พบผลลัพธ์ทั้งหมด 304 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8755/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินที่จำเลยไม่มีสิทธิ ทำให้โจทก์สำคัญผิดในสาระสำคัญของสัญญา เป็นโมฆะและต้องคืนเงิน
จำเลยหลอกลวงเอาที่ดินที่ตนไม่มีสิทธิมาหลอกขายให้โจทก์ ทำให้โจทก์เข้าใจว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองสามารถโอนสิทธิและนำไปออกเอกสารสิทธิได้ เป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมสัญญา การซื้อขายที่ดินจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 และต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับ จำเลยจึงต้องคืนเงินให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะกรรมซื้อขายในคดีล้มละลาย: การคืนเงินและดอกเบี้ยในฐานะลาภมิควรได้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับลูกหนี้ซึ่งเป็นโมฆะ แม้ไม่มีผลทำให้ฐานะของคู่กรณีแห่งนิติกรรมมาแต่ต้นเปลี่ยนแปลงไป แต่คำร้องของผู้ร้องที่ขอให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินพิพาทและให้ผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขาย คืนเงินค่าที่ดินพิพาทที่ได้รับไว้จากลูกหนี้ให้แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้นั้น เป็นเพียงวิธีการที่ผู้ร้องใช้อำนาจเพื่อเก็บรวบรวมเงินของลูกหนี้เข้ารวมไว้ในกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย แต่การที่ผู้คัดค้านที่ 1 เรียกให้ผู้ร้องส่งมอบที่ดินพิพาทคืนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นการใช้สิทธิติดตามเอาที่ดินพิพาทกลับคืนเป็นของตนเองอันเป็นข้อพิพาทต่างหากระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้ร้องในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่อาจมีคำขอให้ลูกหนี้คืนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 มาในคำคัดค้านคำร้องของผู้ร้องได้
นิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับลูกหนี้เป็นโมฆะ การคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรม ต้องนำบทบัญญัติลาภมิควรได้มาใช้บังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ผู้คัดค้านที่ 1 มีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าที่ดินพิพาทที่ได้รับจากลูกหนี้ซึ่งเป็นลาภมิควรได้จนเต็มจำนวน เว้นแต่ผู้คัดค้านที่ 1 จะได้รับไว้โดยสุจริต จึงมีหน้าที่ต้องคืนเพียงส่วนที่ยังมีอยู่ในขณะเมื่อเรียกคืนตามมาตรา 412 และเป็นหนี้เงินต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาผิดนัดเป็นต้นไป
นิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับลูกหนี้เป็นโมฆะ การคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรม ต้องนำบทบัญญัติลาภมิควรได้มาใช้บังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ผู้คัดค้านที่ 1 มีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าที่ดินพิพาทที่ได้รับจากลูกหนี้ซึ่งเป็นลาภมิควรได้จนเต็มจำนวน เว้นแต่ผู้คัดค้านที่ 1 จะได้รับไว้โดยสุจริต จึงมีหน้าที่ต้องคืนเพียงส่วนที่ยังมีอยู่ในขณะเมื่อเรียกคืนตามมาตรา 412 และเป็นหนี้เงินต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาผิดนัดเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2513/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเล่นแชร์เลิกสัญญา นายวงแชร์หลบหนี จำเลยผู้ประมูลมีหน้าที่คืนเงินให้ผู้ที่ยังไม่ได้ประมูล
การเล่นแชร์เป็นสัญญาชนิดหนึ่งเกิดขึ้นจากความตกลงระหว่างผู้เล่น จำเลยทั้งสี่และโจทก์ทั้งสองเป็นลูกวงแชร์ที่ ป. เป็นนายวงแชร์ต่างก็เข้าร่วมเล่นแชร์ด้วยกันถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่กับโจทก์ทั้งสองและลูกวงแชร์คนอื่นๆ มีความผูกพันต้องส่งเงินตามที่ตกลงกันในการเล่นและมีสิทธิในการเข้าประมูลระหว่างลูกวงแชร์ด้วยกันจึงต้องมีความผูกพันต่อกันด้วยหาใช่จะผูกพันเฉพาะแต่นายวงแชร์ไม่ สำหรับ ป. ที่เป็นนายวงแชร์ เป็นการกำหนดตัวบุคคลให้เป็นผู้รับภาระรับผิดชอบรวบรวมเงินจากลูกวงแชร์ทุกคนเพื่อส่งมอบแก่สมาชิกอื่นผู้ประมูลได้ตามที่ตกลงกันไว้ เมื่อจำเลยทั้งสี่เป็นผู้ประมูลได้และรับเงินไปแล้ว นายวงแชร์ได้เก็บเงินค่าแชร์จากโจทก์ทั้งสองและลูกวงแชร์ไปเพื่อชำระให้จำเลยทั้งสี่แล้ว ยังจะต้องหมุนเวียนเปลี่ยนกันไปจนกว่าจะครบ ดังนั้น จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้ประมูลเงินแชร์ไปได้แล้วจึงมีหน้าที่ผูกพันจะต้องส่งเงินคืนแก่ผู้ที่ยังไม่ได้ประมูล เมื่อโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ที่ยังไม่ได้ประมูลและ ป. นายวงแชร์หลบหนีไป สัญญาแชร์วงนี้จึงเลิกเล่นกันก่อนที่จะมีการประมูลกันในงวดต่อไป คู่กรณีจึงกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยทั้งสี่ต้องส่งเงินที่รับไปคืนโจทก์ทั้งสอง เมื่อจำเลยทั้งสี่ไม่ยอมคืน โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่ให้คืนเงินนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7691/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายผิดสัญญา การเลิกสัญญาและการคืนเงิน
สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์จำเลยข้อ 6.1 กำหนดว่า "ในกรณีที่ผู้ซื้อผิดสัญญาไม่ว่าข้อใดข้อหนึ่งของสัญญานี้ เจ้าของโครงการอาจบอกเลิกสัญญานี้ในเวลาใดก่อนการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดผู้ซื้อให้แก่ผู้ซื้อได้ โดยบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้ซื้อ และในกรณีดังกล่าวผู้ซื้อตกลงให้เจ้าของโครงการมีสิทธิริบเงินทั้งหมดที่ผู้ซื้อได้ชำระแล้ว" จำเลยก่อสร้างห้องชุดพิพาทแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2536 และมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ โจทก์ไม่ไปรับโอน จำเลยไม่ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาตามข้อกำหนดในสัญญาไปยังโจทก์ จำเลยกลับมีหนังสือไปถึงโจทก์ว่า ห้องชุดของโจทก์พร้อมที่จะเข้าอยู่อาศัยได้แล้ว และต่อมาจำเลยได้มีหนังสือไปถึงโจทก์ชี้แจ้งเรื่องอาคารชุดที่อยู่ในเขตปลอดภัยในราชการทหารว่ากำลังดำเนินการขออนุญาตปลูกสร้างให้ถูกต้อง แสดงว่าจำเลยมิได้ถือเอากำหนดระยะเวลาการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทเป็นสาระสำคัญ สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์และจำเลยจึงมีผลใช้บังคับอยู่ ต่อมาวันที่ 2 กรกฎาคม 2541 จำเลยขายห้องชุดพิพาทให้แก่บุคคลอื่นไป ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา วันที่ 23 สิงหาคม 2543 โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลย สัญญาดังกล่าวจึงเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจึงต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าห้องชุดที่โจทก์ชำระไปแล้วให้แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5801/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวิ่งเต้นคดีและการคืนเงินในบริเวณศาล ถือเป็นประพฤติตนไม่เรียบร้อย ละเมิดอำนาจศาล
หลังจากที่ผู้กล่าวหาได้ตกลงว่าจ้างผู้ถูกกล่าวหาเป็นทนายความแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาบอกว่าจะติดต่อวิ่งเต้นคดีในชั้นศาลอุทธรณ์ให้และได้ติดต่อแล้วจะต้องเสียค่าใช้จ่ายให้เบื้องบน 200,000 บาท ผู้กล่าวหาตกลงและนัดให้ไปรับมอบเงินที่บ้านของผู้กล่าวหา เมื่อผู้ถูกกล่าวหารับเงินดังกล่าวไปแล้ว ผลปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน ผู้กล่าวหาจึงทวงเงินคืนหลายครั้งเคยมาติดตามทวงคืนในบริเวณศาล 3 ครั้ง แม้การเรียกเงินค่าวิ่งเต้นคดีจะมิได้เกิดขึ้นในบริเวณศาล แต่ได้มีการติดต่อทวงถามคืนเงินในบริเวณศาลและมีการมอบเงินคืนที่บริเวณโรงรถของศาลกระบวนการเรียกร้องคืนเงินค่าวิ่งเต้นคดีและการคืนเงินถือเป็นส่วนหนึ่งของการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลแล้ว การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาจึงเป็นการละเมิดอำนาจศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5331/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินประกันการทำงาน: กฎหมายแรงงานคุ้มครองลูกจ้าง แม้มีข้อตกลงอื่น
จำเลยหักเงินประกันการทำงานของโจทก์ไว้ 20,000 บาท โดยจำเลยมีประกาศเรื่องระเบียบการค้ำประกันพนักงาน กำหนดการคืนเงินประกันการทำงานแก่พนักงานที่ลาออกภายใน 4 เดือน หลังจากวันทำงานสุดท้าย และประกาศ เรื่องระเบียบการค้ำประกันพนักงาน กำหนดการคืนเงินประกันการทำงานแก่พนักงานที่ลาออกภายใน 6 เดือน หลังจากวันทำงานสุดท้าย ซึ่งจำเลยอ้างสิทธิตามประกาศดังกล่าว จึงยังไม่คืนเงินประกันการทำงานแก่โจทก์ แต่เมื่อประกาศดังกล่าวขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 10 วรรคสอง ที่กำหนดให้นายจ้างคืนเงินประกันการทำงานแก่ลูกจ้างภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ลูกจ้างลาออก อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงต้องคืนเงินประกันการทำงานให้แก่โจทก์ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่โจทก์ลาออก
