คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ซื้อขายที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 491 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3114/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดิน: การบอกกล่าวความพร้อมชำระหนี้ของผู้ซื้อถือเป็นการขอปฏิบัติการชำระหนี้ เจ้าหนี้มีหน้าที่ต้องเสนอการชำระหนี้ตอบแทน
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินโดยตกลงจะชำระราคาและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันภายในกำหนด 6 เดือน การที่โจทก์ผู้จะซื้อได้นัดหมายให้จำเลยไปทำนิติกรรมโอนขายที่ดินณ สำนักงานที่ดินภายในกำหนด 6 เดือนแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ผู้เป็นลูกหนี้ได้บอกกล่าวแก่จำเลยผู้เป็นเจ้าหนี้แล้วว่าได้เตรียมการที่จะชำระหนี้ไว้พร้อมแล้ว ให้จำเลยผู้เป็นเจ้าหนี้รับชำระหนี้นั้นคำบอกกล่าวของโจทก์จึงเสมอกับคำขอปฏิบัติการชำระหนี้แล้ว จำเลยผู้เป็นเจ้าหนี้มีหน้าที่ต้องเสนอที่จะทำการชำระหนี้ตอบแทน เมื่อจำเลยไม่กระทำ จำเลยจึงได้ชื่อว่าผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 210

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2912/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงซื้อขายที่ดิน: นิติกรรมโมฆียะ, ผู้รับโอนรู้เห็นเป็นใจ อ้างสิทธิไม่ได้
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันฉ้อโกงเอาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ไป โดยหลอกว่ามีเงินฝากในธนาคารมากซึ่งไม่เป็นความจริง การแสดงเจตนาขายทรัพย์พิพาทของโจทก์จึงเกิดขึ้นเพราะกลฉ้อฉล นิติกรรมระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นโมฆียะ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนเสีย เป็นการบอกล้างโมฆียะกรรม นิติกรรมจึงตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก จำเลยที่ 2 ได้ทรัพย์พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ได้ทรัพย์พิพาทมาด้วยการฉ้อโกงโจทก์เป็นการได้มาโดยไม่สุจริต จะอ้างสิทธิยันโจทก์ไม่ได้นิติกรรมระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีผลตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2873/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยสุจริตของผู้ซื้อช่วง ย่อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 237 แม้ผู้ขายช่วงจะกระทำการฉ้อฉล
ที่ดินของลูกหนี้โอนขายแก่ ส. ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ซื้อที่ดินรับโอนโฉนดจาก ส. โดยสุจริตและชำระราคาที่ดินตามที่ตกลงซื้อขายกันให้แก่ ส. แล้วย่อมได้รับความคุ้มครองตามข้อยกเว้นที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 โจทก์นำยึดที่ดินของผู้ร้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1707/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินผิดแปลง การครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย และเจตนาในการซื้อขาย
การรับโอนโฉนดที่ดินสับสนกันมาช้านานด้วยความเข้าใจผิดจำเลยที่ 2 ครอบครองที่พิพาทตามโฉนดที่ 2924 ตลอดมา แต่จดทะเบียนการโอนในโฉนดที่ 2949 จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินโฉนดที่ 2946 แต่จดทะเบียนการโอนในโฉนดที่2924 หาได้เคยครอบครองที่พิพาทไม่จำเลยที่ 1 ประสงค์จะขายที่ดินโฉนดที่ 2946 ที่ตนซื้อมาให้โจทก์และพาโจทก์ไปดูที่ดินดังกล่าวก่อนตกลงซื้อขายฉะนั้น ถึงแม้โจทก์จะมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนในโฉนดที่ 2924 โจทก์ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทเพราะโจทก์ไม่มีเจตนาจะซื้อที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1201/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไรและการเสียภาษีเงินได้ กรณีผู้ประกอบการค้า
