คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ค้ำประกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 817/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, หลักฐานทางบัญชี, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, ดอกเบี้ย, การคิดดอกเบี้ย
จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ แม้บัญชีเดินสะพัดและบัญชีหนี้ค้างนานโจทก์เป็นฝ่ายทำขึ้นเองโดยจำเลยมิได้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง แต่โจทก์เป็นธนาคารมีหน้าที่จะต้องจัดทำบัญชีและหลักฐานต่างๆ ขึ้นสำหรับลูกค้าของโจทก์ทุกรายเพื่อแสดงยอดเงินฝากและเงินถอนระหว่างโจทก์กับลูกค้าแต่ละรายว่าเป็นหนี้ต่อกันหรือไม่เพียงใดเมื่อมีเหตุผลทำให้เชื่อว่ายอดหนี้ตามบัญชีเดินสะพัดและบัญชีหนี้ค้างนาน โจทก์คิดคำนวณโดยสุจริตในการดำเนินธุรกิจของตนถูกต้องตรงกับความจริงศาลก็รับฟังบัญชีดังกล่าวนั้นได้ แม้โจทก์มิได้อ้างเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายเบิกเงินไปจากบัญชีรวมทั้งใบแจ้งยอดหนี้ประจำเดือนมาเป็นพยานก็ไม่ถึงกับทำให้รับฟังบัญชีดังกล่าวไม่ได้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน, ผู้ค้ำประกัน, ดอกเบี้ย, ผิดนัดชำระหนี้, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
หนี้ของจำเลยเป็นหนี้ตาม ตั๋วสัญญาใช้เงิน ซึ่ง ถึง กำหนดใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋ว เป็นหนี้ที่มีกำหนดเวลาแน่นอนตาม วันแห่งปฏิทิน คือในวันที่ครบกำหนดในตั๋วสัญญาใช้เงิน เมื่อครบกำหนดแล้วจำเลยไม่ชำระหนี้ตาม ตั๋วเงินดังกล่าว จึงตกเป็นผู้ผิดนัดทันทีโดย ไม่ต้องบอกกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๒๐๔ วรรคสอง และต้อง รับผิดใช้ดอกเบี้ย ตั้งแต่ วันที่ครบกำหนดตาม ตั๋วสัญญาใช้เงิน
เมื่อลูกหนี้ผิดนัดเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ ทันทีโดย มิต้องบอกกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๘๖
สัญญาค้ำประกันมีใจความว่า ผู้ค้ำประกันยอมรับค้ำประกันในวงเงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท และหากมีความเสียหายแก่โจทก์อย่างใดผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชดใช้ดอกเบี้ย ให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ ๑๘ซึ่ง ความหมายว่า ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในเงินต้นในวงเงิน๕๐๐,๐๐๐ บาท แทนลูกหนี้พร้อมทั้งดอกเบี้ย เมื่อลูกหนี้ต้อง รับผิดในดอกเบี้ย ตั้งแต่ วันครบกำหนดตาม ตั๋วสัญญาใช้เงิน ผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ย ตั้งแต่ วันเดียวกันด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ใหม่จากการซื้อขายหุ้น: ผู้ค้ำประกันยังคงต้องรับผิดหากไม่มีการรับโอนหนี้โดยชัดเจน
บันทึกที่บริษัท ค. ทำกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้ค้ำประกันบริษัทจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ เป็นเพียงข้อตกลงที่จะซื้อขายหุ้นกันไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าบริษัท ค. ตกลงรับโอนหนี้ของจำเลยที่ 1 หรือรับจะชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 และปรากฏจากรายงานการประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ก่อนที่จะมีการโอนขายหุ้นกันว่า จำเลยที่ 1 ประสบภาวะการขาดทุนเป็นอย่างมากบริษัท ค. เพียงแต่จะให้ความร่วมมือทางการเงินเท่านั้น ทั้งเช็คที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 อ้างว่าบริษัท ค. ชำระหนี้ของจำเลยที่ 1ให้แก่โจทก์ติดต่อกันทุกเดือน ก็เป็นเช็คลงวันที่ก่อนที่จะมีการตกลงโอนหุ้นกัน จึงไม่ใช่เช็คที่บริษัท ค. ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 แม้ต่อมาจะมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1จากฝ่ายจำเลยที่ 2 ที่ 3 มาเป็นกลุ่มของบริษัท ค. ก็เป็นการดำเนินการของจำเลยที่ 1 สิทธิหน้าที่ตลอดจนความผูกพันของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อบุคคลภายนอกรวมทั้งโจทก์มีอยู่อย่างไร ก็คงมีอยู่ต่อไปตามเดิมหาได้เปลี่ยนแปลงไปไม่ เมื่อบริษัท ค. มิได้ยอมเข้ามาเป็นลูกหนี้รับชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 จึงไม่ถือว่ามีการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 350 จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงยังคงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้กับโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาครบกำหนด, การผิดนัดชำระหนี้, ผู้ค้ำประกัน, การบังคับชำระหนี้
จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ เท่านั้นที่ให้การต่อสู้ว่าฟ้องเคลือบคลุมโดยระบุเจาะจงลงไปด้วยว่าเคลือบคลุมเฉพาะการคำนวณดอกเบี้ยของโจทก์ การที่จำเลยทั้งสามฎีกาไปถึงฟ้องข้ออื่นว่าเคลือบคลุมแม้ศาลล่างจะวินิจฉัยให้ ก็เป็นเรื่องนอกประเด็นต่อสู้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าโจทก์คำนวณดอกเบี้ยกับจำเลยที่ ๑ ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ซึ่งแนบสำเนาภาพถ่ายสัญญาดังกล่าวและบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยที่ ๑ ประกอบไว้ท้ายฟ้องส่วนการคำนวณดอกเบี้ยกับจำเลยที่ ๒ โจทก์ก็บรรยายว่าเป็นหนี้ตามตั๋วแลกเงินของจำเลยที่ ๑ ที่โจทก์ต้องชำระแทนไปโดยหยิบยกขึ้นแสดงรายละเอียดเป็นรายฉบับว่ามีหนี้จำนวนเท่าใด คิดดอกเบี้ยอัตราเท่าใด ในช่วงเวลาไหน เป็นการบรรยายฟ้องถึงการคำนวณดอกเบี้ยของโจทก์โดยแจ้งชัด ฟ้องโจทก์ส่วนนี้ไม่เคลือบคลุม
เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ ๑ ทำไว้กับโจทก์ครบกำหนดแล้วมีการปฏิบัติตามสัญญาต่อมาอีก สัญญาดังกล่าวจึงยังคงใช้บังคับระหว่างกันโดยไม่มีกำหนด คำขอของจำเลยที่ ๒ที่ขอให้โจทก์รับรองตั๋วแลกเงินก็ไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เท่ากับโจทก์บอกเลิกสัญญากับจำเลยทั้งสองแล้วสัญญาดังกล่าวจึงสิ้นสุดลง เมื่อจำเลยทั้งสองผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ จำเลยที่ ๓ ผู้ค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยทั้งสอง
จำเลยที่ ๑ นำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวันครั้งสุดท้ายวันที่ ๕สิงหาคม ๒๕๒๔ หลังจากนั้นไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีก ต่อมาโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ ๑ ชำระหนี้ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันได้รับหนังสือบอกกล่าว จำเลยที่ ๑ ได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้วไม่ชำระหนี้ ถือได้ว่าผิดนัด และสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงในวันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าว
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระเงินน้อยกว่าจำนวนที่จำเลยจะต้องรับผิด แต่โจทก์ไม่ฎีกา ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยรับผิดเกินกว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร้องหนี้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและตั๋วแลกเงิน: การพิสูจน์หนี้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน และการคิดดอกเบี้ย
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เท่านั้นที่ให้การต่อสู้ว่าฟ้องเคลือบคลุมโดยระบุเจาะจงลงไปด้วยว่าเคลือบคลุมเฉพาะการคำนวณดอกเบี้ยของโจทก์ การที่จำเลยทั้งสามฎีกาไปถึงฟ้องข้ออื่นว่าเคลือบคลุมแม้ศาลล่างจะวินิจฉัยให้ ก็เป็นเรื่องนอกประเด็นต่อสู้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ฟ้องโจทก์บรรยายว่าโจทก์คำนวณดอกเบี้ยกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ซึ่งแนบสำเนาภาพถ่ายสัญญาดังกล่าวและบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ประกอบไว้ท้ายฟ้อง ส่วนการคำนวณดอกเบี้ยกับจำเลยที่ 2 โจทก์ก็บรรยายว่าเป็นหนี้ตามตั๋วแลกเงินของจำเลยที่ 1 ที่โจทก์ต้องชำระแทนไปโดยหยิบยกขึ้นแสดงรายละเอียดเป็นรายฉบับว่ามีหนี้จำนวนเท่าใด คิดดอกเบี้ยอัตราเท่าใด ในช่วงเวลาไหน เป็นการบรรยายฟ้องถึงการคำนวณดอกเบี้ยของโจทก์โดยแจ้งชัด ฟ้องโจทก์ส่วนนี้ไม่เคลือบคลุม เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ครบกำหนดแล้ว มีการปฏิบัติตามสัญญาต่อมาอีก สัญญาดังกล่าวจึงยังคงใช้บังคับระหว่างกันโดยไม่มีกำหนดคำขอของจำเลยที่ 2ที่ขอให้โจทก์รับรองตั๋วแลกเงินก็ไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เท่ากับโจทก์บอกเลิกสัญญากับจำเลยทั้งสองแล้ว สัญญาดังกล่าวจึงสิ้นสุดลง เมื่อจำเลยทั้งสองผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยทั้งสอง จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวันครั้งสุดท้ายวันที่5 