คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิในที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 460 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินตามคำพิพากษาตามยอม: การยึดทรัพย์หลังศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
คดีแพ่งแดงที่ 199/2507 ผู้ร้องเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้โอนที่ดินรายพิพาทให้ผู้ร้องตามสัญญาจะซื้อขาย วันที่ 28 กรกฎาคม 2507 จำเลยกับผู้ร้องยอมความกันในคดีนั้นว่าจำเลยยอมขายที่ดินแปลงพิพาทให้ผู้ร้อง โดยจะไปทำโอนกันต่อเจ้าพนักงานภายใน 7 วัน.ถ้าไม่ไปทำโอน ให้ถือเอาสัญญานั้นเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย และจำเลยยอมรับราคาที่ดินที่ค้างจากผู้ร้องในวันทำโอน ศาลพิพากษาตามยอม ต่อมาวันที่ 13 กันยายน 2507 โจทก์คดีนี้นำเจ้าหน้าที่ศาลยึดที่ดินรายพิพาท ดังนี้ การนำยึดทรัพย์ของโจทก์จึงเป็นการทำภายหลังวันที่ศาลพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินรายพิพาทให้ผู้ร้องไปแล้ว ตลอดทั้งขณะที่นำยึดคำพิพากษานั้นก็ถึงที่สุดและครบกำหนดระยะเวลาที่บังคับให้โอนตามคำพิพากษานั้นด้วย แม้ว่าในขณะที่ศาลพิพากษาตามยอมให้โอนที่ดินนั้น ที่ดินรายพิพาทต้องถูกยึดไว้ชั่วคราวในคดีอื่นอยู่ก็ดี แต่ภายหลังก็ได้มีการถอนการยึดไปแล้ว โจทก์เพิ่งมาขอยึดภายหลังจากวันถอนการยึดอีกหลายวันสิทธิในที่ดินของผู้ร้องตามคำพิพากษานั้นก็ย่อมมีอยู่ก่อนวันที่โจทก์จะมาทำการยึดนั้นแล้ว ไม่ชอบที่โจทก์จะนำยึดมาบังคับชำระหนี้โจทก์ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินตามคำพิพากษาตามยอมมีลำดับก่อนการยึดทรัพย์ของเจ้าหนี้รายอื่น แม้มีการยึดไว้ชั่วคราวก่อนหน้า
คดีแพ่งแดงที่ 199/2507 ผู้ร้องเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้โอนที่ดินรายพิพาทให้ผู้ร้องตามสัญญาจะซื้อขาย วันที่ 28 กรกฎาคม 2507 จำเลยกับผู้ร้องยอมความกันในคดีนั้นว่าจำเลยยอมขายที่ดินแปลงพิพาทให้ผู้ร้อง โดยจะไปทำโอนกันต่อเจ้าพนักงานภายใน 7 วัน ถ้าไม่ไปทำโอน ให้ถือเอาสัญญานั้นเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย และจำเลยยอมรับราคาที่ดินที่ค้างจากผู้ร้องในวันทำโอน ศาลพิพากษาตามยอม ต่อมาวันที่ 13 กันยายน 2507 โจทก์คดีนี้นำเจ้าหน้าที่ศาลยึดที่ดินรายพิพาท ดังนี้ การนำยึดทรัพย์ของโจทก์จึงเป็นการทำภายหลังวันที่ศาลพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินรายพิพาทให้ผู้ร้องไปแล้ว