พบผลลัพธ์ทั้งหมด 301 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์: ผลของการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเรื่องการส่งสำเนาอุทธรณ์
กรณีที่ผู้ยื่นคำคู่ความจดไว้ในคำคู่ความว่าจะรอฟังคำสั่ง ถ้าไม่รอฟัง ให้ถือว่าได้ทราบคำสั่งนั้น แม้ผู้ยื่นคำร้องมิได้ฟังคำสั่งก็ถือว่าได้ทราบคำสั่งแล้ว
เรื่องการทิ้งฟ้องตาม มาตรา 174 ย่อมนำมาใช้บังคับแก่การทิ้งฟ้องอุทธรณ์ได้ โดยอนุโลม
ผู้อุทธรณ์ไม่มานำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งภายในกำหนดที่ศาลสั่งย่อมเป็นการทิ้งฟ้อง ศาลอุทธรณ์ย่อมสั่งจำหน่ายคดี
เรื่องการทิ้งฟ้องตาม มาตรา 174 ย่อมนำมาใช้บังคับแก่การทิ้งฟ้องอุทธรณ์ได้ โดยอนุโลม
ผู้อุทธรณ์ไม่มานำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งภายในกำหนดที่ศาลสั่งย่อมเป็นการทิ้งฟ้อง ศาลอุทธรณ์ย่อมสั่งจำหน่ายคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9251/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกข้ามประเทศและการทิ้งฟ้องคดี: การพิสูจน์ฐานะตัวแทนและการปฏิบัติตามคำสั่งศาล
แม้จำเลยที่ 1 จะเรียกเก็บค่าระวางจากผู้เอาประกันภัยแทนจำเลยที่ 2 รวมทั้งดำเนินการทางพิธีการศุลกากร แจ้งการมาถึงของเรือและออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้แก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งอยู่ในราชอาณาจักรแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน แต่จำเลยที่ 1 กระทำการแทนจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่ตกลงร่วมกันรับขนที่ฟ้องร้องในคดีนี้เท่านั้น ไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ อันจะทำให้อาจส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องตั้งต้นคดีให้แก่จำเลยที่ 2 ณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 83 ทวิ วรรคหนึ่ง การที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยที่ 2 ณ สำนักทำการงานของจำเลยที่ 1 เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลง จึงมีคำสั่งให้แก้ไขกระบวนพิจารณาที่ผิดหลงดังกล่าว โดยให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 โดยทำเป็นคำร้อง พร้อมกับคำร้องขอส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยที่ 2 ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลยที่ 2 นอกราชอาณาจักร ภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง โดยให้โจทก์ทำคำแปลหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องเป็นภาษาราชการของประเทศที่จำเลยที่ 2 มีภูมิลำเนาหรือภาษาอังกฤษพร้อมคำรับรองคำแปลว่าถูกต้องและวางเงินค่าใช้จ่ายเพื่อส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องผ่านสำนักงานศาลยุติธรรมและกระทรวงการต่างประเทศต่อไป จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 83 ทวิ และมาตรา 83 จัตวา
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาสืบหาภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ไปถึงวันที่ 25 กรกฎาคม 2558 ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาถึงวันที่ 24 กรกฎาคม 2558 โจทก์ก็ไม่ดำเนินการภายในกำหนดตามคำสั่งศาลที่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งยื่นคำโต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาล ย่อมเป็นการที่โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้น ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ดังนั้น ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องและจำหน่ายคดีของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 ออกจากสารบบความ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 83 จัตวา วรรคหนึ่ง และวรรคสาม มาตรา 174 (2) และมาตรา 132 (1)
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาสืบหาภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ไปถึงวันที่ 25 กรกฎาคม 2558 ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาถึงวันที่ 24 กรกฎาคม 2558 โจทก์ก็ไม่ดำเนินการภายในกำหนดตามคำสั่งศาลที่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งยื่นคำโต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาล ย่อมเป็นการที่โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้น ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ดังนั้น ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องและจำหน่ายคดีของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 ออกจากสารบบความ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 83 จัตวา วรรคหนึ่ง และวรรคสาม มาตรา 174 (2) และมาตรา 132 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5741/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ชำระค่าขึ้นศาล และผลกระทบต่อสิทธิฎีกา
