พบผลลัพธ์ทั้งหมด 497 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2401/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งดไต่สวนคำร้องขอให้งด/รอการบังคับคดี: เมื่อมีการจ่ายเงินและมีประกันเพียงพอ
การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้งดการไต่สวนคำร้องของผู้ร้อง ก็เพื่อจะวินิจฉัยว่าข้ออ้างที่ผู้ร้องประสงค์จะขอให้งดหรือรอการจ่ายเงินให้โจทก์มีเหตุผลหรือไม่เพียงใด แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ศาลได้จ่ายเงินที่โจทก์ขอให้แก่พนักงานบังคับคดีอายัดมาให้แก่โจทก์ไปแล้ว ซึ่งเป็นการจ่ายเงินเนื่องจากการบังคับคดีของโจทก์ นอกจากนี้ศาลยังได้กำหนดเงื่อนไขให้โจทก์นำธนาคารกรุงเทพ จำกัด มาทำสัญญาค้ำประกันเงินจำนวนดังกล่าวต่อศาลอีกด้วย ดังนี้ถ้าผู้ร้องชนะคดีในที่สุด ผู้ร้องก็มีสิทธิขอให้ธนาคารดังกล่าวจ่ายเงินตามที่ทำสัญญาค้ำประกันไว้ให้ผู้ร้องได้ทันที ไม่เสียหายแต่ประการใด จึงไม่มีประโยชน์ที่จะทำการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องต่อไป ศาลย่อมสั่งงดการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2401/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดไต่สวนคำร้องขอให้งด/รอการบังคับคดี เมื่อมีการจ่ายเงินตามคำบังคับและมีหลักประกันเพียงพอ
การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้งดการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องก็เพื่อจะวินิจฉัยว่าข้ออ้างที่ผู้ร้องประสงค์จะขอให้งดหรือรอการจ่ายเงินให้โจทก์มีเหตุผลหรือไม่เพียงใด แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ศาลได้จ่ายเงินที่โจทก์ขอให้แก่พนักงานบังคับคดีอายัดมาให้แก่โจทก์ไปแล้ว ซึ่งเป็นการจ่ายเงินเนื่องจากการบังคับคดีของโจทก์ นอกจากนี้ศาลยังได้กำหนดเงื่อนไขให้โจทก์นำธนาคารกรุงเทพ จำกัด มาทำสัญญาค้ำประกันเงินจำนวนดังกล่าวต่อศาลอีกด้วย ดังนี้ถ้าผู้ร้องชนะคดีในที่สุด ผู้ร้องก็มีสิทธิขอให้ธนาคารดังกล่าวจ่ายเงินตามที่ทำสัญญาค้ำประกันไว้ให้ผู้ร้องได้ทันที ไม่เสียหายแต่ประการใด จึงไม่มีประโยชน์ที่จะทำการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องต่อไป ศาลย่อมสั่งงดการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2243/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ที่มิใช่ของจำเลย และการเพิกถอนคำสั่งรับคำร้องที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า การที่โจทก์ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดสิทธิการเช่าโทรศัพท์แล้วทำการขายทอดตลาดไปนั้น เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย เพราะผู้ร้องเป็นเจ้าของสิทธิการเช่าโทรศัพท์ โดยเป็นผู้เช่าจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย สิทธิการเช่าดังกล่าวมิใช่ทรัพย์ของจำเลย ขอให้ศาลสั่งยกเลิกการขายทอดตลาดนั้น คำร้องของผู้ร้องดังกล่าวมีผลเท่ากับการขอให้ศาลสั่งปล่อยทรัพย์ที่ยึด ซึ่งผู้ร้องจะต้องยื่นก่อนมีการขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 และมิใช่เป็นกรณีเกี่ยวกับการขายทอดตลาดอันฝ่าฝืนกฎหมายของเจ้าพนักงานบังคับคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง
ศาลมีคำสั่งรับคำร้องของโจทก์ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ต่อมาผู้ร้องได้ยื่นคำแถลงขอให้ศาลออกหมายเรียกโจทก์และจำเลย ความปรากฏต่อศาลว่าการสั่งรับคำร้องมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ศาลก็มีอำนาจเพิกถอนคำสั่งเดิมและสั่งยกคำร้องดังกล่าวเสียได้ ดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 ให้อำนาจไว้ และในกรณีเช่นนี้ศาลไม่จำเป็นต้องสั่งคำแถลงของผู้ร้องที่ขอให้ออกหมายเรียก และไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18
