พบผลลัพธ์ทั้งหมด 316 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 285/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารปลอม (ใบเบิกล่อง) แทนรายการสินค้าต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร มีความผิดฐานปลอมแปลงเอกสาร
อย่างไรเรียกว่าหนังสือราชการใบเบิกล่องที่เจ้าพนักงาออกให้นั้นเป็นหนังสือราชการ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ม.27-99 ใบเบิกล่องตาม พ.ร.บ.ศุลกากรมิได้บังคับให้ นำไปแสดงก็ดี แต่ถ้าผู้นำไปแสดงแสดงแทนรายการสินค้าแล้ว และเป็นเท็จขึ้นก็ต้องมีความผิด ปลอมหนังสือ ขูดแก้รายการสินค้าในใบเบิกล่องแล้วนำมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่แทนรายการสินค้านั้นมีผิดฐานปลอมหนังสือ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6965/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอฟ้อง และความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร vs. พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 บัญญัติว่า "ผู้ใดนำหรือพาของที่ยังมิได้เสียค่าภาษี... หรือที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้อง เข้ามาในพระราชอาณาจักรไทย... หรือช่วยเหลือด้วยประการใด ๆ ในการนำของเช่นว่านี้เข้ามา... โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่จะต้องเสียสำหรับของนั้น ๆ ... ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกินสิบปี หรือทั้งปรับทั้งจำ" เห็นได้ว่า กฎหมายมีวัตถุประสงค์จะลงโทษผู้ที่นำของที่ยังมิได้เสียภาษี เข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรโดยมีเจตนาที่จะฉ้อค่าภาษีรัฐบาล และกฎหมายกำหนดให้ผู้ที่ช่วยเหลือผู้กระทำผิดดังกล่าวไม่ว่าด้วยประการใด ๆ ต้องร่วมรับผิดด้วยเพราะเป็นการกระทำความผิดร้ายแรง
ส่วนมาตรา 27 ทวิ บัญญัติว่า "ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามหรือข้อจำกัดมีความผิดต้องระวางโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกินห้าปี หรือทั้งปรับทั้งจำ " การกระทำความผิดตามมาตรานี้ จึงเกิดขึ้นหลังจากมีการนำของเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามหรือข้อจำกัดตามมาตรา 27 แล้ว โดยกฎหมายมีวัตถุประสงค์ที่จะลงโทษผู้ที่ช่วยเหลือผู้กระทำความผิดตามมาตรา 27 ดังกล่าวโดยการซ่อนเร้น จำหน่าย พาเอาไป ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด จึงกำหนดโทษจำคุกน้อยกว่า
โจทก์บรรยายฟ้องในคดีนี้ว่า จำเลยทั้งสามร่วมกัน ซื้อ หรือรับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ๆ ซึ่งน้ำมันเตาที่มีแหล่งกำเนิดอยู่นอกราชอาณาจักรไทย โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ลักลอบมิได้ผ่านศุลกากร และยังมิได้เสียภาษี โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามช่วยเหลือในการนำของดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 27 และโจทก์มีคำขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 27 ทวิ ซึ่งตรงกับคำบรรยายฟ้องแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 จึงเป็นการพิพากษาจำเลยทั้งสามในความผิดที่โจทก์มิได้ฟ้องและมีคำขอให้ลงโทษ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215
ส่วนมาตรา 27 ทวิ บัญญัติว่า "ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามหรือข้อจำกัดมีความผิดต้องระวางโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกินห้าปี หรือทั้งปรับทั้งจำ " การกระทำความผิดตามมาตรานี้ จึงเกิดขึ้นหลังจากมีการนำของเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามหรือข้อจำกัดตามมาตรา 27 แล้ว โดยกฎหมายมีวัตถุประสงค์ที่จะลงโทษผู้ที่ช่วยเหลือผู้กระทำความผิดตามมาตรา 27 ดังกล่าวโดยการซ่อนเร้น จำหน่าย พาเอาไป ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด จึงกำหนดโทษจำคุกน้อยกว่า
โจทก์บรรยายฟ้องในคดีนี้ว่า จำเลยทั้งสามร่วมกัน ซื้อ หรือรับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ๆ ซึ่งน้ำมันเตาที่มีแหล่งกำเนิดอยู่นอกราชอาณาจักรไทย โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ลักลอบมิได้ผ่านศุลกากร และยังมิได้เสียภาษี โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามช่วยเหลือในการนำของดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 27 และโจทก์มีคำขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 27 ทวิ ซึ่งตรงกับคำบรรยายฟ้องแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 จึงเป็นการพิพากษาจำเลยทั้งสามในความผิดที่โจทก์มิได้ฟ้องและมีคำขอให้ลงโทษ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5305/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไม่ระงับ แม้ศาลศุลกากรจะงดฟ้องคดีศุลกากร เนื่องจากเป็นคนละกรรม
ปัญหาว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยทั้งสามในความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 เป็นอันระงับไปแล้วหรือไม่ แม้จำเลยทั้งสามจะมิได้ยกขึ้นอ้างในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยทั้งสามจึงยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้
ความผิดฐานร่วมกันลักลอบนำหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ที่ยังมิได้เสียภาษีและมิได้ผ่านศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร หรือร่วมกันช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ๆ ซึ่งหลอดไฟฟ้าดังกล่าวโดยรู้อยู่ว่าเป็นของที่ลักลอบหนีศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27, 27 ทวิ และความผิดฐานร่วมกันนำหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ดังกล่าวที่เป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเข้ามาเพื่อจำหน่ายในราชอาณาจักรโดยไม่ได้แสดงหลักฐานให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการตาม พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 มาตรา 21 และ 48 แต่ละฐานแยกออกจากกันได้ชัดเจนทั้งในแง่เจตนาในการกระทำ สภาพและลักษณะของการกระทำความผิดสำเร็จลง ตลอดจนบัญญัติกฎหมายที่บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ต่างบทมาตรากัน จึงเป็นการกระทำความผิดคนละกรรมต่างกัน หาใช่เป็นความผิดกรรมเดียวกันไม่ ดังนั้น แม้ว่าความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรซึ่งจำเลยทั้งสามได้ทำความตกลงและอธิบดีกรมศุลกากรได้งดการฟ้องร้องจำเลยทั้งสามตามมาตรา 102 และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (3) ดังที่จำเลยทั้งสามอ้าง แต่ก็ไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยทั้งสามในความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 ซึ่งเป็นความผิดต่างกรรมกันเป็นอันระงับไปด้วยแต่อย่างใด
ความผิดฐานร่วมกันลักลอบนำหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ที่ยังมิได้เสียภาษีและมิได้ผ่านศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร หรือร่วมกันช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ๆ ซึ่งหลอดไฟฟ้าดังกล่าวโดยรู้อยู่ว่าเป็นของที่ลักลอบหนีศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27, 27 ทวิ และความผิดฐานร่วมกันนำหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ดังกล่าวที่เป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเข้ามาเพื่อจำหน่ายในราชอาณาจักรโดยไม่ได้แสดงหลักฐานให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการตาม พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 มาตรา 21 และ 48 แต่ละฐานแยกออกจากกันได้ชัดเจนทั้งในแง่เจตนาในการกระทำ สภาพและลักษณะของการกระทำความผิดสำเร็จลง ตลอดจนบัญญัติกฎหมายที่บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ต่างบทมาตรากัน จึงเป็นการกระทำความผิดคนละกรรมต่างกัน หาใช่เป็นความผิดกรรมเดียวกันไม่ ดังนั้น แม้ว่าความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรซึ่งจำเลยทั้งสามได้ทำความตกลงและอธิบดีกรมศุลกากรได้งดการฟ้องร้องจำเลยทั้งสามตามมาตรา 102 และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (3) ดังที่จำเลยทั้งสามอ้าง แต่ก็ไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยทั้งสามในความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 ซึ่งเป็นความผิดต่างกรรมกันเป็นอันระงับไปด้วยแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13592/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับในความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: การพิจารณาโทษปรับสำหรับความผิดฐานพยายามนำของออกนอกราชอาณาจักร
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 บัญญัติว่า "ผู้ใดนำหรือพาของที่ยังมิได้เสียค่าภาษี หรือของต้องจำกัด หรือของต้องห้าม หรือที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในพระราชอาณาจักรสยามก็ดี... หรือเกี่ยวข้องด้วยประการใด ๆ ในการหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากร หรือในการหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงบทกฎหมาย และข้อจำกัดใด ๆ อันเกี่ยวแก่การนำของเข้า ส่งของออก ขนของขึ้น เก็บของในคลังสินค้า และการส่งมอบของโดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่จะต้องเสียสำหรับของนั้น ๆ ก็ดี หรือหลีกเลี่ยงข้อห้ามหรือข้อจำกัดอันเกี่ยวแก่ของนั้นก็ดี สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกินสิบปี หรือทั้งปรับทั้งจำ" ดังนี้ ความผิดฐานนี้ไม่ว่าจะเป็นพยายามกระทำความผิดหรือกระทำความผิดสำเร็จ กฎหมายกำหนดโทษไว้เท่ากัน ที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวสองในสามของโทษปรับที่กฎหมายกำหนดไว้จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12464/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าปรับทางอาญาในความผิดศุลกากร: ราคาของและค่าอากรที่แท้จริง
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 บัญญัติว่า "สำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว" คำว่า "ราคาของ" หมายความถึง ราคาของที่แท้จริงไม่ใช่ราคาของที่สำแดงไว้ขาด ส่วนคำว่า "ค่าอากร" ก็มิได้จำกัดไว้ว่าให้คิดเฉพาะค่าอากรที่ชำระขาดไป จึงหมายถึงค่าอากรตามอัตราที่ต้องชำระโดยไม่คำนึงว่าได้ชำระค่าอากรไปแล้วหรือไม่เพียงใด เพราะเป็นเรื่องที่กฎหมายบัญญัติให้นำราคาของกับค่าอากรมาเป็นหลักในการกำหนดอัตราโทษทางอาญาคือโทษปรับ มิใช่เพื่อให้ผู้กระทำผิดชำระค่าอากร ซึ่งเป็นเรื่องในทางแพ่งแต่อย่างใด จึงจะแปลว่ากฎหมายมุ่งให้คิดเฉพาะค่าของกับค่าอากรที่ยังขาดอยู่มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6856/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับในความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: การตีความบทบัญญัติและขอบเขตการลงโทษปรับต่อความผิด
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ทวิ กำหนดให้ลงโทษปรับแก่ผู้กระทำความผิดเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ซึ่งแม้มาตรา 27 ทวิ จะมิได้บัญญัติความเจาะจงลงไปว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วเช่นเดียวกับ มาตรา 27 ก็ตาม แต่มาตรา 27 ทวิ เป็นบทบัญญัติต่อท้ายและเป็นความผิดต่อเนื่องจากมาตรา 27 ดังนั้น ในเรื่องโทษนี้ก็ย่อมมีความหมายเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 ว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ นั่นเอง ไม่ใช่ให้ปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ แล้วแบ่งปรับเป็นรายบุคคลคนละเท่า ๆ กัน ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเรียงตัวคนละสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว จึงเป็นการปรับจำเลยทั้งสองสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ เกินกว่าสี่เท่า ซึ่งขัดต่อบทบัญญัติมาตราดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19349/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์ - เครื่องหมายการค้า - ศุลกากร: จำเลยว่าจ้างขนดีวีดีละเมิดลิขสิทธิ์และหลีกเลี่ยงภาษีอากร ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 7 บัญญัติให้จ่ายสินบนและรางวัลจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบไม่อาจขายได้ให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล เมื่อของกลางที่ยึดได้ในคดีนี้เป็นดีวีดีที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 75 บัญญัติให้บรรดาสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้กระทำความผิดตามมาตรา 70 ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ กรณีจึงไม่อาจนำดีวีดีที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งแปดและของผู้เสียหายที่ 8 ถึงที่ 11 ออกขายเพื่อนำเงินมาจ่ายเป็นสินบนและรางวัลให้แก่ผู้นำจับและเจ้าพนักงานผู้จับได้ และแม้จะยังมีดีวีดีบางส่วนที่ไม่ทราบตัวผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ซึ่งเจ้าพนักงานได้ยึดไว้เป็นของกลางด้วยก็ตาม แต่เมื่อดีวีดีดังกล่าวเป็นสิ่งที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น หากมีการนำออกขายเพื่อนำเงินมาจ่ายเป็นสินบนและรางวัลก็จะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นและไม่มีข้อยกเว้นตามกฎหมายให้กระทำได้ จึงไม่อาจนำดีวีดีนั้นออกขายเพื่อนำเงินมาจ่ายเป็นสินบนและรางวัลตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง ได้ แม้การจ่ายสินบนและรางวัลในกรณีของกลางที่ศาลสั่งริบนั้นไม่อาจขายได้ พระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา 7 วรรคสอง จะให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาลก็ตาม แต่เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 3 โดยไม่ปรับ ตามระวางโทษที่มาตรา 27 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 บัญญัติไว้ให้จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับเป็นเงิน 4 เท่า ราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีจึงไม่มีเงินค่าปรับที่จะสั่งจ่ายเป็นสินบนร้อยละสามสิบของค่าปรับแก่ผู้นำจับและจ่ายเป็นรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของค่าปรับแก่เจ้าพนักงานผู้จับตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6650/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดเงื่อนไขกักขังแทนค่าปรับเพื่อมิให้ลงโทษเกินกฎหมาย ศาลฎีกาพิพากษายืนชอบด้วยกฎหมาย
ปัญหาว่าการกักขังแทนค่าปรับถูกต้องหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย โจทก์ผู้อุทธรณ์จึงยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 195 วรรคสอง
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ในกรณีต้องกักขังจำเลยคดีนี้แทนค่าปรับก็ให้กักขังจำเลยคดีนี้ได้ไม่เกินกำหนด 6 เดือน แม้ศาลชั้นต้นจะใช้คำว่าแบ่งกักขังซึ่งตาม ป.อ. มาตรา 30 มิได้บัญญัติไว้เช่นนั้นก็ตาม แต่เป็นการกำหนดเงื่อนไขเพื่อบังคับโทษปรับ เพราะ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ให้ลงโทษปรับจำเลยที่ร่วมกระทำความผิดทุกคนรวมกันเป็นเงินรวมสี่เท่าของราคาของบวกค่าอากรเข้าด้วยแล้ว โดยต้องถือว่าค่าปรับจำเลยทุกคนเป็นจำนวนเดียวกัน ศาลชั้นต้นจึงได้กำหนดเงื่อนไขในการบังคับโทษปรับคดีนี้เพื่อมิให้ลงโทษเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จึงชอบแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ในกรณีต้องกักขังจำเลยคดีนี้แทนค่าปรับก็ให้กักขังจำเลยคดีนี้ได้ไม่เกินกำหนด 6 เดือน แม้ศาลชั้นต้นจะใช้คำว่าแบ่งกักขังซึ่งตาม ป.อ. มาตรา 30 มิได้บัญญัติไว้เช่นนั้นก็ตาม แต่เป็นการกำหนดเงื่อนไขเพื่อบังคับโทษปรับ เพราะ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ให้ลงโทษปรับจำเลยที่ร่วมกระทำความผิดทุกคนรวมกันเป็นเงินรวมสี่เท่าของราคาของบวกค่าอากรเข้าด้วยแล้ว โดยต้องถือว่าค่าปรับจำเลยทุกคนเป็นจำนวนเดียวกัน ศาลชั้นต้นจึงได้กำหนดเงื่อนไขในการบังคับโทษปรับคดีนี้เพื่อมิให้ลงโทษเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15436/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานสำแดงเท็จในการนำเข้าสินค้า แม้ไม่มีเจตนาหรือประมาทเลินเล่อ ก็ยังถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร
ความผิดฐานสำแดงเท็จในการยื่นตราสารอันเกี่ยวด้วย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการนำเข้าสินค้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 99 มี พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 มาตรา 16 บัญญัติว่า "การกระทำที่บัญญัติไว้ใน... มาตรา 99 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พุทธศักราช 2469 นั้น ให้ถือว่าเป็นความผิดโดยมิพักต้องคำนึงว่าผู้กระทำมีเจตนาหรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือหาไม่" แสดงให้เห็นว่า ความรับผิดของผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 99 เป็นความรับผิดเด็ดขาด แม้ผู้กระทำมิได้มีเจตนาในการกระทำความผิดโดยผู้กระทำมิได้รู้ว่าตราสารที่ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการนำเข้าสินค้านั้นได้สำแดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือผู้กระทำได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อในการยื่นตราสารซึ่งสำแดงข้อความอันเป็นเท็จนั้น ผู้กระทำก็ยังคงมีความผิดตามมาตรา 99 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว
แม้จำเลยทั้งสามเป็นเพียงผู้รับจ้างทำพิธีการศุลกากร ไม่ใช่ผู้สั่งซื้อสินค้าหรือเจ้าของสินค้า และขณะยื่นใบขนสินค้าและการสำแดงใด ๆ เกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกซึ่งสินค้าบุหรี่ดังกล่าวนั้นบรรจุอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์และอยู่ในอารักขาของกรมศุลกากร จำเลยทั้งสามจะไม่ทราบว่าสินค้าบุหรี่ดังกล่าวเป็นสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าปลอมก็ตาม แต่เมื่อความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 99 เป็นความผิดที่แม้ผู้กระทำไม่มีเจตนาหรือมิได้กระทำโดยประมาท ผู้กระทำการยื่นใบขนสินค้าขาเข้าที่สำแดงข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ยังคงมีความผิดตาบทบัญญัติดังกล่าว เป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสามต้องตรวจสอบข้อความในใบขนสินค้าขาเข้าที่สำแดงให้ตรงกับความเป็นจริงก่อนยื่นเอกสาร
แม้จำเลยทั้งสามเป็นเพียงผู้รับจ้างทำพิธีการศุลกากร ไม่ใช่ผู้สั่งซื้อสินค้าหรือเจ้าของสินค้า และขณะยื่นใบขนสินค้าและการสำแดงใด ๆ เกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกซึ่งสินค้าบุหรี่ดังกล่าวนั้นบรรจุอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์และอยู่ในอารักขาของกรมศุลกากร จำเลยทั้งสามจะไม่ทราบว่าสินค้าบุหรี่ดังกล่าวเป็นสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าปลอมก็ตาม แต่เมื่อความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 99 เป็นความผิดที่แม้ผู้กระทำไม่มีเจตนาหรือมิได้กระทำโดยประมาท ผู้กระทำการยื่นใบขนสินค้าขาเข้าที่สำแดงข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ยังคงมีความผิดตาบทบัญญัติดังกล่าว เป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสามต้องตรวจสอบข้อความในใบขนสินค้าขาเข้าที่สำแดงให้ตรงกับความเป็นจริงก่อนยื่นเอกสาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4228/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเงินวางประกันค่าอากร/ค่าปรับ, อายุความ, การคิดดอกเบี้ยทบต้น, การบังคับใช้มาตรา 112 จัตวา แห่ง พ.ร.ก.ศุลกากร
