พบผลลัพธ์ทั้งหมด 308 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2758/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนเช็ค: เช็คแต่ละฉบับเป็นมูลหนี้ต่างหาก โจทก์มีสิทธิฟ้องแยกคดีได้
ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้ว คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาและผลแห่งการนี้ (1) ห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือศาลอื่น..." มีความมุ่งหมายว่า คดีเรื่องเดียวกันโจทก์ควรจะฟ้องร้องว่ากล่าวกันไปเสียให้เสร็จสิ้นในคราวเดียวกัน ส่วนคดีใดจะเป็นคดีเดียวกันหรือไม่ต้องพิจารณาจากคำฟ้องในคดีนั้นๆ ว่า เป็นคดีที่มีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอย่างเดียวกันหรือไม่
เช็คเป็นตั๋วเงินซึ่งเป็นเอกเทศสัญญาประเภทหนึ่ง เช็คแต่ละฉบับก่อให้เกิดมูลหนี้ผูกพันระหว่างผู้ทรงเช็ค ผู้สลักหลัง และผู้สั่งจ่าย ในตัวเอง ซึ่งกฎหมายกำหนดสิทธิหน้าที่และความเกี่ยวพันระหว่างกันไว้เป็นการเฉพาะ การที่ผู้ทรงเช็คได้รับเช็คที่มีผู้สั่งจ่ายรายเดียวกันไว้ในครอบครองหลายฉบับแม้จะเป็นการชำระหนี้ในมูลหนี้เดียวกันก็ไม่ถือว่าเช็คแต่ละฉบับมีความเกี่ยวพันกัน เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้น ผู้ทรงเช็คย่อมใช้สิทธิเรียกร้องตามเช็คแต่ละฉบับได้ หาจำต้องใช้สิทธิเรียกร้องตามเช็คทั้งหมดไปในคราวเดียวกันแต่อย่างใดไม่ การใช้สิทธิเรียกร้องในเช็คแต่ละฉบับโดยยื่นฟ้องเป็นหลายคดีเพื่อบังคับชำระหนี้ตามเช็คต่างฉบับกัน ไม่ใช่การใช้สิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ที่มีการออกเช็คชำระหนี้ ทั้งยังเป็นคดีที่มีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแยกต่างหากจากกันตามเช็คแต่ละฉบับด้วย คดีนี้ แม้เช็คพิพาทจะเป็นส่วนหนึ่งของเช็คหลายฉบับที่โจทก์ได้รับมาในคราวเดียวกันก็ตาม แต่โจทก์ก็มีสิทธินำเช็คดังกล่าวมาเป็นมูลฟ้องร้องเป็นคดีต่างหากจากกันได้ การที่โจทก์นำเช็คจำนวนหนึ่งไปฟ้องในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 523/2547 ของศาลชั้นต้น และนำเช็คพิพาทมาฟ้องคดีนี้ จึงไม่ใช่การยื่นคำฟ้องในเรื่องเดียวกัน อันจะเป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว
เช็คเป็นตั๋วเงินซึ่งเป็นเอกเทศสัญญาประเภทหนึ่ง เช็คแต่ละฉบับก่อให้เกิดมูลหนี้ผูกพันระหว่างผู้ทรงเช็ค ผู้สลักหลัง และผู้สั่งจ่าย ในตัวเอง ซึ่งกฎหมายกำหนดสิทธิหน้าที่และความเกี่ยวพันระหว่างกันไว้เป็นการเฉพาะ การที่ผู้ทรงเช็คได้รับเช็คที่มีผู้สั่งจ่ายรายเดียวกันไว้ในครอบครองหลายฉบับแม้จะเป็นการชำระหนี้ในมูลหนี้เดียวกันก็ไม่ถือว่าเช็คแต่ละฉบับมีความเกี่ยวพันกัน เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้น ผู้ทรงเช็คย่อมใช้สิทธิเรียกร้องตามเช็คแต่ละฉบับได้ หาจำต้องใช้สิทธิเรียกร้องตามเช็คทั้งหมดไปในคราวเดียวกันแต่อย่างใดไม่ การใช้สิทธิเรียกร้องในเช็คแต่ละฉบับโดยยื่นฟ้องเป็นหลายคดีเพื่อบังคับชำระหนี้ตามเช็คต่างฉบับกัน ไม่ใช่การใช้สิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ที่มีการออกเช็คชำระหนี้ ทั้งยังเป็นคดีที่มีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแยกต่างหากจากกันตามเช็คแต่ละฉบับด้วย คดีนี้ แม้เช็คพิพาทจะเป็นส่วนหนึ่งของเช็คหลายฉบับที่โจทก์ได้รับมาในคราวเดียวกันก็ตาม แต่โจทก์ก็มีสิทธินำเช็คดังกล่าวมาเป็นมูลฟ้องร้องเป็นคดีต่างหากจากกันได้ การที่โจทก์นำเช็คจำนวนหนึ่งไปฟ้องในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 523/2547 ของศาลชั้นต้น และนำเช็คพิพาทมาฟ้องคดีนี้ จึงไม่ใช่การยื่นคำฟ้องในเรื่องเดียวกัน อันจะเป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15928/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: แม้คดีแรกยังไม่ถึงที่สุด แต่ฟ้องเรื่องเดียวกันย่อมเป็นฟ้องซ้อน
ป.วิ.พ. มาตา 148 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "คดีที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน..." ความในบทบัญญัติดังกล่าวให้ความหมายชัดเจนว่า คดีแรกซึ่งจะประกอบเป็นเหตุผลให้คดีหลังต้องห้ามมิให้ฟ้องนั้น จะต้องมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2550 ก่อนที่ คดีหมายเลขแดงที่ 1933/2550 ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2550 และก่อนที่ คดีหมายเลขแดงที่ 2764/2550 ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2550 ทั้งสองคดีดังกล่าวจึงอยู่ในระหว่างพิจารณา ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงหาต้องด้วยหลักเกณฑ์แห่งข้อห้ามตามบทบัญญัติในประโยคแรกแห่งมาตรา 148 วรรคหนึ่ง ไม่