ศาลมีคำสั่งรับคำร้องของโจทก์ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ต่อมาผู้ร้องได้ยื่นคำแถลงขอให้ศาลออกหมายเรียกโจทก์และจำเลย ความปรากฏต่อศาลว่าการสั่งรับคำร้องมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ศาลก็มีอำนาจเพิกถอนคำสั่งเดิมและสั่งยกคำร้องดังกล่าวเสียได้ ดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 ให้อำนาจไว้ และในกรณีเช่นนี้ศาลไม่จำเป็นต้องสั่งคำแถลงของผู้ร้องที่ขอให้ออกหมายเรียก และไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2210/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดพิจารณาคดี - เหตุผลไม่ชัดเจนและไม่ได้คัดค้านคำตัดสิน - คำร้องขอพิจารณาใหม่ไม่ชอบ
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลย มิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งเหตุที่มาศาลไม่ทันกำหนดเวลา และไม่ได้คัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลว่าไม่ถูกต้องอย่างไรจำเลยจะชนะคดีได้อย่างไร จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 ศาลชอบที่จะยกคำร้องขอนั้นเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3092/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวต้องมีคำขอที่ชัดเจนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวของโจทก์ จำเลยให้การและฟ้องแย้งให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทให้จำเลยและรับเงินค่าที่ดินและตึกแถวพิพาทจากจำเลยระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวอ้างว่าหลังจากโจทก์ฟ้องแล้วโจทก์ได้กระทำละเมิดสิทธิและประโยชน์ของจำเลย โดยตัดท่อน้ำบาดาลไม่ให้มีการจ่ายน้ำบริโภคมายังตึกแถวพิพาทที่จำเลยอยู่อาศัยจำเลยในฐานะผู้เช่าไม่สามารถร้องขอให้การประปานครหลวงเดินท่อส่งน้ำให้ได้ เพราะโจทก์ไม่ยอมให้วางท่อผ่านที่ดินของโจทก์ ขอให้ศาลสั่งให้โจทก์ต่อท่อและจ่ายน้ำบริโภคให้ตึกแถวพิพาทโดยใช้น้ำบาดาลของโจทก์เช่นเดิม หรือให้โจทก์ดำเนินการยื่นคำร้องต่อการประปานครหลวงเพื่อติดตั้งประปาให้จำเลย คำร้องของจำเลยดังกล่าวหาได้ร้องขอให้ศาลสั่งการอย่างใดอย่างหนึ่งดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 ไม่ฉะนั้น จึงยกเอามาตรา 254 มาปรับสั่งให้เป็นประโยชน์แก่คดีของจำเลยตามที่จำเลยร้องขอไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีแรงงานและการพิจารณาคำร้องใหม่เมื่อจำเลยไม่ทราบกำหนดนัด
บทบัญญัติมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ที่ว่า ในกรณีที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาตามมาตรา 40 วรรคสอง หากจำเลยมาแถลงให้ศาลแรงงานทราบถึงความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่ง ศาลแรงงานมีอำนาจไต่สวนถึงเหตุแห่งความจำเป็นนั้นได้และหากเห็นเป็นการสมควร ให้ศาลแรงงานมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งตามมาตรา 40 นั้นใหม่ เสมือนหนึ่งมิได้เคยมีกระบวนพิจารณาเช่นว่านั้น เป็นกรณีที่จำเลยได้รับหมายเรียกและกำหนดนัดพิจารณาแล้ว หากจำเลยอ้างว่าจำเลยไม่ทราบกำหนดนัดพิจารณาเพราะสถานที่ส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกไม่ใช่ภูมิลำเนาแท้จริงของจำเลยกรณีต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2270/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเลื่อนคดีเนื่องจากทนายโจทก์ป่วย และความจำเป็นในการพิจารณาคำร้องก่อนมีคำสั่งขาดนัด
ทนายโจทก์ป่วยมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำขอเลื่อนคดีไว้แล้ว แต่เจ้าหน้าที่ศาลมิได้นำเสนอก่อนศาลออกนั่งพิจารณา จะถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาหาได้ไม่ และกรณีเช่นนี้เป็นความจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ ประกอบกับยังไม่มีการสืบพยานจำเลย โจทก์ขอเลื่อนคดีเป็นครั้งแรก สมควรอนุญาตให้เลื่อนคดีตามขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 880/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาด: ศาลได้ไต่สวนแล้วเมื่อสอบถามคู่ความและมีคำสั่ง
