พบผลลัพธ์ทั้งหมด 306 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9368/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่รัฐทุจริตประมูลงานก่อสร้าง, บิดเบนข้อเท็จจริง, เบียดบังผลประโยชน์, มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยที่ 1 รับราชการตำแหน่งหัวหน้าส่วนโยธา องค์การบริหารส่วนตำบลหัวลำ ช่วยราชการองค์การบริหารส่วนตำบลซับจำปา ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ควบคุมงาน จำเลยที่ 2 เป็นกำนันตำบลซับจำปา และเป็นกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลซับจำปาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการตรวจการจ้าง จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่ตรวจผลการปฏิบัติและตรวจรับงานตามสัญญาจ้าง โดยจำเลยทั้งสองทราบแต่แรกแล้วว่างานจ้างเหมาก่อสร้างถนนตามสัญญามีความยาว 1,350 เมตร การที่จำเลยที่ 1 ไม่ออกไปตรวจสอบการก่อสร้าง ทำให้เกิดความเสียหายเพราะหากจำเลยที่ 1 ไปตรวจย่อมทราบได้ว่าถนนที่ก่อสร้างเสร็จมีความยาวเพียงประมาณ 1,024 เมตร การที่จำเลยทั้งสองปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทำหลักฐานเท็จด้วยเจตนาพิเศษที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่องค์การบริหารส่วนตำบลซับจำปาและเป็นการกระทำโดยสุจริต ทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลซับจำปาต้องจ่ายเงินค่าจ้างเกินไป และมีผู้ได้ประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเป็นค่าก่อสร้างที่เกินไปจากความจริง แม้ภายหลังจำเลยที่ 2 จะนำเงินค่ารับจ้างส่วนที่รับเกินไปมาคืน ก็เนื่องมาจากองค์การบริหารส่วนตำบลซับจำปาแจ้งเรียกเงินคืน จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
จำเลยที่ 2 มิได้เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ไม่อาจเป็นตัวการในการกระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 แต่การที่จำเลยที่ 2 จัดทำบันทึกประจำวันและผลการปฏิบัติงานฉบับใหม่มาให้จำเลยที่ 1 ลงชื่อย่อมลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ในการกระทำผิดได้
จำเลยที่ 2 มิได้เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ไม่อาจเป็นตัวการในการกระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 แต่การที่จำเลยที่ 2 จัดทำบันทึกประจำวันและผลการปฏิบัติงานฉบับใหม่มาให้จำเลยที่ 1 ลงชื่อย่อมลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ในการกระทำผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8606/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกร้องค่าก่อสร้างและการบอกเลิกสัญญาโดยปริยาย ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยสั่งให้โจทก์ระงับการก่อสร้าง และบอกเลิกสัญญากับโจทก์ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2540 เมื่อโจทก์ไม่ได้เรียกร้องเพื่อเข้าดำเนินการก่อสร้างต่อไป จึงถือว่าโจทก์และจำเลยเจตนาเลิกสัญญากัน โดยปริยาย คู่สัญญาจึงต่างกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม สำหรับการงานที่โจทก์ได้ทำไปแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับการชดใช้เงินตามควรค่าแห่งการงานนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 แต่สิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวก็ต้องตกอยู่ในอายุความสองปี ตามมาตรา 193/34 (17) นับแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2540 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยสั่งให้โจทก์ระงับการก่อสร้างและบอกเลิกสัญญาจ้างกับโจทก์ และโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นับแต่นั้น