พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,377 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4764/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าต้องระบุการกระทำต่อเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 และศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนแต่ปรากฎตามคำฟ้องว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำการปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรตามมาตรา108 ดังกล่าว คงบรรยายฟ้องว่า จำเลยมีน้ำมันหล่อลื่นที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมตามมาตรา 108 ไว้เพื่อจำหน่ายและเสนอจำหน่ายอันเป็นความผิดตามมาตรา 110 ซึ่งมีระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 108 เท่านั้น กรณีจึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 108 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ได้ ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 427/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน น.ส.3 กับสิทธิของบุคคลภายนอกที่ได้มาโดยสุจริตและจดทะเบียน
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)แม้โจทก์จะได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทมาจริงดังโจทก์กล่าวอ้าง การได้มาของโจทก์ก็เป็นการได้มาซึ่งทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งถ้ายังมิได้จดทะเบียนไซร้ โจทก์ก็จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิในที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้วหาได้ไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 427/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท & การซื้อขายโดยสุจริต ผู้ซื้อย่อมได้สิทธิเหนือผู้ครอบครองเดิมที่ไม่จดทะเบียน
ที่ดินพิพาทเป็นที่ทำไร่ไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์มีเพียง น.ส.3 บุคคลจะพึงมีสิทธิเหนือที่ดินพิพาทอย่างมากก็เพียงแต่สิทธิครอบครอง แม้โจทก์จะได้สิทธิครอบครองโดยการแย่งการครอบครองแต่การได้มาของโจทก์มิได้ จดทะเบียน โจทก์ก็จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้จำเลยผู้ได้สิทธิ มาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริต ไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 427/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท vs. สิทธิจากการจดทะเบียนซื้อขายโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3)แม้โจทก์จะได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทมาจริงดังโจทก์กล่าวอ้างการได้มาของโจทก์ก็เป็นการได้มาซึ่งทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งถ้ายังมิได้จดทะเบียนไซร้โจทก์ก็จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้จำเลยที่2ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิในที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่1โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้วหาได้ไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1299วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทะเบียนหย่าและข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินเป็นเอกสารมหาชน การจดทะเบียนแก้ไขชื่อผู้มีสิทธิไม่ใช่การโอนทรัพย์สิน
ทะเบียนการหย่าและบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าเป็นเอกสารที่พนักงานเจ้าหน้าที่จัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน และให้ประชาชนตรวจดูอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานได้ เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสาร-มหาชน
เดิมที่พิพาทมีจำเลยที่ 1 และ ม.เป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกันต่อมา จำเลยที่ 1 กับ ม.จดทะเบียนหย่าขาดจากกัน และทำบันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สิน ตกลงให้ที่พิพาทเป็นของ ม. บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 เมื่อนายทะเบียนจดทะเบียนการหย่าให้แล้ว ถือว่าได้มีการแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวกันเรียบร้อยแล้วนับแต่เวลาจดทะเบียนการหย่า และที่พิพาทตกเป็นสิทธิของ ม. นับแต่เวลานั้น การที่จำเลยที่ 1จดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับที่พิพาทในเวลาต่อมา เป็นเพียงการแก้ไขชื่อผู้มีสิทธิในที่พิพาทให้ตรงความจริงเท่านั้น หาใช่การทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งมีผลเป็นการจำหน่าย จ่าย โอน ทรัพย์สินของตนอันจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ และขอเพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ไม่
จำเลยที่ 1 กับที่ 3 มิได้ฎีกา แต่เมื่อคดีฟังได้ตามฎีกาของจำเลยที่ 2 และคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้จำเลยที่ 1 กับที่ 3 จึงได้รับผลจากคำพิพากษานี้ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
