พบผลลัพธ์ทั้งหมด 541 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 664/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการเรียกดอกเบี้ยเกิน 5 ปี แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงและชำระหนี้บางส่วน
ในชั้นอุทธรณ์โจทก์ขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยถึงวันฟ้องเพียง5 ปี ในชั้นฎีกาโจทก์จะขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันกู้ถึงวันฟ้องซึ่งเป็นเวลาเกินกว่า 5 ปีหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 492/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกา: ปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้าม, ประเด็นรอการลงโทษและประโยชน์ที่ได้รับ
ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาจำเลยที่ขอให้รอการลงโทษจำคุก ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก คงรับฎีกาจำเลยเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า ศาลจะเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทนได้หรือไม่เท่านั้น ปัญหาข้อกฎหมายนี้จำเลยฎีกาโดยประสงค์ให้ศาลฎีกาวินิจฉัยก่อน แล้ววินิจฉัยรอการลงโทษจำคุกให้จำเลยซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องห้ามฎีกาดังกล่าวแล้ว ทั้งการกักขังแทนโทษจำคุกเป็นผลดีแก่จำเลยอยู่แล้ว ปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงในคดีอาญา: ข้อจำกัดตามจำนวนค่าปรับที่ศาลชั้นต้นพิพากษา
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ผู้เดียวขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินผู้อื่นเสียหาย จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า เหตุรถยนต์ชนกันมิได้เกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 2 แต่เกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 อันเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
การพิจารณาว่าจะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยื่นอุทธรณ์ ปรากฏว่าขณะจำเลยที่ 2 ยื่นอุทธรณ์พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2532มาตรา 3 กำหนดว่า จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท จึงจะไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ 2 เพียงหนึ่งพันบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
การพิจารณาว่าจะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยื่นอุทธรณ์ ปรากฏว่าขณะจำเลยที่ 2 ยื่นอุทธรณ์พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2532มาตรา 3 กำหนดว่า จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท จึงจะไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ 2 เพียงหนึ่งพันบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3806/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีเล่นแชร์: ทุนทรัพย์แต่ละวงไม่เกิน 50,000 บาท ทำให้ฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้าม
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เล่นแชร์กับจำเลยรวม 3 วง แล้วจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระค่าแชร์ ทุนทรัพย์ในคดีนี้จึงต้องแยกออกตามสัญญาเล่นแชร์แต่ละวง แชร์ทั้งสามวงมีทุนทรัพย์ที่พิพาท 30,804 บาท16,748 บาท และ 22,000 บาท ตามลำดับ ซึ่งไม่เกิน 50,000 บาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3312/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ขัดต่อข้อจำกัดตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงจำคุกไม่เกินสามปีและปรับไม่เกินหกพันบาท ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 จำเลยอายุ12 ปี ไม่ต้องรับโทษตามมาตรา 74 แต่เห็นสมควรให้คุมประพฤติตามมาตรา 56 คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา193 ทวิ จำเลยอุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังไม่ได้ว่าผู้เสียหายมีทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าถูกจำเลยลักทั้งพยานหลักฐานโจทก์ก็ฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายลักทรัพย์ของผู้เสียหายเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้ตามอุทธรณ์ของจำเลย แล้วพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ จึงเป็นการมิชอบ และต้องถือว่าข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์และฎีกาในคดีขับไล่ผู้เช่า: การเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงและประเด็นที่มิได้ยกขึ้นสู่ศาล
จำเลยอุทธรณ์ว่าที่โจทก์ยินยอมให้จำเลยก่อสร้างต่อเติม ตึกแถวพิพาทเพื่อให้ตึกแถวพิพาทซึ่งมีลักษณะชำรุดทรุดโทรมมากให้ มีลักษณะกลับคืนดีขึ้นใหม่ จึงเป็นสัญญา ต่างตอบแทนชนิดพิเศษ ยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดานั้น เป็นการโต้เถียงเกี่ยวกับการก่อสร้าง ต่อเติมตึกแถวพิพาทว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดพิเศษยิ่งกว่า สัญญาเช่าธรรมดา โดยอ้างข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากที่ศาลชั้นต้น รับฟังมาว่าการกระทำของจำเลยก็เพื่อความสะดวกในการอยู่อาศัยและ ทำการค้าของจำเลยเอง จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามอุทธรณ์ ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยให้การโดยยกข้อโต้เถียงในเรื่อง แปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาเช่าไว้ด้วย จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ที่ศาลสูงสมควรวินิจฉัยนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยมิได้ให้การ ดังกล่าวไว้ จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วใน ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1655/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีอาญาที่ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลล่างให้จำคุกเกินห้าปี โจทก์ร่วมไม่อาจฎีกาข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิต ถือเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างให้จำคุกจำเลยเกินห้าปี โจทก์จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคสอง และข้อห้ามฎีกานี้ใช้บังคับโจทก์ร่วมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1655/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีอาญา: โจทก์ร่วมฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ หากศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลล่างให้จำคุกเกินห้าปี
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิตถือเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างให้จำคุกจำเลยเกินห้าปี โจทก์จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ตามป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง และข้อห้ามฎีกานี้ใช้บังคับโจทก์ร่วมด้วย เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)ได้นิยามศัพท์คำว่า "โจทก์" ไว้ให้รวมถึงโจทก์ร่วมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานในสถานประกอบการที่ไม่แสวงหากำไรและการรับข้อเท็จจริงของคู่ความ
ในวันนัดพิจารณาคู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงว่า กิจการจำเลยเป็นการจ้างแรงงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจ ศาลแรงงานกลางจึงรับฟังข้อเท็จจริงตามที่คู่ความแถลงรับกัน การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า กิจการจำเลยเป็นการจ้างงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจ จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลแรงงานกลางในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 กิจการจำเลยเป็นการจ้างงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจ การจ้างงานระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเมื่อออกจากงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 จากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6462/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องใช้เหตุตามหนังสือเลิกจ้างเท่านั้น แม้มีการกระทำผิดอื่น ก็ใช้เป็นเหตุเลิกจ้างเพิ่มเติมไม่ได้
จำเลยเลิกจ้างลูกจ้างโดยทำเป็นหนังสือ และระบุเหตุเลิกจ้างไว้ชัดแจ้งเมื่อจำเลยถูกลูกจ้างฟ้องร้องต่อศาล จำเลยจะยกเอาเหตุเลิกจ้างอื่นนอกเหนือจากหนังสือเลิกจ้างเป็นข้อต่อสู้หาได้ไม่เมื่อเหตุเลิกจ้างตามหนังสือเลิกจ้างไม่ต้องด้วย ข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และป.พ.พ.มาตรา 583 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์ จำเลยเลิกจ้างโจทก์ เพราะโจทก์ลักสีที่ใช้ทาผนังโรงงานของจำเลย ย่อมเป็นพฤติการณ์ที่น่าระแวงสงสัยและไม่เป็นที่ไว้วางใจจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควรไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม.