คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำสั่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 444/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจรัฐมนตรีเพิกถอนใบอนุญาตภาพยนตร์: จำเลยมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่ง ร.ม.ต. แม้สภาพิจารณาอนุมัติ
จำเลยซึ่งมีหน้าที่พิจารณาออกใบอนุญาตทำการฉายภาพยนตร์ไม่อนุญาตให้โจทก์ทำการฉายภาพยนตร์แม้โจทก์อุทธรณ์ต่อสภาพิจารณาภาพยนตร์ ๆ มีคำสั่งอนุมัติให้ฉายได้ ก็ตาม เมื่อรัฐมนตรีมหาดไทยมีคำสั่งไม่อนุมัติ จำเลยย่อมไม่ออกใบอนุญาตให้โจทก์ได้ เพราะรัฐมนตรีมหาดไทยมีอำนาจเพิกถอนใบอนุญาตซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.ภาพยนตร์ พ.ศ.2473 ได้ตามแต่จะเห็นสมควร
เมื่อรัฐมนตรีสั่งไม่อนุมัติแล้ว หากจำเลยจะขืนออกใบอนุญาตให้โจทก์ก็จะเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งหรือไร้ผลเพราะรัฐมนตรีย่อมเพิกถอนเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 550/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีมรดก: การอ้างเหตุจากคำสั่งหน่วยงานราชการนอกประเด็นฟ้องไม่อาจขยายอายุความได้
โจทก์ฟ้องคดีมรดกเกิน 1 ปี นับแต่ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก โดยโจทก์มิได้เป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกนั้น คดีโจทก์ขาดอายุความ
โจทก์กล่าวมาในอุทธรณ์ว่าโจทก์อาศัยระยะเวลาที่พนักงานที่ดินอำเภอสั่งให้ไปฟ้อง,คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ แต่ปรากฏว่าเป็นการกล่าวอ้างเอาข้อความนอกฟ้องนอกประเด็นมาอุทธรณ์รับพิจารณาไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานสอบสวนสั่งให้เขียนชื่อเพื่อเปรียบเทียบลายมือ: ไม่ชอบด้วยกฎหมายหากไม่มีฐานอาศัย
พนักงานสอบสวนมีคำสั่งบังคับให้ผู้ต้องหาเขียนชื่อลงในกระดาษเปล่า เพื่อส่งไปพิสูจน์กับลายมือที่ผู้นั้นต้องหาในเรื่องก่อน ทั้งนี้ ว่าเพื่อประโยชน์แห่งการรวบรวมหลักฐาน ฯลฯ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131,132 ดั่งนี้ ไม่เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 132 มิได้ระบุไว้เลยว่าให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจสั่งเช่นนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 522/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลสั่งรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แม้คำสั่งไม่ชัดเจน หากไม่มีข้อโต้แย้ง
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจออกหมายเรียกเจ้าหนี้ลูกหนี้หรือบุคคลใดมาสอบสวนในเรื่องหนี้สินแล้วทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระนั้นต่อศาลพร้อมทั้งรายงานว่ามีผู้ใดโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ประการใดหรือไม่แล้วศาลเป็นผู้มีอำนาจสั่ง
เพียงแต่ศาลเขียนสั่งในรายงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า 'ได้พิจารณาตลอดแล้วเห็นชอบด้วย' เช่นนี้แม้จะมิได้ใช้ถ้อยคำให้ชัดเจนว่าได้สั่งอนุญาตให้รับชำระหนี้ตามรายงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้นก็ตามแต่เมื่อพิจารณาแล้วก็พอถือได้ว่าเป็นคำสั่งที่สั่งอนุญาตให้รับชำระหนี้ได้ตามความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้นเองเพราะไม่ปรากฏว่าศาลได้มีความเห็นเป็นอย่างอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2134/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดขวางทางสาธารณะและการนับระยะเวลาตามคำสั่งเจ้าพนักงาน