ตามคำพิพากษาของศาลอาญาในคดีหมายเลขแดงที่ 2522/2527 ระหว่างพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด โจทก์ บริษัทสุนิสา จำกัด จำเลยตามเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งศาลพิพากษาว่า ข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ได้ว่าสินค้าพิพาทที่โจทก์นำเข้าจัดอยู่ในประเภทศุลกากร ประเภทที่ 39.6 ข จึงพิพากษายกฟ้องคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว ประกอบกับคดีส่วนแพ่งนั้นจำเลยได้ฟ้องเรียกค่าภาษีอากรโดยอาศัยพิกัดศุลกากรตามที่อ้างให้โจทก์วางประกันค่าอากรและขาดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 10 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 แล้ว ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า เป็นกรณีต้องคืนเงินประกันค่าอากรดังกล่าว เพราะเหตุที่ได้เรียกเก็บไว้เกินจำนวนอันพึงต้องเสียหรือเสียเพิ่ม ซึ่งตามมาตรา 112 จัตวา วรรคสี่ แห่ง พ.ร.บ.ศุลากากร พ.ศ.2469 บัญญัติให้คืนพร้อมดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.625 ต่อเดือน ของจำนวนที่ต้องคืนโดยไม่คิดทบต้นนับแต่วันที่ได้วางเงินประกันค่าอากรจนถึงวันที่มีการอนุมัติให้จ่ายคืน
เงินประกันค่าอากรกับเงินประกันค่าปรับกรณีสำแดงพิกัดเป็นเท็จทำให้อากรขาดตามฟ้องเป็นเงินคนละส่วนกัน และแม้ว่ามาตรา 112 จัตวา วรรคสี่ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มิได้บัญญัติให้จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินวางประกันค่าปรับ แต่การที่โจทก์ต้องวางประกันค่าปรับดังกล่าวถือว่าโจทก์ต้องเสียหายตั้งแต่วางเงินประกันค่าปรับดังกล่าวโดยไม่สมัครใจ ดอกเบี้ยในเงินประกันค่าปรับตามที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องจากจำเลยเข้าลักษณะเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 148 วรรคสาม ปรากฏตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ว่า โจทก์มิได้ขอวางเงินประกันดังกล่าวเอง แต่ฝ่ายพิกัดกับฝ่ายวิเคราะห์สินค้ามีความเห็นขัดแย้งกัน และต่อมาฝ่ายวิเคราะห์สินค้าส่งเรื่องให้ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์และให้โจทก์วางเงินประกันค่าปรับดังกล่าว อันเป็นการวางเงินประกันโทษทางอาญาโดยโจทก์ไม่ได้ประสงค์ให้ระงับคดีแต่อย่างใด โจทก์ย่อมต้องเสียหายตั้งแต่วันวางเงินประกันค่าปรับดังกล่าวและตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 7 โจทก์จึงมีสิทธิได้ดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินนี้นับแต่วันวางเงินค่าปรับเช่นเดียวกับการวางเงินประกันค่าอากรดังวินิจฉัยมาแล้วข้างต้น แม้โจทก์ขอดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 0.625 ต่อเดือน ซึ่งเท่ากับร้อยละ 7.5 ต่อปี โดยอ้างมาตรา 112 จัตวา วรรคสี่ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ก็เป็นกรณีโจทก์ประสงค์ในดอกผลนิตินัยหาใช่กรณีโจทก์มิได้ขอมาในคำฟ้องดังที่จำเลยอ้างไม่
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 บัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความ 5 ปี (1) ดอกเบี้ยค้างชำระ ฯลฯ คำว่า ดอกเบี้ยไม่ได้หมายความเฉพาะดอกเบี้ยจากหนี้เงินกู้เท่านั้น อาจเป็นดอกเบี้ยจากหนี้กรณีอื่น ๆ ก็ได้ ซึ่งดอกเบี้ยค้างชำระที่กำหนดอายุความ 5 ปีนี้ หมายถึงดอกเบี้ยที่ค้างชำระอยู่ก่อนวันฟ้องคดี แต่อย่างไรก็ตาม กรณีผู้เสียภาษีต้องจ่ายเงินค่าอากรหรือเงินประกันอากร แต่ต่อมามีสิทธิได้คืนเงินอากรหรือเงินประกันค่าอากรเพราะเหตุที่มีการเรียกไว้เกินจำนวนอันพึงต้องเสียหรือเสียเพิ่มเพื่อบรรเทาภาระให้แก่ผู้ต้องเสียภาษี มาตรา 112 จัตวา วรรคสี่ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 จึงบัญญัติให้คืนพร้อมด้วยดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.625 ต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ต้องคืนโดยไม่คิดทบต้นนับแต่วันที่ได้ชำระค่าอากรหรือวางเงินประกันค่าอากรครั้งสุดท้ายจนถึงวันที่มีการอนุมัติให้จ่ายคืน และดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายนี้ให้ถือเป็นเงินอากรที่ต้องจ่ายคืน การที่กฎหมายบัญญัติให้ถือเป็นอากรที่ต้องจ่ายคืนมีผลทำให้ดอกเบี้ยดังกล่าวไม่ใช่ดอกเบี้ยตาม ประมวลกฎหมายและพานิชย์ ซึ่งมีกำหนดอายุความเพียง 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1)
