พบผลลัพธ์ทั้งหมด 324 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9532/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีประกันภัยค้ำจุนต้องระบุความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขับขี่ ผู้เอาประกันภัย และความรับผิดตามกฎหมาย
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายพร้อมกับยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งอนุญาต แต่การที่จำเลยที่ 2 ได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้าน และศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา ถือได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ แล้ว
ประกันภัยค้ำจุนคือ สัญญาประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย เพื่อความวินาศภัยอันเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่ง และซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัยและผู้ทำละเมิดเกี่ยวข้องกับผู้เอาประกันภัยอย่างไร อันจะเป็นเหตุให้ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะต้องร่วมรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการบรรยายฟ้องเพื่อให้เห็นถึงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ก็ต่อเมื่อผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดต่อโจทก์เท่านั้น โจทก์จึงต้องบรรยายฟ้องให้ได้ความว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขับรถยนต์ที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยไว้ไปทำละเมิดต่อโจทก์ มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องอย่างไรกับผู้เอาประกันภัยอันเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้น และการบรรยายฟ้องถึงข้ออ้างอันอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานี้ถือเป็นหลักเกณฑ์สำคัญ หาใช่เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะสามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 มีความสัมพันธ์กับผู้เอาประกันภัยอย่างไร คำฟ้องโจทก์จึงมิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 ชอบแล้ว แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีใหม่ ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ
การระบุชื่อผู้ขับขี่ในกรมธรรม์ประกันภัยหรือไม่ เป็นรูปแบบของกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งแต่ละแบบจะมีผลแตกต่างกันในเรื่องความเสี่ยงภัยของผู้รับประกันภัยและการได้รับความคุ้มครองในความเสียหายส่วนแรก อันเป็นผลถึงจำนวนเบี้ยประกันภัย ซึ่งเป็นทางเลือกของผู้เอาประกันภัยด้วย และแม้ว่ากรมธรรม์ประกันภัยจะเป็นชนิดไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่ ผู้รับประกันภัยก็จะต้องร่วมรับผิดเฉพาะกรณีผู้ขับขี่นั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องหรือได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยในทางใดทางหนึ่งเท่านั้น มิใช่ผู้ใดเป็นผู้ขับขี่ ผู้รับประกันภัยก็ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายทุกกรณีดังที่โจทก์อ้าง
ประกันภัยค้ำจุนคือ สัญญาประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย เพื่อความวินาศภัยอันเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่ง และซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัยและผู้ทำละเมิดเกี่ยวข้องกับผู้เอาประกันภัยอย่างไร อันจะเป็นเหตุให้ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะต้องร่วมรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการบรรยายฟ้องเพื่อให้เห็นถึงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ก็ต่อเมื่อผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดต่อโจทก์เท่านั้น โจทก์จึงต้องบรรยายฟ้องให้ได้ความว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขับรถยนต์ที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยไว้ไปทำละเมิดต่อโจทก์ มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องอย่างไรกับผู้เอาประกันภัยอันเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้น และการบรรยายฟ้องถึงข้ออ้างอันอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานี้ถือเป็นหลักเกณฑ์สำคัญ หาใช่เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะสามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 มีความสัมพันธ์กับผู้เอาประกันภัยอย่างไร คำฟ้องโจทก์จึงมิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 ชอบแล้ว แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีใหม่ ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ
การระบุชื่อผู้ขับขี่ในกรมธรรม์ประกันภัยหรือไม่ เป็นรูปแบบของกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งแต่ละแบบจะมีผลแตกต่างกันในเรื่องความเสี่ยงภัยของผู้รับประกันภัยและการได้รับความคุ้มครองในความเสียหายส่วนแรก อันเป็นผลถึงจำนวนเบี้ยประกันภัย ซึ่งเป็นทางเลือกของผู้เอาประกันภัยด้วย และแม้ว่ากรมธรรม์ประกันภัยจะเป็นชนิดไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่ ผู้รับประกันภัยก็จะต้องร่วมรับผิดเฉพาะกรณีผู้ขับขี่นั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องหรือได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยในทางใดทางหนึ่งเท่านั้น มิใช่ผู้ใดเป็นผู้ขับขี่ ผู้รับประกันภัยก็ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายทุกกรณีดังที่โจทก์อ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดเจ้าพนักงานต้องระบุเจตนาพิเศษทำให้เสียหาย หากขาดองค์ประกอบ ศาลต้องยกฟ้อง