ปลัดอำเภอมีคำสั่งให้จำเลยเปิดทางที่จำเลยปิด โดยเจ้าพนักงานเห็นว่าเป็นทางสาธารณะใน 3 วัน การนับเวลา3 วันนี้ ต้องนับตามประมวลแพ่งฯ มาตรา 158 คือไม่นับวันที่ออกคำสั่งเข้าไปด้วย ต้องนับวันรุ่งขึ้นจากวันออกคำสั่ง การที่เจ้าพนักงานไปจับจำเลยมาหาว่าขัดคำสั่งก่อนครบกำหนดจำเลยจึงยังไม่ผิดฐานขัดคำสั่งด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์ และการยื่นอุทธรณ์ที่ไม่ถูกต้องตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำขอว่าความอย่างคนอนาถาของโจทก์นั้นเป็นแต่คำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ โจทก์ยังอุทธรณ์ไม่ได้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ตาม ป.วิ.แพ่ง ม.232 แล้วโจทก์จะต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภายใน 10 วัน นับแต่วันที่ศาลสั่งไม่รับอุทธรณ์ ม.234 อุทธรณ์คำสั่งฉบับแรกของโจทก์แม้จะยื่นภายในอายุความแต่โจทก์หาเสียค่าธรรมเนียมมาไม่ ย่อมถือว่าเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ส่วนอุทธรณ์คำสั่งฉบับที่ 2 ซึ่งโจทก์เสียค่าธรรมเนียมมาแล้วแม้จะถือเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ ์แต่ก็ยื่นเกิน 10 วันนับแต่วันที่ศาลสั่งไม่รับอุทธรณ์แล้ว คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์จึงเป็นที่สุด โจทก์อุทธรณ์ต่อไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1783/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทยโดยการเกิดในประเทศ และอำนาจฟ้องกรมตำรวจกรณีคำสั่งให้ออกนอกราชอาณาจักร
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าโจทก์เกิดในประเทศไทยมีสัญชาติเป็นไทยให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้โจทก์ออกไปนอกราชอาณาจักรไทยจำเลยต่อสู้ว่าโจทก์เป็นคนต่างด้าวเกิดในประเทศจีนเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยมิได้รับอนุญาต ประเด็นจึงมีว่าโจทก์เป็นคนสัญชาติไทยโดยเกิดในประเทศไทยจริงหรือไม่ ส่วนข้อที่จำเลยอ้างว่าโจทก์เคยรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวย่อมขาดจากสัญชาติไทยตาม พระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ 2)2496 นั้นเป็นกรณีที่เกิดขึ้นเนื่องจากมี กฎหมายซึ่งเพิ่งออกใช้ภายหลังฟ้องจะเท็จจริงประการใดจึงยังไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในชั้นนี้
คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองซึ่งเป็นคณะบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งโดยพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองไม่ใช่บุคคลอันสังกัดขึ้นอยู่กับกรมตำรวจก็ตาม มีหน้าที่เพียงพิจารณาและลงมติเกี่ยวกับเรื่องร้องขอพิสูจน์สัญชาติเท่านั้น ส่วนการที่มีหนังสือหรือคำสั่งแจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อให้โจทก์ออกไปนอกราชอาณาจักรนั้นเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมืองอันสังกัดอยู่กับกรมตำรวจ โจทก์ย่อมฟ้องกรมตำรวจได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1529/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาไม่สามารถอุทธรณ์ฎีกาได้ หากศาลยังไม่ได้ฟังข้อเท็จจริง
การที่ศาลชั้นต้นมิได้ชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้นโดยต้องฟังข้อเท็จจริงก่อนเช่นนี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาจะอุทธรณ์ฎีกาหาได้ไม่ ต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่ง ม.226.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1529/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่อุทธรณ์ฎีกาได้ตามมาตรา 226
การที่ศาลชั้นต้นมิได้ชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้นโดยต้องฟังข้อเท็จจริงก่อนเช่นนี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาจะอุทธรณ์ฎีกาหาได้ไม่ ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการออกคำสั่งของปลัดอำเภอเมื่อนายอำเภอปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ
เมื่อไม่ปรากฏว่านายอำเภอไม่อาจปฏิบัติราชการได้ตามปกติและปลัดอำเภอได้รักษาราชการแทน ปลัดอำเภอนั้นย่อมไม่มีอำนาจที่จะออกคำสั่งตาม ม. 122 พ.ร.บ.ปกครองท้องที่ได้ จำเลยขัดขืนคำสั่งปลัดอำเภอจึงไม่เป็นความผิดก.ม.อาญา ม. 334(2)
of 38