เมื่อโจทก์ฟ้องคดีก่อนพ้นกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่โจทก์ลาออก ยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยจงใจไม่จ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์ หรือไม่จ่ายเงินดังกล่าวโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ร้อยละสิบห้าของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลาเจ็ดวันตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคสอง
เมื่อโจทก์ฟ้องคดีก่อนพ้นกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่โจทก์ลาออก ยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยจงใจไม่จ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์ หรือไม่จ่ายเงินดังกล่าวโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ร้อยละสิบห้าของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลาเจ็ดวันตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้ว และคำขอคืนเงินไม่เป็นฟ้องซ้อน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นตัวแทนของบริษัท ศ. หลอกลวงผู้เสียหายซึ่งเป็นลูกค้าและทำสัญญาประกันชีวิตไว้กับบริษัท ศ. ว่าบริษัท ศ. มีนโยบายสมนาคุณให้แก่ลูกค้าพิเศษ มีโครงการรับฝากเงินแบบออมทรัพย์พิเศษจากลูกค้าโดยจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนอัตราร้อยละ 10 ต่อปี จ่ายผลประโยชน์ให้แก่ลูกค้าทุก 6 เดือน อันเป็นความเท็จ โจทก์ร่วมหลงเชื่อสั่งจ่ายเช็ค 21 ฉบับ ให้จำเลยแล้วจำเลยนำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินนำไปเป็นประโยชน์ส่วนตน ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวหรือไม่ ศาลต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าโจทก์ร่วมมีเจตนาฝากเงินแต่ละครั้งตามวันเดือนปีที่โจทก์ร่วมสั่งจ่ายเช็คแต่ละฉบับให้แก่จำเลยหรือโจทก์ร่วมมีเจตนาฝากเงินเพียงครั้งเดียว ฎีกาของจำเลยจึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงอันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย เมื่อคดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและยังคงลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่งประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่โจทก์ขอให้คืนเงินแม้ถือว่าเป็นการขอแทนโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 แต่เป็นกรณีที่เนื่องมาจากการกระทำความผิดอาญาอันเป็นมูลละเมิดเท่านั้น ส่วนคดีแพ่งโจทก์ร่วมฟ้องว่าจำเลยและบริษัท ศ. ฐานผิดสัญญาฝากทรัพย์และเรียกทรัพย์คืนอันเป็นมูลหนี้มาจากการผิดสัญญา ถึงแม้คำขอบังคับส่วนแพ่งในคดีนี้และคดีแพ่งเป็นอย่างเดียวกัน แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหามิใช่เป็นอย่างเดียวกัน กรณีจึงมิใช่เป็นการฟ้องคดีในเรื่องเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้อนตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 คำขอให้จำเลยคืนเงินแก่โจทก์ร่วม จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งที่โจทก์ร่วมฟ้องจำเลยและบริษัท ศ. ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ พิพากษายืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการ: การเบิกจ่ายถูกต้องตามระเบียบเท่านั้น แม้มีอนุมัติเบิกจ่ายก่อนหน้า หากไม่มีสิทธิก็ต้องคืน
ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง
ว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง
พ.ศ.2545 ข้อ 3 ได้กำหนดว่า “ท้องที่” หมายความว่า
กรุงเทพมหานคร... “ท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรก” หมายความว่า ท้องที่ที่มีคำสั่งบรรจุเข้ารับราชการเป็นครั้งแรก...
และข้อ 7 ได้กำหนดว่า ภายใต้บังคับข้อ 16 และข้อ
17 ข้าราชการผู้ใดได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านเท่าที่จ่ายจริงตามสมควรแก่สภาพแห่งบ้าน
แต่อย่างสูงไม่เกินจำนวนเงินที่กระทรวงการคลังกำหนดไว้สำหรับข้าราชการพลเรือน เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้...
