พบผลลัพธ์ทั้งหมด 402 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2596/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การกำหนดวันครบกำหนดชำระหนี้และผลของการผิดนัด
สัญญาประนีประนอมยอมความทำกันในศาลเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2516 ความว่า จำเลยยอมชำระหนี้ให้โจทก์ภายใน 15 เดือนนับแต่วันทำสัญญา โดยให้นับ 30 วันเป็นหนึ่งเดือน ถ้าผิดนัด จำเลยยอมให้ทรัพย์จำนองหลุดและถือว่าหมดหนี้ต่อกัน ดังนี้ เมื่อจำเลยนำเงินมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ในวันที่ 21 ตุลาคม 2517 จึงถือว่าจำเลยผิดนัดจำเลยต้องยอมให้ทรัพย์จำนองหลุดเป็นสิทธิแก่โจกท์ และถือว่าหมดหนี้ต่อกันตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
ข้อตกลงให้นับ 30 วันเป็นหนึ่งเดือนย่อมบังคับกันได้ ไม่ถือว่าขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 ก็บัญญัติให้นับระยะเวลาตามวิธีการที่กำหนดไว้ในนิติกรรมได้
ข้อตกลงให้นับ 30 วันเป็นหนึ่งเดือนย่อมบังคับกันได้ ไม่ถือว่าขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 ก็บัญญัติให้นับระยะเวลาตามวิธีการที่กำหนดไว้ในนิติกรรมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2596/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ การกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ และผลของการผิดนัด
สัญญาประนีประนอมยอมความทำกันในศาลเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2516 ความว่า จำเลยยอมชำระหนี้ให้โจทก์ภายใน 15 เดือนนับแต่วันทำสัญญา โดยให้นับ 30 วันเป็นหนึ่งเดือน ถ้าผิดนัด จำเลยยอมให้ทรัพย์จำนองหลุดและถือว่าหมดหนี้ต่อกัน ดังนี้ เมื่อจำเลยนำเงินมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ในวันที่ 21 ตุลาคม 2517 จึงถือว่าจำเลยผิดนัด จำเลยต้องยอมให้ทรัพย์จำนองหลุดเป็นสิทธิแก่โจทก์และถือว่าหมดหนี้ต่อกันตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
ข้อตกลงให้นับ 30 วันเป็นหนึ่งเดือนย่อมบังคับกันได้ไม่ถือว่าขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 ก็บัญญัติให้นับระยะเวลาตามวิธีการที่กำหนดไว้ในนิติกรรมได้
ข้อตกลงให้นับ 30 วันเป็นหนึ่งเดือนย่อมบังคับกันได้ไม่ถือว่าขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 ก็บัญญัติให้นับระยะเวลาตามวิธีการที่กำหนดไว้ในนิติกรรมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเบื้องต้นยังไม่เป็นสัญญา จำเลยต้องคืนมัดจำพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
เอกสารว่ารับเงินมัดจำแล้ว จะทำสัญญาก่อสร้างให้ถูกต้องในวันที่ 20 ฯ และชำระเงินอีกจำนวนหนึ่ง ดังนี้โจทก์จำเลยเถียงกันเรื่องรายละเอียดได้ตกลงกันแล้วหรือไม่กรณีจึงเป็นที่สงสัย ยังไม่นับว่ามีสัญญากัน จำเลยต้องคืนมัดจำและเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง ซึ่งถือว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่วันนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1212/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อผิดนัด-อายุความ-ค่าเสียหาย-อำนาจฟ้อง: การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อที่ผิดนัด และการกำหนดค่าเสียหายที่เหมาะสม