ตลอดทั้งขณะที่นำยึดคำพิพากษานั้นก็ถึงที่สุดและครบกำหนดระยะเวลาที่บังคับให้โอนตามคำพิพากษานั้นด้วย แม้ว่าในขณะที่ศาลพิพากษาตามยอมให้โอนที่ดินนั้น ที่ดินรายพิพาทต้องถูกยึดไว้ชั่วคราวในคดีอื่นอยู่ก็ดี แต่ภายหลังก็ได้มีการถอนการยึดไปแล้ว โจทก์เพิ่งมาขอยึดภายหลังจากวันถอนการยึดอีกหลายวันสิทธิในที่ดินของผู้ร้องตามคำพิพากษานั้นก็ย่อมมีอยู่ก่อนวันที่โจทก์จะมาทำการยึดนั้นแล้ว ไม่ชอบที่โจทก์จะนำยึดมาบังคับชำระหนี้โจทก์ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินตามคำพิพากษาชอบด้วยกฎหมาย ย่อมมีลำดับก่อนการยึดทรัพย์ของเจ้าหนี้รายอื่น
คดีแพ่งแดงที่ 199/2507 ผู้ร้องเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้โอนที่ดินรายพิพาทให้ผู้ร้องตามสัญญาจะซื้อขาย. วันที่ 28 กรกฎาคม 2507 จำเลยกับผู้ร้องยอมความกันในคดีนั้นว่าจำเลยยอมขายที่ดินแปลงพิพาทให้ผู้ร้อง. โดยจะไปทำโอนกันต่อเจ้าพนักงานภายใน 7 วัน.ถ้าไม่ไปทำโอน. ให้ถือเอาสัญญานั้นเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย และจำเลยยอมรับราคาที่ดินที่ค้างจากผู้ร้องในวันทำโอน. ศาลพิพากษาตามยอม. ต่อมาวันที่ 13 กันยายน 2507 โจทก์คดีนี้นำเจ้าหน้าที่ศาลยึดที่ดินรายพิพาท ดังนี้ การนำยึดทรัพย์ของโจทก์จึงเป็นการทำภายหลังวันที่ศาลพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินรายพิพาทให้ผู้ร้องไปแล้ว. ตลอดทั้งขณะที่นำยึดคำพิพากษานั้นก็ถึงที่สุดและครบกำหนดระยะเวลาที่บังคับให้โอนตามคำพิพากษานั้นด้วย. แม้ว่าในขณะที่ศาลพิพากษาตามยอมให้โอนที่ดินนั้น ที่ดินรายพิพาทต้องถูกยึดไว้ชั่วคราวในคดีอื่นอยู่ก็ดี. แต่ภายหลังก็ได้มีการถอนการยึดไปแล้ว โจทก์เพิ่งมาขอยึดภายหลังจากวันถอนการยึดอีกหลายวันสิทธิในที่ดินของผู้ร้องตามคำพิพากษานั้นก็ย่อมมีอยู่ก่อนวันที่โจทก์จะมาทำการยึดนั้นแล้ว. ไม่ชอบที่โจทก์จะนำยึดมาบังคับชำระหนี้โจทก์ได้อีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1404/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการโต้แย้งสิทธิในที่ดิน: การขาดสิทธิฟ้องร้องหลัง 1 ปี
จำเลยให้การว่าที่นาที่สวนเป็นของจำเลยได้มาโดยรับมรดกจากบิดามารดา. บิดาตายมาประมาณ 16 ปีแล้ว จำเลยครอบครองแต่ผู้เดียวตลอดมา. เป็นคำให้การที่แสดงข้อต่อสู้ถึงสิทธิครอบครองและสิทธิฟ้องร้องแล้ว. ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1375.
