอง แต่โจทก์มิได้นำสืบว่าจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นว่าโจทก์จะได้รับความเสียหายดังกล่าว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ให้แก่โจทก์
โจทก์มีคำขอท้ายคำฟ้อง ขอให้บังคับจำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้อง แต่ศาลชั้นต้นกำหนดดอกเบี้ยให้นับแต่วันทำละเมิดซึ่งเกินคำขอจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข ส่วนดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องจำเลยยอมรับมาในคำให้การว่าจำเลยยินยอมชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตลอดเวลาที่ฝากเงินโดยในขณะยื่นคำให้การอัตราร้อยละ 3.25 ต่อปี ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องตามที่จำเลยยอมรับ
หลังจากโจทก์เบิกเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของ ท. บิดาโจทก์ไปแล้ว แม้ว่าต่อมาโจทก์นำเงินมาฝากตามบัญชีพิพาทในนามของโจทก์ เท่ากับโจทก์เป็นผู้ฝากเงินตามบัญชีพิพาท ส่วนปัญหาที่ว่าเงินในบัญชีพิพาทเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ บรรดาทายาทต้องไปว่ากล่าวเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหากไม่เกี่ยวกับคดีนี้ นอกจากนี้ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น มีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ท. ซึ่งตามคำให้การของจำเลย จำเลยรับว่าจะคืนเงินให้แก่ทายาทที่ศาลมีคำสั่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของ ท. ต่อไป เงื่อนไขอันเป็นข้อต่อสู้เรื่องระงับการเบิกถอนเงินของจำเลยหมดสิ้นไปแล้วส่วนการที่โจทก์เบิกเงินฝากประจำของ ท. ไปก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ท. และจำเลยยินยอมให้โจทก์เบิกเงินดังกล่าวไปได้ ก็ถือเป็นการยอมรับความเสี่ยงภัยของจำเลยเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 665 วรรคสอง ไม่เกี่ยวกับบัญชีเงินฝากพิพาท ดังนั้น เมื่อโจทก์ประสงค์จะถอนเงินฝากจากบัญชีพิพาท จำเลยก็ต้องคืนให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 665 วรรคสอง เมื่อโจทก์ไปยื่นคำขอเบิกเงินจากบัญชีพิพาทจากจำเลยครั้งแรก แต่จำเลยระงับการจ่ายเงินให้แก่โจทก์ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์
ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาจากการที่จำเลยไม่ยินยอมให้โจทก์ถอนเงินฝากโดยอ้างว่าโจทก์ได้รับความเดือดร้อนขอค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน 350,000 บาท และโจทก์ไม่สามารถนำเงินจากบัญชีพิพาทไปร่วมลงทุนกับญาติทำการค้าขายเครื่องยนต์เก่าและเครื่องมือช่างได้ ทำให้ขาดกำไรเป็นเงินวันละ 1,000 บาท ถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากพฤติการณ์พิเศษซึ่งคู่กรณีต้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นก่อนแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคสอง แต่โจทก์มิได้นำสืบว่าจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นว่าโจทก์จะได้รับความเสียหายดังกล่าว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ให้แก่โจทก์
โจทก์มีคำขอท้ายคำฟ้อง ขอให้บังคับจำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้อง แต่ศาลชั้นต้นกำหนดดอกเบี้ยให้นับแต่วันทำละเมิดซึ่งเกินคำขอจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข ส่วนดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องจำเลยยอมรับมาในคำให้การว่าจำเลยยินยอมชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตลอดเวลาที่ฝากเงินโดยในขณะยื่นคำให้การอัตราร้อยละ 3.25 ต่อปี ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องตามที่จำเลยยอมรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความรับผิดนายจ้างต่อการเสียชีวิตของลูกจ้างระหว่างการเดินทางเพื่อเจรจาค่าเสียหาย
การที่ น. ขับรถยนต์จากกรุงเทพมหานครไปที่จังหวัดชัยนาทตามคำสั่งของ พ. ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท พ. และเป็นนายจ้างของ น. เพื่อพา พ. ไปเจรจาเพื่อชดใช้ความเสียหายกรณีที่ พ. เคยขับรถยนต์ชนกับรถยนต์ของบุคคลอื่นในระหว่างการทำตามหน้าที่ของผู้แทนบริษัท พ. เป็นการไปเพื่อตกลงชดใช้ค่าเสียหายประนีประนอมยอมความหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 850, 852 สำหรับการทำละเมิดของ พ. ที่บริษัท พ. อาจต้องรับผิดในความเสียหายด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 77, 425, 427 การไปเจรจาเพื่อชดใช้ความเสียหายของ พ. เป็นการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่บริษัท พ. ดังนั้น แม้ น. จะไม่ได้ป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างแต่ก็ได้ทำงานตามคำสั่งของนายจ้าง แต่ในระหว่างการเดินทางก่อนการเจรจาเรื่องค่าเสียหาย มีคนร้ายใช้อาวุธปืนยิง น. และ พ. ถึงแก่ความตายโดยไม่ปรากฏสาเหตุการถูกคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงไม่ได้เกิดในระหว่างการเจรจาหรือสืบเนื่องมาจากการเจรจาเรื่องค่าเสียหาย ทั้งไม่ใช่เหตุที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นได้จากการเดินทาง จึงมิใช่ผลโดยตรงจากการทำงาน หรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง หรือตามคำสั่งของนายจ้าง การที่ น. และ พ. ถึงแก่ความตายจึงถือไม่ได้ว่าเนื่องจากการทำงาน หรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่บริษัท พ. ซึ่งเป็นนายจ้าง น. จึงไม่ได้ประสบอันตรายตามความในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ. 2537