สิงหาคม 2524 หลังจากนั้นไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีก ต่อมาโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือบอกกล่าวจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้วไม่ชำระหนี้ถือได้ว่าผิดนัด และสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงในวันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระเงินน้อยกว่าจำนวนที่จำเลยจะต้องรับผิด แต่โจทก์ไม่ฎีกา ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยรับผิดเกินกว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4171/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดเงินในบัญชีธนาคาร: เจ้าหนี้มีสิทธิแม้ผู้คัดค้านอ้างเงินมาจากผู้ค้ำประกัน หากไม่มีหลักฐานสนับสนุน
ข้อเท็จจริงได้ความว่ามีการโอนเงินจำนวนหนึ่งจากธนาคารในเมืองฮ่องกงมาเข้าบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ธนาคารผู้คัดค้านถ้าไม่มีหลักฐานเป็นอย่างอื่นในเบื้องต้นต้องฟังว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นของจำเลยผู้เป็นเจ้าของบัญชี เมื่อผู้คัดค้านอ้างว่าเงินจำนวนดังกล่าวมิใช่เป็นของจำเลยแต่เป็นของผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยส่งมาชำระหนี้แก่ผู้คัดค้านแทนจำเลยผู้คัดค้านจึงมีภาระการพิสูจน์ให้ฟังได้ตามข้ออ้างของตน ผู้คัดค้านส่งสำเนาภาพถ่ายเอกสารเป็นพยานโดยมิได้แสดงให้เห็นว่าต้นฉบับหาไม่ได้เพราะสูญหายหรือถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัยหรือไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น และโจทก์ไม่ได้ตกลงด้วยว่าสำเนาภาพถ่ายเอกสารนั้นถูกต้อง สำเนาภาพถ่ายเอกสารดังกล่าวจึงรับฟังไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4171/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้มีสิทธิอายัดเงินในบัญชีลูกหนี้ แม้ผู้คัดค้านอ้างว่าเป็นเงินจากผู้ค้ำประกัน หากพิสูจน์ไม่ได้
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่ามีการโอนเงินจำนวนหนึ่งจากธนาคารในเมือง ฮ่องกง มาเข้าบัญชีกระแสรายวันของจำเลยในธนาคารผู้คัดค้าน ถ้าไม่มีหลักฐานเป็นอย่างอื่น ในเบื้องต้นต้องฟังว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นของจำเลยผู้เป็นเจ้าของบัญชี เมื่อผู้คัดค้านอ้างว่าเงินจำนวนดังกล่าวมิใช่เป็นของจำเลยแต่เป็นของผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยส่งมาชำระหนี้แก่ผู้คัดค้านแทนจำเลย ผู้คัดค้านจึงมีภาระการพิสูจน์ให้ฟังได้ตามข้ออ้างของตน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3974/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขาย, หนังสือค้ำประกัน, และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ตามสัญญาซื้อขายข้อ 3 มีใจความว่า จำเลยที่ 1 ผู้ขายจะส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายตามสัญญาให้แก่โจทก์ผู้ซื้อภายในกำหนด 200วัน นับแต่วันลงนามในสัญญาเป็นต้นไป โดยแบ่งการส่งมอบออกเป็น4 งวด ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ และได้กำหนดจำนวนเงินค่าสิ่งของแต่ละงวดเอาไว้ด้วย นอกจากนี้ตามสัญญาข้อ 5 วรรคสองมีข้อความว่าการจ่ายเงินจะจ่ายให้ตามงวดที่ผู้ขายได้ส่งของถูกต้องครบถ้วนทุกรายการ และคณะกรรมการได้ทำการตรวจรับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตามสัญญาดังกล่าวจะเห็นว่าการตกลงให้ผู้ขายส่งมอบสิ่งของให้แก่ผู้ซื้อเป็นงวด ๆ มีกำหนดเวลาแน่นอน นับว่าเป็นสาระสำคัญและเป็นเงื่อนไขอย่างหนึ่งของสัญญา เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบสิ่งของสำหรับงวดที่ 1 และงวดที่ 2 ภายในกำหนด ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ประพฤติผิดเงื่อนไขตามที่ระบุไว้ในสัญญาแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนด200 วันได้
สัญญาซื้อขายข้อ 7 มีข้อความว่า "ในวันทำสัญญานี้ผู้ขายได้นำหลักประกันเป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นจำนวนร้อยละ10 (สิบ) ของราคาสิ่งของทั้งหมดตามสัญญานี้คิดเป็นเงิน 1,085,480 บาท มามอบไว้แก่ผู้ซื้อเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญานี้..."และวรรคสองมีข้อความว่า "หลักประกันที่ผู้ขายนำมามอบให้ตามวรรคหนึ่งผู้ซื้อจะคืนให้เมื่อผู้ขายพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญานี้แล้ว" และสัญญาข้อ 8 วรรคสอง มีข้อความว่า "ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนได้ตามแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควร..." จากข้อความในสัญญาดังกล่าวเห็นได้ว่า การทำสัญญาระหว่างโจทก์ผู้ซื้อและจำเลยที่ 1 ผู้ขายนี้โจทก์ต้องการจะให้จำเลยที่ 1 มีหลักประกันมาวางเพื่อเป็นการปฏิบัติตามสัญญา และจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ริบหลักประกันได้ถ้าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา แต่หลักประกันที่จำเลยที่ 1 นำมาวางนี้เป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคารจำเลยที่ 3 ซึ่งจำเลยที่ 3 ก็ได้ทำสัญญากับโจทก์รับรองที่จะชำระเงินให้โจทก์ทันทีถ้าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและโจทก์ใช้สิทธิริบหลักประกันดังที่ปรากฏในหนังสือค้ำประกันข้อ 1 วรรคสอง ซึ่งมีข้อความว่า "ข้าพเจ้า(จำเลยที่ 3) ยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีเสาวภาค (จำเลยที่ 1) ต่อกรมตำรวจ (โจทก์) เป็นวงเงินไม่เกิน 1,085,480 บาท กล่าวคือ หากห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีเสาวภาค ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาซื้อขายแผ่นป้ายอลูมิเนียม อัดวัสดุสะท้อนแสงและสีดำอบ แห้งที่ทำไว้กับกรมตำรวจหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใดของสัญญาดังกล่าว ซึ่งกรมตำรวจมีสิทธิริบหลักประกันหรือค่าปรับหรือค่าเสียหายใด ๆ จากห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีเสาวภาค ได้แล้ว ข้าพเจ้ายอมชำระเงินแทนให้ทันทีโดยมิต้องเรียกร้องให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีเสาวภาค ชำระก่อน" เมื่อข้อสัญญาเป็นดังนี้ก็เห็นได้ว่าคู่สัญญามีความประสงค์ที่จะผูกพันกันว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ประพฤติผิดเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใดของสัญญา เป็นเหตุให้โจทก์บอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิริบหลักประกันแล้วจำเลยที่ 3 รับรองที่จะใช้เงินจำนวน 1,085,480 บาท ให้แก่โจทก์ทันที สัญญาดังกล่าวนี้ย่อมมีผลใช้บังคับได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาได้และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดชดใช้เงินจำนวน 1,085,480 แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3668/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการเช่าซื้อผิดนัด: ศาลจำกัดขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันในค่าขาดประโยชน์ และไม่อ้างอิงดอกเบี้ยตามสัญญา
แม้สัญญาเช่าซื้อระบุว่าหนี้ที่ค้างชำระจะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี แต่ค่าขาดประโยชน์จากการที่โจทก์ไม่ได้ใช้รถนั้น ไม่ใช่หนี้ที่ค้างชำระตามสัญญาดังกล่าว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3150/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีหนี้สินและการรับสภาพหนี้, การฟ้องคดีและผลกระทบต่อผู้ค้ำประกัน, เอกสารที่ไม่ติดอากรแสตมป์
โจทก์เป็นกรมในรัฐบาล มิได้ทำการขายปุ๋ยแก่บุคคลทั่วไปแต่รัฐบาลได้จัดทำโครงการช่วยเหลือเกษตรกรโดยให้โจทก์จัดหาปุ๋ยมาขายแก่เกษตรกรในราคาถูก การขายสินค้าของโจทก์มิใช่เป็นการหากำไร โจทก์จึงมิใช่พ่อค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) ทั้งมิใช่เป็นบุคคลผู้ประกอบกสิกรรมตามมาตรา 165(2) ไม่อยู่ในบังคับของอายุความตามมาตราดังกล่าว และเป็นกรณีไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 ก.ทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ไว้ภายในอายุความ จึงทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลาเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดไป คือวันสิ้นกำหนดที่ ก.สัญญาว่าจะนำเงินมาชำระหนี้ จำเลยที่ 6 ถึงที่ 10 ทำหนังสือค้ำประกันต่อโจทก์ในหนี้ที่ก.กู้ยืมเงินจากโจทก์ หนี้ดังกล่าวโจทก์ให้กู้ยืมเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนช่วยเหลือชาวนา ถือได้ว่าเป็นการที่รัฐบาลให้ราษฎรกู้ยืมเพื่อการเกษตรกรรมการค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 6 ถึงที่ 10เนื่องจากการดังกล่าว จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากรตามบัญชีอากรแสตมป์ข้อ 17 ข้อยกเว้น (ก.) แห่งประมวลรัษฎากร
of 58