คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อจำกัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 541 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6359/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ฎีกา: ประเด็นใหม่ที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นต้องห้ามตามกฎหมาย
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างขาดนัดยื่นคำให้การ จึงไม่มีประเด็นในปัญหาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยที่ 1และโจทก์ทำให้หนี้ในมูลละเมิดระงับลงอันมีผลทำให้จำเลยที่ 2ในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากความรับผิดไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 ปัญหาดังกล่าวนี้ไม่ใช่เรื่องอำนาจฟ้อง และไม่ใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์ฎีกาหาได้ไม่ เพราะเป็นข้อกฎหมายที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6241/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการใช้ชื่อธุรกิจด้านการเงินและการลงทุน โดยเฉพาะคำว่า "ธนกิจ" ซึ่งถูกตีความว่าเป็นธุรกิจเงินทุน
มาตรา 6 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 พ.ศ.2526 แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา 13 เป็นว่า"ห้ามมิให้ผู้ใด นอกจากบริษัทเงินทุนใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อในธุรกิจว่า "เงินทุน" "การเงิน" "การลงทุน""เครดิต" "ทรัสต์" "ไฟแนนซ์" หรือคำอื่นใดที่มีความหมายเช่นเดียวกัน เว้นแต่ธนาคารพาณิชย์หรือสำนักงานที่กระทำการแทนธนาคารต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์" และคำสั่งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางที่ 1/2527 เรื่อง การรับจดทะเบียนชื่อห้างหุ้นส่วนบริษัทอธิบดีกรมทะเบียนการค้า นายทะเบียนกลางห้ามมิให้รับจดทะเบียนชื่อห้างหุ้นส่วนบริษัทที่ใช้ชื่อ คำหรือข้อความ คือชื่อภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ ซึ่งมีความหมายหรือทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่ประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวตามบัญชีท้ายคำสั่งนั้น ซึ่งรวมทั้งคำว่า "ธนกิจ" ด้วย คำสั่งดังกล่าวแม้ไม่ใช่กฎหมาย แต่เป็นการแสดงว่าทางราชการถือว่าคำว่า "ธนกิจ" เป็นชื่อของผู้ประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ จึงมีคำสั่งห้ามจดทะเบียนคำนี้แก่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจดังกล่าว ปรากฏว่าบริษัทจำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจด้านธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์โดยใช้ชื่อธุรกิจว่า "บริษัทคลังสินค้าอาคเนย์ธนกิจ จำกัด" แสดงว่าจำเลยมีเจตนาให้หมายถึงการประกอบธุรกิจด้านคลังสินค้า ธุรกิจเงินทุน และหลักทรัพย์ด้วย เมื่อจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุน จำเลยจึงต้องเลิกใช้ชื่อที่มีคำว่า "ธนกิจ" ภายในกำหนด 180 วัน นับแต่วันที่พระราชกำหนด ฯ ใช้บังคับ ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ฯ พ.ศ.2522มาตรา 37 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนด ฯ หากฝ่าฝืนย่อมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 13, 72

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6239/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีไม่ใช่คดีเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์และฎีกาขัดกับข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชดใช้เงินค่าที่พิพาทส่วนที่โจทก์ทำให้ราคาเพิ่มขึ้นมีจำนวนไม่เกินห้าหมื่นบาท ตามฟ้องไม่ได้บ่งถึงการที่จะบังคับเอาแก่ที่พิพาท จึงไม่ใช่เป็นคดีที่เกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ย่อมต้องห้ามไม่ให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
คดีก่อนโจทก์ฟ้องเรียกที่พิพาทคืนและเรียกค่าเสียหายที่ไม่ได้กรีดยางพาราส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกราคาที่พิพาทในส่วนที่โจทก์ปลูกต้นยางพาราทำให้ที่พิพาทมีราคาเพิ่มขึ้นคดีทั้งสองจึงมีประเด็นต่างกัน ทั้งในคดีก่อนศาลก็ไม่ได้วินิจฉัยว่าโจทก์และสามีโจทก์เป็นผู้ปลูกต้นยางพาราในที่พิพาท คดีนี้ศาลจึงฟังข้อเท็จจริงตามคดีก่อนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5393/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีอาญาเล็กน้อยและการวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงเป็นคดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิคดีนี้โจทก์อุทธรณ์ว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์มีภารกิจจำเป็นทางการค้าและทนายโจทก์ป่วยกะทันหันไม่สามารถมาศาลได้ อันเป็นการโต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นว่ามีเหตุสมควรอนุญาตให้เลื่อนคดีจึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์มา จึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์จะฎีกาปัญหาดังกล่าวต่อมาไม่ได้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3357/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีอาญาที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220แม้จะเป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายก็ต้องห้าม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาหลังมีคำพิพากษาและการขอพิจารณาคดีใหม่จำกัดเฉพาะกรณีขาดนัด