โจทก์ซื้อที่ดินมาและในวันเดียวกันนั้นได้ยื่นคำขอแบ่งแยกที่ดินส่วนหนึ่งออกเป็นแปลงเล็ก ๆ ต่อมาในเวลาใกล้เคียงกันได้ยื่นคำขอแบ่งแยกเพิ่มเติมอีกรวมเป็นจำนวนหนึ่งร้อยแปลงเศษแล้วเริ่มขายที่ดินที่แบ่งแยกเป็นแปลง ๆ นั้นตั้งแต่ปีแรกที่ซื้อมา ส่วนที่ดินอีกส่วนหนึ่งที่มิได้แบ่งแยกโจทก์ย้ายโรงเรียนราษฎร์ของโจทก์เข้าไปอยู่หลังจากซื้อที่ดินมาราว 10 ปีดังนี้ แสดงว่าโจทก์ซื้อที่ดินส่วนที่ได้แบ่งแยกและขายไปนั้นมาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรโจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้าในประเภทการค้า 11 บัญชีอัตราภาษีการค้า ต้องเสียภาษีการค้าและเงินที่โจทก์ได้รับมาจากการขายที่ดินนั้นไม่เข้าข่ายที่จะได้รับยกเว้น ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(9) โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้ด้วย
เมื่อไม่ได้ความว่าที่ดินที่โจทก์ขายไปนั้นโจทก์แบ่งแยกไว้เพื่อการสวัสดิการแก่ครูในโรงเรียนของโจทก์ และฟังไม่ได้ว่าโจทก์จำต้องขายที่ดินนั้นไปเพื่อปลดเปลื้องหนี้สินเกี่ยวกับกิจการโรงเรียนราษฎร์แต่โจทก์ซื้อที่ดินส่วนนั้นมาเพื่อขายตั้งแต่แรก การขายที่ดินของโจทก์จึงไม่เกี่ยวกับโรงเรียนราษฎร์ ไม่เป็นกิจการของโรงเรียนราษฎร์ อันจะไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร หมวด 4 ว่าด้วยภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78ทวิ(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินกรรมสิทธิ์รวมโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล และการเพิกถอนนิติกรรมกรณีผู้รับซื้อรู้ข้อเท็จจริงทำให้เสียเปรียบ
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาจะขายที่พิพาทซึ่งจำเลยทั้งสองมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันทั้งส่วนของตนและส่วนของจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์ โดยไม่ได้ขออนุญาตศาลขายส่วนของจำเลยที่ 2 สัญญาจะซื้อขายดังกล่าวไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 คงผูกพันเฉพาะจำเลยที่ 1 ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 2บรรลุนิติภาวะแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้โอนขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 3 ซึ่งรับซื้อไว้โดยรู้ข้อความจริงที่ทำให้โจทก์ผู้ทำสัญญาจะซื้อขายไว้ก่อนเสียเปรียบ โจทก์ย่อมขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 3 เสียได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทส่วนของจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์โดยไม่มีอำนาจที่จะทำได้และโจทก์ไม่อาจบังคับตามสัญญาให้จำเลยขายที่พิพาทส่วนของจำเลยที่ 2 ได้ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดใช้ ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์
เรื่องค่าเสียหายนี้แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาคัดค้าน แต่เมื่อโจทก์จะได้รับ โอนที่พิพาทครึ่งแปลง ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลดค่าเสียหายลงได้ตามส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยไม่สุจริตและการเพิกถอนนิติกรรมเมื่อเจ้าของเดิมไม่เข้ามาในคดี
จำเลยเช่าที่ดินแล้วโจทก์ฟ้องขับไล่ จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินจากเจ้าของเดิมที่ให้จำเลยเช่าโดยรู้อยู่แล้วว่าเจ้าของที่ดินรับมัดจำจะขายที่ดินแก่จำเลยก่อนแล้ว แต่จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งขอเพิกถอนการขาย และเจ้าของเดิมก็มิได้เข้ามาในคดี ดังนี้ ศาลไม่ต้องพิจารณาข้อต่อสู้นี้ และจำเลยต้องออกจากที่ดินที่เช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1422-1423/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอาศัย-การซื้อขายที่ดิน: ผลของการไม่จดทะเบียนสิทธิอาศัย และการเพิกถอนการซื้อขาย
ที่พิพาทเป็นที่ดินมี น.ส.3. เดิมเมื่อ พ.ศ. 2511 บ. เคยฟ้อง ม. แล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดย บ. ยอมรับว่าที่พิพาทเป็นของ ม. และ ม. ยินยอมให้ บ. อาศัยในเรือนของ บ. ที่ปลูกในที่พิพาท และให้ใช้คอกกระบือเดิมในที่พิพาทที่เคยใช้มาแล้วต่อไป ศาลพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแต่ บ. ไม่ได้จดทะเบียนสิทธิอาศัยตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ต่อมา พ.ศ. 2516 ม. ขายที่พิพาทให้ ช. โดยทำหนังสือสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนแล้วมีคดีพิพาทกันต่อมา 2 คดี คือ คดีแรก ช. เป็นโจทก์ฟ้อง บ. เป็นจำเลยว่า โจทก์ซื้อที่พิพาทจาก ม. เมื่อ พ.ศ. 2516 จำเลยได้มาปลูกคอกกระบือในที่พิพาทของโจทก์ ขอให้ขับไล่ คดีหลัง บ. เป็นโจทก์ฟ้อง ม. และ ช. ว่า ม. จดทะเบียนขายที่พิพาทให้ ช. โดยไม่มีค่าตอบแทนและไม่สุจริต ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนและให้ ม. จดทะเบียนสิทธิอาศัยให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความคดีทั้งสองขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแยกกัน ศาลฎีกามีคำสั่งให้พิจารณาพิพากษารวมกันตามที่คู่ความขอ