ผู้ร้องขอให้นำทรัพย์ที่โจทก์ยึดไว้ออกขายทอดตลาด ศาลอนุญาตและประกาศขายทอดตลาด ถึงวันขายโจทก์ผู้นำยึดยื่นคำร้องว่าผู้ร้องทำการฉ้อฉลเพื่อให้มีการขายทอดตลาดศาลให้งดการขายและนัดไต่สวนคำร้อง ในวันที่โจทก์ยื่นคำร้องศาลสอบถามโจทก์จำเลยและผู้ร้อง แล้วสั่งว่าเหตุผลของโจทก์ยังไม่พอฟังที่จะให้งดการขายทอดตลาดได้ เช่นนี้แสดงว่าได้ไต่สวนคำร้องของโจทก์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 740/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาคำร้องพิจารณาใหม่และการหมดอายุของเหตุพฤติการณ์นอกเหนือความสามารถในการควบคุม
จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นสั่งให้ยกคำร้องเพราะจำเลยยื่นคำขอเมื่อพ้น 15 วัน นับแต่วันทราบคำบังคับ จำเลยอุทธรณ์ เห็นว่าคำขอของจำเลยได้แสดงเหตุที่ขาดนัดและเหตุที่ยื่นคำขอล่าช้ามาโดยละเอียดพอสมควรแล้ว แต่ในข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลหาได้กล่าวมาโดยละเอียดชัดแจ้งไม่ จึงพิพากษายืน จำเลยจึงมายื่นคำขอพิจารณาใหม่อีกครั้งหนึ่งโดยบรรยายรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นด้วย ดังนี้ คำขอให้พิจารณาใหม่ที่จำเลยยื่นในครั้งหลังก็ต้องอยู่ในบังคับแห่งกำหนดเวลาตามมาตรา 208 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเช่นเดียวกับฉบับแรก เมื่อปรากฏว่าพนักงานเดินหมายส่งคำบังคับให้แก่จำเลยวันที่ 14 กันยายน 2521 และคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ฉบับหลัง จำเลยอ้างว่า ศ. ซึ่งทำงานอยู่ที่เดียวกับจำเลยและเป็นผู้รับหมายไว้แทนเพิ่งมอบคำบังคับให้จำเลยเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2521 แม้กรณีที่จำเลยอ้างว่าเพิ่งทราบคำบังคับจะถือได้ว่ามีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ แต่พฤติการณ์ดังกล่าวก็ได้สิ้นสุดลงแล้วในวันที่จำเลยทราบคำบังคับ จำเลยมายื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ฉบับหลังเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2522 จึงพ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลง คำร้องดังกล่าวจึงต้องห้ามตามมาตรา 208 ส่วนการที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ฉบับแรกโดยไม่บรรยายข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลไม่ชอบด้วยมาตรา 208 วรรคท้าย จนศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำร้องไปแล้วนั้น ก็เป็นความผิดพลาดบกพร่องของจำเลยเอง ไม่อาจถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ที่จะขยายระยะเวลาให้จำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแทนการขายทอดตลาด ต้องพิจารณาว่าเป็นรายได้จากอสังหาริมทรัพย์หรือการประกอบพาณิชยกรรมหรือไม่
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21(4) มิได้บังคับว่าศาลต้องทำการไต่สวนทุกกรณีที่คู่ความยื่นคำร้องขอเข้ามา แต่ศาลมีอำนาจจะไต่สวนตามคำขอหรือไม่แล้วแต่ศาลจะพิจารณาเห็นสมควร กรณีศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องเพราะเห็นว่า คำร้องขอของจำเลยไม่ต้องด้วยมาตรา 307 ดังนี้ แม้จะไต่สวนข้อเท็จจริงได้ความตามคำร้องขอก็ไม่อาจมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอนั้นได้ จึงชอบแล้ว
แม้จำเลยจะมีสำนักงานตั้งอยู่บนอสังหาริมทรัพย์รายได้จากการเป็นทนายความของจำเลยก็เกิดจากการประกอบวิชาชีพของจำเลยนั่นเอง รายได้จากการใช้วิชาชีพดังกล่าวไม่ใช่เป็นการค้าหรือมีลักษณะคล้ายคลึงใกล้เคียงกับการประกอบการพาณิชยกรรม จึงถือไม่ได้ว่าเป็นรายได้จากอสังหาริมทรัพย์หรือรายได้จากการประกอบพาณิชยกรรมในอันที่จะให้ศาลมีคำสั่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307
แม้จำเลยจะมีสำนักงานตั้งอยู่บนอสังหาริมทรัพย์รายได้จากการเป็นทนายความของจำเลยก็เกิดจากการประกอบวิชาชีพของจำเลยนั่นเอง รายได้จากการใช้วิชาชีพดังกล่าวไม่ใช่เป็นการค้าหรือมีลักษณะคล้ายคลึงใกล้เคียงกับการประกอบการพาณิชยกรรม จึงถือไม่ได้ว่าเป็นรายได้จากอสังหาริมทรัพย์หรือรายได้จากการประกอบพาณิชยกรรมในอันที่จะให้ศาลมีคำสั่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307