พบผลลัพธ์ทั้งหมด 298 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3385/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลที่งดสืบพยานชอบด้วยกฎหมายเมื่อผู้ถูกบังคับยกเหตุขัดแย้งคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการได้ และการอุทธรณ์คำสั่งศาลระหว่างพิจารณาต้องห้าม
อุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ว่า ผู้คัดค้านก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนไม่เกินร้อยละ 5 และได้รับยกเว้นตามกฎกระทรวงที่ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ให้สามารถทำได้แต่อนุญาโตตุลาการกลับวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทไปโดยไม่นำข้อกฎหมายดังกล่าวมาวินิจฉัย คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านต่อศาลชั้นต้นอย่างชัดแจ้งแล้วย่อมมีสิทธินำสืบพิสูจน์เพื่อให้ศาลปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวได้ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคำคัดค้านของผู้คัดค้านไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 และเป็นการคัดค้านไม่ตรงประเด็น ไม่มีประเด็นที่ผู้คัดค้านจะนำสืบพิสูจน์ แล้วให้งดการสืบพยานเป็นการไม่ชอบ เป็นอุทธรณ์ในทำนองว่า คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานของผู้คัดค้าน เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทกฎหมายว่าด้วยการพิจารณาคดี คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 42 บัญญัติให้คู่พิพาทฝ่ายที่ประสงค์จะให้มีการบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการยื่นคำร้องต่อศาล และเมื่อศาลได้รับคำร้องแล้วให้รีบทำการไต่สวนและมีคำพิพากษาโดยพลัน และศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการได้ โดยเหตุแห่งการปฏิเสธไม่บังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าว ได้แก่ เหตุที่คู่ความต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นตามมาตรา 43 ประการหนึ่ง และเหตุที่ศาลอาจยกขึ้นได้เองตามมาตรา 44 อีกประการหนึ่ง ผู้ซึ่งจะต้องถูกบังคับย่อมมีสิทธิยกข้อที่จะเป็นเหตุให้ศาลปฏิเสธไม่บังคับตามคำชี้ขาดตามบทกฎหมายดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้คัดค้านคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดได้และศาลต้องทำการไต่สวนเพื่อให้ได้ความชัดแจ้งว่า คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการเป็นคำชี้ขาดที่ชอบด้วยกฎหมายสามารถใช้บังคับแก่ข้อพิพาทนั้นหรือไม่
ผู้คัดค้านอุทธรณ์กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งงดสืบพยานของผู้คัดค้านโดยมีคำขอเพียงให้ศาลฎีกามีคำสั่งหรือคำพิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นสืบพยานของผู้คัดค้านแล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ มิได้มีคำขอให้ผู้คัดค้านชนะคดีตามคำคัดค้าน แม้จะโต้แย้งคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ก็เป็นเพียงเหตุผลประกอบการอุทธรณ์คัดค้านกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไรเท่านั้น จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 42 บัญญัติให้คู่พิพาทฝ่ายที่ประสงค์จะให้มีการบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการยื่นคำร้องต่อศาล และเมื่อศาลได้รับคำร้องแล้วให้รีบทำการไต่สวนและมีคำพิพากษาโดยพลัน และศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการได้ โดยเหตุแห่งการปฏิเสธไม่บังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าว ได้แก่ เหตุที่คู่ความต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นตามมาตรา 43 ประการหนึ่ง และเหตุที่ศาลอาจยกขึ้นได้เองตามมาตรา 44 อีกประการหนึ่ง ผู้ซึ่งจะต้องถูกบังคับย่อมมีสิทธิยกข้อที่จะเป็นเหตุให้ศาลปฏิเสธไม่บังคับตามคำชี้ขาดตามบทกฎหมายดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้คัดค้านคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดได้และศาลต้องทำการไต่สวนเพื่อให้ได้ความชัดแจ้งว่า คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการเป็นคำชี้ขาดที่ชอบด้วยกฎหมายสามารถใช้บังคับแก่ข้อพิพาทนั้นหรือไม่