ดังนี้ สำหรับคดีแรก การที่จำเลยให้การว่าคอกกระบือนั้นเป็นคอกกระบือเดิมที่ ม. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยใช้ต่อไปเท่ากับจำเลยปฏิเสธว่าจำเลยมิได้เข้าปลูกคอกกระบือในที่ดินของโจทก์เมื่อ พ.ศ. 2517 เป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องนำสืบให้ได้ความตามฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลยเสียแล้ววินิจฉัยว่า สิทธิของจำเลยได้มาตามสัญญาประนีประนอมยอมความยังมิได้จดทะเบียนไม่บริบูรณ์พิพากษาให้จำเลยรื้อคอกกระบือออกไป เป็นการงดสืบพยานไม่ชอบ แต่เมื่อคดีหลังได้มีการสืบพยานทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นกระแสความแล้วศาลฎีกาชอบที่จะ ไม่ยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองแล้วให้สืบพยานต่อไป แต่ย่อมนำ พยานหลักฐานในคดีหลังมาวินิจฉัยได้ และเมื่อวินิจฉัยแล้วฟังไม่ได้ว่า จำเลยได้เข้าปลูกคอกกระบือในที่ดินของโจทก์เมื่อ พ.ศ. 2517 ศาลย่อม พิพากษายกฟ้องโจทก์คดีแรกเสีย
สำหรับคดีหลัง เมื่อที่พิพาทยังเป็นของ ม. อยู่ ม. จึงมีสิทธิขายให้ ช. ได้ บ. โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอนขายที่พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง ทั้งเมื่อ ม. ขายที่พิพาท และมอบการครอบครองให้ ช. ไปแล้วโจทก์ย่อมฟ้องขอให้บังคับ ม. ไปจดทะเบียนสิทธิตามคำพิพากษาตามยอมอีกมิได้ เพราะที่พิพาทไม่ได้เป็นของ ม. แล้วศาลย่อมพิพากษายกฟ้อง คดีหลังด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีซื้อขายที่ดิน: ทราบถึงการเสียชีวิตของผู้ขายแล้วฟ้องเกิน 1 ปี
โจทก์ทราบว่า ป. ถึงแก่กรรมตั้งแต่ปี พ.ศ.2517 แต่โจทก์มาฟ้องคดีในปี 2519 เพื่อบังคับให้ทายาทของ ป. โอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ ป. ทำไว้กับโจทก์ คดีโจทก์ขาดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 398/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไร ถือเป็นผู้ประกอบการค้า ต้องเสียภาษี
คำว่าผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร มีความหมายกว้างกว่าคำว่าพ่อค้าในมาตรา 165 (1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะคำว่าการค้าในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 หมายความรวมถึงการประกอบธุรกิจและอื่น ๆ อีกด้วย ดังนั้นปัญหาว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าที่ดินหรือไม่ จึงมิใช่จะอาศัยแต่เพียงโจทก์ไปซื้อที่ดิน แล้วขายไปเป็นปกติธุระหรือไม่ แต่ต้องอาศัยพฤติการณ์ทั่ว ๆ ไปของโจทก์ประกอบกัน
โจทก์ซื้อที่ดินไว้เป็นจำนวนถึงร้อยกว่าโฉนด โดยไม่ปรากฏว่าได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน และได้ขายไปเป็นจำนวนถึง 20 กว่าโฉนดในระยะเวลา 3 ปี มีกำไรทุกแปลงบางแปลงกำไรหลายเท่าตัว ส่วนมากขายให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมซึ่งโจทก์ซื้อที่ดินเหล่านั้นไว้ในระยะเวลาที่ทางการมีนโยบายจะให้ท้องที่นั้นเป็นย่านอุตสาหกรรม ดังนี้ ย่อมแสดงว่าโจทก์มีจุดมุ่งหมายในการซื้อที่ดินจำนวนมากเหล่านั้นไว้ เพื่อขายหากำไรเป็นสำคัญ การที่โจทก์ซื้อที่ดินไว้โดยมุ่งในทางการค้า หรือหากำไรมาแต่เดิม และได้ขายที่ดินดังกล่าวไปเป็นทางการค้าหรือหากำไร ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 11 และต้องเสียภาษีเงินได้จากรายรับ เพราะเงินที่โจทก์ได้รับจากการขายที่ดินเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (8) ทั้งไม่เข้าข่ายที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ตามความในมาตรา 42 (9)
of 50