คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หลอกลวง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 493 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงลงทุนสลากกินแบ่ง: ร่วมกันหลอกลวงประชาชนด้วยข้อมูลเท็จและเจตนาทุจริต
จำเลยนำความไปบอกกล่าวแก่ประชาชนว่า จำเลยได้รับโควต้าสลากกินแบ่งฯ มาเป็นจำนวนพัน ๆ เล่ม และแสดงตนว่าเป็นคนมีฐานะการเงินดี ซึ่งไม่เป็นความจริง ความจริงจำเลยซื้อสลากกินแบ่งฯมาจากที่อื่นโดยยอมขาดทุนแล้วนำไปขายให้แก่ผู้รับซื้อไปจำหน่ายโดยให้ส่วนลดเล่มละ 8 บาทต่องวดที่ออกสลาก แต่ผู้รับซื้อจะต้องนำเงินลงทุนมามอบให้จำเลยไว้เป็นจำนวน 2 เท่าของราคาสลากกินแบ่งฯที่รับไปจำหน่าย เมื่อผู้มาลงทุนเลิกการรับไปจำหน่าย จำเลยจะคืนเงินให้ทั้งหมด แล้วจำเลยออกหนังสือแสดงการรับเงินหรือออกเช็คที่นำไปขึ้นเงินไม่ได้ให้ไว้ จนมีผู้นำเงินมาลงทุนกับจำเลยเป็นจำนวนมากแล้วจำเลยก็หลบหนีไป ไม่มีการจ่ายส่วนลด และไม่จ่ายเงินที่นำมาลงทุนคืนให้ ดังนี้ การกระทำของจำเลยปรับได้ว่าเป็นการหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความเท็จโดยเจตนาทุจริต ทำให้จำเลยได้ไปซึ่งเงินที่มีผู้นำมาลงทุน จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยต้องกันมาแล้วว่า จำเลยออกเช็คโดยเซ็นชื่อให้ผิดไปจากตัวอย่างที่ให้ไว้กับธนาคาร ออกเช็คให้มีจำนวนเงินสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในธนาคาร เพื่อใช้เงินทุนเมื่อขอคืนทั้งนี้โดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น การที่จำเลยฎีกาว่าเป็นการออกเช็คเพื่อประกันหนี้ มิใช่ออกให้เพื่อชำระหนี้ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
เมื่อทรัพย์ของกลางเป็นของจำเลยที่ 1 เป็นทรัพย์ที่ยึดอายัดไว้เป็นพยานหลักฐานในคดี ทั้งยังฟังไม่ได้ความชัดว่าเป็นทรัพย์ที่ใช้หรือได้มาจากการกระทำผิด คำขอของโจทก์ที่ขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์ของกลางนี้ให้แก่ผู้เสียหาย จึงไม่ใช่คำขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ผู้เสียหายได้สูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดตามมาตรา 43 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่ให้อำนาจพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญาขอหรือเรียกร้องแทนผู้เสียหายได้
ในระหว่างพิจารณาศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะตัวจำเลยเพราะจำเลยถึงแก่กรรม คำขอใด ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำผิดทางอาญาของจำเลยย่อมเป็นอันสิ้นสภาพไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงลงทุนสลากกินแบ่ง ศาลฎีกายืนตัดสิน จำเลยร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหาย
จำเลยนำความไปบอกกล่าวแก่ประชาชนว่า จำเลยได้รับโควต้าสลากกินแบ่งฯ มาเป็นจำนวนพัน ๆ เล่ม และแสดงตนว่าเป็นคนมีฐานะการเงินดี ซึ่งไม่เป็นความจริง ความจริงจำเลยซื้อสลากกินแบ่งฯมาจากที่อื่นโดยยอมขาดทุนแล้วนำไปขายให้แก่ผู้รับซื้อไปจำหน่ายโดยให้ส่วนลดเล่มละ 8 บาทต่องวดที่ออกสลาก แต่ผู้รับซื้อจะต้องนำเงินลงทุนมามอบให้จำเลยไว้เป็นจำนวน 2 เท่าของราคาสลากกินแบ่งฯที่รับไปจำหน่าย เมื่อผู้มาลงทุนเลิกการรับไปจำหน่าย จำเลยจะคืนเงินให้ทั้งหมด แล้วจำเลยออกหนังสือแสดงการรับเงินหรือออกเช็คที่นำไปขึ้นเงินไม่ได้ให้ไว้ จนมีผู้นำเงินมาลงทุนกับจำเลยเป็นจำนวนมากแล้วจำเลยก็หลบหนีไป ไม่มีการจ่ายส่วนลด และไม่จ่ายเงินที่นำมาลงทุนคืนให้ ดังนี้ การกระทำของจำเลยปรับได้ว่าเป็นการหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความเท็จโดยเจตนาทุจริต ทำให้จำเลยได้ไปซึ่งเงินที่มีผู้นำมาลงทุน จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยต้องกันมาแล้วว่า จำเลยออกเช็คโดยเซ็นชื่อให้ผิดไปจากตัวอย่างที่ให้ไว้กับธนาคาร ออกเช็คให้มีจำนวนเงินสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในธนาคาร เพื่อใช้เงินทุนเมื่อขอคืนทั้งนี้โดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น การที่จำเลยฎีกาว่าเป็นการออกเช็คเพื่อประกันหนี้ มิใช่ออกให้เพื่อชำระหนี้ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
เมื่อทรัพย์ของกลางเป็นของจำเลยที่ 1 เป็นทรัพย์ที่ยึดอายัดไว้เป็นพยานหลักฐานในคดี ทั้งยังฟังไม่ได้ความชัดว่าเป็นทรัพย์ที่ใช้หรือได้มาจากการกระทำผิด คำขอของโจทก์ที่ขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์ของกลางนี้ให้แก่ผู้เสียหาย จึงไม่ใช่คำขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ผู้เสียหายได้สูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดตามมาตรา 43 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่ให้อำนาจพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญาขอหรือเรียกร้องแทนผู้เสียหายได้
ในระหว่างพิจารณาศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะตัวจำเลยเพราะจำเลยถึงแก่กรรม คำขอใดๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำผิดทางอาญาของจำเลยย่อมเป็นอันสิ้นสภาพไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีหลอกลวงผู้ซื้อ: โจทก์ต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรง
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 271 บัญญัติให้เอาผิดแก่ผู้ขายของโดยหลอกลวงให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือปริมาณอันเป็นเท็จ ผู้เสียหายในความผิดฐานนี้คือผู้ซื้อ เมื่อโจทก์มิใช่เป็นผู้ซื้อ จึงมิใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องคดีขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรานี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 863/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงเพื่อประกันตัวและการใช้เอกสารสิทธิโดยมิชอบ ถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
คำว่า 'โดยทุจริต' หมายความว่า เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองและผู้อื่น การที่จำเลยทั้งสองสมคบหลอกลวงโจทก์โดยจำเลยที่ 2 แสดงตนต่อโจทก์ว่าเป็นนายเชวง แซ่ภู่เจ้าของที่ดินตาม น.ส.3. จนโจทก์หลงเชื่อทำหนังสือรับรองทรัพย์ยื่นขอประกันตัวนายกุหลาบต่อศาลนั้น แม้จะไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับประโยชน์เป็นทรัพย์สินแต่อย่างใดก็ตาม ก็ทำให้นายกุหลาบได้รับประโยชน์จากการใช้หนังสือรับรองทรัพย์นั้นอ้างต่อศาลจนได้รับประกันตัวไป ซึ่งย่อมถือว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์สำหรับผู้อื่นอันเป็นการกระทำโดยทุจริตเช่นกัน
คำว่า 'เอกสารสิทธิ' ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 1(9) นั้นมุ่งหมายถึงเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งซึ่งสิทธิหรือหนี้สินและเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการเปลี่ยนแปลง โอนหรือระงับซึ่งสิทธิหรือหนี้สินทุกอย่าง หนังสือรับรองทรัพย์ที่ยื่นขอประกันตัวจำเลยต่อศาลซึ่งผู้ยื่นหนังสือดังกล่าวรับรองต่อศาลว่า หลักทรัพย์ตามบัญชีคำร้องขอประกันเป็นของผู้ขอประกัน หากบังคับแก่ทรัพย์ตามสัญญาประกันไม่ได้หรือได้ไม่ครบ ผู้ทำหนังสือรับรองทรัพย์ยอมรับผิดใช้เงินจนครบ ซึ่งเท่ากับเป็น หนังสือค้ำประกันผู้ขอประกันตัวอีกชั้นหนึ่งนั้นเป็นเอกสารสิทธิตามความหมายแห่งบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 863/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงเพื่อประกันตัว: 'โดยทุจริต' และ 'เอกสารสิทธิ' ตามประมวลกฎหมายอาญา
คำว่า 'โดยทุจริต' หมายความว่า เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองและผู้อื่น การที่จำเลยทั้งสองสมคบหลอกลวงโจทก์โดยจำเลยที่ 2 แสดงตนต่อโจทก์ว่าเป็นนายเชวงแซ่ภู่ เจ้าของที่ดินตาม น.ส.3. จนโจทก์หลงเชื่อทำหนังสือรับรองทรัพย์ยื่นขอประกันตัวนายกุหลาบต่อศาลนั้น แม้จะไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับประโยชน์เป็นทรัพย์สินแต่อย่างใดก็ตาม ก็ทำให้นายกุหลาบได้รับประโยชน์จากการใช้หนังสือรับรองทรัพย์นั้นอ้างต่อศาลจนได้รับประกันตัวไป ซึ่งย่อมถือว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์สำหรับผู้อื่นอันเป็นการกระทำโดยทุจริตเช่นกัน
คำว่า 'เอกสารสิทธิ' ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 1(9) นั้นมุ่งหมายถึงเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งซึ่งสิทธิหรือหนี้สินและเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการเปลี่ยนแปลง โอนหรือระงับซึ่งสิทธิหรือหนี้สินทุกอย่าง หนังสือรับรองทรัพย์ที่ยื่นขอประกันตัวจำเลยต่อศาลซึ่งผู้ยื่นหนังสือดังกล่าวรับรองต่อศาลว่า หลักทรัพย์ตามบัญชีคำร้องขอประกันเป็นของผู้ขอประกัน หากบังคับแก่ทรัพย์ตามสัญญาประกันไม่ได้หรือได้ไม่ครบ ผู้ทำหนังสือรับรองทรัพย์ยอมรับผิดใช้เงินจนครบ ซึ่งเท่ากับเป็นหนังสือค้ำประกันผู้ขอประกันตัวอีกชั้นหนึ่งนั้นเป็นเอกสารสิทธิตามความหมายแห่งบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 798/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฉ้อโกง: เริ่มนับเมื่อรู้ถูกหลอก ไม่ใช่นับจากวันที่กรรมสิทธิ์โอน
ผู้ซื้อฝากที่ดินเพิ่งรู้ว่าถูกผู้ขายฝากฉ้อโกง (โดยนำที่ดินของผู้อื่นมาขายฝาก)เมื่อพ้นกำหนดไถ่แล้ว ดังนี้ อายุความ (3 เดือน) ขอให้ดำเนินคดีเริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้ซื้อฝากรู้เรื่องว่าตนถูกฉ้อโกง มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ขายฝากตกเป็นของผู้ซื้อฝาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 798/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฉ้อโกง: เริ่มนับเมื่อรู้ถูกหลอกลวง ไม่ใช่นับจากวันที่กรรมสิทธิ์เปลี่ยนมือ
ผู้ซื้อฝากที่ดินเพิ่งรู้ว่าถูกผู้ขายฝากฉ้อโกง (โดยนำที่ดินของผู้อื่นมาขายฝาก)เมื่อพ้นกำหนดไถ่แล้ว ดังนี้ อายุความ (3 เดือน) ขอให้ดำเนินคดีเริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้ซื้อฝากรู้เรื่องว่าตนถูกฉ้อโกง มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ขายฝากตกเป็นของผู้ซื้อฝาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ร่วมกับผู้อื่นหลอกลวงให้ลงชื่อในสัญญา ก่อให้เกิดความเสียหาย
นายอำเภอสั่งให้จำเลยที่ 1 จัดการเรื่องเพิกถอนการร้องขอขายที่ดินจัดการใส่ชื่อบุตรโจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของที่ดินจำเลยที่ 1 ก็ไม่ยอมปฏิบัติ กลับพูดจาเป็นทำนองขู่เข็ญโจทก์ ยิ่งกว่านั้นยังร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 พูดหลอกลวงโจทก์ให้ลงชื่อเป็นพยานในสัญญากู้เงินระหว่างจำเลยที่ 2 ที่ 3 โดยบอกว่าเป็นการถอนเรื่องการซื้อขาย โอนชื่อให้เด็กได้จึงเป็นการส่อแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่ 1 ว่า ตั้งใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เพราะโจทก์โอนที่ดินให้บุตรไม่ได้ และถ้าโจทก์ไม่ทราบถึงการหลอกลวงของจำเลยทั้งสามคนหลงเชื่อตามเมื่อเวลาเนิ่นนานออกไป สิทธิที่โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ปฏิบัติตามสัญญาหย่าอาจขาดอายุความได้ นอกจากนั้น จำเลยทั้งสามยังร่วมกันก่อให้เกิดภาระผูกพันกับที่ดินโดยนำที่ดินไปเป็นหลักประกันในสัญญากู้เงินและการกระทำของจำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต จำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1แต่มิได้เป็นเจ้าพนักงานจึงมีความผิดฐานสนับสนุนการกระทำผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ร่วมกับผู้อื่นหลอกลวงให้ลงนามในสัญญา ทำให้เกิดความเสียหาย
นายอำเภอสั่งให้จำเลยที่ 1 จัดการเรื่องเพิกถอนการร้องขอขายที่ดินจัดการใส่ชื่อบุตรโจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของที่ดิน. จำเลยที่ 1 ก็ไม่ยอมปฏิบัติ. กลับพูดจาเป็นทำนองขู่เข็ญโจทก์. ยิ่งกว่านั้นยังร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 พูดหลอกลวงโจทก์ให้ลงชื่อเป็นพยานในสัญญากู้เงินระหว่างจำเลยที่ 2 ที่ 3. โดยบอกว่าเป็นการถอนเรื่องการซื้อขาย โอนชื่อให้เด็กได้. จึงเป็นการส่อแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่ 1 ว่า ตั้งใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ. และเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เพราะโจทก์โอนที่ดินให้บุตรไม่ได้. และถ้าโจทก์ไม่ทราบถึงการหลอกลวงของจำเลยทั้งสามคนหลงเชื่อตาม.เมื่อเวลาเนิ่นนานออกไป สิทธิที่โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ปฏิบัติตามสัญญาหย่าอาจขาดอายุความได้. นอกจากนั้น จำเลยทั้งสามยังร่วมกันก่อให้เกิดภาระผูกพันกับที่ดิน โดยนำที่ดินไปเป็นหลักประกันในสัญญากู้เงิน. และการกระทำของจำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต. จำเลยที่ 2 ที่ 3ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1. แต่มิได้เป็นเจ้าพนักงาน. จึงมีความผิดฐานสนับสนุนการกระทำผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 340/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฉ้อโกงโดยการเปิดรับสมัครงานหลอกลวง และการฟ้องซ้ำที่มิได้เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกัน
จำเลยวางแผนประกาศทางหนังสือพิมพ์รายวันเปิดรับสมัครบุคคลมาทำงานกับบริษัท. เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อมาสมัครทำงาน. โดยวางอัตราค่าจ้างเงินเดือนสูง ว่างระเบียบให้ต้องซื้อหุ้นอย่างน้อยหนึ่งหุ้นเป็นเงิน 900 บาท. บริษัทตั้งขึ้นแล้ว. จำเลยก็มิได้ดำเนินกิจการค้าดังวัตถุประสงค์แต่อย่างใด. สินค้าในบริษัทก็ไม่มี. ธุรกิจที่จะมอบหมายให้ผู้สมัครรับจ้างปฏิบัติก็ไม่มี. ถือได้ว่าจำเลยก่อตั้งบริษัท ดำเนินการด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนเพื่อหลอกลวงประชาชน. จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343.
เมื่อผู้เสียหายคนหนึ่งฟ้องคดีเกี่ยวกับการฉ้อโกงของจำเลยดังกล่าวแล้ว. โจทก์ฟ้องจำเลยฐานฉ้อโกงผู้เสียหายคนอื่นในกรณีนี้อีกได้. เพราะผู้เสียหายเป็นคนละคนต่างถูกหลอกลวงคนละวันคนละเวลา. จำนวนเงินที่ถูกหลอกแตกต่างกัน. ตำแหน่งงานที่จะจ้างผู้เสียหายไม่เหมือนกัน. จึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระ. มิใช่เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกัน. (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4-5-6/2512).
of 50