พบผลลัพธ์ทั้งหมด 443 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1241/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างต้องรับผิดต่อการกระทำของลูกจ้างในการปฏิบัติงานตามสัญญา
จำเลยที่ 2 เป็นนายท้ายและผู้ควบคุมเรือยนต์ทำงานในฐานเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และรับจ้างลากจูงเรือของโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 ทำให้เรือบรรทุกข้าวของโจทก์ล่มเป็นไปในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 979/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์: การกระทำต้องแสดงการเบียดบังทรัพย์เป็นของตน ไม่ใช่แค่ไม่ยอมไถ่คืน
โจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานยักยอกระบุการกระทำที่เป็นความผิดเฉพาะแต่ตอนที่ว่า "เจ้าทรัพย์ได้ไปขอไถ่แหวนเพชรที่จำนำจำเลยไว้จำเลยไม่ยอมให้ไถ่" เช่นนี้ ไม่เป็นการแสดงว่าจำเลยเบียดบังที่จะเอาทรัพย์(แหวน เพชร) นั้นเป็นของตนโดยทุจริต หากเป็นแต่เพียงแสดงว่าจำเลยผิดสัญญาในทางแพ่งเท่านั้น ส่วนข้อความที่บรรยายในฟ้องตอนต้นที่ว่า "จำเลยมีเจตนาทุจริตเบียดบังเอาแหวนเพชร ซึ่งได้รับจำนำไว้เป็นประโยชน์ของตนเสีย" นั้น เป็นเพียงข้อความที่แสดงเจตนาของจำเลยว่าจะยักยอกทรัพย์เท่านั้น หาใช่การกระทำไม่
เมื่อฟ้องของโจทก์ระบุการกระทำผิดแต่เพียงว่าเจ้าทรัพย์ได้ไปขอไถ่แหวนเพชรที่จำนำจำเลยไว้ จำเลยไม่ยอมให้ไถ่เช่นนี้ โจทก์จะนำสืบถึงการกระทำอย่างอื่นเพื่อแสดงว่าจำเลยเบียดบังเอาแหวนเพชร เป็นของตนก็ย่อมไม่ได้ เพราะเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
เมื่อฟ้องของโจทก์แม้จะสืบได้ความก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ ก็แสดงให้เห็นว่าเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์มาแต่ต้น
เมื่อฟ้องของโจทก์ระบุการกระทำผิดแต่เพียงว่าเจ้าทรัพย์ได้ไปขอไถ่แหวนเพชรที่จำนำจำเลยไว้ จำเลยไม่ยอมให้ไถ่เช่นนี้ โจทก์จะนำสืบถึงการกระทำอย่างอื่นเพื่อแสดงว่าจำเลยเบียดบังเอาแหวนเพชร เป็นของตนก็ย่อมไม่ได้ เพราะเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
เมื่อฟ้องของโจทก์แม้จะสืบได้ความก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ ก็แสดงให้เห็นว่าเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์มาแต่ต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 979/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดยักยอก: การกระทำต้องแสดงการเบียดบังทรัพย์โดยทุจริต ไม่ใช่แค่การไม่ยอมไถ่คืน
โจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานยักยอกระบุการกระทำที่เป็นความผิดเฉพาะแต่ตอนที่ว่า "เจ้าทรัพย์ได้ไปขอไถ่แหวนเพชรที่จำนำจำเลยไว้จำเลยไม่ยอมให้ไถ่" เช่นนี้ ไม่เป็นการแสดงว่าจำเลยเบียดบังที่จะเอาทรัพย์(แหวนเพชร)นั้นเป็นของตนโดยทุจริต หากเป็นแต่เพียงแสดงว่าจำเลยผิดสัญญาในทางแพ่งเท่านั้น ส่วนข้อความที่บรรยายในฟ้องตอนต้นที่ว่า "จำเลยมีเจตนาทุจริตเบียดบังเอาแหวนเพชรซึ่งได้รับจำนำไว้เป็นประโยชน์ของตนเสีย" นั้น เป็นเพียงข้อความที่แสดงเจตนาของจำเลยว่าจะยักยอกทรัพย์เท่านั้น หาใช่การกระทำไม่
เมื่อฟ้องของโจทก์ระบุการกระทำผิดแต่เพียงว่าเจ้าทรัพย์ได้ไปขอไถ่แหวนเพชรที่จำนำจำเลยไว้ จำเลยไม่ยอมให้ไถ่ เช่นนี้ โจทก์จะนำสืบถึงการกระทำอย่างอื่นเพื่อแสดงว่าจำเลยเบียดบังเอาแหวนเพชรเป็นของตนก็ย่อมไม่ได้ เพราะเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