ตามมาตรา 193/12 นับถึงวันที่ 11 มีนาคม 2542 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ เป็นเวลากว่าสองปีแล้ว คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ กรณีหาใช่สิทธิเรียกร้องของโจทก์เพิ่งจะเกิดขึ้นนับแต่วันที่ครบกำหนด 7 วัน นับแต่จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามจากโจทก์ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2540 ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 12 มีนาคม 2540 ตามที่โจทก์ฎีกาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8605/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขแบบก่อสร้างทำให้สัญญาเดิมเปลี่ยนแปลง สิทธิบอกเลิกสัญญาเกิดขึ้นเมื่อใด
จำเลยที่ 1 ตกลงว่าจ้างโจทก์ให้รับช่วงก่อสร้างอาคารคลับเฮ้าส์ โดยกำหนดแล้วเสร็จภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 ต่อมาโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบแปลนก่อสร้างให้ผิดไปจากเดิมหลายประการ ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าการก่อสร้างจะต้องล่าช้าออกไปจนไม่สามารถทำให้เสร็จได้ภายในวันที่กำหนดอย่างแน่นอน ตามพฤติการณ์จึงถือได้ว่า คู่กรณีมีเจตนาให้มีการเปลี่ยนแปลงในข้อสาระสำคัญแห่งสัญญา โดยมิได้ถือเอากำหนดระยะเวลาเป็นสาระสำคัญอีกต่อไป การทำงานล่าช้ากว่ากำหนดจึงมิใช่ความผิดของโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่อาจบอกเลิกสัญญาโดยอ้างเหตุว่าโจทก์ทำงานล่าช้ากว่ากำหนด เว้นแต่จะได้บอกกล่าวโดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรเพื่อให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาเสียก่อน หากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญาแล้วจำเลยที่ 1 จึงชอบที่จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 การบอกเลิกสัญญาของจำเลยที่ 1 โดยไม่บอกกล่าวก่อนจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6226/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำภาระจำยอมด้วยการก่อสร้าง การกระทำดังกล่าวเป็นการลดทอนประโยชน์ของภาระจำยอมและกระทบสิทธิเจ้าของสามยทรัพย์
ทางพิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่ตกอยู่ในภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์นั้นเป็นทางที่ใช้สัญจรอยู่ในโครงการหมู่บ้านและที่ดินจัดสรรของจำเลยทั้งสอง ไม่ว่ารถยนต์จะสามารถใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกได้หรือไม่ก็ตาม บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1390 ห้ามมิให้เจ้าของภารยทรัพย์ประกอบกรรมใดๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไป หรือเสื่อมความสะดวก การที่จำเลยทั้งสองทำการปลูกสร้างหรือก่อสร้างแผงร้านค้าลงในที่ดินย่อมเป็นการกีดขวางการใช้ประโยชน์ในทางภาระจำยอมดังกล่าวอันจะเป็นเหตุทำให้กระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์และผู้ซื้อที่ดินและบ้านจัดสรรซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ในโครงการของจำเลยทั้งสอง การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5721/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเอกสารใหม่เข้าสู่ชั้นฎีกาโดยมิชอบ และน้ำหนักพยานหลักฐานการรับจ้างก่อสร้าง
จำเลยเพิ่งจะอ้างส่งบันทึกคณะกรรมการเปิดซองสอบราคาและใบเสนอราคาเป็นเอกสารท้ายฎีกา โจทก์ไม่มีโอกาสหักล้างข้อเท็จจริงหรือโต้แย้งเอกสารดังกล่าวได้ทำให้โจทก์เสียเปรียบในการต่อสู้คดี ทั้งจำเลยรู้ถึงความมีอยู่ของเอกสารดังกล่าวตั้งแต่แรกที่โจทก์ฟ้องคดี การที่จำเลยยื่นเอกสารดังกล่าวในชั้นฎีกาเป็นการนำเอกสารเข้าสู่สำนวนคดีโดยมิชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5660/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการควบคุมงานก่อสร้างบกพร่อง, อายุความเริ่มนับเมื่อทราบตัวผู้รับผิด
