พบผลลัพธ์ทั้งหมด 416 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเช็คและการคิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การสลักหลังเช็คซึ่งสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือย่อมเป็นการประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921,989 และตามมาตรา940 วรรคแรก ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกับบุคคลซึ่งตนประกัน ซึ่งมีความหมายว่าผู้สั่งจ่ายมีความรับผิดต่อผู้ทรงอย่างใด ผู้รับอาวัลย่อมต้องมีความรับผิดต่อผู้ทรงเช่นเดียวกัน ดังนั้นอายุความที่ผู้สลักหลังดังกล่าวจะยกขึ้นต่อสู้ผู้ทรงจึงมีกำหนด 1 ปีนับแต่เช็คถึงกำหนดตามมาตรา 1002 หาใช่ต้องใช้อายุความทั่วไปไม่
จำเลยนำเช็คที่จำเลยลงชื่อสลักหลังมาขายให้ธนาคารโจทก์โดยจำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมให้แก่ธนาคารโจทก์คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 14 ต่อปี นับแต่วันที่จำเลยรับเงินค่าขายเช็คไปจากธนาคารโจทก์จนถึงวันที่เช็คถึงกำหนด และธนาคารโจทก์ได้หักดอกเบี้ยนี้ไว้แล้ว ดังนี้เป็นค่าตอบแทนที่ธนาคารโจทก์รับซื้อเช็คไว้เท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดในกรณีธนาคารโจทก์ขึ้นเงินตามเช็คไม่ได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีข้อตกลงไว้โดยชัดแจ้งธนาคารผู้ทรงย่อมเรียกร้องจากจำเลยได้เพียงร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 จะนำประเพณีธนาคารในการคิดดอกเบี้ยมาเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยร้อยละ 14 ต่อปีหาได้ไม่
จำเลยนำเช็คที่จำเลยลงชื่อสลักหลังมาขายให้ธนาคารโจทก์โดยจำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมให้แก่ธนาคารโจทก์คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 14 ต่อปี นับแต่วันที่จำเลยรับเงินค่าขายเช็คไปจากธนาคารโจทก์จนถึงวันที่เช็คถึงกำหนด และธนาคารโจทก์ได้หักดอกเบี้ยนี้ไว้แล้ว ดังนี้เป็นค่าตอบแทนที่ธนาคารโจทก์รับซื้อเช็คไว้เท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดในกรณีธนาคารโจทก์ขึ้นเงินตามเช็คไม่ได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีข้อตกลงไว้โดยชัดแจ้งธนาคารผู้ทรงย่อมเรียกร้องจากจำเลยได้เพียงร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 จะนำประเพณีธนาคารในการคิดดอกเบี้ยมาเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยร้อยละ 14 ต่อปีหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอตั้งผู้จัดการมรดก ไม่ใช่การฟ้องคดีมรดก จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1754
การร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก มิใช่เป็นการฟ้องคดีเพื่อใช้สิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของกองมรดก ไม่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่ถอนหลังมีคำพิพากษา: การบังคับคดีตามคำพิพากษาไม่ใช่การใช้สิทธิไถ่ทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ศาลได้มีคำพิพากษาให้จำเลยรับเงิน 40,000 บาท แล้วไปจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝากที่ดินพิพาทให้โจทก์ ให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 1 เดือน ครั้นพ้นกำหนดตามคำบังคับแล้วโจทก์จึงวางเงิน 40,000 บาทต่อศาล จำเลยจะอ้างว่าเมื่อโจทก์ไม่วางเงินต่อศาลภายในกำหนด 1 เดือน ตามคำบังคับ ต้องถือว่าโจทก์สละสิทธิ ที่พิพาทหลุดเป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลยโดยเด็ดขาดดังนี้หาได้ไม่ การที่โจทก์ขอให้บังคับคดีโดยใช้สิทธิไถ่ถอนทรัพย์ภายใน 10 ปี เป็นการใช้สิทธิตามคำพิพากษาของศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 จะนำบทบัญญัติในเรื่องกำหนดเวลาในการใช้สิทธิไถ่ทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาเกี่ยวข้องอีกไม่ได้ และไม่ถือว่าเป็นการขยายเวลาไถ่ทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 496 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2586/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเช็ค: อัตราดอกเบี้ยตามเช็คชอบด้วยกฎหมาย แม้ต่างจากอัตราทั่วไปในประมวลกฎหมายแพ่ง
ดอกเบี้ยสำหรับจำนวนเงินที่ต้องรับผิดตามเช็คนั้น คิดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี หาใช่คิดเพียงอัตราร้อยละห้าต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 968 ไม่ เพราะมาตรา 989 มิได้บัญญัติให้นำมาตรา 968 มาบังคับในเรื่องเช็คด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิในที่ดินที่เป็นการละเมิดต่อผู้อื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421