เมื่อฟ้องของโจทก์แม้จะสืบได้ความก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ก็แสดงให้เห็นว่าเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์มาแต่ต้น
เมื่อฟ้องของโจทก์ระบุการกระทำผิดแต่เพียงว่าเจ้าทรัพย์ได้ไปขอไถ่แหวนเพชรที่จำนำจำเลยไว้ จำเลยไม่ยอมให้ไถ่ เช่นนี้ โจทก์จะนำสืบถึงการกระทำอย่างอื่นเพื่อแสดงว่าจำเลยเบียดบังเอาแหวนเพชรเป็นของตนก็ย่อมไม่ได้ เพราะเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
เมื่อฟ้องของโจทก์แม้จะสืบได้ความก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ก็แสดงให้เห็นว่าเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์มาแต่ต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง และข้อยกเว้นค่าอุปการะเลี้ยงดู
กรมกองต่าง ๆ ซึ่งสังกัดในกระทรวง แม้จะมีการแบ่งแยกงานเป็นสัดส่วนก็ถือว่าเป็นงานของกรมนั้น ๆ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนขับรถยนต์ในราชการของกรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 2 แม้ในวันเกิดเหตุจะเป็นวันอาทิตย์หยุดราชการก็ตาม หากปรากฎว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเอารถยนต์ซึ่งได้รับอนุญาตให้ยืมไปแล้ว ถือได้ว่าเป็นการกระทำในทางการที่จ้าง เมื่อมีการละเมิดเกิดขึ้น จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดชอบ
เมื่อโจทก์มีอายุบรรลุนิติภาวะและมีสามีแล้วและไม่ได้ความว่าเป็นผู้ทุพพลภาพ หาเลี้ยงตนเองมิได้ ก็ไม่อยู่ในอำนาจที่ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้ค่าสินไหมทดแทนในฐานะต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย
เมื่อโจทก์มีอายุบรรลุนิติภาวะและมีสามีแล้วและไม่ได้ความว่าเป็นผู้ทุพพลภาพ หาเลี้ยงตนเองมิได้ ก็ไม่อยู่ในอำนาจที่ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้ค่าสินไหมทดแทนในฐานะต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในคดีอาญา: การกระทำต่างกรรมต่างวาระไม่ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
พฤติการณ์ที่ไม่ถือว่าเป็นการฟ้องซ้ำในคดีอาญา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1970/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฆ่าโดยทรมานต้องมีเหตุพิเศษนอกเหนือจากการฆ่าธรรมดา
การที่จำเลยจะผิดฐานฆ่าคนตายโดยวิธีทรมานจำเลยจะต้องแสดงการกระทำเป็นพิเศษ นอกเหนือจากการฆ่าอย่างธรรมดา อันจะทำให้ผู้ตายได้รับความลำบากอย่างสาหัส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1945/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการยิงใกล้ชิดและความหึงหวง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการกระทำแสดงเจตนาฆ่า
จำเลยกับผู้เสียหายต่างรักใคร่กับหญิงคนรักคนๆ เดียวกันคนรักถูกผู้ปกครองต่อว่าเสียใจวิ่งขึ้นบนห้อง จำเลยตามขึ้นไป ผู้เสียหายตามขึ้นไปภายหลัง ถามจำเลยว่ามึงมาใหญ่โตที่นี่หรือ จำเลยยกมือไหว้ว่ามีอะไรสั่งสอนผมผมนับถือพี่พงษ์(ผู้เสียหาย)แล้วจำเลยกับผู้เสียหายใช้มือผลักกันไปมา คนรักหนีเข้าห้อง จำเลยวิ่งหนีไปอีกห้องติดๆกัน ผู้เสียหายตามเข้าไปกอดคนรักและพูดว่า"พี่อยู่ทั้งคนไม่ต้องกลัว" ทันใดจำเลยอยู่หน้าประตูห้องคนรักก็ยิงผู้เสียหาย ดังนี้การกระทำของผู้เสียหายหาใช่เป็นการข่มเหงไม่ และไม่ใช่เป็นการชวนวิวาทเพราะเมื่อจำเลยหนีเข้าไปในห้องอีกห้องหนึ่ง ผู้เสียหายไม่ได้ติดตามเข้าไปหรือพูดอะไรกับจำเลยอีก ผู้เสียหายพูดว่าจำเลยในฐานเป็นผู้ใหญ่กว่า การผลักกันไปมานั้นก็ไม่หมายความว่าผู้เสียหายผลักจำเลยเป็นการชวนทำร้าย