มาตรา 10 วรรคห้า แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 บัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรเฉพาะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงเป็นอันระงับสิ้นไปเมื่อครบกำหนด 2 ปี นับจากวันนำของเข้าหรือส่งของออกแล้วแต่กรณี แต่คำเรียกร้องขอคืนอากรเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนักและราคาแห่งของใดๆ หรือเกี่ยวกับอัตราอากรสำหรับของใดๆ นั้น มิให้รับพิจารณาหลังจากที่ได้เสียอากรและของนั้นๆ ได้ส่งมอบหรือส่งออกไปแล้ว เว้นแต่ในกรณีที่ได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งออกว่าจะยื่นคำเรียกร้องดังกล่าว หรือในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พึงต้องรู้อยู่ก่อนส่งมอบหรือส่งออกว่าอากรที่ชำระไว้นั้นเกินจำนวนที่พึงต้องเสียสำหรับของที่ส่งมอบหรือส่งออก หมายถึง ผู้เสียหายที่เสียอากรไว้เกินจำนวนที่ต้องเสียต้องยื่นคำร้องขอคืนเงินอากรที่ต้องเสียไว้เกินภายใน 2 ปี คดีนี้โจทก์ฟ้องขอดอกเบี้ยสำหรับเงินวางประกันค่าอากร แม้มาตรา 112 จัตวา วรรคสี่ บัญญัติให้ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายนี้ถือเป็นเงินอากรที่ต้องจ่ายคืน แต่กรณีของโจทก์มิใช่กรณีสิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนพึงต้องเสียจริงซึ่งจะอยู่ในบังคับของมาตรา 10 วรรคท้าย แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 และเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้ไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 แต่สำหรับกรณีดอกเบี้ยเงินวางประกันค่าปรับกรณีสำแดงพิกัดเป็นเท็จทำให้อากรขาดเป็นดอกเบี้ยในหนี้เงินซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับตาม ประมวลกฎหมายและพานิชย์ โดยมีอายุความ 5 ปี นั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2548 โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยค้างชำระจากจำเลยย้อนหลังไปเป็นเวลาไม่เกิน 5 ปี คือนับแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2543 จนกระทั่งถึงวันที่จำเลยคืนเงินประกันค่าปรับกรณีสำแดงพิกัดเป็นเท็จทำให้อากรขาดให้แก่โจทก์คือวันที่ 23 มกราคม 2546 เท่านั้น โดยใช้ให้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 0.625 ต่อเดือน หรือร้อยละ 7.5 ต่อปี
เงินประกันค่าอากรกับเงินประกันค่าปรับกรณีสำแดงพิกัดเป็นเท็จทำให้อากรขาดตามฟ้องเป็นเงินคนละส่วนกัน และแม้ว่ามาตรา 112 จัตวา วรรคสี่ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มิได้บัญญัติให้จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินวางประกันค่าปรับ แต่การที่โจทก์ต้องวางประกันค่าปรับดังกล่าวถือว่าโจทก์ต้องเสียหายตั้งแต่วางเงินประกันค่าปรับดังกล่าวโดยไม่สมัครใจ ดอกเบี้ยในเงินประกันค่าปรับตามที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องจากจำเลยเข้าลักษณะเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 148 วรรคสาม ปรากฏตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ว่า โจทก์มิได้ขอวางเงินประกันดังกล่าวเอง แต่ฝ่ายพิกัดกับฝ่ายวิเคราะห์สินค้ามีความเห็นขัดแย้งกัน และต่อมาฝ่ายวิเคราะห์สินค้าส่งเรื่องให้ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์และให้โจทก์วางเงินประกันค่าปรับดังกล่าว อันเป็นการวางเงินประกันโทษทางอาญาโดยโจทก์ไม่ได้ประสงค์ให้ระงับคดีแต่อย่างใด โจทก์ย่อมต้องเสียหายตั้งแต่วันวางเงินประกันค่าปรับดังกล่าวและตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 7 โจทก์จึงมีสิทธิได้ดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินนี้นับแต่วันวางเงินค่าปรับเช่นเดียวกับการวางเงินประกันค่าอากรดังวินิจฉัยมาแล้วข้างต้น แม้โจทก์ขอดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 0.625 ต่อเดือน ซึ่งเท่ากับร้อยละ 7.5 ต่อปี โดยอ้างมาตรา 112 จัตวา วรรคสี่ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ก็เป็นกรณีโจทก์ประสงค์ในดอกผลนิตินัยหาใช่กรณีโจทก์มิได้ขอมาในคำฟ้องดังที่จำเลยอ้างไม่
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 บัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความ 5 ปี (1) ดอกเบี้ยค้างชำระ ฯลฯ คำว่า ดอกเบี้ยไม่ได้หมายความเฉพาะดอกเบี้ยจากหนี้เงินกู้เท่านั้น อาจเป็นดอกเบี้ยจากหนี้กรณีอื่น ๆ ก็ได้ ซึ่งดอกเบี้ยค้างชำระที่กำหนดอายุความ 5 ปีนี้ หมายถึงดอกเบี้ยที่ค้างชำระอยู่ก่อนวันฟ้องคดี แต่อย่างไรก็ตาม กรณีผู้เสียภาษีต้องจ่ายเงินค่าอากรหรือเงินประกันอากร แต่ต่อมามีสิทธิได้คืนเงินอากรหรือเงินประกันค่าอากรเพราะเหตุที่มีการเรียกไว้เกินจำนวนอันพึงต้องเสียหรือเสียเพิ่มเพื่อบรรเทาภาระให้แก่ผู้ต้องเสียภาษี มาตรา 112 จัตวา วรรคสี่ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 จึงบัญญัติให้คืนพร้อมด้วยดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.625 ต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ต้องคืนโดยไม่คิดทบต้นนับแต่วันที่ได้ชำระค่าอากรหรือวางเงินประกันค่าอากรครั้งสุดท้ายจนถึงวันที่มีการอนุมัติให้จ่ายคืน และดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายนี้ให้ถือเป็นเงินอากรที่ต้องจ่ายคืน การที่กฎหมายบัญญัติให้ถือเป็นอากรที่ต้องจ่ายคืนมีผลทำให้ดอกเบี้ยดังกล่าวไม่ใช่ดอกเบี้ยตาม ประมวลกฎหมายและพานิชย์ ซึ่งมีกำหนดอายุความเพียง 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1)
มาตรา 10 วรรคห้า แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 บัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรเฉพาะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงเป็นอันระงับสิ้นไปเมื่อครบกำหนด 2 ปี นับจากวันนำของเข้าหรือส่งของออกแล้วแต่กรณี แต่คำเรียกร้องขอคืนอากรเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนักและราคาแห่งของใดๆ หรือเกี่ยวกับอัตราอากรสำหรับของใดๆ นั้น มิให้รับพิจารณาหลังจากที่ได้เสียอากรและของนั้นๆ ได้ส่งมอบหรือส่งออกไปแล้ว เว้นแต่ในกรณีที่ได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งออกว่าจะยื่นคำเรียกร้องดังกล่าว หรือในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พึงต้องรู้อยู่ก่อนส่งมอบหรือส่งออกว่าอากรที่ชำระไว้นั้นเกินจำนวนที่พึงต้องเสียสำหรับของที่ส่งมอบหรือส่งออก หมายถึง ผู้เสียหายที่เสียอากรไว้เกินจำนวนที่ต้องเสียต้องยื่นคำร้องขอคืนเงินอากรที่ต้องเสียไว้เกินภายใน 2 ปี คดีนี้โจทก์ฟ้องขอดอกเบี้ยสำหรับเงินวางประกันค่าอากร แม้มาตรา 112 จัตวา วรรคสี่ บัญญัติให้ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายนี้ถือเป็นเงินอากรที่ต้องจ่ายคืน แต่กรณีของโจทก์มิใช่กรณีสิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนพึงต้องเสียจริงซึ่งจะอยู่ในบังคับของมาตรา 10 วรรคท้าย แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 และเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้ไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 แต่สำหรับกรณีดอกเบี้ยเงินวางประกันค่าปรับกรณีสำแดงพิกัดเป็นเท็จทำให้อากรขาดเป็นดอกเบี้ยในหนี้เงินซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับตาม ประมวลกฎหมายและพานิชย์ โดยมีอายุความ 5 ปี นั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2548 โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยค้างชำระจากจำเลยย้อนหลังไปเป็นเวลาไม่เกิน 5 ปี คือนับแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2543 จนกระทั่งถึงวันที่จำเลยคืนเงินประกันค่าปรับกรณีสำแดงพิกัดเป็นเท็จทำให้อากรขาดให้แก่โจทก์คือวันที่ 23 มกราคม 2546 เท่านั้น โดยใช้ให้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 0.625 ต่อเดือน หรือร้อยละ 7.5 ต่อปี