คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทรัพย์มรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 490 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3254/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดก: การครอบครองทรัพย์มรดกโดยทายาทและผู้จัดการมรดก ไม่ทำให้เกิดอายุความต่อทายาทอื่น
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอจัดการมรดกเกี่ยวกับที่ดินพิพาท ทั้งสองแปลงตามที่โจทก์ขอแบ่ง แสดงว่าที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นทรัพย์สินในกองมรดกซึ่งอยู่ระหว่างจัดการมรดก ถึงแม้ว่าจำเลยจะครอบครองที่พิพาทนั้นตั้งแต่เจ้ามรดกถึงแก่กรรมแต่ผู้เดียว ก็เป็นการครอบครองทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกที่ยังไม่ได้แบ่งปันกัน และต่อมาจำเลยก็ได้เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ดังนั้นการที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะทายาท็ก็ดีและในฐานะผู้จัดการมรดกก็ดี ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นด้วย จำเลยจึงจะยกอายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกย่อมมีอำนาจฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทจากจำเลยได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2528)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2881/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดกในการให้เช่าทรัพย์มรดก แม้กรรมสิทธิ์ยังไม่โอน
จำเลยทำสัญญาเช่าตึกพิพาทจากโจทก์ผู้ให้เช่าในฐานะโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ พ. หาได้เช่าจากมูลนิธิ พ. ไม่ทั้งโฉนดที่ดิน ซึ่งตึกพิพาทตั้งอยู่มีชื่อโจทก์เป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ยังไม่ได้โอนให้แก่ มูลนิธิ พ. ตามพินัยกรรมของเจ้ามรดกจึงต้องถือว่าการจัดการทรัพย์มรดก ยังไม่เสร็จสิ้น โจทก์ยังมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็น เพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัด หรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรม เพื่อจัดการมรดกดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 ผู้ให้เช่าไม่จำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่า เมื่อผู้เช่าผิดสัญญา ผู้ให้เช่าย่อมฟ้องผู้เช่าซึ่งเป็นคู่สัญญากับตนได้ และผู้เช่าจะโต้แย้งว่าผู้ให้เช่าไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่า หาได้ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าเพราะไม่ยอมออกจากตึกที่เช่า และส่งมอบทรัพย์ที่เช่าคืนภายหลังครบกำหนดตามสัญญาแล้ว การกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 348/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจัดการศพ: ทายาทมีอำนาจหน้าที่เหนือวัด แม้ไม่มีทรัพย์มรดก
แม้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นวัดมีสิทธิได้รับทรัพย์สินของพระภิกษุมั่นผู้มรณภาพซึ่งได้มาระหว่างสมณเพศตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1623 แต่พระภิกษุมั่นไม่มีทรัพย์สินอันเป็นมรดก ทั้งพระภิกษุมั่นไม่ได้ตั้งบุคคลใด ไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ. ฉะนั้นโจทก์ซึ่งเป็นทายาทพระภิกษุมั่นโดยเป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับพระภิกษุมั่นจึงเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่จัดการศพ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดทายาทในหนี้สินเจ้ามรดก: รับผิดเฉพาะส่วนทรัพย์มรดกที่ได้รับ
จำเลยเป็นแต่เพียงทายาทโดยธรรมแต่ไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายดังนั้นแม้จำเลยจะทำหนังสือยอมรับชำระหนี้สินต่าง ๆ ของผู้ตายให้แก่โจทก์จนครบถ้วนก็ตามแต่ความรับผิดของจำเลยในฐานะทายาทเกี่ยวกับหนี้สินของผู้ตายไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
ทายาทไม่ได้ตกลงแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดก และจำเลยก็ไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมหรือโดยคำสั่งศาล จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้จัดการมรดกชำระหนี้ของผู้ตายให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดทายาท: ทายาทรับผิดชอบหนี้สินเจ้ามรดกไม่เกินทรัพย์มรดกที่ได้รับ แม้ลงชื่อรับสภาพหนี้
จำเลยเป็นแต่เพียงทายาทโดยธรรมแต่ไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายดังนั้นแม้จำเลยจะทำหนังสือยอมรับชำระหนี้สินต่าง ๆ ของผู้ตายให้แก่โจทก์จนครบถ้วนก็ตามแต่ความรับผิดของจำเลยในฐานะทายาทเกี่ยวกับหนี้สินของผู้ตายไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
ทายาทไม่ได้ตกลงแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดก และจำเลยก็ไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมหรือโดยคำสั่งศาล จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้จัดการมรดกชำระหนี้ของผู้ตายให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก, การรับพยานเพิ่มเติม, และการพิเคราะห์ข้อเท็จจริงที่จำเลยนำสืบเพื่อวินิจฉัยทรัพย์มรดก
สิทธิการเช่าตึกแถว มีราคาและอาจโอนกันได้ จึงเป็นทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 99
