คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาประนีประนอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 506 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 608/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย
คู่กรณีทำสัญญาประนีประนอมยอมความเอาหนี้เงินกับดอกเบี้ยที่ค้างชำระเป็นต้นเงินและให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินนั้นอีกดังนี้แม้จำนวนต้นเงินนี้มีดอกเบี้ยเดิมรวมอยู่ด้วย ก็ไม่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรค 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นผู้จัดการมรดก: ผู้ไม่มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องมิได้ แม้มีสัญญาประนีประนอมยอมความ
ผู้ร้องมิได้เป็นผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตาย และมิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก เพียงแต่ทายาททั้งหลายพร้อมใจกันทำสัญญประนีประนอมยอมความกำหนดให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ดังนี้ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียอันจะพึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 และจะถือว่าทายาทโดยธรรมทั้งหมดเป็นผู้ยื่นคำร้องขอต่อศาลเอง ให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายไม่ได้ เพราะตามเนื้อความแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวมิได้มอบอำนาจให้ผู้ร้องร้องขอแทนทายาท เมื่อผู้ร้องไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะร้องขอเช่นนี้ จึงใช้สิทธิทางศาลตามมาตรา 55 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 329/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแบ่งมรดกตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกมีพินัยกรรมตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์จำเลยและทายาทอื่นได้ทำไว้มิได้ขอแบ่งตามพินัยกรรมของเจ้ามรดก ฟ้องโจทก์บรรยายว่าจำเลยไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยอ้างสิทธิว่าทรัพย์สินทั้งหมดของเจ้ามรดกจะต้องแบ่งให้จำเลยครึ่งหนึ่งก่อนที่เหลือจึงจะแบ่งให้โจทก์และทายาทอื่นเช่นนี้ โจทก์ถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ และมีอำนาจฟ้องขอแบ่งทรัพย์จากจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาประนีประนอมยอมความโดยตรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 324/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นโมฆะ เจ้าหนี้รู้อยู่แล้วว่าลูกหนี้ล้มละลาย
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ชั่วคราวแล้ว อำนาจในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือดำเนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ก็เป็นของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 ประกอบด้วยมาตรา 6 วรรค 8 หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งลูกหนี้ทำไว้หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวยอมใช้หนี้ให้แก่เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ จึงไม่สมบูรณ์ เพราะเกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 94(1) ทั้งเชื่อว่าเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นด้วยการสมยอม จึงรับฟังเป็นหลักฐานแห่งหนี้โดยชอบประกอบคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 91 วรรค 2 ไม่ได้
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 24 เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้วลูกหนี้ยังอาจกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนถ้าได้กระทำการตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลได้แต่เฉพาะกรณีที่ บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายเท่านั้นเมื่อพระราชบัญญัติล้มละลายมิได้มีบทบัญญัติให้ศาลมีคำสั่งให้ความ เห็นชอบหรืออนุญาตให้ลูกหนี้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้เองแต่อย่างใด การที่ศาลทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้จะถือว่าศาลให้ความเห็นชอบหรืออนุญาตไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 224/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้จำนองระงับด้วยสัญญาประนีประนอม สิทธิบังคับคดีตามสัญญาใหม่
โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ชำระหนี้จำนอง แล้วโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยยอมชำระหนี้จำนอง ศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ ถือว่าเป็นเพียงฟ้องในมูลหนี้สามัญ และมีผลทำให้หนี้เดิมระงับ เกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ย่อมบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นๆ ของจำเลยรวมทั้งทรัพย์ที่จำนองได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1683/2498,127/2506 และ 989/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2208/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้รับประกันภัย และการยกเว้นความรับผิดจากอุบัติเหตุที่เกิดจากการฝ่าฝืนกฎจราจร