(3) ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ในท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรก...
แสดงว่า ข้าราชการที่จะมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการ จะต้องเป็นกรณีที่ผู้นั้นได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่นอกเหนือกรุงเทพมหานคร
แม้โจทก์จะมีคำสั่งให้จำเลยได้รับการบรรจุแต่งตั้งให้รับราชการครั้งแรกตำแหน่งเจ้าหน้าที่ศาลปกครอง 3 กลุ่มงานคดีปกครอง
สำนักงานศาลปกครองในภูมิภาค 9 (ยะลา) ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2544 ก็ตาม
แต่สำนักงานดังกล่าวยังไม่ได้เปิดทำการ โจทก์จึงมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติราชการที่สำนักงานศาลปกครองในส่วนกลางที่สำนักงานส่งเสริมงานคดีปกครอง
สำนักงานศาลปกครองกลางที่กรุงเทพมหานครไปพลางก่อน
ต่อมาโจทก์มีคำสั่งย้ายให้จำเลยไปปฏิบัติหน้าที่ที่สำนักงานศาลปกครองในภูมิภาค
5 (นครศรีธรรมราช) ตำแหน่งพนักงานคดีปกครอง 3 กลุ่มงานคดีปกครอง แต่ขณะนั้นสำนักงานศาลปกครองในภูมิภาค
5 (นครศรีธรรมราช) ยังไม่เปิดทำการ จำเลยจึงยังคงปฏิบัติหน้าที่ที่สำนักงานศาลปกครองในส่วนกลาง
ที่สำนักงานส่งเสริมงานคดีปกครองตลอดมา จากข้อเท็จจริงดังกล่าว จำเลยไม่เคยได้รับคำสั่งให้เดินทางไปปฏิบัติราชการประจำสำนักงานในท้องที่นอกเหนือกรุงเทพมหานครอย่างแท้จริงแต่อย่างใด
จำเลยจึงย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามระเบียบดังกล่าว แม้จำเลยจะอ้างว่าจำเลยได้รับคำสั่งให้บรรจุและแต่งตั้งให้รับราชการครั้งแรกที่สำนักงานศาลปกครองในภูมิภาค
9 (ยะลา) ก็ตาม แต่เพียงการที่จำเลยได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้เริ่มรับราชการครั้งแรกในจังหวัดอื่นนอกเหนือจากกรุงเทพมหานครนั้น
ก็ยังไม่ก่อให้จำเลยมีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้ เพราะสิทธิการเบิกค่าเช่าบ้านจะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่สำคัญที่ว่าข้าราชการผู้นั้นจะต้องได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานนอกเหนือกรุงเทพมหานครด้วย
เมื่อจำเลยมิได้รับคำสั่งในลักษณะดังกล่าว จำเลยจึงย่อมไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการจากโจทก์ได้
ว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง
พ.ศ.2545 ข้อ 3 ได้กำหนดว่า “ท้องที่” หมายความว่า
กรุงเทพมหานคร... “ท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรก” หมายความว่า ท้องที่ที่มีคำสั่งบรรจุเข้ารับราชการเป็นครั้งแรก...
และข้อ 7 ได้กำหนดว่า ภายใต้บังคับข้อ 16 และข้อ
17 ข้าราชการผู้ใดได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านเท่าที่จ่ายจริงตามสมควรแก่สภาพแห่งบ้าน
แต่อย่างสูงไม่เกินจำนวนเงินที่กระทรวงการคลังกำหนดไว้สำหรับข้าราชการพลเรือน เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้...
(3) ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ในท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรก...