แม้อธิบดีกรมโจทก์จะทราบความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดชดใช้ทางแพ่งที่ให้จำเลยทั้งสองรับผิดเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2537 ตามที่จำเลยที่ 2 อ้างว่าเป็นวันเริ่มนับอายุความ แต่อธิบดีกรมโจทก์ก็ไม่เห็นด้วยกับความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดชดใช้ทางแพ่งดังกล่าว จึงยังไม่ถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว และเมื่อต่อมามีการนำเรื่องสู่คณะกรรมการที่ปรึกษาความรับผิดทางแพ่งของกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นหน่วยงานชี้ขาดสุดท้าย และเมื่อคณะกรรมการที่ปรึกษาความรับผิดทางแพ่งของกระทรวงการคลังชี้ขาดให้จำเลยทั้งสองรับผิดและแจ้งคำชี้ขาดให้อธิบดีกรมโจทก์ทราบเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2538 จึงถือว่าเป็นวันที่โจทก์รู้ตัวผู้พึงจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน โจทก์ฟ้องวันที่ 22 ธันวาคม 2538 ยังไม่เกิน 1 ปี จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2835/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างต่อความเสียหายจากการก่อสร้างอันเกิดจากผู้รับเหมาที่ขาดความรู้ความสามารถ
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าจ้าง ท. ให้รับเหมาก่อสร้างบ้านโดยจำเลยที่ 2 เป็นคนมาติดต่อรับเงินค่าจ้างจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีสิทธิที่จะบอกกล่าวให้ ท. ทำงานตรงไหนก็ได้ตามที่ต้องการ จำเลยที่ 2 เป็นผู้สั่งให้ ท. เปลี่ยนแปลงขนาดเสาเข็มที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ราคาแพงกล่าวเดิม และเป็นคนเอาเงินให้ ท. ไปซื้อ จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชอบในการกระทำของตัวแทน ดังนั้น แม้ ท. จะเป็นผู้ดำเนินการตอกเสาเข็ม แต่จำเลยที่ 1 ก็มีส่วนผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ และการที่ ท. ไม่ได้เรียนวิชาช่างมาโดยตรง เพิ่งรับเหมางานก่อสร้างให้จำเลยที่ 1 เป็นงานแรก ก็เกิดเหตุทำให้บ้านของโจทก์ทั้งสองเกิดรอยร้าว เสียหาย แสดงว่า ท. เป็นผู้ขาดความรู้ความสามารถ การที่จำเลยที่ 1 ว่าจ้างให้ ท. เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างถือว่าเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 ในการเลือกหาผู้รับจ้างมาก่อสร้างด้วย ทั้งเมื่อจำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นคดีอาญา จำเลยที่ 1 ก็ให้การรับสารภาพ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง และแม้โจทก์ทั้งสองจะมิได้ฟ้อง ท. ก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 พ้นความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2521/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในความเสียหายจากการก่อสร้างบนทางหลวง: การประมาทของผู้รับเหมาและความรับผิดของเจ้าของสายเคเบิล
โจทก์และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้ทำสัญญาร่วมการงานและร่วมลงทุนขยายบริการโทรศัพท์ โจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองสายเคเบิลโทรศัพท์ที่ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำของจำเลยที่ 1 บริเวณที่เกิดเหตุเป็นทางหลวงโดยกรมทางหลวงเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่และรับผิดชอบในการกำกับ ตรวจตรา ควบคุมและบำรุงรักษา รวมทั้งการบูรณะและการขยายทาง ผู้ใดจะใช้หรือทำสิ่งใดๆ ต่อทางดังกล่าวจะต้องขออนุญาตจากกรมทางหลวง