ผู้คัดค้านอุทธรณ์กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งงดสืบพยานของผู้คัดค้านโดยมีคำขอเพียงให้ศาลฎีกามีคำสั่งหรือคำพิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นสืบพยานของผู้คัดค้านแล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ มิได้มีคำขอให้ผู้คัดค้านชนะคดีตามคำคัดค้าน แม้จะโต้แย้งคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ก็เป็นเพียงเหตุผลประกอบการอุทธรณ์คัดค้านกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไรเท่านั้น จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11707/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานและการรับฟังพยานหลักฐานในคดีเช็ค - การประวิงคดีและการยื่นเอกสารไม่ถูกต้อง
ก่อนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลย หากนางสาว ว. เป็นพยานสำคัญของจำเลย จำเลยก็ชอบที่จะดำเนินการขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายเรียกพยานเสียแต่เนิ่น ๆ แต่จำเลยหากระทำไม่ ทั้งตามอุทธรณ์และฎีกาของจำเลยก็มิได้อ้างถึงเหตุขัดข้องแต่ประการใด พฤติการณ์ของจำเลยส่อว่าประสงค์จะขอเลื่อนการสืบพยานจำเลยไปเพื่อประวิงให้ชักช้า การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคสอง และมาตรา 104 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
สัญญากู้เงินมีการขูดลบตกเติมข้อความในสัญญาหลายแห่งโดยไม่มีการลงลายมือชื่อกำกับไว้ เหตุดังกล่าวแต่ประการเดียวยังไม่อาจรับฟังเป็นยุติได้ว่า สัญญากู้เงินดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม สำหรับสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่จำเลยอ้างว่าแจ้งความดำเนินคดีเรื่องเอกสารปลอม จำเลยมิได้อ้างส่งต่อศาลชั้นต้น แต่เพิ่งแนบมาท้ายอุทธรณ์และฎีกา โดยไม่ปรากฏเหตุขัดข้องใด จึงเป็นการยื่นเอกสารฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ไม่อาจรับเป็นพยานหลักฐานได้
สัญญากู้เงินมีการขูดลบตกเติมข้อความในสัญญาหลายแห่งโดยไม่มีการลงลายมือชื่อกำกับไว้ เหตุดังกล่าวแต่ประการเดียวยังไม่อาจรับฟังเป็นยุติได้ว่า สัญญากู้เงินดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม สำหรับสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่จำเลยอ้างว่าแจ้งความดำเนินคดีเรื่องเอกสารปลอม จำเลยมิได้อ้างส่งต่อศาลชั้นต้น แต่เพิ่งแนบมาท้ายอุทธรณ์และฎีกา โดยไม่ปรากฏเหตุขัดข้องใด จึงเป็นการยื่นเอกสารฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ไม่อาจรับเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13725/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าร่วมเป็นโจทก์ของผู้เสียหาย และการพิจารณาคดีอาญาที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโดยไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องบรรยายโดยสรุปได้ความว่า จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่พนักงานสอบสวนว่า จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคารกับบริษัทผู้เสียหาย การก่อสร้างอาคารยังไม่แล้วเสร็จและอาคารดังกล่าวมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของบ้านจึงแจ้งความร้องทุกข์ไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นความเท็จ ความจริงแล้วบริษัทผู้เสียหายก่อสร้างอาคารเสร็จแล้วแต่จำเลยกลับไม่ยอมชำระราคากับรับมอบที่ดินและอาคารจากบริษัทผู้เสียหาย เป็นเหตุให้พนักงานสอบสวนหลงเชื่อจดข้อความอันเป็นเท็จตามที่จำเลยแจ้งลงในบันทึกรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติอันเป็นเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย และต่อมาจำเลยใช้อ้างเอกสารราชการดังกล่าวต่อประธานศาลปกครองสูงสุดโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย คำบรรยายฟ้องดังกล่าวนั้นได้อ้างถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยที่อ้างว่าเป็นความผิด ทั้งบุคคลและเอกสารที่เกี่ยวข้องแล้วด้วย อันครบถ้วนตามองค์ประกอบของความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137, 267 และ 268 โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้บรรยายโดยแจ้งชัดว่าการกระทำผิดของจำเลยเป็นการกระทำที่พาดพิงและเจาะจงว่ากล่าวถึงผู้เสียหายอันเป็นเหตุให้สิทธิของผู้เสียหายถูกกระทบกระเทือน ผู้เสียหายจึงได้รับความเสียหายโดยตรง ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7115/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำให้การหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยาน: ศาลอนุญาตได้หากไม่กระทบความสงบเรียบร้อย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์แล้วนัดฟังคำพิพากษา จึงไม่มีวันชี้สองสถานและวันสืบพยาน จำเลยที่ 3 ย่อมจะยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การนอกจากที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยที่ 3 แก้ไขคำให้การได้แล้วจะเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9340/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การงดสืบพยานเมื่อข้อเท็จจริงในคดีอาญาถึงที่สุดแล้ว
คดีนี้กับคดีอาญาซึ่งโจทก์ในคดีนี้เป็นโจทก์ร่วมในคดีดังกล่าวมีประเด็นเป็นเรื่องเดียวกัน คือ จำเลยได้เบียดบังยักยอกทรัพย์ของโจทก์หรือไม่ และคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว กรณีจึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีพิพากษาคดีอาญา เมื่อคดีส่วนอาญาศาลวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า จำเลยไม่ได้เบียดบังยักยอกทรัพย์ คดีนี้จึงต้องถือข้อเท็จจริงตาม และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติหรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าข้อเท็จจริงในคดีนี้มีเพียงพอที่จะวินิจฉัยชี้ขาดคดีไปแล้วและมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลย จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9201/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-สิทธิเช่า: ศาลมีอำนาจงดสืบพยานเมื่อวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายได้ และสิทธิเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่ตกทอด
การที่ศาลจะสั่งงดสืบพยานเป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคสอง และ 104 วรรคหนึ่ง เมื่อคดีนี้จำเลยทั้งสองให้การว่าเป็นฟ้องซ้อน และยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามมาตรา 24 เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การพอวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวได้แล้วศาลชั้นต้นย่อมสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยเสียได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าที่ดิน 2 แปลงที่ ท. มีต่อจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนสัญญาเช่าที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และสัญญาเช่าที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยกล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 1 นำที่ดินแต่ละแปลงดังกล่าวไปให้จำเลยที่ 2 และให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาเช่าในขณะที่คดีก่อนอยู่ระหว่างการพิจารณาอันเป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นภายหลัง ซึ่งโจทก์ไม่อาจยกขึ้นกล่าวอ้างหรือมีคำขอบังคับขณะยื่นฟ้องคดีก่อนได้ ทั้งคำขอที่ให้เพิกถอนสัญญาเช่าที่ดินในคดีนี้ยังกระทบต่อสิทธิของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งมิได้เป็นคู่ความในคดีก่อนด้วย จึงมิใช่เป็นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันกับคดีก่อน ไม่เป็นฟ้องซ้อนที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเรียกร้องอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นโดยสัญญา ซึ่งผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สิน อันเป็นหนี้เหนือบุคคล หาใช่เป็นสิทธิเหนือทรัพย์สินหรือเป็นทรัพยสิทธิไม่ และการเช่าทรัพย์สินนั้น ปกติผู้ให้เช่าย่อมเพ่งเล็งถึงคุณสมบัติของผู้เช่าว่าสมควรได้รับความไว้วางใจในการใช้และดูแลทรัพย์สินที่เช่าหรือไม่ สิทธิของผู้เช่าจึงมีสภาพเป็นการเฉพาะตัว เมื่อผู้เช่าตายสิทธิการเช่าตามสัญญาเช่าก็เป็นอันระงับสิ้นสุดลง และไม่เป็นมรดกตกทอดไปถึงทายาททั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงว่ามีข้อตกลงให้ผู้เช่าโอนสิทธิการเช่าหรือไม่ เพราะหากมีข้อตกลงก็เป็นเรื่องที่ผู้ให้เช่ายอมให้ผู้เช่าโอนสิทธิการเช่าแก่บุคคลภายนอกในระหว่างที่ผู้เช่ามีชีวิตอยู่ ซึ่งอาจทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 