พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของห้างหุ้นส่วนและผู้ร่วมก่อตั้งในหนี้สินของโรงงาน
จำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ตั้งโรงงานแก้วขึ้นเพื่อผลิตขวดยาและเครื่องแก้วออกจำหน่ายหากำไรในระหว่างที่โรงงานแห่งนี้ยังมิได้จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 2 ได้ซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อนำไปใช้ในกิจการของโรงงานแล้วไม่ชำระราคาจำเลยที่ 3 ที่ 4 ต้องรับผิดหนี้ค่าซื้อสินค้านั้นร่วมกับจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1079 และต่อมาเมื่อโรงงานนั้นได้จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ก็ต้องร่วมรับผิดในหนี้รายนี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1606/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบสหกรณ์และการสืบสิทธิหนี้สิน: สิทธิของสหกรณ์ใหม่ไม่ต้องแจ้งการควบสหกรณ์แก่ลูกหนี้
เมื่อได้ควบสหกรณ์เข้ากันเป็นสหกรณ์ใหม่ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 โดยถูกต้องแล้ว สหกรณ์ใหม่ย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้สิน สิทธิและความรับผิดชอบของสหกรณ์เดิมที่ได้ควบเข้ากันทั้งสิ้น สหกรณ์ใหม่(โจทก์) ไม่จำต้องบอกกล่าวให้ลูกหนี้สหกรณ์เดิมทราบถึงการควบสหกรณ์เข้าด้วยกัน และย่อมได้ไปซึ่งสิทธิเป็นเจ้าหนี้ กรณีหาใช่เป็นการโอนหนี้ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 727/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดกแบ่งทรัพย์ช้าไม่ได้ละเมิด หากมีเหตุผลอันควรจากหนี้สินและข้อพิพาท
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามพินัยกรรมของ ท. ผู้ตายจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม ซึ่งตามข้อกำหนดพินัยกรรมได้กำหนดหน้าที่ของจำเลยให้จัดแบ่งทรัพย์มรดกโดยเร็ว การที่จำเลยโอนทรัพย์มรดกของ ท. ให้โจทก์เมื่อ 2เมษายน2516หลังจากที่ท. ตายเป็นเวลา 5 ปีเศษเป็นเพราะมรดกมีหนี้สินเกี่ยวพันกับบุคคลภายนอก และมีทรัพย์นอกพินัยกรรมบางอย่างรวมอยู่ด้วยจำเลยจำต้องยื่นคำร้องต่อศาลให้ตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกเสียก่อนในระหว่างจำเลยยื่นคำร้องจำเลยถูกทายาทและบุคคลภายนอกฟ้องอีก 4 คดี คดีหลังสุดได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อ 21 พฤศจิกายน2515 จำเลยต้องเสียเวลาต่อสู้คดีก็เพื่อรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของกองมรดก นอกจากนี้ปรากฏว่าที่ดินตาม น.ส.3 ที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกให้โจทก์ กับที่ดินมรดกบางแปลงมีหลักฐานไม่ตรงทะเบียนจำเลยต้องดำเนินการอีกหลายอย่าง จึงจัดการโอนได้เป็นที่เรียบร้อย ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อถ่วงเวลาแบ่งมรดกล่าช้าทำให้โจทก์เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2147/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์เจ้าหนี้ที่แท้จริงและการนำสืบพยานในคดีหนี้สิน สัญญาที่ไม่สมบูรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินกู้แก่โจทก์ตามสำเนาสัญญากู้ยืมเงินท้ายฟ้องพร้อมด้วยดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยกู้เงินโจทก์ ไม่เคยได้รับเงินใด ๆ จากโจทก์ จำเลยเคยกู้เงิน ผ. ต่อมา ผ.ต้องการหลักฐานการกู้ยืมแต่ไม่มีประสงค์จะมีชื่อในเอกสารจึงให้ลงชื่อโจทก์แทนไว้ สัญญากู้ท้ายฟ้องไม่สมบูรณ์ ไม่มีมูลหนี้ใด ๆ ระหว่างโจทก์จำเลย ทำขึ้นเพื่อปกปิดชื่อเจ้าหน้าหนี้ที่แท้จริงในนิตกรรมระหว่างจำเลยกับ ผ.เท่านั้น ทั้งจำเลยได้ชำระหนี้ให้ ผ.เรียบร้อยแล้ว ดังนี้ เท่ากับจำเลยอ้างว่าโจทก์มีชื่อเป็นผู้ให้กู้ในฐานะตัวแทน ผ. เจ้าหนี้ที่แท้จริงคือ ผ. และจำเลยได้ชำระหนี้รายนี้แก่ ผ. เจ้าหนี้ที่แท้จริงแล้ว มีเอกสารมาแสดง จำเลยมีสิทธิสืบพยานประกอบข้ออ้างของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการชำระหนี้ภาษีอากรในคดีล้มละลาย: เกิน 6 เดือน vs. ภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
แม้หนีภาษีอากรจะเป็นหนี้บุริมสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษและบัญญัติขึ้นภายหลังได้กำหนดลำดับสิทธิในการที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ไว้ตามมาตรา 130 จึงเป็นข้อยกเว้นจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไป ในการขอรับชำระหนี้ภาษีอากร จึงต้องถือตามพระราชบัญญัตินี้เป็นสำคัญ
ภาษีอากรถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) นั้นคือ ภาษีอากรที่ถึงกำหนดชำระระหว่าง 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั่นเอง มิได้รวมถึงภาษีอากรที่ได้ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แต่อย่างใด หนี้ภาษีการค้าที่ลูกค้าติดค้างอยู่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 130(6) คงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8) เท่านั้น
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 84, 85 ทวิ กำหนดให้ผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปมาตรา 86 กำหนดให้ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าชำระภาษีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 85 ทวิ และมาตรา 89 ทวิ วรรคสามบัญญัติว่า การคำนวณเงินเพิ่ม ฯลฯ ให้เริ่มนับเมื่อพ้นสิบห้าวันถัดจากเดือนภาษี ซึ่งหมายความว่าเงินเพิ่มนั้นจะเริ่มคิดคำนวณทันทีหลังจากที่ลูกหนี้ไม่ชำระภาษีการค้าภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หาใช่นับแต่ภายหลังที่เจ้าหนี้ได้แจ้งการประเมินภาษีไปยังลูกหนี้ แล้วลูกหนี้ไม่ชำระภาษีภายในกำหนด 30 วัน นับแต่เจ้าหนี้แจ้งการประเมินไม่ ฉะนั้นแม้เจ้าหนี้เพิ่งแจ้งการประเมินภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ก็ยังคงต้องรับผิดในเงินเพิ่มดังกล่าว
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ตรี บัญญัติว่า เบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้ถือว่าเป็นเงินภาษี และมาตรา 89 ทวิ บัญญัติให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ ฉะนั้น เงินเพิ่มที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้จึงต้องแยกพิจารณาเป็น 2 ตอน เงินเพิ่มสำหรับระยะเวลา 6 เดือนก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ รวมทั้งภาษีบำรุงเทศบาล เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) ส่วนเงินเพิ่มและภาษีบำรุงเทศบาลที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือน อยู่ในลำดับที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8)
ภาษีอากรถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) นั้นคือ ภาษีอากรที่ถึงกำหนดชำระระหว่าง 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั่นเอง มิได้รวมถึงภาษีอากรที่ได้ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แต่อย่างใด หนี้ภาษีการค้าที่ลูกค้าติดค้างอยู่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 130(6) คงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8) เท่านั้น
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 84, 85 ทวิ กำหนดให้ผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปมาตรา 86 กำหนดให้ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าชำระภาษีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 85 ทวิ และมาตรา 89 ทวิ วรรคสามบัญญัติว่า การคำนวณเงินเพิ่ม ฯลฯ ให้เริ่มนับเมื่อพ้นสิบห้าวันถัดจากเดือนภาษี ซึ่งหมายความว่าเงินเพิ่มนั้นจะเริ่มคิดคำนวณทันทีหลังจากที่ลูกหนี้ไม่ชำระภาษีการค้าภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หาใช่นับแต่ภายหลังที่เจ้าหนี้ได้แจ้งการประเมินภาษีไปยังลูกหนี้ แล้วลูกหนี้ไม่ชำระภาษีภายในกำหนด 30 วัน นับแต่เจ้าหนี้แจ้งการประเมินไม่ ฉะนั้นแม้เจ้าหนี้เพิ่งแจ้งการประเมินภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ก็ยังคงต้องรับผิดในเงินเพิ่มดังกล่าว
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ตรี บัญญัติว่า เบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้ถือว่าเป็นเงินภาษี และมาตรา 89 ทวิ บัญญัติให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ ฉะนั้น เงินเพิ่มที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้จึงต้องแยกพิจารณาเป็น 2 ตอน เงินเพิ่มสำหรับระยะเวลา 6 เดือนก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ รวมทั้งภาษีบำรุงเทศบาล เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) ส่วนเงินเพิ่มและภาษีบำรุงเทศบาลที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือน อยู่ในลำดับที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพันและสิทธิใหม่ทางหนี้สิน
โจทก์ทำเครื่องเฟอร์นิเจอร์ส่งให้จำเลยโดยจำเลยจัดอุปกรณ์หรือมอบเงินให้โจทก์จัดซื้อ และปรากฏว่ามีหนี้สินเกี่ยวค้างกันอยู่แล้วได้ไปคิดบัญชีกันที่สถานีตำรวจปรากฏว่าโจทก์เป็นหนี้จำเลย11,626 บาท และเจ้าหน้าที่ตำรวจได้บันทึกรายงานเบ็ดเสร็จประจำวันไว้มีใจความว่า ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงระงับข้อพิพาทเรื่องเกี่ยวกับการส่งตู้เฟอร์นิเจอร์โดยจำเลยได้ออกทุนค่าส่งวัตถุไปก่อนเพื่อให้โจทก์เป็นผู้ทำเครื่องเฟอร์นิเจอร์ส่งให้จำเลยได้ดำเนินกิจการมา 1 ปีเศษทั้งสองฝ่ายได้คิดบัญชีกันแล้ว แต่ปรากฏว่าโจทก์ยังคงค้างเงินอยู่ อีก 11,600 บาท และโจทก์ยอมรับว่าเป็นหนี้อยู่จริงทั้งสองฝ่ายจึงมาแจ้งไว้เป็นหลักฐานและลงชื่อทั้งสองฝ่ายไว้ถือว่าเป็นสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยด้วยใจสมัครมุ่งประสงค์จะระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับหนี้สินที่เกิดขึ้นในการค้าระหว่างโจทก์จำเลย และยังตกลงกันไม่ได้ให้เป็นการเสร็จไป โดยโจทก์ยอมรับว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าหนี้จำเลยดังที่กล่าวอ้างไว้ก่อนตกลงทำสัญญากับจำเลย และจำเลยยอมให้เป็นไปตามบัญชีบันทึกไว้กับยอมตัดเศษเงินที่โจทก์เป็นหนี้ออก อันเป็นการยอมผ่อนผันให้แก่กันจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 850 มีผลทำให้ข้อเรียกร้องของแต่ละฝ่ายที่มีอยู่ก่อนทำสัญญานั้นระงับสิ้นไป และจำเลยได้สิทธิขึ้นใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 852 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2517)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพันและสิทธิใหม่ทางกฎหมาย
โจทก์ทำเครื่องเฟอร์นิเจอร์ส่งให้จำเลยโดยจำเลยจัดอุปกรณ์หรือมอบเงินให้โจทก์จัดซื้อ และปรากฏว่ามีหนี้สินเกี่ยวค้างกันอยู่แล้วได้ไปคิดบัญชีกันที่สถานีตำรวจปรากฏว่าโจทก์เป็นหนี้จำเลย 11,626 บาท และเจ้าหน้าที่ตำรวจได้บันทึกรายงานเบ็ดเสร็จประจำวันไว้ มีใจความว่า ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงระงับข้อพิพาทเรื่องเกี่ยวกับการส่งตู้เฟอร์นิเจอร์โดยจำเลยได้ออกทุนค่าส่งวัตถุไปก่อนเพื่อให้โจทก์เป็นผู้ทำเครื่องเฟอร์นิเจอร์ส่งให้จำเลยได้ดำเนินกิจการมา 1 ปีเศษทั้งสองฝ่ายได้คิดบัญชีกันแล้ว แต่ปรากฏว่าโจทก์ยังคงค้างเงินอยู่อีก 11,600 บาท และโจทก์ยอมรับว่าเป็นหนี้อยู่จริงทั้งสองฝ่ายจึงมาแจ้งไว้เป็นหลักฐานและลงชื่อทั้งสองฝ่ายไว้ถือว่าเป็นสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยด้วยใจสมัครมุ่งประสงค์จะระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับหนี้สินที่เกิดขึ้นในการค้าระหว่างโจทก์จำเลย และยังตกลงกันไม่ได้ให้เป็นการเสร็จไปโดยโจทก์ยอมรับว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าหนี้จำเลยดังที่กล่าวอ้างไว้ก่อนตกลงทำสัญญากับจำเลย และจำเลยยอมให้เป็นไปตามบัญชีบันทึกไว้กับยอมตัดเศษเงินที่โจทก์เป็นหนี้ออก อันเป็นการยอมผ่อนผันให้แก่กันจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 มีผลทำให้ข้อเรียกร้องของแต่ละฝ่ายที่มีอยู่ก่อนทำสัญญานั้นระงับสิ้นไป และจำเลยได้สิทธิขึ้นใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 852 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2517)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3340/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อหนี้สินของกิจการค้าที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือข้าราชการ
กรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นกรมในรัฐบาล มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการสื่อสาร การไปรษณีย์โทรเลข วิทยุ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน มิได้มีวัตถุประสงค์ในการประกอบการค้า ส่วนร้านค้าขององค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขหรือ อ.ส.ค. ตั้งขึ้นโดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการขึ้นเป็นผู้ดำเนินงานพร้อมด้วยคณะกรรมการ และจัดตั้งร้านค้า อ.ส.ค.ขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือข้าราชการในกรมไปรษณีย์โทรเลขและประธานกรรมการแต่งตั้งผู้จัดการร้านค้า อ.ส.ค. แต่ร้านค้า อ.ส.ค.มิได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน และเป็นกิจการต่างหากมิได้อยู่ในวัตถุประสงค์และหน้าที่ของกรมไปรษณีย์โทรเลข เมื่อร้านค้า อ.ส.ค. มิใช่ราชการของกรมไปรษณีย์โทรเลข กรมไปรษณีย์โทรเลขจึงไม่ต้องร่วมรับผิดในหนี้สินของร้านค้า อ.ส.ค. (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 28/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทรับผิดชอบหนี้สินของกองมรดกตามกฎหมาย
เมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตาย มรดกของผู้นั้นย่อมตกทอดแก่ทายาทตามกฎหมาย
กองมรดกได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย รวมทั้งสิทธิและหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้
ผู้ตายเป็นหนี้โจทก์อยู่ และถึงแก่ความตายลง จำเลยซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายย่อมรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่อโจทก์ เจ้าหนี้กองมรดกมีสิทธิที่จะเรียกร้องบังคับเอาชำระหนี้จากทายาทโดยธรรมได้เท่าที่ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ทายาทนั้นได้รับ จำเลยจะได้รับมรดกของผู้ตายและผู้ตายจะมีมรดกหรือไม่ เป็นกรณีที่จะต้องไปว่ากล่าวในชั้นบังคับคดี
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 866/2508)
กองมรดกได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย รวมทั้งสิทธิและหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้
ผู้ตายเป็นหนี้โจทก์อยู่ และถึงแก่ความตายลง จำเลยซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายย่อมรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่อโจทก์ เจ้าหนี้กองมรดกมีสิทธิที่จะเรียกร้องบังคับเอาชำระหนี้จากทายาทโดยธรรมได้เท่าที่ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ทายาทนั้นได้รับ จำเลยจะได้รับมรดกของผู้ตายและผู้ตายจะมีมรดกหรือไม่ เป็นกรณีที่จะต้องไปว่ากล่าวในชั้นบังคับคดี
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 866/2508)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในหนี้สินของกองมรดก: ทายาทรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่
เมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตาย มรดกของผู้นั้นย่อมตกทอดแก่ทายาทตามกฎหมาย
กองมรดกได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย รวมทั้งสิทธิและหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้
ผู้ตายเป็นหนี้โจทก์อยู่ และถึงแก่ความตายลง จำเลยซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายย่อมรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่อโจทก์ เจ้าหนี้กองมรดกมีสิทธิที่จะเรียกร้องบังคับเอาชำระหนี้จากทายาทโดยธรรม ได้เท่าที่ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ทายาทนั้นได้รับ จำเลยจะได้รับมรดกของผู้ตายและผู้ตายจะมีมรดกหรือไม่ เป็นกรณีที่จะต้องไปว่ากล่าวในชั้นบังคับคดี
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 866/2508)
กองมรดกได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย รวมทั้งสิทธิและหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้
ผู้ตายเป็นหนี้โจทก์อยู่ และถึงแก่ความตายลง จำเลยซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายย่อมรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่อโจทก์ เจ้าหนี้กองมรดกมีสิทธิที่จะเรียกร้องบังคับเอาชำระหนี้จากทายาทโดยธรรม ได้เท่าที่ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ทายาทนั้นได้รับ จำเลยจะได้รับมรดกของผู้ตายและผู้ตายจะมีมรดกหรือไม่ เป็นกรณีที่จะต้องไปว่ากล่าวในชั้นบังคับคดี
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 866/2508)