ฟ้องของโจทก์คดีนี้ และคดีหมายเลขแดงที่ 1933/2550 และคดีหมายเลขแดงที่ 2764/2550 ล้วนเป็นฟ้องที่โจทก์อ้างสิทธิในการที่จำเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมตามสัญญาว่าจ้างโจทก์พัฒนาโครงการที่พักอาศัยรวม 3 แห่ง เพียงแต่โจทก์แยกฟ้องเรียกค่าธรรมเนียมแต่ละเดือนเป็นคดีไป คือ เดือนกุมภาพันธ์ 2548 เดือนมีนาคม 2548 และเดือนเมษายน 2548 อันเป็นการอ้างสิทธิของโจทก์ตามสัญญาทั้งสามฉบับชุดเดียวกัน ฟ้องทั้งสามคดีนี้จึงเป็นคำฟ้องเรื่องเดียวกัน ดังนี้ เมื่อขณะโจทก์ยื่นฟ้อง คดีแรกคือ คดีหมายเลขดำที่ 890/2550 และคดีที่สองคือคดีหมายเลขดำที่ 1417/2550 ซึ่งศาลได้รับคำฟ้องแล้ว ขณะนั้นจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าธรรมเนียมสำหรับเดือนเมษายน 2548 ตามสัญญาทั้งสามฉบับชุดเดียวกันดังที่โจทก์กล่าวอ้างและนำมาเป็นเหตุฟ้องคดีนี้แล้ว ข้อหาที่โจทก์กล่าวอ้างว่าถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิไม่ชำระค่าธรรมเนียมเดือนกุมภาพันธ์ เดือนมีนาคม และเดือนเมษายน 2548 จึงเป็นเรื่องเดียวกัน ชอบที่โจทก์จะต้องฟ้องรวมกันมาเสียทีเดียว การที่โจทก์เพิ่งมาฟ้องคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
ฟ้องของโจทก์คดีนี้ และคดีหมายเลขแดงที่ 1933/2550 และคดีหมายเลขแดงที่ 2764/2550 ล้วนเป็นฟ้องที่โจทก์อ้างสิทธิในการที่จำเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมตามสัญญาว่าจ้างโจทก์พัฒนาโครงการที่พักอาศัยรวม 3 แห่ง เพียงแต่โจทก์แยกฟ้องเรียกค่าธรรมเนียมแต่ละเดือนเป็นคดีไป คือ เดือนกุมภาพันธ์ 2548 เดือนมีนาคม 2548 และเดือนเมษายน 2548 อันเป็นการอ้างสิทธิของโจทก์ตามสัญญาทั้งสามฉบับชุดเดียวกัน ฟ้องทั้งสามคดีนี้จึงเป็นคำฟ้องเรื่องเดียวกัน ดังนี้ เมื่อขณะโจทก์ยื่นฟ้อง คดีแรกคือ คดีหมายเลขดำที่ 890/2550 และคดีที่สองคือคดีหมายเลขดำที่ 1417/2550 ซึ่งศาลได้รับคำฟ้องแล้ว ขณะนั้นจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าธรรมเนียมสำหรับเดือนเมษายน 2548 ตามสัญญาทั้งสามฉบับชุดเดียวกันดังที่โจทก์กล่าวอ้างและนำมาเป็นเหตุฟ้องคดีนี้แล้ว ข้อหาที่โจทก์กล่าวอ้างว่าถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิไม่ชำระค่าธรรมเนียมเดือนกุมภาพันธ์ เดือนมีนาคม และเดือนเมษายน 2548 จึงเป็นเรื่องเดียวกัน ชอบที่โจทก์จะต้องฟ้องรวมกันมาเสียทีเดียว การที่โจทก์เพิ่งมาฟ้องคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14919-14978/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: สหภาพแรงงานฟ้องแทนลูกจ้างแล้ว ลูกจ้างฟ้องซ้ำถือเป็นฟ้องซ้อน
โจทก์ทั้งหกสิบเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานขนส่งโตโยต้าประเทศไทย สมาชิกมีมติเอกฉันท์ให้สหภาพแรงงานขนส่งโตโยต้าประเทศไทยฟ้องจำเลยคดีนี้ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและเรียกค่าเสียหายแทนสมาชิกสหภาพแรงงานด้วย จึงเป็นการดำเนินการโดยถูกต้องตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 103 (2) และมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ทั้งหกสิบรวมทั้งลูกจ้างอื่นที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานขนส่งโตโยต้าประเทศไทยซึ่งผลของคำพิพากษาในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์ทั้งหกสิบในคดีนี้ด้วย ดังนั้นสหภาพแรงงานขนส่งโตโยต้าประเทศไทยจึงเป็นผู้อยู่ในฐานะเดียวกับโจทก์ทั้งหกสิบและเป็นผู้ใช้สิทธิแทนโจทก์ทั้งหกสิบฟ้องคดี เมื่อโจทก์ทั้งหกสิบมาฟ้องคดีนี้โดยอ้างว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ทำให้โจทก์ทั้งหกสิบเสียหาย ขอเรียกค่าเสียหายนับแต่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวมีผลบังคับจนถึงวันฟ้อง อันเป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกันกับที่สหภาพแรงงานขนส่งโตโยต้าประเทศไทยเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางและคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของศาลฎีกา คำฟ้องคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13199/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนเวนคืนที่ดิน: การฟ้องเรียกค่าทดแทนซ้ำกับคดีที่ยังไม่ถึงที่สุด และการไม่กระทบสิทธิจากความล่าช้าของรัฐ
คดีก่อนที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มพร้อมทั้งดอกเบี้ย เป็นเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนที่ดินส่วนที่เหลือที่มีราคาลดลง สิ่งปลูกสร้าง ต้นไม้ยืนต้น ค่าเสียหายเนื่องจากต้องรื้อถอนสาธารณูปโภคและขนย้ายสิ่งของเครื่องใช้ออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน ฟ้องโจทก์ในคดีนี้ได้ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มในรายการและจำนวนเงินเดียวกันกับคดีก่อนพร้อมด้วยดอกเบี้ยจึงเป็นเรื่องเดียวกันกับฟ้องโจทก์ในคดีก่อน เมื่อปรากฏว่าคดีก่อนซึ่งศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องนั้น จำเลยทั้งสองในคดีก่อนได้ยื่นอุทธรณ์และคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ฟ้องโจทก์คดีนี้ที่ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มพร้อมด้วยดอกเบี้ยจึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
แม้คดีซึ่งโจทก์ฟ้องเป็นคดีก่อนโจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นจากที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดพร้อมด้วยดอกเบี้ย ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 รับผิดชำระค่าเสียหายเป็นส่วนตัวก็ตาม แต่ฟ้องโจทก์คดีนี้ที่ขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดก็มีมูลเหตุมาจากการที่โจทก์อ้างว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนให้โจทก์ในอัตราที่เป็นธรรมและในเวลาอันรวดเร็วโดยไม่ต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ จึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยเป็นประเด็นเดียวกันว่าเงินค่าทดแทนซึ่งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดให้แก่โจทก์เป็นอัตราที่เป็นธรรมแล้วหรือไม่ ซึ่งถึงแม้โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดเป็นส่วนตัวแยกต่างหากจากจำเลยที่ 1 แต่ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ก็เป็นเรื่องเดียวกันกับคดีก่อนเพราะมีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรง จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 25 กำหนดให้ผู้ที่ไม่พอใจในจำนวนเงิน ค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนด มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ และให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่รัฐมนตรีแต่งตั้งพิจารณาเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรี และให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ แต่ตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในเวลาที่กำหนดดังกล่าว มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว แล้วแต่กรณี การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ ไม่ได้พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์และรัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ไม่เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ จึงไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องเงินค่าทดแทนเพิ่มโดยการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้รับความกระทบกระเทือนหรือล่าช้าไปกว่าระยะเวลาหกสิบวันตามที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหาย และไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
แม้คดีซึ่งโจทก์ฟ้องเป็นคดีก่อนโจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นจากที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดพร้อมด้วยดอกเบี้ย ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 รับผิดชำระค่าเสียหายเป็นส่วนตัวก็ตาม แต่ฟ้องโจทก์คดีนี้ที่ขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดก็มีมูลเหตุมาจากการที่โจทก์อ้างว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนให้โจทก์ในอัตราที่เป็นธรรมและในเวลาอันรวดเร็วโดยไม่ต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ จึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยเป็นประเด็นเดียวกันว่าเงินค่าทดแทนซึ่งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดให้แก่โจทก์เป็นอัตราที่เป็นธรรมแล้วหรือไม่ ซึ่งถึงแม้โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดเป็นส่วนตัวแยกต่างหากจากจำเลยที่ 1 แต่ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ก็เป็นเรื่องเดียวกันกับคดีก่อนเพราะมีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรง จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 25 กำหนดให้ผู้ที่ไม่พอใจในจำนวนเงิน ค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนด มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ และให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่รัฐมนตรีแต่งตั้งพิจารณาเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรี และให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ แต่ตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในเวลาที่กำหนดดังกล่าว มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว แล้วแต่กรณี การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ ไม่ได้พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์และรัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ไม่เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ จึงไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องเงินค่าทดแทนเพิ่มโดยการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้รับความกระทบกระเทือนหรือล่าช้าไปกว่าระยะเวลาหกสิบวันตามที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหาย และไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12454/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนและการยื่นฟ้องคดีบัตรเครดิตเมื่อคดีเดิมยังไม่ถึงที่สุด ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องไม่ซ้อน
คดีก่อนศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลแขวงพระนครใต้และยกคำสั่งศาลแขวงพระนครใต้ที่ให้รับคำฟ้องของโจทก์ แม้โจทก์จะยื่นฟ้องคดีนี้ขณะคดีก่อนยังอยู่ในกำหนดระยะเวลาฎีกา แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ฎีกา ถือไม่ได้ว่าคดีก่อนอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา จึงไม่ต้องห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องคดีนี้ก่อนครบกำหนดระยะเวลาฎีกาในคดีก่อน ไม่มีเหตุที่โจทก์จะต้องรอให้ครบกำหนดระยะเวลาฎีกาในคดีก่อนจึงจะฟ้องคดีนี้ได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
เมื่อผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 และศาลฎีกามีเพียงให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่เท่านั้น อุทธรณ์ของโจทก์และฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันมิอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท
เมื่อผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 และศาลฎีกามีเพียงให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่เท่านั้น อุทธรณ์ของโจทก์และฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันมิอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10090/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำ (ฟ้องซ้อน) คดีหลอกลวงจัดหางานต่างประเทศ: พิจารณาช่วงเวลา ผู้เสียหาย และสถานที่
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างเดือนมกราคม 2545 ถึงเดือนมีนาคม 2545 ทั้งเวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยกับพวกหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสี่ว่าสามารถหางานให้ผู้เสียหายทั้งสี่ไปทำงานในต่างประเทศ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาได้จนผู้เสียหายทั้งสี่หลงเชื่อ ทำให้จำเลยกับพวกได้เงินไปจากผู้เสียหายทั้งสี่ เหตุเกิดที่ตำบลเทพรักษา ตำบลดม อำเภอสังขะ และตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เกี่ยวพันกัน ส่วนคดีอาญาหมายเลขดำที่ 197/2549 ของศาลชั้นต้นโจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างเดือนมกราคม 2545 ถึงวันที่ 17 กรกฎาคม 2546 ทั้งเวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยกับพวกหลอกลวงประชาชนว่าจำเลยกับพวกสามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกาประเภทงานเกษตรกรรมได้ จนผู้เสียหายทั้งสองหลงเชื่อ ทำให้จำเลยกับพวกได้ไปซึ่งเงินจากผู้เสียหายทั้งสอง เหตุเกิดที่ตำบลท่าสว่าง อำเภอเฉนียง และตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เกี่ยวพันกัน และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1015/2549 ของศาลชั้นต้น โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างต้นเดือนมกราคม 2545 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2545 ทั้งเวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยกับพวกหลอกลวงประชาชนว่าจำเลยกับพวกสามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในตำแหน่งเกี่ยวกับงานเกษตรได้ จนผู้เสียหายทั้งแปดหลงเชื่อ ทำให้จำเลยกับพวกได้ไปซึ่งเงินจากผู้เสียหายทั้งแปด เหตุเกิดที่ตำบลดม อำเภอสังขะ และตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เกี่ยวพันกัน การกระทำความผิดของจำเลยคดีนี้กับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 197/2549 และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1015/2549 ของศาลชั้นต้น จึงมีวันกระทำความผิดต่างกันในเดือนเมษายน 2545 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2545 และเดือนเมษายน 2545 ถึงวันที่ 17 กรกฎาคม 2546 และความผิดดังกล่าวจำเลยมีเจตนากระทำต่อผู้เสียหายต่างคนกันด้วย การกระทำของจำเลยกับพวกแม้จะเป็นการหลอกลวงด้วยเจตนาในการกระทำผิดอย่างเดียวกันและการดำเนินการของจำเลยต่อผู้เสียหายเหมือนดังที่จำเลยฎีกา แต่จำเลยกับพวกหลอกลวงต่อบุคคลต่างราย เกิดขึ้นคนละสถานที่และต่างวันเวลากัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 197/2549 และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1015/2549 ของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6283/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีภาษีอากร: การฟ้องคดีเดิมซ้ำในขณะที่คดีเดิมยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล
คดีนี้กับคดีหมายเลขแดงที่ 319/2547 ของศาลภาษีอากรกลาง เป็นการขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับเดียวกัน คู่ความเดียวกันและคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์จะนำคดีเรื่องเดียวกันมาฟ้องจำเลยคนเดียวกันอีกไม่ได้ ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าว ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
อุทธรณ์ของโจทก์คดีนี้เป็นการอุทธรณ์ขอให้ศาลฎีกากลับคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางที่พิพากษาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและคดีไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นพิพาทข้ออื่นอีกกับขอให้ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทอื่นต่อไป มิได้ขอให้ชนะคดีตามฟ้อง โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์อย่างคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จำนวน 200 บาท
อุทธรณ์ของโจทก์คดีนี้เป็นการอุทธรณ์ขอให้ศาลฎีกากลับคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางที่พิพากษาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและคดีไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นพิพาทข้ออื่นอีกกับขอให้ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทอื่นต่อไป มิได้ขอให้ชนะคดีตามฟ้อง โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์อย่างคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จำนวน 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5888/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีเดิมและคดีใหม่มีประเด็นเดียวกัน แม้มีการเพิ่มข้ออ้างเรื่องละเมิดก็ยังเป็นฟ้องซ้อน
คำฟ้องคดีก่อนและคดีนี้โจทก์อ้างเหตุอย่างเดียวกันว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาท โจทก์ทำสัญญาขายที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาทให้จำเลยเพื่ออำพรางการกู้เงิน ต่อมาจำเลยอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาท ขอให้ทางราชการเพิกถอนใบอนุญาตให้เป็นเจ้าของที่ตั้งโรงเรียนพิพาทของโจทก์ โดยในคดีก่อนโจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2543 ขอให้เพิกถอนสัญญาขายที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาทดังกล่าว ส่วนคดีนี้แม้โจทก์ไม่ได้ขอให้เพิกถอนสัญญาที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาทอีกก็ตาม แต่โจทก์อ้างเพิ่มเติมเข้ามาว่า จำเลยบุกรุกเข้ามาในที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาทแล้วเปิดการสอนโรงเรียนชื่อ "โรงเรียนอนุบาลบ้านวรารักษ์" โดยพลการ เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถดำเนินกิจการโรงเรียนพิพาทได้ตามปกติตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2543 เป็นต้นมา ขอให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดประโยชน์จากการขาดรายได้ตามปกติ และค่าเสื่อมเสียชื่อเสียงของโจทก์ ซึ่งค่าเสียหายดังกล่าวโจทก์สามารถฟ้องเรียกได้ในคดีก่อนอยู่แล้วเพราะเป็นค่าเสียหายที่สืบเนื่องมาจากการกระทำของจำเลยภายหลังจากมีการทำสัญญาขายที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาทก่อนโจทก์ฟ้องในคดีก่อน ซึ่งเป็นการกระทำอันเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล จึงเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5888/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีเดิมและคดีใหม่มีประเด็นเดียวกัน แม้จะมีการอ้างเหตุเพิ่มเติม
คำฟ้องคดีก่อนและคดีนี้โจทก์อ้างเหตุอย่างเดียวกันว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาท โจทก์ทำสัญญาขายที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาทให้จำเลยเพื่ออำพรางการกู้เงิน ต่อมาจำเลยอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาท ขอให้ทางราชการเพิกถอนใบอนุญาตให้เป็นเจ้าของที่ตั้งโรงเรียนพิพาทของโจทก์ โดยในคดีก่อนโจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2543 ขอให้เพิกถอนสัญญาขายที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาท ส่วนคดีนี้แม้โจทก์ไม่ได้ขอให้เพิกถอนสัญญาที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาทอีก แต่โจทก์อ้างเพิ่มเติมเข้ามาว่า จำเลยบุกรุกเข้ามาในที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาท แล้วเปิดการสอนโรงเรียนชื่อ "โรงเรีนอนุบาลบ้านวรารักษ์" โดยพลการ เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ไม่สามารถดำเนินกิจการโรงเรียนพิพาทได้ตามปกติตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2543 เป็นต้นมา ขอให้จำเลยใช้ค่าขาดประโยชน์จากการขาดรายได้ตามปกติ และค่าเสื่อมเสียชื่อเสียงของโจทก์ ซึ่งโจทก์สามารถฟ้องเรียกได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว เพราะเป็นค่าเสียหายที่สืบเนื่องมาจากการกระทำของจำเลยภายหลังจากมีการทำสัญญาขายที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาทก่อนโจทก์ฟ้องในคดีก่อนเป็นค่าเสียหายที่สืบเนื่องมาจากการกระทำของจำเลยภายหลังจากมีการทำสัญญาขายที่ดินและอาคาร ซึ่งเป็นการกระทำอันเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล จึงเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกัน เป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5888/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีซ้ำเรื่องเดิมในขณะที่คดีก่อนยังพิจารณาอยู่
คำฟ้องคดีก่อนและคดีนี้โจทก์อ้างเหตุอย่างเดียวกันว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาท โจทก์ทำสัญญาขายที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาทให้จำเลยเพื่ออำพรางการกู้เงิน ต่อมาจำเลยอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาท ขอให้ทางราชการเพิกถอนใบอนุญาตให้เป็นเจ้าของที่ตั้งโรงเรียนพิพาทของโจทก์ โดยในคดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาขายที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาทดังกล่าว ส่วนคดีนี้แม้โจทก์ไม่ได้ขอให้เพิกถอนสัญญาที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาทอีกก็ตาม แต่โจทก์อ้างเพิ่มเติมเข้ามาว่า จำเลยบุกรุกเข้ามาในที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาท แล้วเปิดการสอนโรงเรียนชื่อ "โรงเรียนอนุบาล บ." โดยพลการ เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถดำเนินกิจการโรงเรียนพิพาทได้ตามปกติ ขอให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดประโยชน์จากการขาดรายได้ตามปกติ และค่าเสื่อมเสียชื่อเสียงของโจทก์ ซึ่งค่าเสียหายดังกล่าวโจทก์สามารถฟ้องเรียกได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล จึงเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)