จำเลยครอบครองที่พิพาทมาแต่ฝ่ายเดียว. เมื่อจำเลยตกลงทำบันทึกแบ่งที่พิพาทให้โจทก์ การครอบครองของจำเลยจึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์ด้วย. แต่ภายหลังจำเลยได้ขอถอนการยกให้ดังกล่าว. ถือได้ว่า จำเลยได้ครอบครองเพื่อตนแต่นั้นมา. โจทก์เพิ่งมาฟ้องคดีเมื่อพ้นหนึ่งปี ย่อมขาดสิทธิฟ้องร้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งรับมรดกของเจ้าพนักงานที่ดินเมื่อมีข้อพิพาทเรื่องสิทธิในที่ดิน การปฏิบัติหน้าที่โดยชอบและไม่มีเจตนาละเมิด
โจทก์ร้องขอรับมรดกที่ดิน โฉนดที่ 5130 ของ พ..ว.ยื่นคำร้องคัดค้านว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของ ช.ซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว. ศาลฎีกาวินิจฉัยรับรองไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1927/2506 ว่า ว.มีสิทธิในส่วนของช.ในโฉนดที่กล่าวด้วย. จำเลยที่ 1 ในนามจังหวัด ได้มีหนังสือหารือการปฏิบัติในการสั่งคำร้องของโจทก์มายังจำเลยที่ 2(กรมที่ดิน). จำเลยที่ 2 เห็นว่าคำพิพากษาฎีกาได้วินิจฉัยว่า ว.มีส่วนได้เสียในที่ดินอยู่ด้วย. จำเลยที่ 1 จึงสั่งให้โจทก์และ ว.ลงชื่อร่วมกันในโฉนดในฐานะผู้รับมรดก. และสั่งด้วยว่าฝ่ายใดไม่เห็นพ้องด้วยก็ให้ฟ้องศาลภายใน 60 วัน. มิฉะนั้นจะดำเนินการไปตามคำสั่งต่อไป.ดังนี้ เห็นได้ว่า การที่จำเลยที่ 1 ดำเนินการในการออกคำสั่งคำร้องของโจทก์ ได้ปฏิบัติการไปตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 81 โดยชอบ. เช่น การประกาศการขอรับมรดกของโจทก์เป็นต้น. ครั้น ว.คัดค้าน ก็ได้ขอความเห็นจากจำเลยที่ 2 อันเป็นสำนักงานต้นสังกัดในการรับผิดชอบ. แสดงว่าจำเลยทั้งสองปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง เพื่อให้การงานเป็นไปโดยถูกต้อง. การที่จำเลยที่ 1 สั่งให้ว.รับมรดกร่วมกับโจทก์ ก็เห็นว่าเนื่องจากหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่า ว.มีส่วนได้ส่วนเสียในที่ดินโฉนดนี้อยู่ด้วย และทั้งสองฝ่ายไม่ยอมตกลงตามข้อเปรียบเทียบของจำเลยที่ 1. จำเลยก็ย่อมสั่งการไปได้ตามที่เห็นสมควร. ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 81 วรรคสอง มิได้ก่อการเสียหายอันเป็นละเมิดต่อโจทก์. เพราะถ้าโจทก์หรือ ว.ไม่เห็นพ้องกับคำสั่งของจำเลยที่1ก็ย่อมนำคดีเสนอต่อศาลได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 81 วรรคสาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: ผลของคำพิพากษาคดีก่อน, การอ้างสิทธิจากคู่สมรส, และการพิจารณาตามสำนวนคดีเก่า
ที่ดินตามสัญญาซื้อขายเป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินซึ่งโจทก์แพ้คดีจำเลยร่วมมาแล้ว. แม้จำเลยในคดีนี้จะเป็นบุคคลนอกสัญญาซื้อขาย. แต่ก็ปรากฏว่าจำเลยเป็นสามีผู้ซื้อ. ผลของการที่ผู้ซื้อได้สิทธิในที่ดินแปลงนี้ย่อมทำให้จำเลยได้รับในฐานะสามีผู้ซื้อเป็นเจ้าของร่วมด้วย. เมื่อจำเลยถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้เกี่ยวกับที่ดินแปลงเดียวกัน เท่ากับเป็นการรบกวนสิทธิอย่างหนึ่ง. จำเลยจึงขอให้ศาลเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3). ซึ่งโจทก์มิได้คัดค้านประการใด. กรณีทำให้มีผลเกิดขึ้นว่า.จำเลยร่วมต้องรับผิดชอบผูกพันในผลแห่งคดีนี้ด้วยผู้หนึ่ง.ดังนั้นจำเลยร่วมจึงชอบที่จะอ้างสิทธิต่างๆ ที่มีอยู่ก่อนเกี่ยวกับที่ดินแปลงนี้ เป็นข้อต่อสู้โจทก์คดีนี้ได้. ไม่เป็นขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 477 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.
โจทก์จำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงบางข้อแล้วต่างไม่ขอสืบพยาน. โดยจำเลยอ้างสำนวนคดีแพ่งคดีก่อนประกอบ. ดังนั้น การฟังข้อเท็จจริงในเรื่องสิทธิในที่พิพาทก็ต้องฟังตามข้อวินิจฉัยในสำนวนคดีก่อนเป็นหลักการพิจารณาคดี. เมื่อคดีก่อนศาลชี้ขาดว่าที่พิพาทไม่ใช่ที่ที่ ค. ครอบครองทำประโยชน์แล้ว.จำเลยร่วม (ซึ่งต่อมาขายที่พิพาทให้ภริยาจำเลย)เข้าจับจองทับเอา คดีถึงที่สุดแล้ว. เช่นนี้ ในการวินิจฉัยคดีนี้ก็ต้องยึดถือข้อเท็จจริงที่ศาลชี้ขาดมาแล้ว. โจทก์จึงต้องแพ้คดีจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1096/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีพิพาทที่ดิน: ศาลยกฟ้องเมื่อประเด็นสิทธิในที่ดินเคยถูกวินิจฉัยเด็ดขาดแล้ว
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินของจำเลยร่วมชำระคดีโจทก์ คดีถึงที่สุดแล้ว ฉะนั้น การที่โจทก์นำเรื่องที่ดินรายเดียวกันนั้นมาฟ้องเป็นคดีนี้อีก แม้จะเป็นเพียงที่ส่วนหนึ่งและเปลี่ยนตัวจำเลยจากจำเลยร่วมมาเป็นจำเลยคดีนี้ ก็คงมีประเด็นเพียงว่าที่พิพาทในคดีนี้เป็นของใครเท่านั้น กรณีเป็นเรื่องที่มีประเด็นซึ่งศาลได้วินิจฉัยมาแล้วโดยเหตุอย่างเดียวกัน ซึ่งศาลชี้ขาดมาแล้วในสิทธิของที่พิพาทว่าเป็นของจำเลยร่วม จึงไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัยซ้ำในเรื่องสิทธิแห่งที่พิพาทอีกเพราะเป็นฟ้องซ้ำ และที่ดินรายนี้จำเลยขายให้ภริยาจำเลย ฐานะของจำเลยแม้จะไม่ใช่คู่สัญญาซื้อขายที่แปลงนี้โดยตรงกับจำเลยร่วมก็จริง แต่จำเลยเป็นสามีของ ฟ. ภริยาจำเลยคู่สัญญาซื้อขายกับจำเลยร่วม ก็มีสิทธิเป็นเจ้าของร่วมในที่แปลงนี้ด้วย ในคดีนี้จำเลยร่วมได้ถูกเรียกเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ทั้งจำเลยและจำเลยร่วมย่อมชอบที่จะอ้างสิทธิอันมีมาก่อนเป็นข้อต่อสู้ได้โดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1096/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ที่ดินพิพาทเคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว โจทก์ฟ้องซ้ำไม่ได้ แม้จำเลยเปลี่ยนไป
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินของจำเลยร่วมชำระคดีโจทก์. คดีถึงที่สุดแล้ว ฉะนั้น การที่โจทก์นำเรื่องที่ดินรายเดียวกันนั้นมาฟ้องเป็นคดีนี้อีก แม้จะเป็นเพียงที่ส่วนหนึ่งและเปลี่ยนตัวจำเลยจากจำเลยร่วมมาเป็นจำเลยคดีนี้. ก็คงมีประเด็นเพียงว่าที่พิพาทในคดีนี้เป็นของใครเท่านั้น. กรณีเป็นเรื่องที่มีประเด็นซึ่งศาลได้วินิจฉัยมาแล้วโดยเหตุอย่างเดียวกัน. ซึ่งศาลชี้ขาดมาแล้วในสิทธิของที่พิพาทว่าเป็นของจำเลยร่วม. จึงไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัยซ้ำในเรื่องสิทธิแห่งที่พิพาทอีก.เพราะเป็นฟ้องซ้ำ. และที่ดินรายนี้จำเลยขายให้ภริยาจำเลย. ฐานะของจำเลยแม้จะไม่ใช่คู่สัญญาซื้อขายที่แปลงนี้โดยตรงกับจำเลยร่วมก็จริง.แต่จำเลยเป็นสามีของ ฟ. ภริยาจำเลยคู่สัญญาซื้อขายกับจำเลยร่วม ก็มีสิทธิเป็นเจ้าของร่วมในที่แปลงนี้ด้วย. ในคดีนี้จำเลยร่วมได้ถูกเรียกเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ทั้งจำเลยและจำเลยร่วมย่อมชอบที่จะอ้างสิทธิอันมีมาก่อนเป็นข้อต่อสู้ได้โดยชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 103/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งสิทธิในที่ดิน การร้องเรียนต่อเจ้าพนักงาน และการแสดงสิทธิโดยผู้รับมรดก ถือเป็นเหตุให้เสนอคดีต่อศาลได้
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า สามีจำเลยเคยไปร้องเรียนต่อนายอำเภอว่าโจทก์บุกรุกเข้าครอบครองที่ดินตามตราจองของสามีจำเลย เพื่อจะคลุมเอาที่ดินของโจทก์เป็นของสามีจำเลยเสีย ดังนี้ ก็เป็นการโต้แย้งสิทธิเพื่อจะแย่งเอาที่ดินของโจทก์โดยชัดแจ้งอยู่แล้ว เมื่อสามีจำเลยตาย จำเลยเป็นผู้รับมรดกของสามี ยังมาแสดงสิทธิโดยขอให้โจทก์ออกไปจากที่ดินดังกล่าว แสดงความเป็นเจ้าของที่ดินของจำเลยสืบต่อจากสามีอีก การกระทำของจำเลยดังนี้ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของที่ดินเกิดขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยแล้ว การโต้แย้งสิทธินั้นไม่จำต้องถึงกับลงมือใช้กำลังกายเข้ายื้อแย่งหรือบุกรุกเข้าไปในที่ดิน เพียงการกระทำของสามีจำเลยที่ไปร้องเรียนต่อนายอำเภออันต่อเนื่องมาถึงการกระทำของจำเลยเท่าที่กล่าวในฟ้อง โจทก์ก็ชอบที่จะเสนอคดีต่อศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 เพื่อขจัดข้อโต้แย้งและแสดงสิทธิของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1028/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการอายัดที่ดินของผู้มีส่วนได้เสียตามพินัยกรรม และอำนาจของเจ้าพนักงานที่ดิน
ผู้มีสิทธิได้รับมรดกที่ดินตามพินัยกรรมของเจ้ามรดก.ย่อมมีส่วนได้เสียในที่ดินอันอาจจะฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียนหรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้จึงมีสิทธิขออายัดที่ดินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิให้ผู้จัดการมรดกซึ่งมีชื่อในโฉนดโอนขายที่ดินนั้นได้.
ประมวลกฎหมายที่ดิน ให้อำนาจเจ้าพนักงานที่ดินที่จะสั่งให้อายัดได้ตามที่เห็นสมควร. โดยพิจารณาจากหลักฐานและพฤติการณ์ที่ผู้ขออายัดแสดง. หาจำต้องทำการสอบสวนดุจสอบสวนการกระทำผิดอาญาไม่.
of 46