คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่เป็นธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 476 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การกระทำผิดระเบียบข้อบังคับไม่ใช่ความผิดร้ายแรง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์เพียงแต่ทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลย ไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่อันถือว่าเป็นความผิดที่ร้ายแรง จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ปัญหาดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเพราะจำเลยอุทธรณ์ แต่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่รับ เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์ว่าแม้โจทก์เพียงกระทำผิดระเบียบข้อบังคับ จำเลยก็มีสิทธิที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม คงอุทธรณ์ข้อที่ว่าการสอบสวนความผิดชอบด้วยระเบียบข้อบังคับการทำงานหรือไม่ ข้ออุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย เพราะไม่ทำให้ผลของคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การพิสูจน์ความผิดร้ายแรงเป็นสาระสำคัญ หากพิสูจน์ได้เพียงผิดระเบียบ ย่อมเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์เพียงแต่ทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่อันถือว่าเป็นความผิดที่ร้ายแรงจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมปัญหาดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเพราะจำเลยอุทธรณ์แต่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่รับเมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์ว่าแม้โจทก์เพียงกระทำผิดระเบียบข้อบังคับจำเลยก็มีสิทธิที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมคงอุทธรณ์ข้อที่ว่าการสอบสวนความผิดชอบด้วยระเบียบข้อบังคับการทำงานหรือไม่ข้ออุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลของคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม แม้การสอบสวนไม่ถูกต้อง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์เพียงแต่ทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่อันถือว่าเป็นความผิดที่ร้ายแรงจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมปัญหาดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเพราะจำเลยอุทธรณ์แต่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่รับเมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์ว่าแม้โจทก์เพียงกระทำผิดระเบียบข้อบังคับจำเลยก็มีสิทธิที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมคงอุทธรณ์ข้อที่ว่าการสอบสวนความผิดชอบด้วยระเบียบข้อบังคับการทำงานหรือไม่ข้ออุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลของคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 967/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลมีอำนาจสั่งให้รับกลับเข้าทำงาน หรือจ่ายค่าเสียหาย และการวินิจฉัยข้อเท็จจริง
โจทก์มีคำขอบังคับรวมมาสองทางคือขอให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานและขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระเงินต่างๆอันจะพึงเกิดแก่การเลิกจ้างด้วยแม้โจทก์มิได้ระบุให้แจ้งชัดว่าหากบังคับคดีไม่ได้ตามกรณีแรกก็ขอให้บังคับคดีตามกรณีที่สองแต่โดยผลของกฎหมายและตามสภาพแห่งหนี้ย่อมหยั่งทราบเจตนาของโจทก์ได้โดยง่ายฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานได้ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา49 จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินตามฟ้องเพราะโจทก์กระทำความผิดเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งศาลฎีการับวินิจฉัยไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและสิทธิการได้รับค่าชดเชย รวมถึงดอกเบี้ยตามคำขอ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 47 ใช้บังคับสำหรับกรณีที่มีการเลิกจ้างกันแล้วนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ ส่วนนายจ้างจะมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างได้หรือไม่ ย่อมต้องพิจารณาตามข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
การกระทำของลูกจ้างแม้มีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างได้ตามข้อบังคับหรือระเบียบวินัยเกี่ยวกับการทำงาน แต่ถ้าไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามที่กำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 483 นายจ้างจะต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในค่าชดเชยตั้งแต่วันฟ้องการที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับเงินต้นค่าชดเชยตั้งแต่วันเลิกจ้างโดยที่ไม่ปรากฏเหตุใด ๆ เพื่อความเป็นธรรม จึงเป็นการเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและค่าชดเชย: การพิจารณาเหตุผลในการเลิกจ้างและขอบเขตการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 47ใช้บังคับสำหรับกรณีที่มีการเลิกจ้างกันแล้วนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ ส่วนนายจ้างจะมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างได้หรือไม่ ย่อมต้องพิจารณาตามข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน ซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแต่ละสถานประกอบการเป็นราย ๆ ไป การกระทำของลูกจ้างแม้มีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างได้ตามข้อบังคับหรือระเบียบวินัยเกี่ยวกับการทำงานแต่ถ้าไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามที่กำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583นายจ้างจะต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในค่าชดเชยตั้งแต่วันฟ้องการที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับเงินต้นค่าชดเชยตั้งแต่วันเลิกจ้างโดยที่ไม่ปรากฏเหตุใด ๆ เพื่อความเป็นธรรมจึงเป็นการเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 706/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและอายุการทำงานใหม่: สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ได้ระบุการนับอายุงานเดิม
เลิกจ้างเพราะการปฏิบัติงานไม่เป็นที่พอใจไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานใหม่มิได้กล่าวถึงอายุการทำงานว่าจะนับต่อกับอายุการทำงานเดิมหรือไม่ต้องเริ่มนับอายุการทำงานใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4490/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: โจทก์มีหน้าที่นำสืบ, ศาลมีดุลยพินิจเรียกจำเลยร่วม, การทำงานบกพร่องไม่เป็นเหตุยกเว้นค่าชดเชย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม จำเลยให้การว่า การเลิกจ้างของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว ดังนี้ โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมตามที่กล่าวอ้างในคำฟ้อง
กรณีที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยหลังจากยื่นฟ้องแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)(ก) นั้น ศาลแรงงานกลางจะเรียกให้ตามที่ขอหรือไม่ย่อมเป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลางจึงเป็นข้อเท็จจริง อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่เรียกเป็นการไม่ชอบ จึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 54
การที่โจทก์ทำงานบกพร่อง ขาดความสามารถ หรือไม่สามารถทำงานร่วมกับพนักงานอื่น เป็นเพียงคุณลักษณะส่วนตัวของโจทก์ ไม่ใช่การฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 และไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4490/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระหน้าที่นำสืบในคดีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และสิทธิการได้รับค่าชดเชย-สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมจำเลยให้การว่าการเลิกจ้างของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้วดังนี้โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมตามที่กล่าวอ้างในคำฟ้อง กรณีที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยหลังจากยื่นฟ้องแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(3)(ก)นั้นศาลแรงงานกลางจะเรียกให้ตามที่ขอหรือไม่ย่อมเป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลางจึงเป็นข้อเท็จจริงอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่เรียกเป็นการไม่ชอบจึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา54 การที่โจทก์ทำงานบกพร่องขาดความสามารถหรือไม่สามารถทำงานร่วมกับพนักงานอื่นเป็นเพียงคุณลักษณะส่วนตัวของโจทก์ไม่ใช่การฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานกรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583และไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4085/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินหญิงเนื่องจากตั้งครรภ์ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างในตำแหน่งพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินหญิง ตามสัญญาและข้อบังคับของจำเลยมิได้มีข้อกำหนดว่า พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินหญิงจะทำการสมรสมิได้ หรือหากตั้งครรภ์ต้องออกจากงาน การที่จำเลยได้ออกข้อบังคับในเวลาต่อมาว่า พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินหญิง เมื่อตั้งครรภ์แล้วให้ออกจากงาน เป็นการเพิ่มเหตุให้ออกจากงาน ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างในตำแหน่งนี้จำเลยออกข้อบังคับมาเองโดยมิได้มีข้อเรียกร้องของฝ่ายใด จึงไม่อาจใช้บังคับได้ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20 เมื่อระหว่างเป็นลูกจ้างในตำแหน่งดังกล่าว โจทก์ทำการสมรสและต่อมาตั้งครรภ์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุนี้ได้
of 48