คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความสงบเรียบร้อย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 334 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3438/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกต้องร่วมกัน ผู้จัดการมรดกแยกกันดำเนินการขัดกฎหมาย
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกและในฐานะทายาทโดยธรรมของ น. ให้โอนที่ดินพิพาทอันเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์มรดกของ น. ให้แก่โจทก์ โดยโจทก์กล่าวอ้างมูลหนี้ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่ความตายเป็นหลักในการฟ้องคดี หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ของกองมรดกตกทอดแก่ทายาททุกคนของเจ้ามรดก ไม่ใช่หนี้สินส่วนตัว การทำหน้าที่ของจำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของ น. ในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีที่ถูกฟ้องเช่นนี้เป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองต้องร่วมกันดำเนินการจัดการตาม ป.พ.พ. มาตรา 1726 จะแยกกันจัดการไม่ได้ การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ต่อสู้คดี เป็นการแยกกันจัดการมรดก เป็นการดำเนินการที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายโดยชัดแจ้ง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13385/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อไม่ปิดอากรแสตมป์ใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้ ศาลฎีกายกประเด็นได้แม้จำเลยไม่ยก
โจทก์อ้างสัญญาเช่าซื้อเป็นพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้าง สัญญาเช่าซื้อมีลักษณะเป็นตราสาร จึงต้องปิดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องครบถ้วนตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร แต่ปรากฏว่า สัญญาเช่าซื้อมิได้ปิดอากรแสตมป์ จึงไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ตามบทบัญญัติ ป.รัษฎากร มาตรา 118 ที่ศาลล่างทั้งสองรับฟังสัญญาเช่าซื้อเป็นพยานหลักฐานจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้หรือยกปัญหาในเรื่องสัญญาเช่าซื้อมิได้ปิดอากรแสตมป์ขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้ว่าสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์ฟ้องเป็นเอกสารที่เกิดจากกลฉ้อฉลของโจทก์เพราะในการกรอกข้อความลงในเอกสารดังกล่าวไม่ตรงกับเงื่อนไขและข้อกำหนดที่จำเลยทั้งสามเสนอต่อโจทก์ เมื่อไม่อาจรับฟังสัญญาเช่าซื้อเป็นพยานหลักฐานได้ พยานหลักฐานอื่นของโจทก์ไม่มีน้ำหนักดีไปกว่าพยานหลักฐานของจำเลยทั้งสาม ดังนั้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อ กรณีนี้เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ที่มิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6984/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกทำลายป่าและยึดครองพื้นที่ ศาลมีอำนาจสั่งขับไล่โดยไม่ต้องมีคำขอ
คดีนี้ ปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์และคำรับสารภาพของจำเลยทั้งสี่ว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันบุกรุกเข้าไปก่นสร้าง แผ้วถาง ตัดฟัน เผาป่า โค่นไม้ ก่อความเสียหายแก่ป่าไม้ และยึดถือครอบครองที่ดินป่าที่เกิดเหตุ ซึ่งตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 72 ตรี วรรคสาม บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีคำพิพากษาชี้ขาดว่าบุคคลใดกระทำความผิดตามมาตรานี้ ถ้าปรากฏว่าบุคคลนั้นได้ยึดถือครอบครองป่าที่ตนได้กระทำความผิด ศาลมีอำนาจที่สั่งให้ผู้กระทำผิด คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทนและบริวารของผู้กระทำผิด ออกไปจากป่านั้นได้ด้วย" ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยทั้งสี่ได้ยึดถือครอบครองป่าที่เกิดเหตุ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยทั้งสี่ คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทน และบริวารของจำเลยทั้งสี่ออกไปจากป่าที่เกิดเหตุได้ด้วย โดยโจทก์หาจำต้องมีคำขอในข้อดังกล่าวมาด้วย ปัญหานี้แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้าง แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1666/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจรัฐสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน หลังปิดงานกระทบเศรษฐกิจและความสงบเรียบร้อย
ก่อนที่จำเลยทั้งสองออกคำสั่งที่ 94/2550 สั่งให้โจทก์รับลูกจ้างในส่วนที่โจทก์ปิดงานกลับเข้าทำงานและจ่ายค่าจ้างให้ตามอัตราที่เคยจ่าย จำเลยทั้งสองให้โอกาสโจทก์และสหภาพแรงงานอัลมอนด์ดำเนินการตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาโดยตลอดจนถึงขั้นตอนที่โจทก์ใช้สิทธิปิดงานสำหรับลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานประมาณ 150 คน และหลังจากนั้นจำเลยทั้งสองยังคงควบคุมดูแลข้อพิพาทแรงงานอย่างใกล้ชิดตลอดมาโดยให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานเข้าไกล่เกลี่ยอีกหลายครั้ง แต่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้ และมีทีท่าจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ฝ่ายลูกจ้างจำนวนมากที่ได้รับความเดือดร้อนจากการปิดงานพากันไปชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาล สถานทูตสหรัฐอเมริกา และไปพบคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติที่กองทัพบก ปรากฏว่าแต่ละหน่วยงานไม่สามารถแก้ปัญหาข้อพิพาทแรงงานนี้ได้ ทั้งพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าหากปล่อยเวลาให้เนิ่นนานออกไปอีกเหตุการณ์อันเนื่องมาจากข้อพิพาทแรงงานอาจเกิดเหตุร้ายแรงขึ้นได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่เศรษฐกิจของประเทศ อาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชน หรืออาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้กิจการของโจทก์เป็นการผลิตและส่งออกสินค้าประเภทเครื่องประดับ และโจทก์ปิดงานโดยถูกขั้นตอนตามกฎหมายก็ตาม ก็ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 35 ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานจะใช้ดุลพินิจมีคำสั่งให้นายจ้างซึ่งปิดงานรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานตามเดิมโดยจ่ายค่าจ้างตามอัตราที่เคยจ่ายเพื่อรอการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้ คำสั่งที่ 94/2550 ของจำเลยทั้งสองจึงชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีเหตุเพิกถอน
มาตรา 24 เป็นบทบัญญัติให้นำมาใช้แก่ข้อพิพาทแรงงานที่อยู่ในขั้นตอนที่เป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ แต่ขณะที่จำเลยทั้งสองออกคำสั่งที่ 94/2550 ข้อพิพาทแรงงานรายนี้ได้ล่วงเลยขั้นตอนข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้จนถึงขั้นตอนการปิดงานแล้ว จึงนำมาตรา 24 มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15533/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขัดต่อความสงบเรียบร้อย/ศีลธรรม: การช่วยเหลือเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตำรวจโดยไม่ชอบ
เป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่าการบริหารองค์กรไม่ว่าบริหารภาครัฐหรือเอกชน การคัดเลือกบุคคลเข้าสู่ตำแหน่ง การโยกย้าย หรือการพิจารณาความดีความชอบจะต้องใช้หลักคุณธรรม และเป็นไปตามระเบียบแบบแผน เพื่อให้ได้คนดีเข้ามาทำหน้าที่นั้นเป็นประโยชน์ต่อองค์กร สังคมและประเทศชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีความสำคัญยิ่ง เพราะมีหน้าที่ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชน และยังเป็นกระบวนการยุติธรรมชั้นต้นหรือเสาหลักแห่งกระบวนการยุติธรรมที่จะต้องสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม ถ้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีตำรวจที่ประพฤติมิชอบ ย่อมก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยและวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ตามบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลย ไม่มีข้อความตอนใดที่โจทก์ขอให้จำเลยทำให้ผู้มีอำนาจเข้าใจในตัวโจทก์ถูกต้อง กลับให้จำเลยไปพูดกับผู้บังคับบัญชาหรือผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่รู้จักกันเกี่ยวกับความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์อย่างเต็มที่ โดยสัญญาแบบผู้มีความรับผิดชอบให้ได้รับตำแหน่งสูงสุด และหากโจทก์ขอความช่วยเหลือ จำเลยจะต้องให้ความสะดวกและช่วยเหลือโจทก์ได้มีตำแหน่งสูงขึ้นโดยไม่คำนึงถึงกฎหมาย ระเบียบแบบแผนและวิธีการของทางราชการ บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะไม่อาจบังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12146/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำที่ฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อย/ศีลธรรมอันดี ทำให้การเรียกร้องคืนเงินมัดจำเป็นโมฆะ