ลำเหมืองพิพาทผ่านที่นาของจำเลยไปสู่ที่นาของโจทก์ โจทก์ใช้น้ำจากลำเหมืองพิพาทในการทำนามาเป็นเวลา 10 ปีเศษแล้วจำเลยก็ยอมรับว่าโจทก์ได้ใช้น้ำในลำเหมืองที่ผ่านที่นาของจำเลย เพราะตามปกติน้ำฝนมีไม่พอในการทำนา แสดงว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าถ้าจำเลยกลบลำเหมืองในที่นาของจำเลยเสีย ผลเสียหายย่อมเกิดขึ้นแก่การทำนาของโจทก์อย่างแน่นอน ฉะนั้น การที่จำเลยกลบลำเหมืองพิพาทตอนที่ผ่านที่นาจำเลย เพื่อมิให้โจทก์ได้ใช้น้ำในลำเหมืองนั้นในการทำนาต่อไป จึงเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยเปิดลำเหมืองพิพาทเพื่อโจทก์จะได้ใช้น้ำจากลำเหมืองในการทำนาตามสภาพเดิมต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกอิสลาม vs. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์: หลักเกณฑ์การบังคับใช้และการแบ่งสินสมรส
แม้โจทก์และจำเลยจะเป็นอิสลามศาสนิกและเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับเรื่องมรดกอิสลามศาสนิกก็ตาม แต่ถ้ามิใช่เป็น คดีที่เกิดขึ้นในจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล แล้ว ก็จะนำลัทธิศาสนาอิสลามหรือกฎหมายอิสลามมาใช้บังคับ ในการแบ่งปันทรัพย์มรดกแทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการแบ่งมรดกไม่ได้ เพราะเป็นการขัดต่อบทบัญญัติในมาตรา 3แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานีนราธิวาสยะลาและสตูล พ.ศ. 2489 ฉะนั้น ถ้าได้มีการนำวิธีการแบ่งปันทรัพย์มรดกตามลัทธิศาสนาอิสลามมาใช้ในการแบ่งปันทรัพย์มรดก ก็จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติมาตรา 1750ด้วย จึงจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
แม้จะได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกกันจริงตามวิธีการแบ่งในลัทธิศาสนาอิสลาม และโจทก์ตกลงยินยอมตามผลการแบ่งปันดังกล่าว แต่บันทึกการแบ่งปันนั้นมีแต่รายการทรัพย์สินไม่มีข้อตกลงใด ๆและไม่มีผู้ใดลงชื่อในบันทึกนั้น เลย ดังนี้ ไม่เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1750 วรรค 2 จึงหามีผลสมบูรณ์อันจะบังคับกันระหว่างคู่กรณีได้ไม่ และเมื่อโจทก์กับจำเลยยังครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันตลอดมา ซึ่งยังถือไม่ได้ว่าได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกด้วยต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัดตามมาตรา 1750 วรรคแรก แล้วทรัพย์พิพาท จึงยังถือว่าครอบครองร่วมกันมาโดยมิได้มีการแบ่งปันตามกฎหมาย โจทก์ย่อมขอให้แบ่งได้ตามมาตรา 1748
แม้จะได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกกันจริงตามวิธีการแบ่งในลัทธิศาสนาอิสลาม และโจทก์ตกลงยินยอมตามผลการแบ่งปันดังกล่าว แต่บันทึกการแบ่งปันนั้นมีแต่รายการทรัพย์สินไม่มีข้อตกลงใด ๆและไม่มีผู้ใดลงชื่อในบันทึกนั้น เลย ดังนี้ ไม่เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1750 วรรค 2 จึงหามีผลสมบูรณ์อันจะบังคับกันระหว่างคู่กรณีได้ไม่ และเมื่อโจทก์กับจำเลยยังครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันตลอดมา ซึ่งยังถือไม่ได้ว่าได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกด้วยต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัดตามมาตรา 1750 วรรคแรก แล้วทรัพย์พิพาท จึงยังถือว่าครอบครองร่วมกันมาโดยมิได้มีการแบ่งปันตามกฎหมาย โจทก์ย่อมขอให้แบ่งได้ตามมาตรา 1748
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกอิสลามและการบังคับใช้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ หากไม่ได้อยู่ในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล
แม้โจทก์และจำเลยจะเป็นอิสลามศาสนิกและเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับเรื่องมรดกอิสลามศาสนิกก็ตาม แต่ถ้ามิใช่เป็นคดีที่เกิดขึ้นในจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูลแล้วก็จะนำลัทธิศาสนาอิสลามหรือกฎหมายอิสลามมาใช้บังคับในการแบ่งปันทรัพย์มรดกแทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการแบ่งมรดกไม่ได้ เพราะเป็นการขัดต่อบทบัญญัติในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานีนราธิวาสยะลาและสตูล พ.ศ. 2489 ฉะนั้น ถ้าได้มีการนำวิธีการแบ่งปันทรัพย์มรดกตามลัทธิศาสนาอิสลามมาใช้ในการแบ่งปันทรัพย์มรดกก็จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติมาตรา 1750 ด้วย จึงจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
แม้จะได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกกันจริงตามวิธีการแบ่งในลัทธิศาสนาอิสลาม และโจทก์ตกลงยินยอมตามผลการแบ่งปันดังกล่าว แต่บันทึกการแบ่งปันนั้นมีแต่รายการทรัพย์สินไม่มีข้อตกลงใด ๆ และไม่มีผู้ใดลงชื่อในบันทึกนั้นเลย ดังนี้ ไม่เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1750 วรรค 2 จึงหามีผลสมบูรณ์อันจะบังคับกันระหว่างคู่กรณีได้ไม่ และเมื่อโจทก์กับจำเลยยังครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันตลอดมา ซึ่งยังถือไม่ได้ว่าได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกด้วยต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัดตามมาตรา 1750 วรรคแรก แล้ว ทรัพย์พิพาท จึงยังถือว่าครอบครองร่วมกันมาโดยมิได้มีการแบ่งปันตามกฎหมาย โจทก์ย่อมขอให้แบ่งได้ตามมาตรา 1748
แม้จะได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกกันจริงตามวิธีการแบ่งในลัทธิศาสนาอิสลาม และโจทก์ตกลงยินยอมตามผลการแบ่งปันดังกล่าว แต่บันทึกการแบ่งปันนั้นมีแต่รายการทรัพย์สินไม่มีข้อตกลงใด ๆ และไม่มีผู้ใดลงชื่อในบันทึกนั้นเลย ดังนี้ ไม่เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1750 วรรค 2 จึงหามีผลสมบูรณ์อันจะบังคับกันระหว่างคู่กรณีได้ไม่ และเมื่อโจทก์กับจำเลยยังครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันตลอดมา ซึ่งยังถือไม่ได้ว่าได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกด้วยต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัดตามมาตรา 1750 วรรคแรก แล้ว ทรัพย์พิพาท จึงยังถือว่าครอบครองร่วมกันมาโดยมิได้มีการแบ่งปันตามกฎหมาย โจทก์ย่อมขอให้แบ่งได้ตามมาตรา 1748
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 936/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องถอนผู้อนุบาล: ความสัมพันธ์ญาติสนิทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มารดาของผู้ไร้ความสามารถเป็นน้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกันกับยายของโจทก์ ฐานะของโจทก์จึงเกี่ยวข้องเป็นหลานน้าของผู้ไร้ความสามารถ ซึ่งนับว่าอยู่ในลำดับญาติใกล้ชิดกว่าลูกพี่ลูกน้องนับได้เพียงภายในสามชั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 11(2) เสียอีกความเกี่ยวพันระหว่างโจทก์กับผู้ไร้ความสามารถจึงควรนับได้ว่าเป็นญาติสนิท ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1575 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3141/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในคดีฟ้องหย่าและการขออำนาจปกครองบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สามีฟ้องภรรยาเป็นจำเลยขอหย่าต่อศาลแพ่ง จำเลยฟ้องแย้งขอให้ศาลเพิกถอนอำนาจปกครองบุตรของโจทก์ให้เป็นของจำเลยแต่ผู้เดียว ดังนี้ แม้ศาลแพ่งซึ่งพิพากษาคดีฟ้องหย่าจะมีอำนาจชี้ขาดว่าใครเป็นผู้สมควรปกครองบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1502 วรรค 2 ด้วยก็จริง แต่ฟ้องแย้งที่ขอให้ศาลสั่งให้อำนาจปกครองบุตรอยู่แก่จำเลยซึ่งเป็นมารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1538(6) นั้นพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 แก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 163 ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2515 ข้อ 1บัญญัติให้คดีแพ่งที่ฟ้องศาลเกี่ยวกับผู้เยาว์ ซึ่งจะต้องบังคับใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1538(6) อยู่ในอำนาจของศาลคดีเด็กและเยาวชน ศาลแพ่งไม่มีอำนาจรับฟ้องแย้งไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2931/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 689: บังคับชำระหนี้จากลูกหนี้ก่อน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินให้โจทก์ ถ้าจำเลยที่ 1ไม่ชำระให้จำเลยที่ 2 ชำระแทน โจทก์จึงต้องดำเนินการบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน เมื่อจำเลยที่ 2 อ้างว่าจำเลยที่ 1มีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ได้. และการบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการยาก โจทก์เองก็ไม่คัดค้านว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์ ทั้งยินยอมให้จำเลยที่ 2 ไปขายทรัพย์ของจำเลยที่ 1การที่จำเลยที่ 2 ไม่สามารถจัดการขายทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ได้หาทำให้โจทก์ข้ามการบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยที่ 1 มาบังคับเอาจากจำเลยที่ 2 ได้ไม่