ข้อกำหนดตามกรมธรรม์ประะกันภัยที่ว่า "การตกลงยินยอมหรือการเสนอหรือการให้สัญญาว่าจะชดใช้เงินหรือชดใช้ค่าเสียหายประการใดก็ตามแก่บุคคลอื่น ผู้เอาประกันภัยหรือตัวแทนผู้เอาประกันภัยจะกระทำมิได้เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากบริษัทเป็นลายลักษณ์อักษร" นั้น เป็นการห้ามมิให้ผู้เอาประกันภัยทำความตกลงหรือทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับบุคคลภายนอก ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้รับประกันภัยไม่ให้ผู้เอาประกันภัยทำสัญญาให้เป็นที่เสียหายแก่ผู้รับประกันภัยเท่านั้น หาใช่เป็นข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยไม่เมื่อผู้เอาประกันภัยฟ้องเรียกร้องค่าซ่อมรถของตนที่เอาประกันภัยไว้ อันได้รับความเสียหายเนื่องจากชนกับรถของบุคคลอื่น มิได้เกี่ยวกับค่าเสียหายที่ผู้เอาประกันภัยได้ทำสัญญาชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลอื่น ผู้เอาประกันภัยจึงมีสิทธิเรียกร้องจากผู้รับประะกันภัยได้
กรมธรรม์ประกันภัยกำหนดว่า ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดเมื่อ"อุบัติเหตุหรือวินาศภัย อันเกิดขึ้นโดยผู้ขับขี่ยานยนต์คันเอาประกันภัยเจตนาจงใจฝ่าฝืนข้อกำหนดกฎหมายหรือคำสั่งหรือเครื่องหมายจราจร"ย่อมหมายความว่า วินาศภัยที่ผู้รับประกันภัยจะไม่ต้องรับผิดในความเสียหาย ก็เฉพาะแต่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเพราะเหตุที่ผู้ขับขี่จงใจฝ่าฝืนกฎหมายหรือคำสั่งหรือเครื่องหมายจราจรเท่านั้น การที่คนขับรถของผู้เอาประกันภัยขับรถคันที่เอาประกันภัยไปในทางที่ยังไม่เปิดใช้เป็นทางจราจร แม้จะมีเครื่องหมายของพนักงานจราจรห้ามมิให้รถเข้าไปแล่นก็ตาม แต่เมื่อการขับรถเข้าไปในทางนั้นไม่ใช่เหตุให้เกิดรถชนกัน เพราะรถชนกันบนถนนส่วนที่เปิดใช้แล้ว ผูรับประกันภัยก็จะยกเหตุดังกล่าวมาปัดความรับผิดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาซื้อขายที่ดินบางส่วนสำคัญกว่าถ้อยคำในสัญญาประนีประนอม การตีความต้องตรงตามเจตนาของคู่กรณี
โจทก์ฟ้องให้จำเลยแบ่งขายที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 137 ให้แก่โจทก์บางส่วนในราคา 52,000 บาท แล้วคู่ความตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจำเลยยอมขายที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 137 ให้แก่โจทก์ในราคา 52,000 บาท ดังนี้ เมื่อคำบรรยายฟ้องและเอกสารการขอจดทะเบียนขายที่ดินดังกล่าวก็ระบุว่าจำเลยตกลงแบ่งขายที่ดินเพียงบางส่วน ราคาที่ดินตามฟ้องก็เป็นราคาเดียวกับในสัญญาประนีประนอมยอมความ แสดงให้เห็นว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาอันแท้จริงที่จะตกลงซื้อขายที่ดินกันตามจำนวนเนื้อที่และเขตติดต่อที่ระบุในฟ้อง หาใช่ซื้อขายทั้งแปลงไม่ โจทก์จึงไม่อาจหยิบยกถ้อยคำในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ระบุว่าซื้อขายที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 137 ให้มีความหมายว่าเป็นการซื้อขายทั้งแปลงตามตัวอักษร เพราะเป็นการตีความสัญญาซึ่งไม่ตรงตามประสงค์ของคู่กรณีและเป็นไปในทางไม่สุจริตอันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 368

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาซื้อขายที่ดินบางส่วน: การตีความสัญญาประนีประนอมยอมความต้องสอดคล้องกับเจตนาของคู่กรณีและข้อเท็จจริงที่ปรากฏ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยแบ่งขายที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่137 ให้แก่โจทก์บางส่วนในราคา 52,000 บาท แล้วคู่ความตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจำเลยยอมขายที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 137 ให้แก่โจทก์ในราคา 52,000 บาท ดังนี้เมื่อคำบรรยายฟ้องและเอกสารการขอจดทะเบียนขายที่ดินดังกล่าวก็ระบุว่าจำเลยตกลงแบ่งขายที่ดินเพียงบางส่วนราคาที่ดินตามฟ้องก็เป็นราคาเดียวกับในสัญญาประนีประนอมยอมความ แสดงให้เห็นว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาอันแท้จริงที่จะตกลงซื้อขายที่ดินกันตามจำนวนเนื้อที่และเขตติดต่อที่ระบุในฟ้อง หาใช่ซื้อขายทั้งแปลงไม่ โจทก์จึงไม่อาจหยิบยกถ้อยคำในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ระบุว่าซื้อขายที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 137 ให้มีความหมายว่าเป็นการซื้อขายทั้งแปลงตามตัวอักษร เพราะจะเป็นการตีความสัญญาซึ่งไม่ตรงตามความประสงค์ของคู่กรณีและเป็นไปในทางไม่สุจริตอันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 368

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2522/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินสาธารณะ สัญญาประนีประนอมยอมความ และความรับผิดของผู้ลงชื่อสัญญา แม้บริษัทเลิกกิจการ
ที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของสวนลุมพินีซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้ายกให้เป็นวนะสาธารณ์สำหรับประชาชน อยู่ในความดูแลรักษาของกรมนคราทร กระทรวงมหาดไทย เทศบาลนครกรุงเทพ โจทก์มีหน้าที่ดูแลรักษาให้เป็นสวนสาธารณะสำหรับประชาชนพักผ่อนหย่อนใจดังนั้นเทศบาลนครกรุงเทพโจทก์ย่อมมีสิทธิเอาที่พิพาทให้เช่าเพื่อหารายได้มาใช้จ่ายปรับปรุงสวนลุมพินีให้อยู่ในสภาพเดิมหรือดีขึ้นกว่าเดิมได้ ไม่ขัดพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496
จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯจำเลยที่ 1 ลงชื่อเป็นคู่สัญญาเช่ากับเทศบาลนครกรุงเทพโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1จดทะเบียนเลิกห้างฯ โดยไม่มีการชำระบัญชีแต่ในการต่อสัญญาปีต่อ ๆ มา จำเลยที่ 2 ทราบดีว่าห้างฯ จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเลิกห้างฯแล้วก็ยังใช้ชื่อห้างฯ จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่ากับโจทก์โดยจำเลยที่ 2เป็นผู้ลงชื่อในสัญญาเหล่านั้นในฐานะผู้จัดการและดำเนินกิจการค้าและใช้ที่ดินที่เช่าเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ตามวัตถุประสงค์เดิมตลอดมาเป็นเวลาหลายปี เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาในปี 2513จำเลยที่ 2 ก็ได้ติดต่อกับโจทก์ขอต่ออายุสัญญาเช่า และทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์และอาศัยชื่อจำเลยที่ 1เป็นคู่สัญญากับโจทก์ และจำเลย ที่ 2 เป็นผู้ลงชื่อในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1 อยู่เช่นเดิม หาได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าห้างฯ จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนเลิกห้างฯแล้วไม่พฤติการณ์ดังกล่าวเห็นได้ชัดว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาปิดบังแอบอ้างอาศัยใช้ชื่อห้างฯ จำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญากับโจทก์เพื่อกิจการค้าของจำเลยที่ 2 หรือเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 2 เองดังนั้นแม้ว่าสัญญาประนีประนอมยอมความจะไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนเลิกห้างฯ แล้ว ก็ตามแต่สัญญานั้นก็ยังมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นผู้ลงชื่อในสัญญานั้นจำเลยที่ 2 ยังคงต้องรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2388/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การขายทรัพย์สินและการชำระหนี้เป็นงวด ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยยังมิได้ผิดสัญญา
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล ข้อ 2 มีข้อความดังนี้ "หากจำเลยตกลงขายหรือโอนทรัพย์สินใดๆ ของจำเลยได้ก่อนในรอบระยะชำระหนี้ 6 เดือนแรกหรือในระยะ 6 เดือนต่อๆ ไปก็ตาม จำเลยจะต้องแจ้งให้ศาลและโจทก์ทราบด้วย และให้จำเลยชำระเงินให้โจทก์ก่อน ภายในวงเงินที่จะต้องชำระตามงวดในข้อ 1 หากจำเลยไม่แจ้งศาลหรือไม่แจ้งโจทก์หรือไม่ชำระเงินแก่โจทก์เมื่อขายหรือโอนทรัพย์สินใดๆ ของจำเลยแล้วให้ถือว่าจำเลยผิดนัดและยอมให้โจทก์บังคับคดีทั้งหมดทันที ที่จะถือว่าจำเลยผิดนัดและยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทั้งหมดนั้น มีดังนี้คือเมื่อขายทรัพย์สินใด ๆ ของจำเลยแล้วไม่แจ้งศาล หรือไม่แจ้งโจทก์หรือไม่ชำระเงินให้แก่โจทก์ ข้อความในสัญญาใช้คำว่า หรือ ดังนั้นจำเลยจะเลือกปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ไม่เป็นการผิดสัญญาตามสัญญาข้อนี้มิได้บังคับให้จำเลยนำเงินทั้งหมดที่ขายทรัพย์สินได้มาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทั้งหมด แต่ให้ชำระหนี้แก่โจทก์ก่อนภายในวงเงินที่จะต้องชำระตามงวดเท่านั้น งวดที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระจำเลยจึงไม่ต้องชำระให้แก่โจทก์ แม้จะขายทรัพย์สินได้เป็นเงินจำนวนเกินกว่าหนี้ทั้งหมดของโจทก์ก็ตาม และตามสัญญามิได้มีข้อตกลงให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์เป็นจำนวนเงินน้อยกว่าจำนวนเงินที่จะต้องชำระกันเป็นงวดๆ เมื่อขายทรัพย์สินได้ดังนั้นแม้จำเลยจะขายทรัพย์สินไปแล้ว ก็ต้องรวบรวมเงินให้ได้จำนวนพอแก่การชำระหนี้ให้แก่โจทก์เป็นงวดๆ ตามสัญญาตามคำร้องของโจทก์ จำเลยขายแร่ไปเพียง 97 หาบ ไม่ปรากฏว่าราคาเท่าใดพอจะชำระหนี้งวดแรกให้แก่โจทก์หรือไม่ ก็ไม่ทราบวันที่จำเลยขายแร่ก็ยังไม่ถึงกำหนดชำระเงินงวดแรก ดังนั้น จำเลยจึงยังมิได้กระทำผิดสัญญาที่จะทำให้โจทก์มีสิทธิบังคับคดีทั้งหมดได้ในทันที
of 51