ซึ่งกรมทางหลวงย่อมมีอำนาจพิจารณาอนุญาตหรือไม่ หรืออนุญาตภายใต้เงื่อนไขหรือข้อกำหนดก็ได้ถ้ามีการอนุญาตโดยกำหนดเงื่อนไขหรือข้อกำหนดไว้ ผู้ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขและข้อกำหนดเช่นนั้น ซึ่งหน้าที่เช่นนี้ย่อมครอบคลุมไปถึงบุคคลอื่นที่เข้ามาเกี่ยวข้องโดยอาศัยสิทธิของผู้ได้รับอนุญาต ดังนั้น เงื่อนไขหรือข้อกำหนดใดที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจะต้องรักษาหรือปฏิบัติต่อกรมทางหลวง อันเกี่ยวข้องกับการใช้ทางหลวงในบริเวณที่เกิดเหตุ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการในฐานะผู้ร่วมการงานและร่วมลงทุนกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้เข้ามาโดยอาศัยสิทธิขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยย่อมต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขหรือข้อกำหนดดังกล่าวด้วย เพราะหากปราศจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยแล้วโจทก์ก็ไม่มีสิทธิจะใช้ทางหลวงดังกล่าวได้ เมื่อปรากฏว่ากรมทางหลวงโดยแขวงการทางกาญจนบุรีได้มีหนังสือถึงองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยโดยผ่านทางหัวหน้าชุมสายโทรศัพท์กาญจนบุรีให้ดำเนินการรื้อย้ายบรรดาสาธารณูปโภคอันเกี่ยวกับกิจการโทรศัพท์ในเขตบริเวณทางหลวงที่จะก่อสร้างซึ่งรวมถึงทางบริเวณที่เกิดเหตุแล้ว กรมทางหลวงย่อมไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งให้โจทก์ทราบอีกเพราะเป็นกรณีที่ถือว่าโจทก์ทราบแล้ว
การที่โจทก์ได้ทราบการขุดถนนของจำเลยที่ 1 แล้วก่อนเกิดเหตุ แต่ก็มิได้ไยดีว่าอาจเกิดความเสียหายขึ้นแก่ทรัพย์สินของตน พฤติการณ์ดังกล่าวถ้ามิใช่การตั้งใจเข้าเสี่ยงภัยอันถือได้ว่าเป็นการยินยอมก็เป็นการประมาทของฝ่ายโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 1 เมื่อได้รับมอบหมายจากกรมทางหลวงให้ดำเนินการก่อสร้างทางพิพาทโดยกรมทางหลวงได้แจ้งให้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยทราบ ซึ่งถือว่าโจทก์ได้ทราบแล้วได้เข้าดำเนินการตามคำสั่งและภายในกรอบเงื่อนไขที่กรมทางหลวงกำหนดไว้ ย่อมถือได้ว่าไม่มีความประมาทในการดำเนินการดังกล่าว และจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งให้โจทก์ทราบอีก อีกทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 จงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เพราะสามารถอนุมานได้ว่าถึงหากกรมทางหลวงเข้าดำเนินการด้วยตนเองก็คงจะทำอย่างจำเลยที่ 1 เช่นกัน ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่โจทก์ย่อมไม่แตกต่างกันจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
การที่โจทก์ได้ทราบการขุดถนนของจำเลยที่ 1 แล้วก่อนเกิดเหตุ แต่ก็มิได้ไยดีว่าอาจเกิดความเสียหายขึ้นแก่ทรัพย์สินของตน พฤติการณ์ดังกล่าวถ้ามิใช่การตั้งใจเข้าเสี่ยงภัยอันถือได้ว่าเป็นการยินยอมก็เป็นการประมาทของฝ่ายโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 1 เมื่อได้รับมอบหมายจากกรมทางหลวงให้ดำเนินการก่อสร้างทางพิพาทโดยกรมทางหลวงได้แจ้งให้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยทราบ ซึ่งถือว่าโจทก์ได้ทราบแล้วได้เข้าดำเนินการตามคำสั่งและภายในกรอบเงื่อนไขที่กรมทางหลวงกำหนดไว้ ย่อมถือได้ว่าไม่มีความประมาทในการดำเนินการดังกล่าว และจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งให้โจทก์ทราบอีก อีกทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 จงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เพราะสามารถอนุมานได้ว่าถึงหากกรมทางหลวงเข้าดำเนินการด้วยตนเองก็คงจะทำอย่างจำเลยที่ 1 เช่นกัน ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่โจทก์ย่อมไม่แตกต่างกันจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2467-2468/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาการก่อสร้าง: ศาลฎีกาตัดสินให้ปรับลดค่าเสียหายและกำหนดระยะเวลาคิดดอกเบี้ย
