คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่เป็นธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 476 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4085/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินหญิงเนื่องจากตั้งครรภ์ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างในตำแหน่งพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินหญิง ตามสัญญาและข้อบังคับของจำเลยมิได้มีข้อกำหนดว่า พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินหญิงจะทำการสมรสมิได้ หรือหากตั้งครรภ์ต้องออกจากงาน การที่จำเลยได้ออกข้อบังคับในเวลาต่อมาว่า พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินหญิงเมื่อตั้งครรภ์แล้วให้ออกจากงาน เป็นการเพิ่มเหตุให้ออกจากงาน ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างในตำแหน่งนี้จำเลยออกข้อบังคับมาเองโดยมิได้มีข้อเรียกร้องของฝ่ายใด จึงไม่อาจใช้บังคับได้ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20เมื่อระหว่างเป็นลูกจ้างในตำแหน่งดังกล่าว โจทก์ทำการสมรสและต่อมาตั้งครรภ์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4085/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินหญิงเนื่องจากตั้งครรภ์ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างในตำแหน่งพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินหญิงตามสัญญาและข้อบังคับของจำเลยมิได้มีข้อกำหนดว่าพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินหญิงจะทำการสมรสมิได้หรือหากตั้งครรภ์ต้องออกจากงานการที่จำเลยได้ออกข้อบังคับในเวลาต่อมาว่าพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินหญิงเมื่อตั้งครรภ์แล้วให้ออกจากงานเป็นการเพิ่มเหตุให้ออกจากงานไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างในตำแหน่งนี้จำเลยออกข้อบังคับมาเองโดยมิได้มีข้อเรียกร้องของฝ่ายใดจึงไม่อาจใช้บังคับได้ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา20เมื่อระหว่างเป็นลูกจ้างในตำแหน่งดังกล่าวโจทก์ทำการสมรสและต่อมาตั้งครรภ์จำเลยจึงไม่มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุนี้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3771/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ไม่ต้องร้องเรียนต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก่อนฟ้องศาล
จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างเหตุว่า โจทก์กระทำผิดวินัยฐานทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โจทก์จึงฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 ปัญหาจึงมีเพียงว่าการเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่ คดีไม่มีกรณีที่จะต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123 โจทก์จึงไม่จำต้องยื่นคำร้องกล่าวหาผู้ฝ่าฝืนต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์โจทก์มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม, การลาศึกษาต่อ, และสิทธิในการรับเงินบำเหน็จของลูกจ้าง
ครั้งแรกจำเลยที่ 1 มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ด้วยข้อกล่าวหาอันเป็นเท็จและเป็นการเลิกจ้างที่ขัดต่อระเบียบข้อบังคับของจำเลย โจทก์จึงอุทธรณ์ต่อประชาชนกรรมการของจำเลยที่ 1 คณะกรรมการพิจารณาแล้วมีมติให้ยกเลิกคำสั่งดังกล่าวและให้โจทก์รอการบรรจุไว้ โดยให้รอผลการพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างของจำเลยที่ 1 ต่อไป จำเลยที่ 1 จึงได้ออกคำสั่งตามมติของคณะกรรมการ อันเป็นผลให้คำสั่งเดิมไม่มีผลบังคับต่อไป การเลิกจ้างโจทก์โดยคำสั่งครั้งแรกจึงไม่เกิดขึ้น กรณีไม่อาจกล่าวอ้างได้ว่าการเลิกจ้างตามคำสั่งนั้นเป็นการเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่
จำเลยที่ 1 ประสบภาวะการขาดทุนอย่างรุนแรง จึงเลิกจ้างโจทก์เพื่อเป็นการปรับปรุงงาน และเกิดความประหยัด เป็นการเลิกจ้างเพื่อลดรายจ่ายของจำเลยที่ 1 การเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
จำเลยที่ 1 อนุมัติให้โจทก์ลาไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศมีกำหนดระยะเวลา 2 ปี โดยมีเงื่อนไขต่อกันว่าโจทก์ไม่ขอรับเงินเดือนในระหว่างนั้น โจทก์จึงยังมีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 อยู่ โจทก์เดินทางไปแล้วกลับมา ขอกลับเข้าทำงานก่อนครบกำหนดลา แต่จำเลยที่ 1 ยังไม่ให้โจทก์เข้าทำงานเนื่องจากเหตุจำเป็นหลายประการ โจทก์จึงมิได้ปฏิบัติงานให้แก่จำเลยที่ 1 กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ได้ถือปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวนั้นอยู่ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างจากจำเลยที่ 1
ตามข้อบังคับองค์การเหมืองแร่ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2522) ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จผู้ปฏิบัติงานในองค์การเหมืองแร่ ข้อ 6.2 ว่าเวลาป่วยลา พักงานหรือไม่ได้อยู่ปฏิบัติงาน ถ้าเวลาดังกล่าวไม่ได้รับอนุญาตให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ให้นับเป็นเวลาทำงานและให้หักออกจากเวลาทำงานโจทก์ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 ให้ลาไปศึกษายังต่างประเทศโดยไม่ขอรับเงินเดือน โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้นับเวลาทำงานในช่วงเวลาดังกล่าวเพื่อนำมาคำนวณอายุการทำงานในการรับเงินบำเหน็จของโจทก์ตามข้อบังคับดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม, การลาศึกษาต่อ, และสิทธิประโยชน์หลังเกษียณ: กรณีศึกษาการฟ้องร้องแรงงาน
ครั้งแรกจำเลยที่ 1 มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ด้วยข้อกล่าวหาอัน เป็นเท็จและเป็นการเลิกจ้างที่ขัดต่อระเบียบข้อบังคับของจำเลย โจทก์จึงอุทธรณ์ต่อประชาชนกรรมการของจำเลยที่ 1คณะกรรมการพิจารณาแล้วมีมติให้ยกเลิกคำสั่งดังกล่าวและให้โจทก์รอการบรรจุไว้ โดยให้รอผลการพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างของจำเลยที่ 1 ต่อไป จำเลยที่ 1 จึงได้ออกคำสั่งตามมติของคณะกรรมการ อันเป็นผลให้คำสั่งเดิมไม่มีผลบังคับต่อไป การเลิกจ้างโจทก์โดยคำสั่งครั้งแรกจึงไม่เกิดขึ้น กรณีไม่อาจกล่าวอ้างได้ว่าการเลิกจ้างตามคำสั่งนั้นเป็นการเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่
จำเลยที่ 1 ประสบภาวะการขาดทุนอย่างรุนแรง จึงเลิกจ้างโจทก์เพื่อเป็นการปรับปรุงงาน และเกิดความประหยัด เป็นการเลิกจ้างเพื่อลดรายจ่ายของจำเลยที่ 1 การเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
จำเลยที่ 1 อนุมัติให้โจทก์ลาไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศมีกำหนดระยะเวลา 2 ปี โดยมีเงื่อนไขต่อกันว่าโจทก์ไม่ขอรับเงินเดือนในระหว่างนั้น โจทก์จึงยังมีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 อยู่ โจทก์เดินทางไปแล้วกลับมาขอกลับเข้าทำงานก่อนครบกำหนดลา แต่จำเลยที่ 1 ยังไม่ให้โจทก์เข้าทำงานเนื่องจากเหตุจำเป็นหลายประการ โจทก์จึงมิได้ปฏิบัติงานให้แก่จำเลยที่ 1 กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ได้ถือปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวนั้นอยู่ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างจากจำเลยที่ 1
ตามข้อบังคับองค์การเหมืองแร่ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2522) ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จผู้ปฏิบัติงานในองค์การเหมืองแร่ ข้อ 6.2 ว่าเวลาป่วย ลา พักงานหรือไม่ได้อยู่ปฏิบัติงาน ถ้าเวลาดังกล่าวไม่ได้รับอนุญาตให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ให้นับเป็นเวลาทำงานและให้หักออกจากเวลาทำงาน โจทก์ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 ให้ลาไปศึกษายังต่างประเทศโดยไม่ขอรับเงินเดือน โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้นับเวลาทำงานในช่วงเวลาดังกล่าวเพื่อนำมาคำนวณอายุการทำงานในการรับเงินบำเหน็จของโจทก์ตามข้อบังคับดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การลาศึกษาต่อ และสิทธิในการรับเงินบำเหน็จของลูกจ้าง
ครั้งแรกจำเลยที่1มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ด้วยข้อกล่าวหาอันเป็นเท็จและเป็นการเลิกจ้างที่ขัดต่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยโจทก์จึงอุทธรณ์ต่อประชาชนกรรมการของจำเลยที่1คณะกรรมการพิจารณาแล้วมีมติให้ยกเลิกคำสั่งดังกล่าวและให้โจทก์รอการบรรจุไว้โดยให้รอผลการพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างของจำเลยที่1ต่อไปจำเลยที่1จึงได้ออกคำสั่งตามมติของคณะกรรมการอันเป็นผลให้คำสั่งเดิมไม่มีผลบังคับต่อไปการเลิกจ้างโจทก์โดยคำสั่งครั้งแรกจึงไม่เกิดขึ้นกรณีไม่อาจกล่าวอ้างได้ว่าการเลิกจ้างตามคำสั่งนั้นเป็นการเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่ จำเลยที่1ประสบภาวะการขาดทุนอย่างรุนแรงจึงเลิกจ้างโจทก์เพื่อเป็นการปรับปรุงงานและเกิดความประหยัดเป็นการเลิกจ้างเพื่อลดรายจ่ายของจำเลยที่1การเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม จำเลยที่1อนุมัติให้โจทก์ลาไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศมีกำหนดระยะเวลา2ปีโดยมีเงื่อนไขต่อกันว่าโจทก์ไม่ขอรับเงินเดือนในระหว่างนั้นโจทก์จึงยังมีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยที่1อยู่โจทก์เดินทางไปแล้วกลับมาขอกลับเข้าทำงานก่อนครบกำหนดลาแต่จำเลยที่1ยังไม่ให้โจทก์เข้าทำงานเนื่องจากเหตุจำเป็นหลายประการโจทก์จึงมิได้ปฏิบัติงานให้แก่จำเลยที่1กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่1ได้ถือปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวนั้นอยู่โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างจากจำเลยที่1 ตามข้อบังคับองค์การเหมืองแร่ฉบับที่10(พ.