โจทก์ฟ้องคดีของโจทก์เองโดยลงชื่อ "บริษัทสยามกลการ จำกัด โดยนายปรีชา พรประภา และนายประเสริฐ ลีลาศเจริญ กรรมการ โจทก์" ในใบแต่งทนายความของโจทก์มีนายปรีชา พรประภา และนายประเสริฐ ลีลาศเจริญ กรรมการบริษัทโจทก์ลงนามและประทับตราของโจทก์เป็นการถูกต้องตามหนังสือรับรองของนายทะเบียน หอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง กรมทะเบียนการค้า กระทรวงเศรษฐการ โจทก์ไม่จำต้องนำบุคคลดังกล่าวมาเบิกความประกอบต่อศาลอีก
สัญญาเช่าซื้อระบุไว้ว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินงวดใด หรือผิดสัญญาข้อใด ให้สัญญาเช่าซื้อเป็นอันมีผลบังคับทันทีโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ข้อสัญญาดังกล่าวไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะ ดังนั้น เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
การที่จำเลยเช่าซื้อรถยนต์ของโจทก์ไปแล้วผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ และไม่ส่งมอบรถคืน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยขาดประโยชน์ที่ควรจะได้จากการนำรถออกให้เช่า การฟ้องเรียกค่าเสียหายเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ภายในอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
(อ้างฎีกาที่ 601/2513)
โจทก์ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในการผิดสัญญาเช่าซื้อและให้คืนรถที่เช่าซื้อไปไม่ได้มีคำขอว่า ถ้าหากจำเลยไม่ส่งคืนจะต้องใช้ราคาแทนด้วย และเป็นราคาเท่าใด ศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ และให้จำเลยคืนรถยนต์ 3 คันที่ยังไม่ได้คืนแก่โจทก์ โจทก์ได้อุทธรณ์เฉพาะเรื่องค่าเสียหายอย่างเดียวว่าศาลกำหนดให้น้อยไป นอกจากนี้ในอุทธรณ์ของโจทก์ยังกล่าวไว้ด้วยว่า โจทก์ไม่ติดใจร้องขอต่อศาลว่า ถ้าจำเลยไม่คืน (รถยนต์) จะให้ใช้ราคาแทน ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจที่จะวินิจฉัยในข้อที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ และประเด็นข้อนี้มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นอีกด้วย ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า ถ้าจำเลยไม่คืนรถยนต์ ให้ใช้ราคาแทน จึงเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาจึงพิพากษาแก้ ให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายสำหรับรถ 3 คันที่ยังไม่ได้คืน เดือนละ 1,000 บาทต่อ 1 คัน ตั้งแต่วันถัดจากวันฟ้อง จนกว่าจะส่งมอบรถคืน แต่ค่าเสียหายหลังจากวันฟ้องต้องไม่เกินคันละ 48,000 บาท เพียงเท่าที่รถยังอยู่ในสภาพใช้งานได้ต่อไปไม่เกิน 4 ปี.
สัญญาเช่าซื้อระบุไว้ว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินงวดใด หรือผิดสัญญาข้อใด ให้สัญญาเช่าซื้อเป็นอันมีผลบังคับทันทีโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ข้อสัญญาดังกล่าวไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะ ดังนั้น เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