ความผิดข้อหาเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 157 นั้น มีองค์ประกอบเรื่องเจตนาพิเศษในการกระทำว่าเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดด้วย เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยเจตนาจงใจไม่เสนอคำขอรับการประเมินวิทยฐานะของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โดยไม่ได้บรรยายฟ้องถึงเจตนาพิเศษดังกล่าวคำฟ้องโจทก์จึงขาดองค์ประกอบความผิด ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
แม้เดิมคำฟ้องโจทก์จะบรรยายว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายหรือคำสั่งเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ป้องกันหรือขัดขวางมิให้เป็นไปตามกฎหมายหรือคำสั่งนั้น โดยไม่ส่งคำขอรับการประเมินวิทยฐานะ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย กับมีคำขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 165 แต่โจทก์ขอแก้ฟ้องยกเลิกคำฟ้องเดิมทั้งหมด โดยข้อความที่แก้ไขใหม่ไม่มีข้อหาดังกล่าว จึงถือว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องในความผิดข้อหานี้
แม้ปัญหาเรื่องการบรรยายฟ้องในความผิดทั้งสองข้อหาข้างต้น มิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
แม้เดิมคำฟ้องโจทก์จะบรรยายว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายหรือคำสั่งเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ป้องกันหรือขัดขวางมิให้เป็นไปตามกฎหมายหรือคำสั่งนั้น โดยไม่ส่งคำขอรับการประเมินวิทยฐานะ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย กับมีคำขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 165 แต่โจทก์ขอแก้ฟ้องยกเลิกคำฟ้องเดิมทั้งหมด โดยข้อความที่แก้ไขใหม่ไม่มีข้อหาดังกล่าว จึงถือว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องในความผิดข้อหานี้
แม้ปัญหาเรื่องการบรรยายฟ้องในความผิดทั้งสองข้อหาข้างต้น มิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องต้องระบุองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 371 อย่างชัดเจน ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้แม้ไม่มีการอุทธรณ์
แม้คำขอท้ายฟ้องจะระบุอ้าง มาตรา 371 ไว้ด้วยก็ตาม แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องถึงองค์ประกอบความผิดในมาตราดังกล่าวว่าจำเลยที่ 1 พาอาวุธปืนไปโดยเปิดเผยหรือไม่มีเหตุสมควร และจำเลยที่ 2 พาอาวุธมีดไปโดยเปิดเผยหรือไม่มีเหตุสมควรมาด้วย ดังนั้น ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 371 มิได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีล้มละลาย: การบรรยายฟ้องและการใช้สิทธิโดยสุจริตของเจ้าหนี้มีประกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอม ซึ่งศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินจำนวน 230,541,301.17 บาท พร้อมดอกเบี้ย หากไม่ชำระยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 20.25 ต่อปี และให้ยึดทรัพย์จำนองพร้อมทรัพย์สินอื่นออกขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วน จำเลยทั้งสามไม่ชำระหนี้ ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด อยู่ระหว่างนำยึดเพื่อขายทอดตลาด โจทก์ขอตีราคาหลักประกันเป็นเงิน 170,000,000 บาทหักจากหนี้แล้วคงค้างชำระจำนวน 411,704,357.58 บาท ซึ่งเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่น้อยกว่าสองล้านบาทสำหรับนิติบุคคล อันเป็นการบรรยายฟ้องอย่างเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 10 (2) แม้โจทก์จะยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องอย่างเจ้าหนี้ไม่มีประกันตามมาตรา 9 และศาลล้มละลายกลางยังไม่มีคำสั่งก็ตาม ในการบรรยายฟ้องคดีล้มละลายโจทก์ต้องบรรยายให้ครบถ้วนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 และหากเป็นเจ้าหนี้มีประกันโจทก์จะต้องบรรยายเพิ่มตามสิทธิของเจ้าหนี้ตามมาตรา 10 (2) ดังนั้นฟ้องโจทก์จึงรวมการบรรยายฟ้องตามมาตรา 9 อยู่ในตัว การบรรยายถึงยอดหนี้ตามกฎหมายโจทก์ย่อมบรรยายเพียงยอดหนี้ว่ามีไม่น้อยกว่าสองล้านบาทสำหรับนิติบุคคลเท่านั้น ส่วนยอดหนี้ที่ค้างชำระจริงเป็นจำนวนเท่าใดเป็นเพียงรายละเอียดในชั้นพิจารณาและชั้นขอรับชำระหนี้ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13093/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดหลายกรรม และการปรับบท ป.อ. มาตรา 91 เพื่อเรียงกระทงลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน และบรรยายฟ้องต่อไปแยกการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองที่กระทำต่อผู้เสียหายแต่ละคนเป็นข้อๆ ถือว่าโจทก์ฟ้องประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป เมื่อจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพตามฟ้อง ย่อมหมายความว่าจำเลยทั้งสองรับว่ากระทำความผิดหลายกรรมต่างกันตามที่โจทก์บรรยายฟ้อง
ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษโดยมิได้ปรับบทตาม ป.อ. มาตรา 91 และศาลอุทธรณ์ภาค 4 มิได้แก้ไขเป็นการมิชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225
ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษโดยมิได้ปรับบทตาม ป.อ. มาตรา 91 และศาลอุทธรณ์ภาค 4 มิได้แก้ไขเป็นการมิชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13090/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานเคลื่อนย้ายสัตว์ตาม พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ ต้องระบุเขตโรคระบาด หากมิได้ระบุ ศาลไม่อาจลงโทษได้
ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายถึงองค์ประกอบความผิดว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันเคลื่อนย้ายสัตว์ภายในท้องที่จังหวัดซึ่งได้ประกาศเป็นเขตโรคระบาดหรือสงสัยว่ามีโรคระบาดแต่อย่างใด แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2499 มาตรา 42 ศาลไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวได้ เพราะเป็นข้อที่มิได้กล่าวในฟ้อง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2909/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ: การบรรยายฟ้องที่ชัดเจนและครบถ้วน
ความผิดฐานฟ้องเท็จ ฟ้องโจทก์บรรยายว่าเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2557 เวลากลางวันจำเลยเอาความเท็จฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาต่อศาลแขวงอุบลราชธานี โดยจำเลยบรรยายฟ้องว่าเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2543 โจทก์ปลอมสัญญากู้เงินของ ส. และ อ. ที่ทำสัญญากู้เงินไว้กับกลุ่มออมทรัพย์บ้านหนองบัวแดง และเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2543 ปลอมเอกสารดังกล่าวจากเดือนมีนาคมเป็นเดือนเมษายนทั้งสองฉบับ ด้วยเจตนาทุจริตเบียดบังเอาเงินของกลุ่มออมทรัพย์บ้านหนองบัวแดงไปเป็นประโยชน์ของตน จำเลยทราบข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดหรือปลอมเอกสารดังกล่าวตามที่จำเลยฟ้อง แต่ยังกลั่นแกล้งนำความเท็จมาฟ้องต่อศาลเพื่อต้องการให้โจทก์ได้รับโทษโดยโจทก์แนบสำเนาคำฟ้องคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์กับสำเนาบันทึกการสอบสวนข้อเท็จจริงที่แสดงว่าโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดมาท้ายคำฟ้องด้วย ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าคำฟ้องของจำเลยเป็นเท็จและความจริงโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดฐานปลอมเอกสาร ส่วนความผิดฐานเบิกความเท็จ ฟ้องโจทก์บรรยายถึงคำเบิกความของจำเลยที่เป็นเท็จและบรรยายว่าความเท็จดังกล่าวเป็นข้อสำคัญในการพิจารณาคดีอาญา ซึ่งความจริงโจทก์ไม่ได้ปลอมเอกสารตามที่จำเลยเบิกความ หากศาลเชื่อว่าโจทก์กระทำความผิดจริงก็จะทำให้โจทก์ถูกพิพากษาลงโทษโดยโจทก์แนบคำเบิกความของจำเลยตามสำเนาคำให้การและสำเนาคำพิพากษาคดีก่อนมาท้ายคำฟ้อง ถือว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องเป็นการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องโจทก์ทั้งสองข้อหาชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21188/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องฐานเป็นซ่องโจรต้องระบุข้อตกลงร่วมกระทำผิด ชี้ฟ้องไม่ชัด ศาลยกฟ้อง
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) โจทก์ต้องบรรยายฟ้องถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งหกได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยทั้งหกเข้าใจข้อหาได้ดี แต่ตามฟ้องของโจทก์ โจทก์มิได้บรรยายว่า จำเลยทั้งหกสมคบกัน และได้ตกลงกันว่าจะกระทำความผิดฐานลักทรัพย์อะไร ของผู้ใด ด้วยวิธีการอย่างไร อันเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญขององค์ประกอบความผิดฐานเป็นซ่องโจร จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20504/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีพยายามฆ่า: ต้องระบุเจตนาที่ชัดเจน หากเปลี่ยนแปลงรายละเอียดสาระสำคัญในชั้นฎีกา ศาลไม่รับวินิจฉัย
ข้อเท็จจริงในความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นที่โจทก์บรรยายไว้ในคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวหาจำเลยทั้งสองว่ากระทำผิดด้วยเจตนาโดยประสงค์ต่อผลให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายจากการถูกฟันด้วยมีดแตกต่างไปจากที่โจทก์อ้างในฎีกาว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดด้วยเจตนาโดยเล็งเห็นผลว่าผู้เสียหายอาจถึงแก่ความตายเนื่องจากขาดอากาศหายใจซึ่งเป็นสาระสำคัญ หาใช่ข้อเท็จจริงอันเป็นรายละเอียดที่โจทก์ไม่จำต้องบรรยายในคำฟ้องไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ชอบที่จะไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวเพราะเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18806/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิด พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ ต้องระบุว่าจำเลยมีหน้าที่นำภาพยนตร์เข้าตรวจพิจารณา มิฉะนั้นฟ้องไม่ชอบ
การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานนำภาพยนตร์ออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายโดยไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 78 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ผู้กระทำความผิดต้องมีหน้าที่นำภาพยนตร์ที่จะนำออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายในราชอาณาจักรไปผ่านการตรวจพิจารณาอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ก่อน แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่ดังกล่าว คงบรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยมีแผ่นวีซีดีและดีวีดีภาพยนตร์และวีดีทัศน์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ไว้ในครอบครองเพื่อที่จะใช้ขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า และเผยแพร่แก่บุคคลทั่วไปเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่ต้องนำวีซีดีและดีวีดีภาพยนตร์และวีดิทัศน์ดังกล่าวไปผ่านการตรวจพิจารณาอนุญาต การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายฟ้องย่อมไม่อาจเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง อันจะเป็นความผิดตามมาตรา 78 ได้ ฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานนี้จึงเป็นฟ้องที่มิได้บรรยายข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด อันเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานนี้ได้