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ทั้งในส่วนฟ้องและฟ้องแย้ง ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ทั้งสองส่วน รวมกันเป็นเงิน 1,750 บาท เมื่อจำเลยทั้งสองชำระค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์มา 900 บาท ถือว่าเป็นการชำระค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องของโจทก์ครบถ้วนแล้ว ที่จำเลยทั้งสองเพิกเฉยไม่ดำเนินการเสียค่าขึ้นศาลให้ครบถ้วนตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดจึงเป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองทิ้งฟ้องอุทธรณ์เฉพาะในส่วนฟ้องแย้ง ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องดำเนินคดีในส่วนฟ้องตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองต่อไป และผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 8 อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิฎีกาของคู่ความได้ เพราะทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาพิพากษาคดีในส่วนของโจทก์ใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 (เดิม) ประกอบมาตรา 243 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9004/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากทิ้งฟ้องทำให้กลับสู่สถานะเดิม โจทก์ไม่มีสิทธิขอเลื่อนคดี
การที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ทิ้งฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้อง รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆ อันมีมาภายหลังยื่นคำฟ้อง ทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 จึงไม่มีคดีของโจทก์อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4317/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากเหตุสุดวิสัยน้ำท่วม และความรับผิดร่วมกันของนายจ้างและผู้รับประกันภัย
การที่โจทก์ไม่ดำเนินการสืบหาที่อยู่ของจำเลยที่ 1 เพื่อส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ใหม่ และแถลงต่อศาลภายในกำหนดเวลา 1 เดือน โดยปล่อยให้เวลาล่วงพ้นไปเป็นเวลาถึง 3 เดือนเศษ แม้โจทก์ฎีกาอ้างว่ามีเหตุสุดวิสัยเกี่ยวกับภัยพิบัติน้ำท่วม ทำให้โจทก์ไม่สามารถดำเนินการภายในระยะเวลาที่ศาลสั่งได้ก็ตาม แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นก็ยังคงเปิดทำการอยู่ โจทก์สามารถสื่อสารกับศาลชั้นต้นได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าทางโทรศัพท์ หรือทางสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่โจทก์ก็หาได้กระทำไม่ กรณีจึงมิใช่เหตุสุดวิสัย ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์เฉพาะจำเลยที่ 1
เมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยของจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เท่ากับหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่ต้องชำระตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ต้องรับผิดมากไปกว่าหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่ต้องชำระแก่โจทก์เนื่องจากเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกกันชำระได้
เมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยของจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เท่ากับหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่ต้องชำระตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ต้องรับผิดมากไปกว่าหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่ต้องชำระแก่โจทก์เนื่องจากเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกกันชำระได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1427/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลให้ชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มเติม อาจทำให้ถูกถือว่าทิ้งฟ้อง
คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ให้โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มตามราคาทรัพย์สินที่พิพาท เป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 ประกอบมาตรา 246 แม้โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งนั้น และได้ยื่นคำโต้แย้งไว้เพื่อการใช้สิทธิฎีกาแล้วก็ตาม แต่โจทก์ก็ยังมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เพื่อที่ศาลอุทธรณ์จะได้พิจารณาชี้ขาดตัดสินอุทธรณ์ของโจทก์ต่อไป และหากโจทก์ยังติดใจปัญหาเรื่องค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ว่าคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มไม่ถูกต้อง โจทก์ก็มีสิทธิฎีกาได้ภายหลังศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้ว การที่โจทก์เพียงแต่ยื่นคำโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวโดยไม่นำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระเพิ่มตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์เช่นนี้ จึงเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้น จึงเป็นกรณีที่ถือได้ว่าโจทก์ได้ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246
แม้โจทก์เชื่อโดยสุจริตว่าได้ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ถูกต้องแล้วก็ตาม แต่การตรวจรับอุทธรณ์และคำแก้อุทธรณ์เป็นกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นทำการแทนศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าผู้อุทธรณ์ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาไม่ถูกต้องครบถ้วน ก็เป็นอำนาจศาลอุทธรณ์ที่จะให้ศาลชั้นต้นเรียกให้ผู้อุทธรณ์ชำระเสียให้ถูกต้องครบถ้วนก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังได้ เมื่อโจทก์ได้รับหมายนัดของศาลชั้นต้นให้นำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระเพิ่มตามราคาทรัพย์สินที่พิพาท แต่โจทก์กลับไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจยกความสุจริตของโจทก์ขึ้นกล่าวอ้างได้ ทั้งกรณีเช่นนี้ ไม่ใช่เรื่องผิดระเบียบที่ศาลอุทธรณ์จะต้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาตรวจรับอุทธรณ์และคำแก้อุทธรณ์ของศาลชั้นต้นแล้วให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่
แม้โจทก์เชื่อโดยสุจริตว่าได้ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ถูกต้องแล้วก็ตาม แต่การตรวจรับอุทธรณ์และคำแก้อุทธรณ์เป็นกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นทำการแทนศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าผู้อุทธรณ์ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาไม่ถูกต้องครบถ้วน ก็เป็นอำนาจศาลอุทธรณ์ที่จะให้ศาลชั้นต้นเรียกให้ผู้อุทธรณ์ชำระเสียให้ถูกต้องครบถ้วนก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังได้ เมื่อโจทก์ได้รับหมายนัดของศาลชั้นต้นให้นำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระเพิ่มตามราคาทรัพย์สินที่พิพาท แต่โจทก์กลับไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจยกความสุจริตของโจทก์ขึ้นกล่าวอ้างได้ ทั้งกรณีเช่นนี้ ไม่ใช่เรื่องผิดระเบียบที่ศาลอุทธรณ์จะต้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาตรวจรับอุทธรณ์และคำแก้อุทธรณ์ของศาลชั้นต้นแล้วให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4101/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เฉพาะฉบับที่สอง ไม่กระทบอุทธรณ์ฉบับแรกที่ศาลรับไว้แล้ว
จำเลยยื่นอุทธรณ์ฉบับแรก ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ไว้แล้ว ต่อมาจำเลยยื่นอุทธรณ์ฉบับที่สอง ศาลชั้นต้นจึงหมายนัดจำเลยและทนายจำเลยมาศาลเพื่อสอบถามว่าจำเลยจะใช้อุทธรณ์ฉบับใด แต่จำเลยและทนายจำเลยเพิกเฉยไม่มาดำเนินการภายในเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด กรณีถือได้ว่าเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 เฉพาะอุทธรณ์ฉบับที่สองเท่านั้น ไม่กระทบถึงอุทธรณ์ฉบับแรกที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ไว้โดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13881/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องคดีทรัพย์สินทางปัญญา จากการไม่ดำเนินคดีตามกำหนดศาล