การที่จำเลยเช่าซื้อรถยนต์ของโจทก์ไปแล้วผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ และไม่ส่งมอบรถคืน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยขาดประโยชน์ที่ควรจะได้จากการนำรถออกให้เช่า การฟ้องเรียกค่าเสียหายเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ภายในอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
(อ้างฎีกาที่ 601/2513)
โจทก์ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในการผิดสัญญาเช่าซื้อและให้คืนรถที่เช่าซื้อไปไม่ได้มีคำขอว่า ถ้าหากจำเลยไม่ส่งคืนจะต้องใช้ราคาแทนด้วย และเป็นราคาเท่าใด ศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ และให้จำเลยคืนรถยนต์ 3 คันที่ยังไม่ได้คืนแก่โจทก์ โจทก์ได้อุทธรณ์เฉพาะเรื่องค่าเสียหายอย่างเดียวว่าศาลกำหนดให้น้อยไป นอกจากนี้ในอุทธรณ์ของโจทก์ยังกล่าวไว้ด้วยว่า โจทก์ไม่ติดใจร้องขอต่อศาลว่า ถ้าจำเลยไม่คืน (รถยนต์) จะให้ใช้ราคาแทน ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจที่จะวินิจฉัยในข้อที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ และประเด็นข้อนี้มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นอีกด้วย ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า ถ้าจำเลยไม่คืนรถยนต์ ให้ใช้ราคาแทน จึงเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาจึงพิพากษาแก้ ให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายสำหรับรถ 3 คันที่ยังไม่ได้คืน เดือนละ 1,000 บาทต่อ 1 คัน ตั้งแต่วันถัดจากวันฟ้อง จนกว่าจะส่งมอบรถคืน แต่ค่าเสียหายหลังจากวันฟ้องต้องไม่เกินคันละ 48,000 บาท เพียงเท่าที่รถยังอยู่ในสภาพใช้งานได้ต่อไปไม่เกิน 4 ปี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1735/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าต้องมีเหตุจากการผิดสัญญาเช่าโดยตรง การชำระค่าเช่าทางอื่นไม่ถือผิดนัด
การที่ผู้ให้เช่าไปเก็บค่าเช่าจากผู้เช่าตลอดมา เป็นการแสดงให้เห็นว่าผู้ให้เช่ามิได้ถือเด็ดขาดว่าผู้เช่าจะต้องชำระค่าเช่าณ สำนักงานหรือที่อยู่ของผู้ให้เช่าตามสัญญาเช่า เมื่อผู้ให้เช่าไม่ไปเก็บค่าเช่าจากผู้เช่าจะว่าผู้เช่าผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าไม่ได้ต่อมามีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เช่าผู้เช่าขอชำระค่าเช่าที่ค้างชำระให้แก่ผู้รับโอน แต่ผู้รับโอนไม่ยอมรับชำระ ผู้เช่าจึงส่งค่าเช่านั้นทางธนาณัติไปให้ผู้รับโอน ผู้รับโอนก็ไม่รับอีก ดังนี้ ถือว่าผู้เช่ามิได้ผิดนัดชำระค่าเช่า
การที่ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาเช่า อาจกระทำได้ในกรณีที่ผู้เช่าผิดสัญญาเช่า หรือทำผิดหน้าที่ตามกฎหมายในเรื่องเช่าหรือในกรณีอื่นซึ่งเกี่ยวกับเรื่องการเช่าโดยตรง ส่วนการที่ผู้เช่าไม่ไปให้ความยินยอมในการที่ผู้ให้เช่ารังวัดแบ่งแยกที่ดินที่เช่านั้นไม่เกี่ยวกับการเช่าจึงไม่เป็นเหตุที่ผู้ให้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเช่าได้และกรณีนี้ก็มิใช่เรื่องที่ผู้เช่าต้องสงวนทรัพย์สินที่เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 553 แต่อย่างใด