544 เท่านั้น ดังนั้น พินัยกรรมของ ท. ที่ยกสิทธิการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องใด ๆ แก่โจทก์เกี่ยวกับที่ดินที่เช่าและไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 จะต้องให้โจทก์เป็นผู้เช่าต่อไป จำเลยที่ 1 ย่อมพิจารณาให้จำเลยที่ 2 และให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้เช่าที่ดินแต่ละแปลงต่อไปได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าที่ดิน 2 แปลงที่ ท. มีต่อจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนสัญญาเช่าที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และสัญญาเช่าที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยกล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 1 นำที่ดินแต่ละแปลงดังกล่าวไปให้จำเลยที่ 2 และให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาเช่าในขณะที่คดีก่อนอยู่ระหว่างการพิจารณาอันเป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นภายหลัง ซึ่งโจทก์ไม่อาจยกขึ้นกล่าวอ้างหรือมีคำขอบังคับขณะยื่นฟ้องคดีก่อนได้ ทั้งคำขอที่ให้เพิกถอนสัญญาเช่าที่ดินในคดีนี้ยังกระทบต่อสิทธิของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งมิได้เป็นคู่ความในคดีก่อนด้วย จึงมิใช่เป็นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันกับคดีก่อน ไม่เป็นฟ้องซ้อนที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเรียกร้องอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นโดยสัญญา ซึ่งผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สิน อันเป็นหนี้เหนือบุคคล หาใช่เป็นสิทธิเหนือทรัพย์สินหรือเป็นทรัพยสิทธิไม่ และการเช่าทรัพย์สินนั้น ปกติผู้ให้เช่าย่อมเพ่งเล็งถึงคุณสมบัติของผู้เช่าว่าสมควรได้รับความไว้วางใจในการใช้และดูแลทรัพย์สินที่เช่าหรือไม่ สิทธิของผู้เช่าจึงมีสภาพเป็นการเฉพาะตัว เมื่อผู้เช่าตายสิทธิการเช่าตามสัญญาเช่าก็เป็นอันระงับสิ้นสุดลง และไม่เป็นมรดกตกทอดไปถึงทายาททั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงว่ามีข้อตกลงให้ผู้เช่าโอนสิทธิการเช่าหรือไม่ เพราะหากมีข้อตกลงก็เป็นเรื่องที่ผู้ให้เช่ายอมให้ผู้เช่าโอนสิทธิการเช่าแก่บุคคลภายนอกในระหว่างที่ผู้เช่ามีชีวิตอยู่ ซึ่งอาจทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 544 เท่านั้น ดังนั้น พินัยกรรมของ ท. ที่ยกสิทธิการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องใด ๆ แก่โจทก์เกี่ยวกับที่ดินที่เช่าและไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 จะต้องให้โจทก์เป็นผู้เช่าต่อไป จำเลยที่ 1 ย่อมพิจารณาให้จำเลยที่ 2 และให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้เช่าที่ดินแต่ละแปลงต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7402/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนการสืบพยานเนื่องจากติดตามตัวพยานไม่ได้ ศาลไม่ควรด่วนงดสืบพยานทันที
โจทก์ขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานโจทก์ตามบัญชีระบุพยานอันดับ 2 ถึงอันดับ 7 ให้มาศาลตามกำหนดเวลาที่ศาลนัดสืบพยานโจทก์ไว้ในวันที่ 7 และ 8 เมษายน 2547 แล้ว เมื่อพยานโจทก์ดังกล่าวไม่มาศาล โจทก์แถลงต่อศาลว่าพยานทั้งหมดได้รับหมายเรียกแล้ว จึงเป็นหน้าที่ของพยานที่จะต้องมาเบิกความต่อศาลตามกำหนดนัด จะถือว่าเป็นความผิดของโจทก์ที่ไม่ติดตามพยานมาศาลหาได้ไม่ และในวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 8 เมษายน 2547 ศาลชั้นต้นให้เลื่อนการสืบพยานโจทก์โดยมีคำสั่งให้ออกหมายจับพยานโจทก์ดังกล่าวก็เพื่อให้ได้ตัวพยานมาเบิกความ จึงต้องให้เวลาแก่โจทก์พอสมควรที่จะสามารถดำเนินการตามหมายจับได้ การที่ศาลชั้นต้นให้เลื่อนคดีไปเพียง 1 วัน โดยให้นัดสืบพยานโจทก์พร้อมพยานจำเลยตามที่นัดไว้ในวันรุ่งขึ้น เห็นได้ว่าเป็นเวลากระชั้นชิดไปสำหรับการติดตามจับพยาน ซึ่งไม่แน่ว่าจะยังพบตัวอยู่ตามที่อยู่ที่พยานเคยให้ไว้หรือไม่ เมื่อในวันนัดที่เลื่อนไปดังกล่าว ปรากฏว่ายังไม่ได้ตัวพยานมาศาลตามหมายจับและโจทก์แถลงขอเลื่อนคดี โดยยังประสงค์จะติดตามพยานมาสืบ แม้จะได้ความจากโจทก์ว่าพยานทั้งหมดที่ศาลออกหมายจับมีอาชีพรับจ้างมีที่อยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง แต่หากให้เวลาโจทก์พอสมควรโจทก์ก็อาจให้เจ้าพนักงานตำรวจติดตามสืบหาที่อยู่ของพยานและได้ตัวมาเบิกความต่อศาลได้ การขอเลื่อนคดีของโจทก์จึงมีเหตุอันควร กรณียังไม่สมควรที่ศาลชั้นต้นจะด่วนงดสืบพยานโจทก์ดังกล่าวทันทีอันอาจเป็นเหตุให้เสียความยุติธรรมได้ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะเลื่อนการพิจารณาสืบพยานโจทก์ไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 179 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5383/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งงดสืบพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่อุทธรณ์ได้ หากมีการโต้แย้ง และอุทธรณ์ต้องชัดเจน
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี งดสืบพยานจำเลยทั้งสอง และนัดฟังคำพิพากษา เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว แต่การที่จำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2543 ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลยทั้งสองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) แล้ว จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งให้งดสืบพยานของศาลชั้นต้นได้ แต่อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับคำสั่งให้งดสืบพยานของศาลชั้นต้นนั้น มิได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายให้ชัดแจ้งอย่างใด เพียงแต่กล่าวอ้างถึงอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง ฉบับลงวันที่ 20 ธันวาคม 2543 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 225 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 435/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานในคดีภาษีอากรและการย้อนสำนวนเพื่อสืบพยานเพิ่มเติม
คดีนี้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักรขาดนัดยื่นคำให้การ ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับโอนบัตรภาษีจากจำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การภายในกำหนด ต่อมาในวันนัดสืบพยานโจทก์ทนายจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีเนื่องจากติดรังวัดที่ดินซึ่งได้นัดไว้ก่อน สอบโจทก์ไม่ค้าน ย่อมถือว่าทนายจำเลยที่ 2 มีเหตุจำเป็นไม่อาจมาศาลได้ ชอบที่ศาลภาษีอากรกลางจะสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดี อีกทั้งจำเลยที่ 2 ยกข้อต่อสู้ในคำให้การว่า จำเลยที่ 1 ส่งออกสินค้านอกราชอาณาจักรจริง ทำให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิได้รับโอนบัตรภาษี หากศาลภาษีอากรกลางได้ทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยที่ 2 อาจฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้สำแดงเท็จในใบขนสินค้าขาออก อันเป็นผลให้จำเลยที่ 2 ได้รับโอนบัตรภาษีมาโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ก็เป็นได้ การที่ศาลภาษีอากรกลางใช้ดุลพินิจให้งดสืบพยานแล้วมีคำพิพากษาไปเสียทีเดียว จึงยังไม่อาจทราบได้แน่ชัดว่า จำเลยที่ 1 สำแดงเท็จในใบขนสินค้าขาออกหรือไม่ คำสั่งของศาลภาษีอากรกลางจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรชอบที่จะพิพากษายกคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง โดยให้ย้อนสำนวนไปทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่อไป แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) และ (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม การนำใบกำกับภาษีซื้อต้องห้ามมาเครดิต และการงดการสืบพยานของศาล
หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มที่พิพาทได้ระบุรายละเอียดแสดงยอดขายและภาษีขาย แสดงยอดซื้อและภาษีซื้อ แสดงการคำนวณภาษีและการสรุปยอดรวมภาษีที่ต้องชำระ นอกจากนี้ด้านหลังหนังสือแจ้งการประเมินได้ระบุเหตุผลที่ประเมินว่ายอดขายที่แสดงไว้ต่ำไป และระบุว่ามียอดซื้อที่เสียภาษีแล้วโดยนำภาษีซื้อต้องห้ามมาถือเป็นเครดิต และตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ก็ได้ระบุเหตุผลที่วินิจฉัยไว้แล้วหนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว จึงมีเหตุผลที่ประกอบด้วยข้อเท็จจริงเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายอ้างอิง ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 37