คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลายมือชื่อ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 385 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 868/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการกู้ยืมเงิน: สัญญาค้ำประกันที่มีข้อความระบุผู้กู้ถือเป็นหลักฐานการกู้ยืมตามกฎหมาย แม้ไม่มีลายมือชื่อในสัญญากู้
การกู้ยืมเงินกว่าห้าสิบบาทที่มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญนั้น จะฟ้องร้องผู้กู้ให้บังคับคดีไม่ได้เท่านั้น ไม่ได้หมายความเลยไปว่าหนี้แห่งการกู้ยืมจะเป็นโมฆะไปด้วย ยังคงเป็นหนี้ที่สมบูรณ์ที่อาจมีการค้ำประกันกันได้ตามมาตรา 681
การที่ผู้กู้เป็นผู้เขียนสัญญาค้ำประกันที่ผู้ค้ำประกันทำให้ไว้แก้ผู้ให้กู้ มีข้อความแสดงว่าผู้กู้เป็นผู้กู้เงินของผู้ให้กู้ไป และผู้กู้ได้ลงลายมือชื่อไว้ในช่องผู้เขียนด้วยนั้น ถือได้ว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามความหมายของมาตรา 653 แล็ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายงานการประชุมใช้เป็นหลักฐานการกู้ยืมได้ แม้ไม่สมบูรณ์ตามระเบียบ หากจำเลยลงลายมือชื่อและไม่โต้แย้งความแท้จริง
โจทก์ (ครู) ฟ้องจำเลย (เจ้าของผู้จัดการโรงเรียน) ว่ากู้เงินโจทก์ไปใช้ในกิจการของโรงเรียน แต่เวลากู้ไม่ได้ทำหลักฐานกันไว้ แล้วโจทก์อ้างรายงานการประชุมครู 2 ฉบับซึ่งกระทำกันหลังการกู้ฉบับแรกมีข้อความกล่าวถึงว่าโรงเรียนยังมีหนี้สินอยู่โดยเฉพาะเป็นหนี้โจทก์ 20,000 บาท เมื่อเก็บเงินจากนักเรียนได้แล้วก็จ่ายให้เป็นเงินเดือนครูจนพอ เหลือจากนั้นแล้วจึงใช้หนี้ฉบับหลังมีข้อความว่า โจทก์สงสัยหนี้สินที่ค้างบัญชีตั้งแต่เจ้าหน้าที่คนเก่าจะจัดการอย่างไร เพราะถึงกำหนดต้องใช้เขาแล้ว จำเลยตอบว่าได้ลงมติในที่ประชุมตามรายงานฉบับแรกแล้วว่าเงินส่วนที่เหลือจากจ่ายเงินเดือนครู ต้องพิจารณาใช้หนี้โจทก์เป็นรายแรกและรายงานทั้ง 2 ฉบับนี้มีลายเซ็นของจำเลยในฐานะประธานที่ประชุมทั้ง2 ครั้งดังนี้ ข้อความในรายงาน 2 ฉบับนี้ไม่กำกวม ใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้และรายงานการประชุมครูนี้ไม่ใช่สัญญากู้ยืม เป็นเพียงหลักฐานแสดงว่าได้มีการกู้เงินรายนี้กันเท่านั้นจึงไม่อยู่ในข่ายที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร จึงรับฟังเป็นพยานได้
อนึ่ง แม้รายงานฯนี้ไม่ได้มีการรับรองตามระเบียบวาระการประชุมแต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีการทักท้วงข้อบกพร่องแห่งการจดรายงานแต่อย่างใด ทั้งมีลายมือชื่อจำเลยเซ็นไว้ท้ายรายงาน จึงใช้ยันจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงท้าพยานผู้เชี่ยวชาญลายมือชื่อ: ศาลรับฟังความเห็นผู้เชี่ยวชาญเป็นเหตุแพ้ชนะ
1. เมื่อคู่ความท้ากันให้ส่งสัญญากู้เงินที่พิพาทไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ลายเซ็นใน+ผู้กู้เปรียบเทียบกับลายเซ็นอันแท้จริงของจำเลยในเอกสารซึ่งโจทก์จำเลยรับกันย่อมเป็นที่เข้าใจว่าได้ให้ผู้เชี่ยวชาญคนใดคนหนึ่งของกองวิทยาการกรมตำรวจ เป็นผู้ตรวจพิสูจน์
2. และเมื่อคู่ความท้ากันไว้ว่า ถ้าผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าเป็นลายเซ็นคน ๆ เดียวกัน จำเลยยอมแพ้ แต่ถ้าไม่เชื่อว่าเป็นลายเซ็นของคน ๆ เดียวกัน โจทก์ย่อมแพ้ดังนี้ คดีย่อมไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า จำเลยมิได้ระบุพยานอ้างผู้เชี่ยวชาญและความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และศาลได้กำหนดตัวผู้เชี่ยวชาญแล้วหรือไม่
ดังนั้น เมื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจแล้วมีความเห็นว่าไม่เชื่อว่าเป็นลายเซ็นของคน ๆ เดียวกัน โจทก์ก็ต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีตามที่ท้ากันไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงท้าพยานผู้เชี่ยวชาญลายมือชื่อ: ศาลรับฟังความเห็นผู้เชี่ยวชาญเป็นเหตุแพ้ชนะได้
1. เมื่อคู่ความท้ากันให้ส่งสัญญากู้เงินที่พิพาทไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ลายเซ็นในช่องผู้กู้เปรียบเทียบกับลายเซ็นอันแท้จริงของจำเลยในเอกสารซึ่งโจทก์จำเลยรับกัน ย่อมเป็นที่เข้าใจว่าได้ให้ผู้เชี่ยวชาญคนใดคนหนึ่งของกองวิทยาการกรมตำรวจเป็นผู้ตรวจพิสูจน์ 2. และเมื่อคู่ความท้ากันไว้ว่า ถ้าผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าเป็นลายเซ็นคนๆเดียวกัน จำเลยยอมแพ้ แต่ถ้าไม่เชื่อว่าเป็นลายเซ็นของคนๆเดียวกัน โจทก์ยอมแพ้ ดังนี้ คดีย่อมไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยมิได้ระบุพยานอ้างผู้เชี่ยวชาญและความเห็นของผู้เชี่ยวชาญและศาลได้กำหนดตัวผู้เชี่ยวชาญแล้วหรือไม่
ดังนั้น เมื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจแล้วมีความเห็นว่าไม่เชื่อว่าเป็นลายเซ็นของคนๆ เดียวกัน โจทก์ก็ต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีตามที่ท้ากันไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1567/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการชำระหนี้ต้องเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืม การอ้างใบรับหายแล้วอ้างพยานบุคคลไม่เพียงพอ
การที่จำเลยอ้างว่าใบรับชำระหนี้ซึ่งมีหลักฐานการกู้เป็นหนังสือหาย แล้วนำพยานบุคคลเข้าสืบว่า ใบรับนั้นโจทก์ผู้ให้ยืมพิมพ์ลายนิ้วมือให้ไว้ และมีคนลงนามในใบรับนั้นเพียงคนเดียวเช่นนี้ ไม่เป็นการแสดงว่าโจทก์ผู้ให้ยืมได้ลงลายมือชื่อตามกฎหมาย จึงเท่ากับจำเลยไม่มีหลักฐานการใช้เงินเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1567/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการกู้เงินต้องมีลายมือชื่อผู้ให้ยืม ใบรับชำระหนี้ที่มีเพียงลายนิ้วมือไม่ถือเป็นหลักฐานตามกฎหมาย
การที่จำเลยอ้างว่าใบรับชำระหนี้ซึ่งมีหลักฐานการกู้เป็นหนังสือหายแล้วนำพยานบุคคลเข้าสืบว่า ใบรับนั้นโจทก์ผู้ให้ยืมพิมพ์ลายนิ้วมือให้ไว้ และมีคนลงนามในใบรับนั้นเพียงคนเดียวเช่นนี้ ไม่เป็นการแสดงว่าโจทก์ผู้ให้ยืมได้ลงลายมือชื่อตามกฎหมาย จึงเท่ากับจำเลยไม่มีหลักฐานการใช้เงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงชื่อหลังเช็คถือเป็นการสลักหลังโอนสิทธิ ไม่ต้องทำสัญญาโอนกันอีก
การลงลายมือชื่อไว้ด้านหลังเช็ค ย่อมมีผลเป็นการโอนไปซึ่งบรรดาสิทธิอันเกิดแต่เช็คนั้นตามมาตรา 989, 920 ไม่ ต้องทำการโอนกันตามมาตรา 306 อีกและไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 939 วรรค 2 และ 3 เพราะมาตรา 921 บัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว
(อ้างฎีกาที่ 51/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในเช็คด้วยการลงลายมือชื่อด้านหลัง และข้อยกเว้นการปฏิบัติตามมาตราที่เกี่ยวข้อง
การลงลายมือชื่อไว้ด้านหลังเช็ค ย่อมมีผลเป็นการโอนไปซึ่งบรรดาสิทธิอันเกิดแต่เช็คนั้นตาม มาตรา 920 ไม่ต้องทำการโอนกันตามมาตรา 306 อีก และไม่ต้องปฏิบัติตาม มาตรา 939 วรรค 2,3 เพราะมาตรา 921 บัญญัติให้เป็นพิเศษแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 923/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งทนายความต้องมีลายมือชื่อจริงในเอกสารแต่งตั้ง การติดลายเซ็นภายหลังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
การที่จะแต่งตั้งทนายความนั้น ผู้ที่จะแต่งตั้งจะต้องเซ็นชื่อของตนเองไว้ในช่องผู้แต่งตั้ง ทนายความด้วยตนเอง (ป.วิ.พ. มาตรา 61, 67) การแต่งตั้งทนายความนั้น จึงจะสมบูรณ์ใช้ได้ตามกฎหมาย การที่ตัดเอาลายเซ็นชื่อของผู้แต่งตั้งทนายความจากที่อื่นมาปิดลงไว้ในช่องผู้แต่งตั้งทนายความมิได้เซ็นชื่อในใบแต่งตั้งทนาย แม้ผู้แต่งตั้งทนายความจะรับรองหรือให้สัตยาบัน ก็ไม่ทำให้ลายมือชื่อของผู้แต่งตั้งทนายความในใบแต่งทนายโดยถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 61 ขึ้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 923/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งทนายความต้องใช้ลายมือชื่อจริงในเอกสาร การปิดลายเซ็นที่ตัดต่อมาไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
การที่จะแต่งตั้งทนายความนั้นผู้ที่จะแต่งตั้งจะต้องเซ็นชื่อของตนเองไว้ในช่องผู้แต่งตั้งทนายความด้วยตนเอง (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61,67) การแต่งตั้งทนายความนั้นจึงจะสมบูรณ์ใช้ได้ตามกฎหมาย การที่ตัดเอาลายเซ็นชื่อของผู้แต่งตั้งทนายความจากที่อื่นมาปิดลงไว้ในช่องผู้แต่งตั้งทนายความ จึงมีผลเท่ากับผู้แต่งตั้งทนายความมิได้เซ็นชื่อในใบแต่งทนาย แม้ผู้แต่งตั้งทนายความจะรับรองหรือให้สัตยาบัน ก็ไม่ทำให้มีลายมือชื่อของผู้แต่งตั้งทนายความในใบแต่งทนายโดยถูกต้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61 ขึ้นได้
of 39