การที่ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาเช่า อาจกระทำได้ในกรณีที่ผู้เช่าผิดสัญญาเช่า หรือทำผิดหน้าที่ตามกฎหมายในเรื่องเช่าหรือในกรณีอื่นซึ่งเกี่ยวกับเรื่องการเช่าโดยตรง ส่วนการที่ผู้เช่าไม่ไปให้ความยินยอมในการที่ผู้ให้เช่ารังวัดแบ่งแยกที่ดินที่เช่านั้นไม่เกี่ยวกับการเช่าจึงไม่เป็นเหตุที่ผู้ให้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเช่าได้และกรณีนี้ก็มิใช่เรื่องที่ผู้เช่าต้องสงวนทรัพย์สินที่เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 553 แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1144/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการขอให้บังคับคดีซ้ำ ศาลต้องพิจารณาว่าลูกหนี้ผิดนัดหรือไม่ และหมายบังคับคดีเดิมยังใช้ได้หรือไม่
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีได้ต่อเมื่อลูกหนี้มิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271
ในคดีที่ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากสามีภรรยามีคำบังคับให้แบ่งสินสมรสกัน และให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่โจทก์ตั้งแต่วันจดทะเบียนหย่าจนกว่าโจทก์จะจดทะเบียนสมรสกับสามีใหม่นั้น โจทก์ได้ยื่นคำร้องว่าไม่อาจตกลงแบ่งสินสมรสกันได้ ขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานกองหมายให้ทำการยึดทรัพย์มาขายทอดตลาด ต้องถือว่าหมายบังคับคดีที่ศาลชั้นต้นตั้งให้หัวหน้ากองหมายจัดการยึดสินสมรสนั้นก็เพื่อแบ่งให้โจทก์จำเลยเท่านั้น ข้อความในหมายบังคับคดีนอกนั้นหาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ที่จะขอให้บังคับไม่ เป็นแต่เท้าความถึงคำพิพากษาซึ่งเกินกว่าที่โจทก์ขอเมื่อได้จัดการตามหมายบังคับคดีฉบับแรกไปแล้ว โจทก์ได้ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีอีกฉบับหนึ่งอ้างว่าจำเลยมิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ให้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์เป็นเวลา 32 เดือน ซึ่งศาลก็ได้ออกหมายบังคับคดีให้ตามคำร้องขอของโจทก์ และจำเลยได้ชำระ เงินให้ตามหมายบังคับคดีครบถ้วนแล้วภายหลังโจทก์จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์สินของจำเลย เพื่อขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระหนี้ค่าอุปการะเลี้ยงดูจำนวนใหม่ที่เกิดขึ้นภายหลังโดยอาศัยหมายบังคับคดีเดิมสองฉบับที่จำเลยได้ปฏิบัติตามหมายบังคับคดีครบถ้วนแล้ว และโดยที่ศาลมิได้ออกหมายบังคับคดีให้ใหม่หาได้ไม่
ในคดีที่ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากสามีภรรยามีคำบังคับให้แบ่งสินสมรสกัน และให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่โจทก์ตั้งแต่วันจดทะเบียนหย่าจนกว่าโจทก์จะจดทะเบียนสมรสกับสามีใหม่นั้น โจทก์ได้ยื่นคำร้องว่าไม่อาจตกลงแบ่งสินสมรสกันได้ ขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานกองหมายให้ทำการยึดทรัพย์มาขายทอดตลาด ต้องถือว่าหมายบังคับคดีที่ศาลชั้นต้นตั้งให้หัวหน้ากองหมายจัดการยึดสินสมรสนั้นก็เพื่อแบ่งให้โจทก์จำเลยเท่านั้น ข้อความในหมายบังคับคดีนอกนั้นหาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ที่จะขอให้บังคับไม่ เป็นแต่เท้าความถึงคำพิพากษาซึ่งเกินกว่าที่โจทก์ขอเมื่อได้จัดการตามหมายบังคับคดีฉบับแรกไปแล้ว