การที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 นั้น ต้องขอก่อนศาลมีคำพิพากษา ส่วนการขอให้พิจารณาใหม่หลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้ว ต้องเป็นเรื่องแพ้คดีเพราะขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207 จำเลยอ้างว่า ไม่เคยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง ไม่ได้แต่งทนาย สัญญาประนีประนอมยอมความตามที่ทนายความทำแทนไม่ผูกพันจำเลย คำพิพากษาตามยอมไม่อาจบังคับได้ ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นเวลาหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมแล้ว และมิใช่เป็นการพิจารณาคดีโดยขาดนัดพิจารณา จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น และไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่ หากจำเลยได้รับความเสียหายอย่างไรก็ย่อมมีสิทธิฟ้องบุคคลที่เกี่ยวข้องขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมในคดีนี้ไม่ผูกพันตนได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจากประหารชีวิตเป็นจำคุกตลอดชีวิต และข้อจำกัดในการฎีกาเรื่องโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียว ลงโทษประหารชีวิต ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิด 2 กรรม วางโทษประหารชีวิตทั้งสองกระทง คำรับของจำเลยชั้นจับกุมและสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ลดโทษให้หนึ่งในสามคงจำคุกตลอดชีวิตทั้งสองกระทง แต่เมื่อลงโทษกระทงแรกจำคุกตลอดชีวิตแล้ว ไม่อาจรวมโทษจำคุกตลอดชีวิตกระทงหลังเข้าด้วยได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 คงลงโทษจำคุกตลอดชีวิตเพียงกระทงเดียวดังนี้ ศาลอุทธรณ์เพียงแต่แก้ไขเล็กน้อยโจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคสอง ฎีกาขอให้ลงโทษประหารชีวิตจำเลย เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1613/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการลงโทษเกินคำขอและข้อจำกัดในการแก้ไขคำพิพากษาในคดีอาญา
ความผิดฐานจำหน่ายเฮโรอีนและความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มีการกระทำอันเป็นความผิดแตกต่างกันเมื่อโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานจำหน่ายเฮโรอีนเพียงฐานเดียวโดยมิได้ฟ้องฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคแรก กรณีมิใช่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อมิใช่สาระสำคัญตามมาตรา 192 วรรคสอง และกรณีไม่ต้องด้วย มาตรา 192 วรรคสามศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจพิพากษาลงโทษในข้อหาดังกล่าวที่พิจารณาได้ความได้ เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานจำหน่ายเฮโรอีน ศาลชั้นต้นลงโทษฐานพยายามจำหน่ายเฮโรอีน โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษฐานจำหน่ายเฮโรอีนตามฟ้อง การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายเฮโรอีนของกลาง แต่ฟังได้ว่าจำเลยมีเฮโรอีนไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่ายและพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว เป็นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในข้อหาจำหน่ายเฮโรอีนยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษฐานจำหน่ายเฮโรอีนอีกจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1613/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลจำกัดตามฟ้อง – การลงโทษฐานต่างจากที่ฟ้อง – ข้อจำกัดการอุทธรณ์
ความผิดฐานจำหน่ายเฮโรอีนและความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มีการกระทำอันเป็นความผิดแตกต่างกัน เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานจำหน่ายเฮโรอีนเพียงฐานเดียวโดยมิได้ฟ้องฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192วรรคแรก กรณีมิใช่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อมิใช่สาระสำคัญ ตามมาตรา 192วรรคสอง และกรณีไม่ต้องด้วย มาตรา 192 วรรคสาม ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจพิพากษาลงโทษในข้อหาดังกล่าวที่พิจารณาได้ความได้ เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานจำหน่ายเฮโรอีน ศาลชั้นต้นลงโทษฐานพยายามจำหน่ายเฮโรอีน โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษฐานจำหน่ายเฮโรอีนตามฟ้องการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายเฮโรอีนของกลาง แต่ฟังได้ว่าจำเลยมีเฮโรอีนไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่ายและพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว เป็นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในข้อหาจำหน่ายเฮโรอีนยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษฐานจำหน่ายเฮโรอีนอีก จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์-ฎีกา คดีเช่า: จำเลยไม่ได้โต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์หรือสัญญาเช่า
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านเช่า ซึ่งมีค่าเช่าเดือนละ350 บาท เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์หรือยกข้อโต้แย้งในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญา หรือยกข้อโต้แย้งในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาเช่าขึ้นเป็นข้อต่อสู้ คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 แม้ในชั้นอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้ก็เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
of 55