ศ. กรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์เคยเป็นภริยาของ น. และได้เสนอขอเช่าที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์จากจำเลยที่ 1 โดยรู้เห็นกับ น. ไวยาวัจกรของจำเลยที่ 1 เป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าเป็นการร่วมหาประโยชน์จากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริต ย่อมทำให้เห็นได้ว่า ศ. สมรู้ร่วมคิดกับ น. ซึ่งเป็นไวยาวัจกรของจำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ตามกฎมหาเถรสมาคม (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2536 ในการดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ ได้กระทำการฝ่าฝืนอำนาจหน้าที่ของตน มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับโจทก์คู่สัญญาโดย ศ. ผู้แทนโจทก์ซึ่งเคยเป็นภริยาของตนเอง ถือเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน อยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 411 ที่โจทก์ผู้กระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการฝ่าฝืนศีลธรรมอันดี หาอาจเรียกร้องคืนทรัพย์ได้ไม่ โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องคืนเงินตามเช็คจำนวน 1,000,000 บาท ที่สั่งจ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อจะได้ทำสัญญาเช่าที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ตามฟ้องจากจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10751/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม – ฎีกาไม่ชัดแจ้ง – คำพิพากษาเกินฟ้อง – อำนาจศาลวินิจฉัยความสงบเรียบร้อย
ฎีกาของจำเลยทั้งสองล้วนคัดลอกอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองแบบคำต่อคำ เว้นแต่มีการแก้ไขชื่อของศาลจากศาลอุทธรณ์ภาค 4 เป็นศาลฎีกา เพื่อให้ตรงตามความจริงเท่านั้น ฎีกาของจำเลยทั้งสอง จึงมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ว่าไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนอย่างไร และควรวินิจฉัยอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินครึ่งหนึ่งและขอให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมจดทะเบียนโอนที่ดิน ระหว่างจำเลยทั้งสองเฉพาะส่วนของโจทก์สองในสามส่วน จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปล้นทรัพย์กับลักทรัพย์หลังทำร้ายร่างกาย ศาลฎีกายกประเด็นความสงบเรียบร้อยวินิจฉัยเองได้
จำเลยที่ 2 กับพวก รุมทำร้ายผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายแกล้งหมดสติจึงหยุดทำร้าย จากนั้นจำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปอันเป็นเจตนาร่วมกันประสงค์ต่อทรัพย์ของผู้เสียหาย หลังจากที่การทำร้ายร่างกายขาดตอนไปแล้ว จำเลยที่ 2 กับพวกจึงมีความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์อีกกระทงหนึ่ง ปัญหานี้แม้โจทก์ฟ้องมาเป็นความผิดกระทงเดียวและไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาในประเด็นดังกล่าว แต่เห็นว่าเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ซึ่งศาลฎีกาเห็นว่า แม้โจทก์ไม่ได้ขอให้ลงโทษหลายกรรม แต่ก็ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยร่วมกันทำร้ายร่างกาย และร่วมกันปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย ซึ่งความผิดฐานปล้นทรัพย์มีความผิดฐานลักทรัพย์ อันเป็นบทเบารวมอยู่ด้วย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 เป็นสองกระทงความผิดได้ ไม่เกินคำขอ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8488/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของกรรมการที่ไม่ผ่านมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น: ปัญหาความสงบเรียบร้อยที่ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัย
ในการจดทะเบียนเพิ่มโจทก์เป็นกรรมการคนใหม่ของบริษัทตามคำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด มิได้มีการจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อลงมติตามข้อบังคับของบริษัทแต่อย่างใด ดังนี้ การเป็นกรรมการของโจทก์จึงไม่ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับของบริษัท โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3608/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการเพิกถอนคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ: การโต้เถียงดุลพินิจพยานหลักฐานไม่กระทบความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ อ้างว่าคำชี้ขาดไม่เป็นไปตามประเพณีการค้า และขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีต่อประชาชน แต่เนื้อหาคำร้องเป็นเรื่องโต้แย้งการใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของอนุญาโตตุลาการ จึงเป็นการโต้เถียงการใช้ดุลพินิจในการวินิจฉัยคดีของอนุญาโตตุลาการ หาเป็นปัญหาที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ จึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง
of 34