โจทก์ได้ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีอีกฉบับหนึ่งอ้างว่าจำเลยมิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ให้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์เป็นเวลา 32 เดือน ซึ่งศาลก็ได้ออกหมายบังคับคดีให้ตามคำร้องขอของโจทก์ และจำเลยได้ชำระ เงินให้ตามหมายบังคับคดีครบถ้วนแล้วภายหลังโจทก์จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์สินของจำเลย เพื่อขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระหนี้ค่าอุปการะเลี้ยงดูจำนวนใหม่ที่เกิดขึ้นภายหลังโดยอาศัยหมายบังคับคดีเดิมสองฉบับที่จำเลยได้ปฏิบัติตามหมายบังคับคดีครบถ้วนแล้ว และโดยที่ศาลมิได้ออกหมายบังคับคดีให้ใหม่หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนสินค้าและเงินค่าขายหลังศาลสั่งคืนของกลาง การรักษาทรัพย์แทนเจ้าของ และการผิดนัดชำระหนี้
กรณีที่พนักงานศุลกากรยึดสิ่งใดๆ อันจะพึงริบตามพระราชบัญญัติศุลกากร ถ้าเจ้าของหรือผู้มีสิทธิไม่ยื่นคำร้องเรียกเอาภายในกำหนด 60 วัน สำหรับยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิด 30 วัน สำหรับสิ่งอื่นนับแต่วันที่ยึดให้ถือว่าเป็นสิ่งไม่มีเจ้าของ และให้ตกเป็นของแผ่นดินนั้นหมายถึงกรณีที่ไม่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาล ถ้าเป็นกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ย่อมอยู่ในอำนาจของศาลที่จะพิพากษาให้ริบหรือไม่ริบของกลาง
เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้คืนของกลางแก่เจ้าของ การที่พนักงานศุลกากรยึดถือครอบครองของกลางไว้ต่อมา ย่อมเป็นการรักษาไว้แทนเจ้าของตามหน้าที่ราชการ หากของกลางนั้นได้ถูกขายไปแล้ว ก็ชอบที่จะต้องคืนเงินค่าขายของนั้นให้แก่เจ้าของนับแต่เวลาที่ถูกทวงถาม มิฉะนั้นย่อมตกเป็นฝ่ายผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224
คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งของกลางอันเป็นคุณแก่บุคคลใด อาจใช้ยันบุคคลอื่นได้ เว้นแต่บุคคลอื่นจะพิสูจน์ได้ว่ามีสิทธิดีกว่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145(2)
ศาลอาญาพิพากษาถึงที่สุดให้คืนของกลางแก่โจทก์เมื่อวันที่13 พฤษภาคม 2501 โจทก์ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 30มิถุนายน 2501 ต่อศาลอาญาว่า อธิบดีกรมศุลกากรปฏิเสธไม่ยอมคืนของกลางให้ ขอให้ศาลอาญาสั่งบังคับ ศาลอาญาสั่งยกคำร้องโจทก์โดยว่ามีข้อโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของกลางอยู่ ชอบที่จะไปว่ากล่าวกันในทางแพ่ง โจทก์อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งต่อมาศาลอุทธรณ์และฎีกาพิพากษายืน โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน2507 เรียกให้คืนเงินค่าขายของกลางพร้อมทั้งดอกเบี้ย ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องเรียกทรัพย์คืน มิใช่เรื่องละเมิดซึ่งจะต้องฟ้องภายใน 1 ปีดังที่จำเลยต่อสู้ เพราะโจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหาย คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชากิจการงานของกรมศุลกากร จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ได้ปฏิบัติราชการไปตามอำนาจหน้าที่ในกิจการของจำเลยที่ 1 ตามปกติ หาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่
เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้คืนของกลางแก่เจ้าของ การที่พนักงานศุลกากรยึดถือครอบครองของกลางไว้ต่อมา ย่อมเป็นการรักษาไว้แทนเจ้าของตามหน้าที่ราชการ หากของกลางนั้นได้ถูกขายไปแล้ว ก็ชอบที่จะต้องคืนเงินค่าขายของนั้นให้แก่เจ้าของนับแต่เวลาที่ถูกทวงถาม มิฉะนั้นย่อมตกเป็นฝ่ายผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224
คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งของกลางอันเป็นคุณแก่บุคคลใด อาจใช้ยันบุคคลอื่นได้ เว้นแต่บุคคลอื่นจะพิสูจน์ได้ว่ามีสิทธิดีกว่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145(2)
ศาลอาญาพิพากษาถึงที่สุดให้คืนของกลางแก่โจทก์เมื่อวันที่13 พฤษภาคม 2501 โจทก์ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 30มิถุนายน 2501 ต่อศาลอาญาว่า อธิบดีกรมศุลกากรปฏิเสธไม่ยอมคืนของกลางให้ ขอให้ศาลอาญาสั่งบังคับ ศาลอาญาสั่งยกคำร้องโจทก์โดยว่ามีข้อโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของกลางอยู่ ชอบที่จะไปว่ากล่าวกันในทางแพ่ง โจทก์อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งต่อมาศาลอุทธรณ์และฎีกาพิพากษายืน โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน2507 เรียกให้คืนเงินค่าขายของกลางพร้อมทั้งดอกเบี้ย ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องเรียกทรัพย์คืน มิใช่เรื่องละเมิดซึ่งจะต้องฟ้องภายใน 1 ปีดังที่จำเลยต่อสู้ เพราะโจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหาย คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชากิจการงานของกรมศุลกากร จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ได้ปฏิบัติราชการไปตามอำนาจหน้าที่ในกิจการของจำเลยที่ 1 ตามปกติ หาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2285/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัว: การผิดนัดของจำเลยทำให้ผู้ร้องผิดสัญญาประกัน และศาลมีอำนาจปรับได้
ผู้ร้องทำสัญญาประกันตัวจำเลยคดีอาญาไปจากศาลมีข้อความว่า ในระหว่างประกันผู้ร้องหรือจำเลยจะปฏิบัติตามนัดหรือหมายเรียกของเจ้าพนักงานหรือศาล มิฉะนั้นผู้ร้องยอมใช้เงินจำนวนหนึ่ง ดังนี้ เมื่อจำเลยเซ็นทราบวันนัดของศาลแล้ว จำเลยไม่มาศาลตามนัด เพราะหลงลืมจำวันนัดผิด อันเป็นความผิดของจำเลยเอง ก็ถือได้ว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามนัดของศาล และต้องถือว่าผู้ร้องซึ่งเป็นนายประกันได้ประพฤติผิดข้อสัญญาประกันดังกล่าวแล้ว ศาลมีอำนาจที่จะสั่งบังคับตามสัญญาประกันหรือตามที่ศาลเห็นควรได้แล้ว
ในวันที่ผู้ร้องซึ่งเป็นนายประกันผิดนัด ศาลเพียงแต่มีคำสั่งว่าจำเลยและผู้ร้องผิดสัญญาประกัน กับให้หมายนัดผู้ร้องส่งตัวจำเลยใน 7 วัน ผู้ร้องและจำเลยไม่ได้มาศาลตามหมายนัดศาลจึงสั่งปรับผู้ร้องในวันนัดถัดมา แม้ในนัดหลังนี้ผู้ร้องและจำเลยไม่มาศาล เพราะไม่ได้รับหมายนัดให้ส่งตัวจำเลยก็ไม่เป็นการขัดขวางแก่การที่ศาล จะสั่งปรับผู้ร้อง เพราะถือได้ว่าผู้ร้องผิดสัญญาประกันมาตั้งแต่นัดแรกนั้นแล้ว
