คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มูลหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 308 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินและจำนำ: หลักฐานเป็นหนังสือสำคัญเมื่อมูลหนี้เกิน 50 บาท
เอาเงินเขาไปแล้วมอบทองรูปพรรณให้ไว้เป็นประกันนั้นแม้การมอบทองรูปพรรณให้ไว้จะเป็นจำนำ ซึ่งอาจบังคับกันได้โดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือก็ดีแต่ถ้าได้บังคับจำนำกันแล้ว ได้เงินไม่พอชำระต้นเงินและดอกเบี้ยจึงต้องมาฟ้องร้องขอให้บังคับชำระเงินที่ยังขาดอยู่แล้วก็เท่ากับฟ้องร้องให้ชำระหนี้เงินที่กู้ยืมไปนั่นเองถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญแล้วก็จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2496)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกค่าเสียหายโดยไม่มีนิติสัมพันธ์ชัดเจน ศาลต้องยกฟ้อง
คำฟ้องที่โจทก์มิได้บรรยายให้เห็นว่าได้มีนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลย อันจะเป็นมูลให้เกิดสิทธิฟ้องร้อง ศาลก็ต้องยกฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร้องหนี้เดิมโดยอ้างเอกสารใหม่ ไม่ถือเป็นการต่างกับฟ้อง หากมูลหนี้ยังคงเป็นรายเดียวกัน
การนำสืบถึงมูลกรณีเดิมที่เป็นหนี้กัน ไม่ถือว่าเป็นการสืบต่างกับฟ้อง
จำเลยกู้เงินบิดาโจทก์ไปบิดาโจทก์ตายโจทก์ได้รับมฤดก โจทก์จำเลยทำสัญญากันอีกฉะบับ 1 เป็นว่าจำเลยกู้เงินจากโจทก์โดยสัญญานี้มีพะยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือจำเลยถูกต้องตามกฎหมาย โจทกืฟ้องจำเลยโดยอาศัยสัญญา-ฉะบับที่ทำกู้จากบิดา ศาลพิพากษายกฟ้องไปแล้ว โจทก์ฟ้องใหม่โดยอาศัยสัญญาที่ทำกับตนเองนั้นได้ เพราะไม่ใช่ประเด็นเดียวกัน
เมื่อคำพิพากษาก่อนกล่าวว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์จะฟ้องใหม่โดยอาศัยเอกสารฉะบับใดโจทก์ฟ้องโดยอาศัยเอกสารฉะบับนั้นอีกได้ ด้วยไม่ใช่คดีที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6613/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีเกินมูลหนี้: ยึดทรัพย์เกินราคายังชอบได้ หากไม่พบทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีโดยหากเป็นหนี้เงิน เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานำออกขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินมาชำระหนี้ได้ และการบังคับคดีนั้นต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 284 ด้วย ซึ่งมาตรา 284 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เว้นแต่จะได้มีกฎหมายบัญญัติไว้ หรือศาลจะได้มีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ห้ามไม่ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในคดีและค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี อนึ่ง ถ้าได้เงินมาพอจำนวนที่จะชำระหนี้แล้ว ห้ามไม่ให้เอาทรัพย์สินที่ยึดออกขายทอดตลาด หรือจำหน่ายด้วยวิธีอื่น" เห็นได้ว่าบทบัญญัติของกฎหมายมาตรานี้ มีความหมายและเจตนารมณ์เพียงห้ามไม่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการยึดทรัพย์เกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ แต่ไม่ได้มีความหมายหรือเจตนารมณ์ถึงขนาดห้ามยึดทรัพย์ใดๆ ที่มีมูลค่าสูงกว่าจำนวนหนี้ตามคำพิพากษา การยึดทรัพย์ในการบังคับคดีเป็นการกระทำและการใช้ดุลพินิจร่วมกันระหว่างเจ้าหนี้ตามคำพิพากษากับเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งสำหรับในคดีนี้ เมื่อโจทก์ไม่สามารถสืบค้นและหาหลักฐานความเป็นเจ้าของทรัพย์สินอื่นของจำเลยได้ยกเว้นแต่ทรัพย์สินที่โจทก์นำยึด คือ ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทเพียงอย่างเดียว จนกระทั่งถึงวันที่โจทก์นำยึดทรัพย์สินดังกล่าว เป็นเวลาเกือบจะครบกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดแห่งการบังคับคดีแล้ว เช่นนี้ ถึงแม้ทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดดังกล่าวจะมีมูลค่าสูงกว่าจำนวนหนี้ตามคำพิพากษาอยู่มาก ก็ไม่ใช่ข้อห้ามถึงขนาดที่จะทำให้โจทก์ไม่มีสิทธินำยึดเพื่อการบังคับคดี โจทก์ย่อมใช้สิทธิที่มีอยู่โดยชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271, 282 (1), 283 วรรคหนึ่ง และ 284 ด้วยการชี้หรือแจ้งยืนยันให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินดังกล่าว และเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ต้องยึดทรัพย์สินดังกล่าวตามที่โจทก์ชี้ให้ยึด
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2558)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดตามเช็ค: แม้ไม่มีหลักฐานสัญญากู้ยืม โจทก์ฟ้องตามเช็คก็สามารถบังคับคดีได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็ค เมื่อจำเลยรับว่าได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทดังกล่าวจริง ในเบื้องต้นต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยปฏิเสธความรับผิดอ้างว่าไม่มีมูลหนี้ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลย
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้เงินกู้ยืม และจำเลยยังมิได้ชำระหนี้คืนแก่โจทก์ผู้ให้กู้ เช็คพิพาทจึงมีมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิด มูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์นั้นเพื่อชำระหนี้เงินยืม ย่อมเป็นการแสดงอยู่ในตัวว่า จำเลยยินยอมให้ผู้ทรงเช็คลงวันที่เองตามที่เห็นสมควร เพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คจากจำเลยเพื่อชำระหนี้นั้นได้ การที่โจทก์ลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทภายหลังถือได้ว่า โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายกระทำการโดยสุจริต จดวันที่สั่งจ่ายที่ถูกต้องแท้จริงลงในเช็คตาม ป.พ.พ. มาตรา 910 วรรคท้าย ประกอบด้วยมาตรา 989 วรรคหนึ่ง กรณีหาเป็นการปลอมเช็คดังที่จำเลยให้การต่อสู้ไม่
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามเช็คที่จำเลยเป็นผู้สั่งจ่าย หาได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้ยืมไม่ การวินิจฉัยความรับผิดของจำเลย จึงต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. เรื่อง ตั๋วเงิน โจทก์จึงไม่จำต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินมาแสดง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้เกิดขึ้นก่อนล้มละลาย ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด มิฉะนั้นสิทธิเรียกร้องสิ้นสุด
ศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีคำสั่งถึงที่สุดให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการจัดการเลือกตั้งใหม่ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 99 วรรคหนึ่ง โจทก์จัดให้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลแทนจำเลยเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2552 มูลหนี้ค่าเสียหายในการจัดการเลือกตั้งใหม่ที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยจึงเกิดขึ้นตั้งแต่วันดังกล่าว ก่อนศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2552 และเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน โจทก์จึงต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายภายในกำหนด 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91 ส่วนที่โจทก์มีมติเห็นชอบให้กำหนดจำนวนค่าเสียหายในการจัดการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2553 เป็นเรื่องการรวบรวมค่าเสียหายให้ถูกต้องครบถ้วน มิใช่มูลหนี้ค่าเสียหายเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อโจทก์มีมติ เพราะหากเป็นเช่นนั้นก็จะเป็นช่องทางหลีกเลี่ยงและขยายเวลาขอรับชำระหนี้ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6619-6620/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันก่อนล้มละลาย สิทธิเรียกร้องต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย หากไม่ยื่นสิทธิขาด
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์และได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อไปแล้ว โดยมีจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นการทำสัญญาค้ำประกันก่อนวันที่จำเลยที่ 2 ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์มูลหนี้ที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันจึงเป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดการที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ผิดนัดโจทก์ไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ได้เพราะต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 เท่านั้นหาทำให้มูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันหมดไป โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมูลหนี้สัญญาค้ำประกันในคดีล้มละลายภายในกำหนด 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27, 91 และ 94 เมื่อโจทก์ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนด โจทก์จึงไม่มีสิทธินำหนี้ตามสัญญาค้ำประกันมาฟ้องให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10195/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายต้องยื่นภายในกำหนด หากพ้นกำหนดแล้ว แม้จะมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ก็ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้
เจ้าหนี้ไม่มีประกันที่จะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ต่อเมื่อมูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม แต่ต้องยื่นคำขอต่อผู้คัดค้านภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ดังที่บัญญัติไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 มาตรา 91 และมาตรา 94 หนี้ค่าปรับที่ผู้ร้องนำมาขอรับชำระหนี้ศาลมีคำสั่งปรับลูกหนี้ที่ 3 นายประกันตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2548 และวันที่ 14 มีนาคม 2549 ภายหลังจาก พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 ซึ่งใช้บังคับเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2547 เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 วรรคสอง กำหนดให้ถือว่าหัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาประกันนานพอสมควรแล้ว ผู้ร้องซึ่งรับโอนอำนาจการบังคับคดีแก่นายประกันย่อมสามารถดำเนินการวางระบบงานเพื่อตรวจสอบว่านายประกันสำนวนคดีใดบ้างผิดสัญญาประกันและเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อดำเนินการบังคับคดีตามอำนาจหน้าที่ของตน และเพื่อทราบว่าลูกหนี้ใดศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือไม่ จะได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ
การที่ผู้ร้องอ้างว่าศาลแขวงนครราชสีมามีบุคลากรผู้รับผิดชอบในการบังคับคดีแก่นายประกันไม่เพียงพอกับปริมาณงาน และเพื่อมิให้หน่วยงานของรัฐต้องสูญเสียรายได้ที่ควรจะได้รับ กรณียังไม่มีเหตุสุดวิสัยหรือกฎหมายให้อำนาจที่จะขยายระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ออกไปได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าปรับตามสัญญาประกันจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5043/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งแยกมูลหนี้สัญญาซื้อขายสองฉบับ ทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาทอุทธรณ์ไม่ได้
แม้โจทก์จะฟ้องเป็นคดีเดียวกันและมีคู่สัญญาและสัญญาอย่างเดียวกัน แต่คำฟ้องของโจทก์แยกเป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาสองสัญญาซึ่งมีมูลหนี้และที่มาคนละครั้งคนละคราว โดยสัญญาทั้งสองทำขึ้นห่างกันถึงห้าปี มูลหนี้ตามสัญญาฉบับที่สองเป็นการชดเชยราคาบ้านของโจทก์ที่ อ. รื้อออกไปขายแตกต่างกับครั้งแรกที่อ้างว่าเป็นการจะซื้อจะขายกันอย่างแท้จริง แม้จะมีมูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน แต่โดยเนื้อหาแล้วสัญญาทั้งสองหาได้มีลักษณะเป็นการทำสัญญาที่ต่อเนื่องและเกี่ยวพันกันไม่ รวมทั้งพยานหลักฐานก็แยกออกได้เป็นคนละชุดกันจึงถือได้ว่ามีมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันได้ เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธความรับผิด ขอให้ยกฟ้อง และเป็นการฟ้องเพื่อให้ปฏิบัติกาชำระหนี้ตามสัญญาคือให้โอนที่ดินสองแปลงตามคำฟ้องแก่โจทก์ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีมีทุนทรัพย์เป็นคำขอหลัก ส่วนคำขอให้จดทะเบียนทางภาระจำยอมเป็นคำขอต่อเนื่อง การคำนวณทุนทรัพย์ต้องแยกจากกันและต้องคำนวณตามราคาที่ดินในขณะที่ยื่นคำฟ้อง ประกอบกับคำฟ้องของโจทก์ก็ไม่ได้มีคำขอว่า ถ้าจำเลยโอนที่ดินตามคำฟ้องแก่โจทก์ไม่ได้ก็ให้ชำระเงินคืนหรือชดใช้ค่าเสียหายอีกด้วย จึงไม่มีจำนวนเงินที่เรียกร้องที่จะนำมาใช้คำนวณเป็นทุนทรัพย์ขณะยื่นฟ้องคดีนี้อีก เมื่อมูลหนี้ตามสัญญาฉบับที่หนึ่งมีราคาที่ดินในขณะยื่นคำฟ้องอันถือเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในศาลชั้นต้นและในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกินห้าหมื่นบาท ย่อมต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แต่มูลหนี้ตามสัญญาฉบับที่สองมีราคาที่ดินในขณะยื่นคำฟ้องอันถือเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในศาลชั้นต้นและในชั้นอุทธรณ์เกินห้าหมื่นบาท ย่อมไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19416/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: สิทธิเรียกร้องต่างมูลหนี้จากการเลิกจ้างและการทำงาน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและมีคำขอเรียกเงินที่เกี่ยวเนื่องจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมอันเป็นค่าเสียหายที่มีมูลหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับการเลิกจ้าง คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าตอบแทนที่โจทก์ทำงานในตำแหน่งเลขานุการผู้อำนวยการโรงเรียนและค่าเสียหายที่จำเลยทำละเมิดต่อโจทก์ อันเป็นค่าเสียหายที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเมื่อโจทก์ปฏิบัติงานให้แก่จำเลย จึงเป็นสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ต่างรายกัน คำฟ้องคดีนี้จึงไม่ใช่ฟ้องซ้อนคดีก่อน ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
of 31