โจทก์ที่ 1 ทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารขนาด 16 คูหา แบ่งงวดงานก่อสร้างทั้งหมด 11 งวด กำหนดลงมือก่อสร้างวันที่ 1 ตุลาคม 2537 ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 กันยายน 2538 จำเลยที่ 1 ไม่สามารถส่งงานตามกำหนดงวดในสัญญาได้ โจทก์ที่ 1 ก็ยอมรับโดยเมื่อพ้นกำหนดตามสัญญาคือวันที่ 30 กันยายน 2538 โจทก์ที่ 1 มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 เร่งรัดทำการก่อสร้างตามงวดงาน เอกสารทุกฉบับที่โจทก์ที่ 1 ส่งถึงจำเลยที่ 1 เป็นเวลาหลังจากครบกำหนดตามสัญญาก่อสร้างแล้ว ฝ่ายจำเลยที่ 1 ยืนยันว่าโจทก์ที่ 1 ไม่ถือเอาระยะเวลาเป็นสาระสำคัญแม้จะส่งงานเกินกำหนดเวลาแต่ละงวดโจทก์ที่ 1 ก็ยอมรับผลงาน การที่โจทก์ที่ 1 ยอมรับผลงานก่อสร้างที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบงวดงานจึงเป็นการขยายระยะเวลาสัญญาว่าจ้างไปโดยไม่มีกำหนด มิได้ถือเอาวันที่กำหนดไว้เป็นสาระสำคัญ จนกระทั่งจำเลยที่ 1 ขอเบิกเงินค่างวดงานในงวดที่ 9 แต่โจทก์ที่ 1 ปฏิเสธโดยขอให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 กันยายน 2539 แสดงว่าโจทก์ที่ 1 ได้กำหนดเวลาให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบงานทั้งหมดใหม่คือวันที่ 15 กันยายน 2539 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์ที่ 1 มีหนังสือบอกเลิกสัญญาลงวันที่ 16 กันยายน 2539 ส่งถึงจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2539 จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2539 มิใช่วันที่ 30 กันยายน 2538 ดังนั้น จำเลยจที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากโจทก์ทั้งสิบหก
เมื่อฝ่ายโจทก์มิได้ถือเอากำหนดส่งมอบงานเดิมในวันที่ 30 กันยายน 2538 เป็นสาระสำคัญ และได้กำหนดให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบงานใหม่เป็นวันที่ 15 กันยายน 2539 โจทก์ที่ 1 จึงอ้างว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาก่อนวันที่ 15 กันยายน 2538 หาได้ไม่ โจทก์ที่ 1 ไม่อาจเรียกร้องค่าปรับรายวันตามสัญญาในระหว่างวันที่ 30 กันยายน 2538 ถึงวันที่ 15 กันยายน 2539 จากจำเลยที่ 1 ได้
เมื่อฝ่ายโจทก์มิได้ถือเอากำหนดส่งมอบงานเดิมในวันที่ 30 กันยายน 2538 เป็นสาระสำคัญ และได้กำหนดให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบงานใหม่เป็นวันที่ 15 กันยายน 2539 โจทก์ที่ 1 จึงอ้างว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาก่อนวันที่ 15 กันยายน 2538 หาได้ไม่ โจทก์ที่ 1 ไม่อาจเรียกร้องค่าปรับรายวันตามสัญญาในระหว่างวันที่ 30 กันยายน 2538 ถึงวันที่ 15 กันยายน 2539 จากจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3503/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาจ้างเหมา: การก่อสร้างเพื่อกิจการค้าของลูกหนี้มีอายุความ 5 ปี
จำเลยว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างบ้านให้จำเลยเพื่อที่จำเลยจะนำไปขายเป็นกรณีที่โจทก์รับจ้างทำของให้แก่จำเลย โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าการงานที่ได้ทำ แต่การที่โจทก์ก่อสร้างให้แก่จำเลยนั้น จำเลยกระทำเพื่อนำไปจำหน่ายในโครงการจัดสรรที่ดินตามวัตถุประสงค์ของจำเลย การกระทำของโจทก์จึงเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ จึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1)