ตามรายงานกระบวนพิจารณา ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า คดีของโจทก์มีมูล ให้ประทับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณา หมายเรียกจำเลยทั้งสามมาให้การในวันเดียวกับวันนัดพร้อม และให้โจทก์นำส่งหมายภายใน 7 วัน โจทก์ได้ทราบคำสั่งดังกล่าวตามที่โจทก์ได้ลงชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณานั้นแล้ว เมื่อโจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในกำหนดเวลานั้น ถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยชอบตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) อันเป็นการทิ้งฟ้อง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งว่า โจทก์ทิ้งฟ้องและสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เสียจากสารบบความจึงชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ ป.วิ.พ. มาตรา 132 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2955/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาฎีกา
ทนายผู้ร้องทำใบมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นฎีกา นำหมายและรับทราบคำสั่ง ปรากฏว่า เสมียนทนายผู้ร้องได้นำฎีกาของผู้ร้องมายื่นต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 13 มิถุนายน 2551 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาฎีกาให้ผู้คัดค้านภายใน 15 วัน มิฉะนั้นจะถือว่าทิ้งฎีกา และในฎีกาดังกล่าวมีข้อความประทับไว้ว่า "ข้าพเจ้าจะมาฟังคำสั่งภายใน 7 วัน นับแต่วันนี้ หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" เมื่อเสมียนทนายผู้ร้องลงลายมือชื่อไว้ใต้ข้อความดังกล่าว จึงต้องถือว่าทนายผู้ร้องได้ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งในฎีกาของผู้ร้องแล้วตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2551 และถือว่าผู้ร้องได้ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นนั้นด้วย เมื่อผู้ร้องเพิกเฉยไม่นำส่งสำเนาฎีกาภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ จึงเป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4110/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำสั่งรับอุทธรณ์และการทิ้งฟ้อง: ศาลต้องแจ้งคำสั่งให้ชัดเจน ผู้ร้องยังไม่ได้ทิ้งฟ้อง
การที่ผู้ร้องนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จำนวน 200,000 บาท มาชำระตามคำสั่งศาลชั้นต้นภายในกำหนดเวลาที่ศาลขยายระยะเวลาให้ แสดงว่าผู้ร้องมีคความประสงค์ที่จะต่อสู้คดีต่อไปในชั้นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งในคำแถลงขอวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมของผู้ร้องหลังยื่นคำแถลง 6 วัน แต่เพียงว่า เสนอวันนี้ นำฝากโดยไม่ระบุไว้ด้วยว่า ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งเกี่ยวกับอุทธรณ์ของผู้ร้องไว้ด้วยในอุทธรณ์แล้วแม้จะมีตราประทับที่ด้านล่างของคำแถลงว่า ถ้าศาลไม่อาจสั่งได้ในวันนี้ ผู้ยื่นจะมาติดตามเพื่อทราบคำสั่งทุก ๆ 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทราบคำสั่งแล้วก็ตาม ก็ย่อมฟังได้แต่เพียงว่าเสมียนทนายผู้ร้องทราบคำสั่งศาลที่สั่งรับเงินค่าขึ้นศาลไว้เท่านั้น แม้ในวันเดียวกันศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์ และให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่อีกฝ่ายหนึ่งก็ไม่อาจจะถือได้ว่าเสมียนทนายผู้ร้องได้รับทราบคำสั่งดังกล่าวด้วย เพราะเป็นการสั่งในเอกสารอีกฉบับหนึ่ง และเป็นการสั่งในภายหลังโดยไม่ได้แจ้งคำสั่งให้ผู้ร้องทราบถึงแม้ว่าที่ด้านล่างของอุทธรณ์จะมีตราประทับว่า ถ้าศาลไม่อาจสั่งได้ในวันนี้ ผู้ยื่นจะมาติดตามเพื่อทราบคำสั่งทุก ๆ 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทราบคำสั่งแล้วก็ตามเพราะศาลชั้นต้นได้เคยส่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์มาครั้งหนึ่งแล้วและถือได้ว่าผู้ร้องได้ทราบคำสั่งดังกล่าวโดยอาศัยตราประทับที่ด้านล่างของอุทธรณ์มาครั้งหนึ่งแล้ว หากจะให้ตราประทับที่ด้านล่างของอุทธรณ์มีผลบังคับตลอดไปว่าศาลชั้นต้นจะสั่งอะไรในอุทธรณ์ให้ถือว่าผู้ร้องได้ทราบทุกคำสั่งในทุก ๆ 7 วัน ก็ย่อมที่จะไม่เป็นธรรมแก่ผู้ร้อง ดังนั้น จึงถือว่าผู้ร้องทราบคำสั่งรับในอุทธรณ์แล้วไม่ได้ เป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นต้องแจ้งคำสั่งรับอุทธรณ์ให้แก่ผู้ร้องทราบโดยตรง เมื่อผู้ร้องมิได้ดำเนินการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้ผู้คัดค้านทั้งสองตามคำสั่งศาลชั้นต้น จึงยังถือไม่ได้ว่า ผู้ร้องจงใจเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)