อาวุธปืนเป็นของร้ายแรง แผลที่จำเลยยิงก็อยู่ใกล้อวัยวะส่วนสำคัญของร่างกาย จำเลยยิงในระยะใกล้ๆ 1 วาเศษ อย่างน้อย 2 นัด และยิงเพราะความหึงหวงที่ผู้เสียหายกอดหญิงที่ตนรักใคร่ จึงส่อให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าตาม มาตรา 249 ไม่ใช่ 256
อาวุธปืนเป็นของร้ายแรง แผลที่จำเลยยิงก็อยู่ใกล้อวัยวะส่วนสำคัญของร่างกาย จำเลยยิงในระยะใกล้ๆ 1 วาเศษ อย่างน้อย 2 นัด และยิงเพราะความหึงหวงที่ผู้เสียหายกอดหญิงที่ตนรักใคร่ จึงส่อให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าตาม มาตรา 249 ไม่ใช่ 256
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1657/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการแทงด้วยอาวุธอันตราย: การพิจารณาจากลักษณะบาดแผลและการกระทำ
จำเลยแทงผู้ตายด้วยมีดปลายแหลมของกลางซึ่งยาวมาก แทงตรงที่อกซ้ายทะลุปอดและหัวใจ แสดงว่าแทงโดยแรงและไม่ได้แทงในขณะที่ต่อสู้กัน ดังนี้เป็นการกระทำโดยเจตนาจะฆ่าตามมาตรา 249.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1431/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรู้ร่วมคิดต้องมีการกระทำสนับสนุนก่อนหรือขณะเกิดเหตุ ศาลฎีกาตัดสินว่าการร้องห้ามไม่ได้เป็นการสนับสนุน
การที่จะให้ฟังว่า จำเลยกระทำผิดฐานสมรู้ จะต้องได้ความว่าจำเลยได้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดในเวลาแต่ก่อนหรือเมื่อขณะความผิดนั้นได้เกิดขึ้น อันเป็นอุปการะแก่การกระทำผิดนั้น
การที่คนหนึ่งทำร้ายผู้ตายซึ่งเป็นกรรมกรสามล้อถึงตายโดยจำเลยไม่ได้สมคบด้วย เป็นการกระทำของคนนั้นโดยพลการ จำเลยเป็นแต่เข้าช่วยคนนั้นชกต่อยพวกสามล้ออื่นซึ่งเกิดวิวาทกันในตอนแรกเท่านั้น และการที่จำเลยร้องห้ามไม่ให้ใครเข้ามาเพื่อขู่ไม่ให้ใครเข้ามาทำร้ายคนนั้นหรือเข้ามาทำร้ายจำเลยเอง และทั้งขณะที่จำเลยร้องห้าม ก็ไม่ได้ความว่าจำเลยได้ทราบถึงการที่คนอื่นนั้นทำร้ายผู้ตายแล้วหรือไม่ ดังนี้การกระทำของจำเลยไม่เป็นการอุปการะแก่การกระทำผิด อันจะเป็นผิดฐานสมรู้
การที่คนหนึ่งทำร้ายผู้ตายซึ่งเป็นกรรมกรสามล้อถึงตายโดยจำเลยไม่ได้สมคบด้วย เป็นการกระทำของคนนั้นโดยพลการ จำเลยเป็นแต่เข้าช่วยคนนั้นชกต่อยพวกสามล้ออื่นซึ่งเกิดวิวาทกันในตอนแรกเท่านั้น และการที่จำเลยร้องห้ามไม่ให้ใครเข้ามาเพื่อขู่ไม่ให้ใครเข้ามาทำร้ายคนนั้นหรือเข้ามาทำร้ายจำเลยเอง และทั้งขณะที่จำเลยร้องห้าม ก็ไม่ได้ความว่าจำเลยได้ทราบถึงการที่คนอื่นนั้นทำร้ายผู้ตายแล้วหรือไม่ ดังนี้การกระทำของจำเลยไม่เป็นการอุปการะแก่การกระทำผิด อันจะเป็นผิดฐานสมรู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1381/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมคบทำร้ายร่างกาย: ความรับผิดของจำเลยที่ไม่รู้เห็นการกระทำ
จำเลยสามคนไล่ทำร้ายบุคคลสองคน บุคคลทั้งสองนั้นวิ่งหนีไปที่เรือนผู้เสียหาย ผู้เสียหายช่วยป้องกันคนทั้งสองโดยสอดมือออกมาจะขัดประตูเรือน จำเลยคนหนึ่งใช้ดาบฟันมือผู้เสียหายจนนิ้วขาด ดั่งนี้ เป็นเรื่องนอกความมุ่งหมายหรือเจตนาของจำเลยอีก 2 คนคดีจึงไม่พอฟังว่าจำเลยอีก 2 คนนั้นสมคบในการทำร้ายร่างกายผู้เสียหายด้วย.