พยานหลักฐานที่จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมภายหลังสืบพยาน โจทก์เสร็จ เป็นพยานหลักฐานเกี่ยวกับสูติบัตรที่โจทก์อ้างหมายจ. 1 นั่นเองจึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยไม่สามารถทราบได้ว่าต้องนำพยานหลักฐานที่ขออ้างเพิ่มเติมนั้นมาสืบ หรือไม่ทราบว่าพยานหลักฐานนั้นมีอยู่ การที่จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมเมื่อเสร็จการสืบพยานของโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน จึงไม่มีเหตุอันสมควรอนุญาตให้ระบุอ้างพยานเพิ่มเติมได้
แม้โจทก์ฟ้องอ้างว่ารถคันพิพาทเป็นทรัพย์มรดก แต่ทางพิจารณากลับได้ความตามที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยได้ขายทรัพย์มรดกอื่นไปแล้วไม่ถึงหนึ่งเดือน จำเลยก็ซื้อรถคันพิพาท ดังนี้ แม้โจทก์จะมิได้นำสืบว่าจำเลยขายทรัพย์อะไรไป ศาลก็มีอำนาจพิเคราะห์ข้อเท็จจริงที่จำเลยนำสืบรับดังกล่าวประกอบกับพยานหลักฐานในสำนวนและฟังว่าจำเลยขายทรัพย์มรดกอื่นเอาเงินมาซื้อรถคันพิพาท และถือได้ว่ารถคันพิพาทเป็นทรัพย์มรดก หาเป็นการนอกฟ้องและนอกคำให้การไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3613/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส vs. สินเดิม: การแบ่งทรัพย์มรดกและการหักหนี้กองมรดก
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทไว้ว่า เมื่อชำระหนี้กองมรดกแล้วหากมีทรัพย์มรดกเหลืออยู่โจทก์จะมีส่วนได้เพียงใด ดังนั้นการที่ศาลจะคำนวณส่วนแบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์จำเลยได้ ก็จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าทรัพย์สินนั้นเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรสระหว่างจำเลยกับเจ้ามรดกเสียก่อน ซึ่งศาลชั้นต้นก็ได้วินิจฉัยว่าทรัพย์พิพาททั้งหมดเป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับจำเลย การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ทรัพย์พิพาทบางส่วนเป็นสินส่วนตัวของเจ้ามรดกจึงเป็นเรื่องที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น หาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
ทรัพย์มรดกของผู้ตายยังไม่ได้แบ่งปันกันระหว่างทายาทเจ้าหนี้กองมรดกอาจบังคับชำระหนี้เต็มจำนวนจากกองมรดกได้ เมื่อจำเลยได้ชำระหนี้ที่กองมรดกจะต้องชำระไปก็ต้องหักออกจากกองมรดกใช้ให้จำเลยก่อน ทรัพย์มรดกส่วนที่เหลือจึงจะแบ่งปันให้ทายาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2960/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยประเด็นนอกฟ้อง การครอบครองที่ดิน และสิทธิในทรัพย์มรดก
ปัญหาว่าจำเลยได้แย่งการครอบครองที่ดินแปลงพิพาทส่วนของโจทก์แล้วหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริง มิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ดังนี้ เมื่อประเด็นในชั้นอุทธรณ์มีเพียงว่าที่ดินแปลงพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของบิดามารดาโจทก์จำเลย หรือเป็นทรัพย์ของจำเลยซึ่งได้มาโดยหักร้างถางป่า และเรื่องค่าเสียหาย เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์ตั้งปัญหาขึ้นเองว่าจำเลยได้แย่งการครอบครองที่ดินแปลงพิพาทในส่วนของโจทก์หรือไม่ และวินิจฉัยว่าจำเลยได้แย่งการครอบครอง โจทก์หมดสิทธิในที่ดินแปลงพิพาทส่วนของโจทก์เพราะมิได้ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในหนึ่งปีนั้น จึงเป็นการขัดต่อกฎหมายและเป็นคำวินิจฉัยที่มิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์มรดกโดยเจ้าของร่วม: การยึดทรัพย์เพื่อขายทอดตลาดไม่ใช่การบังคับคดี
โจทก์ฟ้องจำเลยขอแบ่งทรัพย์มรดก ระหว่างพิจารณาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยยอมแบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์ ต่อมาการแบ่งทรัพย์บางรายการไม่อาจตกลงกันได้ โจทก์จึงขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์นั้นออกขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินแบ่งกันตามส่วน การยึดทรัพย์ในกรณีนี้มิใช่เป็นการร้องขอให้บังคับคดีตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หากแต่เป็นการร้องขอให้ศาลกำหนดวิธีการแบ่งทรัพย์สินกันระหว่างโจทก์จำเลยผู้เป็นเจ้าของรวมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 วรรคสองฉะนั้นผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์มรดกโดยเจ้าของรวม การยึดทรัพย์เพื่อขายทอดตลาดไม่ใช่การบังคับคดี
โจทก์ฟ้องจำเลยขอแบ่งทรัพย์มรดก ระหว่างพิจารณาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยยอมแบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์ ต่อมาการแบ่งทรัพย์บางรายการไม่อาจตกลงกันได้ โจทก์จึงขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์นั้นออกขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินแบ่งกันตามส่วน การยึดทรัพย์ในกรณีนี้มิใช่เป็นการร้องขอให้บังคับคดีตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหากแต่เป็นการร้องขอให้ศาลกำหนดวิธีการแบ่งทรัพย์สินกันระหว่างโจทก์จำเลยผู้เป็นเจ้าของรวมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 วรรคสองฉะนั้นผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288
of 49