ศ.2522)ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จผู้ปฏิบัติงานในองค์การเหมืองแร่ข้อ6.2ว่าเวลาป่วยลาพักงานหรือไม่ได้อยู่ปฏิบัติงานถ้าเวลาดังกล่าวไม่ได้รับอนุญาตให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ให้นับเป็นเวลาทำงานและให้หักออกจากเวลาทำงานโจทก์ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่1ให้ลาไปศึกษายังต่างประเทศโดยไม่ขอรับเงินเดือนโจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้นับเวลาทำงานในช่วงเวลาดังกล่าวเพื่อนำมาคำนวณอายุการทำงานในการรับเงินบำเหน็จของโจทก์ตามข้อบังคับดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3631/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ฝ่าฝืนระเบียบซ้ำหลังได้รับคำเตือนแล้ว ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การที่นายจ้างลงโทษลูกจ้างให้พักงาน 3 วัน และขณะเดียวกันในคำสั่งลงโทษนั้นยังมีคำเตือนอีกด้วย หาทำให้คำเตือนนั้นสิ้นผลไปด้วยโทษที่ได้รับไปแล้วไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1916/2527)
ส.ลูกจ้างของโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับด้วยการนอนหลับและได้รับคำเตือนเป็นหนังสือมาแล้ว ส. กลับมากระทำผิดฐานเดียวกันซ้ำอีกในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับโจทก์จึงเลิกจ้าง ส. ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123(3) หาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมไม่
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ซึ่งวินิจฉัยชี้ขาดตามอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ศาลชอบที่จะปรับด้วยพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 123 อันเป็นบทมาตราโดยเฉพาะสำหรับกรณีที่นี้หาใช่ปรับด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3631/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับซ้ำ โดยศาลยืนตามการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การที่นายจ้างลงโทษลูกจ้างให้พักงาน 3 วัน และขณะเดียวกันในคำสั่งลงโทษนั้นยังมีคำเตือนอีกด้วย หาทำให้คำเตือนนั้นสิ้นผลไปด้วยโทษที่ได้รับไปแล้วไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1916/2527)
ส.ลูกจ้างของโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับด้วยการนอนหลับและได้รับคำเตือนเป็นหนังสือมาแล้ว ส. กลับมากระทำผิดฐานเดียวกันซ้ำอีกในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับ โจทก์จึงเลิกจ้าง ส. ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123(3) หาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมไม่
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ซึ่งวินิจฉัยชี้ขาดตามอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ศาลชอบที่จะปรับด้วยพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 123 อันเป็นบทมาตราโดยเฉพาะสำหรับกรณีที่นี้หาใช่ปรับด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3631/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ฝ่าฝืนระเบียบซ้ำหลังได้รับคำเตือนแล้ว ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การที่นายจ้างลงโทษลูกจ้างให้พักงาน3วันและขณะเดียวกันในคำสั่งลงโทษนั้นยังมีคำเตือนอีกด้วยหาทำให้คำเตือนนั้นสิ้นผลไปด้วยโทษที่ได้รับไปแล้วไม่(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1916/2527) ส.ลูกจ้างของโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับด้วยการนอนหลับและได้รับคำเตือนเป็นหนังสือมาแล้วส.กลับมากระทำผิดฐานเดียวกันซ้ำอีกในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับโจทก์จึงเลิกจ้างส.ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา123(3)หาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมไม่ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ซึ่งวินิจฉัยชี้ขาดตามอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518ศาลชอบที่จะปรับด้วยพระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา123อันเป็นบทมาตราโดยเฉพาะสำหรับกรณีที่นี้หาใช่ปรับด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3140/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม กรณีลูกจ้างสอนพิเศษนอกเวลางาน แม้ฝ่าฝืนข้อบังคับแต่ไม่ร้ายแรง
การที่โจทก์ออกจากสำนักงานไปสอนหนังสือในเวลาทำงานโดยมิได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาเป็นการกระทำผิดวินัยตามข้อบังคับการทำงานของจำเลยจำเลยย่อมมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแต่โจทก์ไปสอนหนังสือน้อยครั้งและสอนครั้งละเพียง2ชั่วโมงยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์.
of 48