คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจตนาทุจริต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 431 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 979/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดยักยอก: การกระทำต้องแสดงการเบียดบังทรัพย์โดยทุจริต ไม่ใช่แค่การไม่ยอมไถ่คืน
โจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานยักยอกระบุการกระทำที่เป็นความผิดเฉพาะแต่ตอนที่ว่า "เจ้าทรัพย์ได้ไปขอไถ่แหวนเพชรที่จำนำจำเลยไว้จำเลยไม่ยอมให้ไถ่" เช่นนี้ ไม่เป็นการแสดงว่าจำเลยเบียดบังที่จะเอาทรัพย์(แหวนเพชร)นั้นเป็นของตนโดยทุจริต หากเป็นแต่เพียงแสดงว่าจำเลยผิดสัญญาในทางแพ่งเท่านั้น ส่วนข้อความที่บรรยายในฟ้องตอนต้นที่ว่า "จำเลยมีเจตนาทุจริตเบียดบังเอาแหวนเพชรซึ่งได้รับจำนำไว้เป็นประโยชน์ของตนเสีย" นั้น เป็นเพียงข้อความที่แสดงเจตนาของจำเลยว่าจะยักยอกทรัพย์เท่านั้น หาใช่การกระทำไม่
เมื่อฟ้องของโจทก์ระบุการกระทำผิดแต่เพียงว่าเจ้าทรัพย์ได้ไปขอไถ่แหวนเพชรที่จำนำจำเลยไว้ จำเลยไม่ยอมให้ไถ่ เช่นนี้ โจทก์จะนำสืบถึงการกระทำอย่างอื่นเพื่อแสดงว่าจำเลยเบียดบังเอาแหวนเพชรเป็นของตนก็ย่อมไม่ได้ เพราะเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
เมื่อฟ้องของโจทก์แม้จะสืบได้ความก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ก็แสดงให้เห็นว่าเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์มาแต่ต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหุ้นส่วนทำเสาโทรเลขและการยักยอกทรัพย์ การรับเงินแทนโดยไม่แบ่งปันไม่ถือเป็นเจตนาทุจริต
ข้อเท็จจริงฟังได้แต่เพียงว่าโจทก์เป็นผู้ประมูลซื้อเสาโทรเลขให้แก่กรมไปรษณีย์โทรเลขแล้วโจทก์กับจำเลยเข้าหุ้นกันทำเสาส่งและจำเลยเป็นผู้เข้าทำสัญญากับกรมไปรษณีย์โทรเลขเสียเองโจทก์มิได้มอบหมายให้จำเลยทำการแทนหรือรับมอบเงินแทน เมื่อจำเลยได้รับเงินมาแล้วเพิกเฉยยังไม่แบ่งปันให้โจทก์ เพียงเท่านี้จะถือว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตเบียดบังเอาทรัพย์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาและการพิสูจน์เจตนาทุจริต
มีเจตนาทุจริตหรือไม่นั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ป.พ.พ. มาตรา 185 เป็นบทบัญญัติเรื่องการขยายอายุความที่จะสิ้นสุดลงในระหว่างเป็นสามีภริยากันอยู่ให้ขยายต่อไปอีก 1 ปีไม่ใช่เป็นเรื่องว่าถ้าทรัพย์ระหว่างสามีภริยาตกอยู่แก่ฝ่ายใดเกิน 1 ปีแล้ว ฝ่ายนั้นจะได้กรรมสิทธิ์ ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่จะต้องแบ่งตาม ป.พ.พ. ม.1512 นั้นไม่มีกำหนดเวลาระบุไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปีตาม ม.164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตเป็นข้อเท็จจริง, อายุความแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
มีเจตนาทุจริตหรือไม่นั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 185 เป็นบทบัญญัติเรื่องการขยายอายุความที่จะสิ้นสุดลงในระหว่างเป็นสามีภริยากันอยู่ให้ขยายต่อไปอีก 1 ปี ไม่ใช่เป็นเรื่องว่าถ้าทรัพย์ระหว่างสามีภริยาตกอยู่แก่ฝ่ายใดเกิน 1 ปีแล้ว ฝ่ายนั้นจะได้กรรมสิทธิ์ ทรัพย์สินระหว่างสามีที่จะต้องแบ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม.1512 นั้นไม่มีกำหนดเวลาระบุไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ม.164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 702/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดิน: โจทก์ต้องพิสูจน์กรรมสิทธิ์และเจตนาทุจริตของผู้รับซื้อ
เมื่อโจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 - 2 โจทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความชัดว่า ที่ดินและห้องพิพาทเป็นของโจทก์ครอบครองมาจนได้กรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย และจำเลยที่ 2 รับซื้อไว้โดยไม่สุจริต เมื่อ โจทก์มิได้จดทะเบียนสิทธิของโจทก์ไว้ตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 1299 โจทก์ก็ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกคือ จำเลยที่ 2 ผู้รับโอนที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนสิทธิไว้แล้วนั้นได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่? และเจตนาทุจริตในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเกินอัตรา
ฟ้องว่า จำเลย 4 คน สมคบกันกระทำผิด ไม่จำต้องแยกกล่าวว่าจำเลยคนไหน กระทำอย่างไร ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1997/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คก่อนมี พ.ร.บ. เช็ค และไม่มีเจตนาทุจริตหลัง พ.ร.บ. มีผลบังคับใช้ ไม่เป็นความผิด
จำเลยออกเช็คก่อนมี พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 สั่งจ่ายเงินให้แก่โจทก์ใน วันที่ 31 ธันวาคม 2497 แต่เมื่อมี พ.ร.บ. นี้แล้วก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ออกเช็คผิดเงื่อนไขตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ถอนเงินทั้งหมดหรือบางส่วนออกจากบัญชี หรือห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้น โดยเจตนาทุจริตภายหลัง เช่นนี้ จำเลยก็ยังไม่มีผิดตาม พ.ร.บ.นี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1997/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตออกเช็ค – ไม่มีผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค หากไม่มีหลักฐานการกระทำผิดหลังมีกฎหมาย
จำเลยออกเช็คก่อนมี พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 สั่งจ่ายเงินให้แก่โจทก์ในวันที่ 31 ธันวาคม 2497 แต่เมื่อมีพระราชบัญญัตินี้แล้วก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ออกเช็คผิดเงื่อนไขตามมาตรา 3 แห่ง พระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ถอนเงินทั้งหมดหรือบางส่วนออกจากบัญชี หรือห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริตภายหลัง เช่นนี้ จำเลยก็ยังไม่มีผิดตามพระราชบัญญัตินี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักลอบนำทองคำเข้าประเทศ แม้ยังมิได้นำขึ้นจากเรือ หากมีเจตนาทุจริตก็ถือเป็นความผิด
การที่จำเลยซึ่งเป็นอินยิเนียร์เรือมีทองไว้ในครอบครองมากเกินจะเป็นของใช้ส่วนตัว ซึ่งทองนี้ซุกไว้ในโต๊ะทำงานของจำเลยในเรือซึ่งเข้ามาสู่ประเทศไทยจากต่างประเทศ เป็นการส่อว่าจำเลยไม่สุจริตในการพาเข้ามาในประเทศเมื่อมีกฎหมายศุลกากรบัญญัติให้ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงาน จำเลยไม่แจ้ง แม้จำเลยจะยังมิได้เอาทองเคลื่อนย้ายออกจากเรือเพื่อนำขึ้นบก ก็ถือว่าจำเลยกระทำผิด ฐานพาทองอันเป็นของต้องห้ามเข้ามาในประเทศ โดยมิได้รับอนุญาตแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักลอบนำทองคำเข้าประเทศโดยเจตนาทุจริต แม้ยังมิได้นำขึ้นจากเรือ ถือเป็นความผิดตามกฎหมายศุลกากร
การที่จำเลยซึ่งเป็นอินยิเนียร์เรือมีทองไว้ในครอบครองมากเกินจะเป็นของใช้ส่วนตัว ซึ่งทองนี้ซุกไว้ในโต๊ะทำงานของจำเลยในเรือซึ่งเข้ามาสู่ประเทศไทยจากต่างประเทศ เป็นการส่อว่าจำเลยไม่สุจริตในการพาเข้ามาในประเทศ เมื่อมีกฎหมายศุลกากรบัญญัติให้ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงาน จำเลยไม่แจ้ง แม้จำเลยจะยังมิได้เอาทองเคลื่อนย้ายออกจากเรือเพื่อนำขึ้นบก ก็ถือว่าจำเลยกระทำผิดฐานพาทองอันเป็นของต้องห้ามเข้ามาในประเทศโดยมิได้รับอนุญาตแล้ว
of 44