ในวันที่ผู้ร้องซึ่งเป็นนายประกันผิดนัด ศาลเพียงแต่มีคำสั่งว่าจำเลยและผู้ร้องผิดสัญญาประกัน กับให้หมายนัดผู้ร้องส่งตัวจำเลยใน 7 วัน ผู้ร้องและจำเลยไม่ได้มาศาลตามหมายนัดศาลจึงสั่งปรับผู้ร้องในวันนัดถัดมา แม้ในนัดหลังนี้ผู้ร้องและจำเลยไม่มาศาล เพราะไม่ได้รับหมายนัดให้ส่งตัวจำเลยก็ไม่เป็นการขัดขวางแก่การที่ศาล จะสั่งปรับผู้ร้อง เพราะถือได้ว่าผู้ร้องผิดสัญญาประกันมาตั้งแต่นัดแรกนั้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1304/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยหนี้มูลละเมิด: คำนวณดอกเบี้ยจากวันละเมิด/วันฟ้อง และคิดดอกเบี้ยรายเดือนเมื่อผิดนัด
หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิดเป็นต้นไป ฉะนั้น ค่าเสียหายคำนวณเป็นเงินก้อนจากวันละเมิดจนถึงวันฟ้อง จึงต้องคิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดให้ตั้งแต่วันละเมิดแต่ถ้าคำขอท้ายฟ้องโจทก์ระบุมาไม่ชัดแจ้งว่า ให้จำเลยชำระตั้งแต่วันใดศาลอาจให้ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องก็ได้
ส่วนค่าเสียหายที่โจทก์ขอให้ชำระเป็นรายเดือนนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะหยุดทำละเมิดนั้น หลักการคิดดอกเบี้ยไม่เหมือนกับการคำนวณค่าเสียหายเป็นเงินก้อนเดียวดังกรณีข้างต้น ในกรณีเช่นนี้ถ้าจำเลยผิดนัด ไม่ชำระในเดือนใด ก็ให้คิดดอกเบี้ยแต่เดือนที่ผิดนัดนั้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
ส่วนค่าเสียหายที่โจทก์ขอให้ชำระเป็นรายเดือนนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะหยุดทำละเมิดนั้น หลักการคิดดอกเบี้ยไม่เหมือนกับการคำนวณค่าเสียหายเป็นเงินก้อนเดียวดังกรณีข้างต้น ในกรณีเช่นนี้ถ้าจำเลยผิดนัด ไม่ชำระในเดือนใด ก็ให้คิดดอกเบี้ยแต่เดือนที่ผิดนัดนั้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 649/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาผูกขาด: ค่าผูกขาดรายปีต้องชำระล่วงหน้าหรือไม่ และผลของการผิดนัดชำระ
ข้อสัญญาว่า ผู้รับผูกขาดจะต้องชำระเงินค่าผูกขาดล่วงหน้าในปีแรกภายใน 15 วัน นับแต่วันสร้างท่าเทียบเรือเสร็จ ส่วนในปีต่อไปจะต้องชำระค่าผูกขาดภายในเดือนตุลาคมของทุก ๆ ปี ดังนี้หมายความว่าค่าผูกขาดสำหรับปีที่ 2 และปีต่อ ๆ ไปจะต้องชำระล่วงหน้าด้วย
โจทก์ให้จำเลยผูกขาดจัดการท่าเทียบเรือ 10 ปี คิดค่าผูกขาดเป็นรายปีจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระค่าผูกขาดปีที่ 2 โจทก์บอกเลิกสัญญาก่อนสิ้นระยะเวลาปีที่ 2 ดังนี้ จำเลยต้องใช้เงินตามควรค่าแห่งการที่ได้ใช้ท่าเทียบเรือของโจทก์นับแต่เริ่มปีที่ 2 จนถึงวันเลิกสัญญาส่วนระยะเวลาต่อจากนั้น ถ้าจำเลยยังไม่ออกไปจากท่าเทียบเรือของโจทก์โจทก์พึงได้รับค่าเสียหาย
(ข้อแรกวินิจฉัยโดยประชุมใหญ่ครั้งที่ 18/2512)
โจทก์ให้จำเลยผูกขาดจัดการท่าเทียบเรือ 10 ปี คิดค่าผูกขาดเป็นรายปีจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระค่าผูกขาดปีที่ 2 โจทก์บอกเลิกสัญญาก่อนสิ้นระยะเวลาปีที่ 2 ดังนี้ จำเลยต้องใช้เงินตามควรค่าแห่งการที่ได้ใช้ท่าเทียบเรือของโจทก์นับแต่เริ่มปีที่ 2 จนถึงวันเลิกสัญญาส่วนระยะเวลาต่อจากนั้น ถ้าจำเลยยังไม่ออกไปจากท่าเทียบเรือของโจทก์โจทก์พึงได้รับค่าเสียหาย
(ข้อแรกวินิจฉัยโดยประชุมใหญ่ครั้งที่ 18/2512)