เดิมที่พิพาทมีจำเลยที่ 1 และ ม.เป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกันต่อมา จำเลยที่ 1 กับ ม.จดทะเบียนหย่าขาดจากกัน และทำบันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สิน ตกลงให้ที่พิพาทเป็นของ ม. บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 เมื่อนายทะเบียนจดทะเบียนการหย่าให้แล้ว ถือว่าได้มีการแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวกันเรียบร้อยแล้วนับแต่เวลาจดทะเบียนการหย่า และที่พิพาทตกเป็นสิทธิของ ม. นับแต่เวลานั้น การที่จำเลยที่ 1จดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับที่พิพาทในเวลาต่อมา เป็นเพียงการแก้ไขชื่อผู้มีสิทธิในที่พิพาทให้ตรงความจริงเท่านั้น หาใช่การทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งมีผลเป็นการจำหน่าย จ่าย โอน ทรัพย์สินของตนอันจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ และขอเพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ไม่
จำเลยที่ 1 กับที่ 3 มิได้ฎีกา แต่เมื่อคดีฟังได้ตามฎีกาของจำเลยที่ 2 และคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้จำเลยที่ 1 กับที่ 3 จึงได้รับผลจากคำพิพากษานี้ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3565/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดิน นส.3/นส.3ก. จดทะเบียนแล้ว: สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373
ที่ดินตาม น.ส.3 หรือ น.ส.3 ก. เป็นที่ดินที่ได้จดไว้ในทะเบียนที่ดินของสำนักงานที่ดินอำเภอ จึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนที่ดินดังนั้นข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 ว่า อสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดไว้ในทะเบียนนั้นให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองย่อมรวมถึงที่ดินที่มี น.ส.3 หรือ น.ส.3 ก. ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3477/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน มิฉะนั้นเป็นโมฆะ การบังคับให้โอนที่ดินจึงทำไม่ได้
ที่ดินพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์ การขายฝากที่ดินพิพาทจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิฉะนั้นตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 491 เมื่อสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยตกเป็นโมฆะ โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยให้แก่โจทก์ โดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3477/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากที่ดินต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน มิฉะนั้นเป็นโมฆะ โจทก์ฟ้องบังคับโอนไม่ได้
ที่ดินพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์การขายฝากที่ดินพิพาทจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิฉะนั้นตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456วรรคหนึ่งประกอบมาตรา491เมื่อสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยตกเป็นโมฆะโจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยให้แก่โจทก์โดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3393/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินมีผลผูกพันจนกว่าจะมีการจดทะเบียน หากมีข้อห้ามตามกฎหมาย คู่สัญญาอาจบอกเลิกสัญญาได้
ในกรณีที่ศาลฎีกาต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค2ฟังมาแต่ข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค2ฟังมายังไม่ชัดเจนพอศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่จากพยานหลักฐานในสำนวนได้ ขณะโจทก์จำเลยตกลงซื้อขายที่ดินที่จำเลยมีสิทธิเข้าทำกินในนิคมทุ่งสานโจทก์จำเลยมีข้อตกลงกันด้วยว่าหากทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลยแล้วจำเลยจะจดทะเบียนโอนที่ดินนั้นแก่โจทก์ต่อไปการซื้อขายที่ดินดังกล่าวระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นสัญญาจะซื้อขายกันเท่านั้นไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดทั้งข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินที่โจทก์จำเลยตกลงซื้อขายกันก็เพิ่งจะประทับตราด้านหลังหนังสือรับรองการทำประโยชน์เมื่อปี2529หลังจากโจทก์จำเลยตกลงกันแล้วเกือบ1ปีจึงเป็นที่เห็นได้ว่าขณะโจทก์ตกลงซื้อที่ดินจากจำเลยโจทก์ไม่ทราบว่าที่ดินนั้นมีข้อกำหนดห้ามโอนตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ.2511การซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์จำเลยในขณะนั้นจึงไม่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามหรือฝ่าฝืนกฎหมายเมื่อจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่โจทก์เพราะมีข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ.2511โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้วผลของการเลิกสัญญาคู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมจำเลยจึงต้องคืนเงินค่าที่ดินที่ได้รับชำระจากโจทก์จำนวน65,000บาทแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3205/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน - ผู้ผิดนัด - วันหยุดราชการ - การจดทะเบียน
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินโดยตกลงไปทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2533 แต่ปรากฏว่า วันที่ 31ธันวาคม 2533 เป็นวันหยุดราชการ ก่อนถึงวันนัดโจทก์มีหนังสือถึงจำเลยขอนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ วันที่ 26 ธันวาคม 2533 โดยจำเลยไม่ได้ตกลงด้วย การที่จำเลยไม่ไปจดทะเบียนโอนสิทธิที่ดินพิพาทให้โจทก์ในวันที่ 26 ธันวาคม 2533 จะถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดหาได้ไม่ ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา