คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลูกหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 829 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4561/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการทรัพย์สินหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว
กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยทวงหนี้จากลูกหนี้ของจำเลยตาม มาตรา 119 สิทธิเรียกร้องของจำเลยจะต้องมีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เพราะเมื่อมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว อำนาจจัดกิจการทรัพย์สินของจำเลยย่อมตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตามมาตรา 6 และมาตรา 22เมื่อผู้ร้องซึ่งเคยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยเข้าจัดการทรัพย์สินของจำเลยหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยชั่วคราว โดยเบิกเงินจากบัญชีของจำเลย จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องว่ากล่าวกับผู้ร้องต่างหาก เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจใช้อำนาจตามมาตรา 119 เรียกร้องให้ผู้ร้องชำระเงินดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4260/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้จากกองทรัพย์สินลูกหนี้ในคดีล้มละลาย รวมถึงการรับผิดในหนี้ของห้างฯ และการชำระหนี้ค่าธรรมเนียม
การที่บัญชีกำไรขาดทุนที่ผู้ชำระบัญชีจัดทำขึ้นนั้น จัดทำขึ้นจากหลักฐานไม่ตรงกับความเป็นจริง แม้เมื่อผู้ชำระบัญชีจัดทำบัญชีเสร็จ เจ้าหนี้ทั้งสองมิได้โต้แย้งบัญชีดังกล่าวต่อศาลและเมื่อผู้ชำระบัญชีขอให้ห้างฯ ล้มละลาย ลูกหนี้ก็มิได้คัดค้านว่าห้างฯ มีกำไร ทั้งยังร่วมกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของห้างฯ ร้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามห้างฯ ก็ตาม แต่เจ้าหนี้ทั้งสองมิได้รับรองบัญชีดังกล่าว คงมีแต่ผู้ชำระบัญชีและผู้สอบบัญชีฝ่ายลูกหนี้ลงชื่อรับรอง การที่เจ้าหนี้ทั้งสองมิได้รับรองบัญชีดังกล่าวย่อมไม่เป็นการตัดสิทธิเจ้าหนี้ทั้งสองที่จะกล่าวอ้างในคดีนี้ว่าบัญชีที่ผู้ชำระบัญชีจัดทำขึ้นไม่ถูกต้องและในคดีที่ผู้ชำระบัญชีร้องขอให้ห้างฯ ล้มละลายนั้นพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 88 วรรคสอง บัญญัติว่าเมื่อผู้ชำระบัญชีมีคำร้องขอ ให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดทันทีเจ้าหนี้ทั้งสองจึงไม่มีโอกาสคัดค้าน ส่วนที่เจ้าหนี้ไปร่วมกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามห้างฯ ก็ถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยชอบเพื่อเยียวยาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่ห้างฯ มีทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ทั้งสอง จะถือว่าเป็นการยอมรับบัญชีที่ผู้ชำระบัญชีจัดทำขึ้นแล้วมิได้ ห้างฯ มีกำไรสุทธิในวันเลิกห้างฯ 7,813,932.48 บาทเจ้าหนี้ทั้งสองมีหุ้นรวมกันร้อยละ 30 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเงินปันผลกำไรของห้างฯ เป็นเงิน 2,344,179.74 บาท ส่วนแบ่งเงินปันผลกำไรดังกล่าวเป็นเงินที่เจ้าหนี้ทั้งสองมีสิทธิได้รับจากห้างฯเมื่อปรากฏว่าห้างฯ ไม่อาจชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่เจ้าหนี้ทั้งสองได้ลูกหนี้ในฐานะหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดซึ่งต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างฯ โดยไม่จำกัดจำนวน ย่อมต้องร่วมรับผิดต่อเจ้าหนี้ทั้งสอง เจ้าหนี้ทั้งสองมีสิทธิขอรับชำระหนี้เงินจำนวนดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ การชำระบัญชีอันเป็นมูลเหตุให้เกิดหนี้ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในชั้นชำระบัญชีที่เจ้าหนี้ทั้งสองขอรับชำระหนี้เกิดขึ้นจากข้อตกลงของเจ้าหนี้ทั้งสองและลูกหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งของศาลชั้นต้น เพื่อประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายทั้งสองฝ่ายย่อมต้องรับผิดชอบในค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายดังกล่าวร่วมกัน สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการเลิกห้างมีข้อความว่ากิจการ ทรัพย์สินและโรงน้ำแข็งของห้าง ให้ประมูลขายทอดตลาดนำเงินมอบแก่ผู้ชำระบัญชีเพื่อจัดการตามส่วน แต่ต่อมามีคำพิพากษาฎีกาคดีระหว่างเจ้าหนี้ร่วม โจทก์ และผู้ชำระบัญชีกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของห้างฯ จำเลย ให้ผู้ชำระบัญชีและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของห้างฯ รับเงิน 50,000 บาท จากเจ้าหนี้ร่วม แล้วให้จดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 1089 อันเป็นทรัพย์สินของห้างฯ คืนให้แก่เจ้าหนี้ร่วมโดยปลอดจากการจำนองหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และผู้ชำระบัญชีของห้างฯ ไม่มีเงินจากกองทรัพย์สินของห้างฯ พอที่จะทำการไถ่ถอนจำนอง ให้ลูกหนี้ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างฯ รับผิดในหนี้ของห้างฯ ลูกหนี้จึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาฎีกาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองเพื่อชำระหนี้โดยสุจริต และการพิสูจน์เจตนาของผู้รับจำนองว่าทราบหรือไม่ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
การที่จำเลยที่ 3 ยอมนำที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างไปจำนองแก่ผู้คัดค้าน ทั้งที่จำเลยที่ 3 มิได้เกี่ยวข้องเป็นญาติกับผู้คัดค้านโดยตรง เป็นแต่เพียงเป็นญาติในทางแต่งงานกับพี่สาวผู้คัดค้านเท่านั้น ประกอบกับผู้คัดค้านมีครอบครัวแล้ว และต่างก็ประกอบอาชีพเป็นหลักฐานแยกจากกัน จำนวนเงินที่จำนองไม่สูงกว่าราคาทรัพย์ที่จำนอง จึงฟังได้ว่าผู้คัดค้านกับจำเลยที่ 3 มีหนี้สินระหว่างกันจริง และไม่ได้สมยอมกันจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3762/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนอมหนี้ไม่สำเร็จ และการมีหนี้สินล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
จำเลยที่ 1 เพียงแต่ยื่นหนังสือขอเสนอเงื่อนไขการชำระหนี้ต่อโจทก์ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ยังมิได้ตกลงยอมรับเงื่อนไขตามหนังสือของจำเลยที่ 1 ที่ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาคดีว่า "ทนายโจทก์ได้รับข้อเสนอขอประนอมหนี้จากจำเลยที่ 1 โดยยื่นเงื่อนไขการโอนที่ดินชำระหนี้โดยตีราคาหลักการประกันทั้งหมด และส่วน ที่เหลือจะทำการผ่อนชำระภายในเวลา 5 ปี ซึ่งในหลักการหนี้โจทก์ได้เสนอเงื่อนไขต่อคณะกรรมการเร่งรัดหนี้แล้วเพราะเหตุที่ทุนทรัพย์สูงมาก ทนายโจทก์ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจข้อประนอมหนี้ของจำเลยที่ 1ได้" ก็หาเป็นข้อความที่แสดงว่าโจทก์ยอมรับเงื่อนไขตามที่จำเลยที่ 1 เสนอไม่และการที่โจทก์ไม่แจ้ง มติของคณะกรรมการเร่งรัดหนี้สินให้จำเลยที่ 1 ทราบก็เป็นการแสดงให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ไม่ตกลงตามข้อเสนอ ของจำเลยที่ 1 หนังสือเสนอขอชำระหนี้ของจำเลยที่ 1จึงไม่มีผลผูกพัน โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3274/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสาร 'ทดรองจ่าย' ไม่ถือเป็นหลักฐานการกู้ยืม แม้ลูกหนี้ลงลายมือชื่อรับเงิน
การที่ใบสำคัญคู่จ่ายมีข้อความเพียงว่า ทดรองจ่ายให้คุณสมศักดิ์ (ลูกหนี้) เท่านั้น แม้ลูกหนี้จะลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงินไว้ด้วย ก็มีความหมายเพียงว่าออกเงินหรือทรัพย์ไปก่อนไม่มีข้อความที่แสดงว่าลูกหนี้ต้องใช้เงินคืนแก่เจ้าหนี้หรือกำหนดการเสียดอกเบี้ยกันไว้อันเป็นลักษณะของการกู้ยืม จะฟังเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมไม่ได้ จึงเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3021/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน: การชำระหนี้ของผู้ค้ำประกันไม่สะดุดอายุความของลูกหนี้
การที่ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลง เป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันนั้น หามีผลไปถึงถูกหนี้ด้วยไม่ แม้จำเลยในฐานะลูกหนี้จะต้องรับผิดร่วมกับผู้ค้ำประกัน กำหนดอายุความของลูกหนี้แต่ละคนก็ต้องเป็นไปเพื่อคุณและโทษเฉพาะ แต่ลูกหนี้คนนั้นเท่านั้นตาม ป.พ.พ. มาตาม 295 การที่ผู้ค้ำประกันผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์ จึงไม่ทำให้อายุความที่โจทก์จะเรียกร้องเอาจากจำเลยสะดุดหยุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3021/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความลูกหนี้ไม่สะดุดหยุดชะงักตามการชำระหนี้ของผู้ค้ำประกัน แม้เป็นลูกหนี้ร่วม
การที่ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันนั้น ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติไว้ว่าให้มีผลไปถึงลูกหนี้ด้วย แม้จำเลยในฐานะลูกหนี้จะต้องรับผิดร่วมกับผู้ค้ำประกัน กำหนดอายุความของลูกหนี้แต่ละคนก็ต้องเป็นไปเพื่อคุณและโทษเฉพาะแต่ลูกหนี้คนนั้นเท่านั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 295การที่ผู้ค้ำประกันผ่อนชำระหนี้ให้กับโจทก์ จึงไม่ทำให้อายุความที่โจทก์จะเรียกร้องเอาจากจำเลยสะดุดหยุดลงด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2709/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการขายทอดตลาดหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จำเลยต้องแจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อน
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ไว้ก่อนแล้ว หลังจากนั้น ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 2 เด็ดขาด เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2531ครั้นวันที่ 20 มิถุนายน 2533 เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ที่โจทก์นำยึด เช่นนี้ จำเลยที่ 2 จะร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวไม่ได้ ต้องห้ามตาม มาตรา 22(3) แห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เพราะอำนาจในการดำเนินคดีย่อมตกแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว จำเลยที่ 2 ต้องไปแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ยื่นคำคัดค้านการขายทอดตลาดต่อศาล หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ดำเนินการให้ จำเลยที่ 2 จึงอาศัยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา146 ยื่นคำขอต่อศาลให้ศาลมีคำสั่งตามที่เห็นสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2252/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการเฉลี่ยทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคสอง: ลูกหนี้ตามคำพิพากษา
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคสอง ที่ห้ามมิให้ศาลอนุญาตตามคำขอเฉลี่ยทรัพย์ เว้นแต่ศาลเห็นว่าผู้ยื่นคำขอไม่สามารถเอาชำระหนี้ได้จากทรัพย์สินอื่น ๆ ของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น คำว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาในที่นี้หมายความถึง ลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้ถูกยึดทรัพย์อยู่ในคดีที่มีการขอเฉลี่ยทรัพย์ ถ้าไม่มีทรัพย์สินอื่นอีก ผู้ขอก็ขอเฉลี่ยจากเงินที่ขายทรัพย์ได้ หาได้หมายความถึงลูกหนี้ตามคำพิพากษาคนอื่นในคดีที่ผู้ขอเฉลี่ยชนะคดีหรือบุคคลอื่นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2252/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเฉลี่ยหนี้ของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แม้มีทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้เป็นประกัน
ลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 290 วรรคสอง หมายความถึงลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้ถูกยึดทรัพย์สินซึ่งถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวไม่มีทรัพย์สินอื่นอีกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีอื่นก็ขอเฉลี่ยเงินที่ขายทรัพย์สินนั้นได้หาได้หมายความถึงลูกหนี้ตามคำพิพากษาอื่นในคดีที่ผู้ขอเฉลี่ยชนะคดีหรือบุคคลอื่นอีกไม่ ดังนั้นเมื่อจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากทรัพย์ที่ถูกโจทก์นำยึดไว้ ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีอื่นจึงมีสิทธิขอเฉลี่ยในทรัพย์สินของจำเลยที่ถูกโจทก์นำยึดได้แม้ผู้ร้องสามารถเอาชำระจากทรัพย์สินของบุคคลอื่นที่นำมาจำนองประกันหนี้จำเลยได้ก็ตาม
of 83