พบผลลัพธ์ทั้งหมด 365 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 784/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการแก้ไขคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์: การแก้อาญาแผ่นดินที่ถือว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยหรือไม่
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยตาม ก.ม.อาญา ม.246,++6 และ 298 จำคุก 2 ปีศาลอุทธรณ์แก้ให้ลงโทษตาม ม.276 แต่บทเดียวจำคุก+เดือนและให้รอการลงอาญาไว้ดังนี้เป็นแก้มากฎีกาในข้อเท็จจริงได้
คดีอาญาศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยตาม ม.246,+76 จำคุก 6 เดือนและรอการลงอาญาไว้ ศาลอุทธรณ์แก้ให้ลงโทษตาม ม.276 แต่บทเดียวกำหนดโทษคงเดิม ดังนี้เป็นแก้น้อยฎีกาในข้อเท็จจริงมิได้
คดีอาญาศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยตาม ม.246,+76 จำคุก 6 เดือนและรอการลงอาญาไว้ ศาลอุทธรณ์แก้ให้ลงโทษตาม ม.276 แต่บทเดียวกำหนดโทษคงเดิม ดังนี้เป็นแก้น้อยฎีกาในข้อเท็จจริงมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาหลังอ่านแล้วจำกัดเฉพาะการแก้ไขถ้อยคำผิดพลาดเท่านั้น การร้องขอนับโทษจากคดีอื่นหลังพิพากษาจึงไม่อาจทำได้
คำพิพากษาซึ่งได้อ่านแล้วนั้นจะแก้ไขอย่างอื่นนอกจากแก้ถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาดมิได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์และให้นับโทษ+จากคดีเรื่อหนึ่ง ศาลได้พิพากษาให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์แล้ว ภายหลังโจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ศาลนับโทษจำเลยต่อจากอีกคดีหนึ่งมิได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์และให้นับโทษ+จากคดีเรื่อหนึ่ง ศาลได้พิพากษาให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์แล้ว ภายหลังโจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ศาลนับโทษจำเลยต่อจากอีกคดีหนึ่งมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 835/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตดุลยพินิจศาลในการกำหนดโทษปรับ และการแก้ไขคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ปรับจำเลย 10 สตางค์ตามมาตรา 339 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ปรับ 1 บาทตาม ม.339-59 ดังนี้เป็นแก้น้อย ฎีกาไม่ได้ต้องห้ามตาม ม.218
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาในข้อหาข่มขืน: การเปลี่ยนแปลงทั้งตัวบทและอัตราโทษ
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลย 3 ปีตาม ม.276 -243 ศาลอุทธรณ์แก้จำคุกจำเลย 1 ปี 6 เดือน ตามมาตรา 243 แต่บทเดียวเป็นการแก้มากฎีกาในข้อเท็จจริงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 297-298/2475
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการแก้ไขคำพิพากษาจำกัดเฉพาะประเด็นที่คู่ความอุทธรณ์/ฎีกา การบังคับสัญญาซื้อขายที่ดินต้องคำนึงถึงสิทธิผู้อื่น
ซื้อขาย วิธีพิจารณาแพ่ง สัญญาขายที่ดินที่มีชื่อผู้อื่นซึ่งไม่ใช่คู่สัญญาอยู่ในโฉนดด้วย ศาลไม่บังคับให้ขายถ้าอาจเกิดเสียหายได้
ค่าเสียหาย ศาลให้คืน+เงินราคากับดอกเบี้ย ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจแก้คำพิพากษาศาลเดิมในข้อที่โทก์ไม่อุทธรณ์ขึ้นมา
ค่าเสียหาย ศาลให้คืน+เงินราคากับดอกเบี้ย ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจแก้คำพิพากษาศาลเดิมในข้อที่โทก์ไม่อุทธรณ์ขึ้นมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องสินสมรสและสินเดิม การแก้ไขคำพิพากษาเล็กน้อยไม่เข้าข่ายฎีกา
ผัวเมีย สินเดิม สินสมรส พ.ร.บ. ฎีกาอุทธรณ์ ม. 4 แก้มากแก้น้อย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 682/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่มีปัญหาข้อกฎหมาย: ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาเรื่องค่าเสียหาย