แสดงว่า ข้าราชการที่จะมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการ จะต้องเป็นกรณีที่ผู้นั้นได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่นอกเหนือกรุงเทพมหานคร
แม้โจทก์จะมีคำสั่งให้จำเลยได้รับการบรรจุแต่งตั้งให้รับราชการครั้งแรกตำแหน่งเจ้าหน้าที่ศาลปกครอง 3 กลุ่มงานคดีปกครอง
สำนักงานศาลปกครองในภูมิภาค 9 (ยะลา) ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2544 ก็ตาม
แต่สำนักงานดังกล่าวยังไม่ได้เปิดทำการ โจทก์จึงมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติราชการที่สำนักงานศาลปกครองในส่วนกลางที่สำนักงานส่งเสริมงานคดีปกครอง
สำนักงานศาลปกครองกลางที่กรุงเทพมหานครไปพลางก่อน
ต่อมาโจทก์มีคำสั่งย้ายให้จำเลยไปปฏิบัติหน้าที่ที่สำนักงานศาลปกครองในภูมิภาค
5 (นครศรีธรรมราช) ตำแหน่งพนักงานคดีปกครอง 3 กลุ่มงานคดีปกครอง แต่ขณะนั้นสำนักงานศาลปกครองในภูมิภาค
5 (นครศรีธรรมราช) ยังไม่เปิดทำการ จำเลยจึงยังคงปฏิบัติหน้าที่ที่สำนักงานศาลปกครองในส่วนกลาง
ที่สำนักงานส่งเสริมงานคดีปกครองตลอดมา จากข้อเท็จจริงดังกล่าว จำเลยไม่เคยได้รับคำสั่งให้เดินทางไปปฏิบัติราชการประจำสำนักงานในท้องที่นอกเหนือกรุงเทพมหานครอย่างแท้จริงแต่อย่างใด
จำเลยจึงย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามระเบียบดังกล่าว แม้จำเลยจะอ้างว่าจำเลยได้รับคำสั่งให้บรรจุและแต่งตั้งให้รับราชการครั้งแรกที่สำนักงานศาลปกครองในภูมิภาค
9 (ยะลา) ก็ตาม แต่เพียงการที่จำเลยได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้เริ่มรับราชการครั้งแรกในจังหวัดอื่นนอกเหนือจากกรุงเทพมหานครนั้น
ก็ยังไม่ก่อให้จำเลยมีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้ เพราะสิทธิการเบิกค่าเช่าบ้านจะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่สำคัญที่ว่าข้าราชการผู้นั้นจะต้องได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานนอกเหนือกรุงเทพมหานครด้วย
เมื่อจำเลยมิได้รับคำสั่งในลักษณะดังกล่าว จำเลยจึงย่อมไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการจากโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6518/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความบังคับคดีประกันภัย: การชำระหนี้หลังหมดอายุความและสิทธิการคืนเงิน
ฎีกาของผู้ประกันเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 5 เกี่ยวกับการบังคับตามสัญญาประกัน โดยศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยว่า การที่ผู้ประกันนำเงิน 500,000 บาท มาชำระตามสัญญาประกันในวันที่ 15 มิถุนายน 2561 ทั้งที่ผู้ประกันอ้างในคำร้องฉบับลงวันที่ 7 มิถุนายน 2561 ว่า ศาลชั้นต้นสิ้นสิทธิในการบังคับคดีเพราะไม่บังคับคดีภายใน 10 ปี จึงเป็นเรื่องที่ผู้ประกันชำระหนี้โดยรู้ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จึงไม่มีสิทธิรับเงินดังกล่าวคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 โดยศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีคำพิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของผู้ประกัน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ดังกล่าว ย่อมเป็นที่สุด ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6331/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายฝากทับทิมไม่ใช่ยักยอก หากจำเลยผิดสัญญาคืนเงิน ศาลมีอำนาจสั่งคืนได้แม้ไม่มีความผิดอาญา
โจทก์ร่วมมอบทับทิมให้จำเลยไปขายโดยกำหนดราคาขั้นต่ำไว้ จำเลยจะขายในราคาที่สูงกว่าก็ได้ จำเลยเพียงแต่มีหน้าที่นำเงินตามราคาที่โจทก์ร่วมกำหนดไว้มาชำระคืนให้แก่โจทก์ร่วมเท่านั้น ลักษณะเช่นนี้จำเลยย่อมมีสิทธิขายทับทิมอย่างเป็นของของตนเอง หาใช่เป็นตัวแทนไปขายในนามของโจทก์ร่วมไม่ แม้จะมีข้อตกลงให้ค่าตอบแทนแก่จำเลยในอัตราร้อยละ 3 ของเงินที่ขายทับทิมได้ ก็ไม่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยเปลี่ยนแปลงไป เมื่อจำเลยขายทับทิมได้แล้วไม่ส่งเงินให้แก่โจทก์ร่วมจนครบถ้วน ถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาทางแพ่งต่อโจทก์ร่วมเท่านั้น การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ เมื่อพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดฐานยักยอกเงิน 500,000 บาท ของโจทก์ร่วม และขอให้จำเลยคืนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ร่วมด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ดังนี้ แม้จำเลยไม่ได้กระทำความผิดฐานยักยอก แต่จำเลยรับว่าต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ร่วม ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ร่วมตามที่พนักงานอัยการโจทก์ขอได้ หาจำต้องให้โจทก์ร่วมไปฟ้องเรียกเงินดังกล่าวจากจำเลยเป็นคดีแพ่งอีกไม่