ฎีกาเรื่องค่าเสียหายไม่เปนปัญหาข้อกฎหมายฎีกาอุทธรณ์แก้เล็กน้อย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อจากคดีก่อนหน้าเมื่อศาลพิพากษาต่อเนื่องกัน ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้เป็นไปตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาคดีนี้และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1757/2555 ของศาลชั้นต้นในวันเดียวกันและต่อเนื่องกัน โดยพิพากษาคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1757/2555 ของศาลชั้นต้นก่อน ต่อจากนั้นจึงพิพากษาคดีนี้ โจทก์ย่อมไม่อาจแถลงต่อศาลชั้นต้นได้ว่า คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1757/2555 ของศาลชั้นต้นนั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาอย่างไร ถือได้ว่าความปรากฏต่อศาลชัดแจ้งแล้วว่า คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1757/2555 ของศาลชั้นต้นนั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย ไม่จำต้องให้โจทก์แถลงต่อศาลซ้ำอีก จึงนับโทษต่อได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9897/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาต้องไม่กลับคำวินิจฉัยเดิม การยึดทรัพย์สินบังคับคดีเพิ่มเติมต้องใช้วิธีอุทธรณ์
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 143 นั้น การที่ศาลจะมีคำสั่งเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงในคำพิพากษาได้จะต้องไม่เป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม เมื่อศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้ตรวจคำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเทียบกับรายการที่ต้องมีในคำพิพากษาตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 141 แล้ว พบว่าคำพิพากษาของศาลดังกล่าวในหน้า 2 ตั้งแต่ข้อความว่า "พิเคราะห์พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบแล้ว คดีฟังได้ว่า" ถึงหน้า 7 บรรทัดที่ 7 สิ้นสุดที่ข้อความว่า "และประกาศของโจทก์เอกสารหมาย จ.24 ถึง จ.26" เป็นส่วนของเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบ ส่วนหน้า 7 บรรทัดที่ 7 ตั้งแต่ข้อความว่า "คดีฟังได้ดังกล่าว" จนสิ้นสุดบรรทัดที่ 11 นั้นเป็นส่วนของเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเกี่ยวกับข้อกฎหมาย หลังจากที่ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามข้อความก่อนหน้านี้ ตามรายการในพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 141 (4) ส่วนข้อความในหน้า 7 ตั้งแต่ข้อความว่า "พิพากษาให้..." เป็นต้นไปจนจบนั้นเป็นส่วนของคำวินิจฉัยของศาลตามรายการในพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 141 (5) ซึ่งเมื่อพิจารณารายละเอียดในส่วนของพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 141 (4) ดังกล่าวแล้ว ไม่ปรากฏว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้กล่าววินิจฉัยไว้โดยชัดแจ้งเป็นการเฉพาะเกี่ยวกับอำนาจของโจทก์ที่จะยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งห้า หลังจากการบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ ว่าจะสามารถยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งห้าเพื่อบังคับคดีได้อีกหรือไม่ และเมื่อพิจารณารายละเอียดต่อไปในส่วนของพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 141 (5) ก็ไม่ปรากฏเช่นกันว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้วินิจฉัยให้โจทก์มีอำนาจยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งห้าเพื่อบังคับคดีได้อีก ดังนั้น คำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางทั้งสองส่วนจึงสอดคล้องกัน ไม่ใช่เรื่องที่คำพิพากษาเกิดข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมในภายหลังโดยอาศัยพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 143 แต่โจทก์ต้องใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา 38 เมื่อโจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ คำพิพากษาดังกล่าวจึงถึงที่สุดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6551/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน, บุกรุกเคหสถาน, ผู้สนับสนุนการกระทำความผิด, และการแก้ไขคำพิพากษาตามอำนาจศาลฎีกา
ผู้เสียหายกับจำเลยรู้จักกันมาก่อนและผู้เสียหายรู้ว่าจำเลยมิได้เป็นเจ้าพนักงาน วันเกิดเหตุจำเลยมิได้แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานเพียงแต่อ้างว่าพวกของจำเลยเป็นเจ้าพนักงาน การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานและกระทำการเป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อ. มาตรา 145 วรรคแรก แต่การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานร่วมกันแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานและกระทำการเป็นเจ้าพนักงาน ซึ่งศาลลงโทษจำเลยได้เพราะมิได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225