พบผลลัพธ์ทั้งหมด 310 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7824/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์เรือ: ผู้ซื้อทราบถึงหนี้สินของผู้ขายก่อนการจดทะเบียน
การทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์เรือระหว่างจำเลยทั้งสองต้องจดทะเบียนต่อสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานดำเนินการรับจดทะเบียนได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบเรื่องที่โจทก์แจ้งสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคขอให้ระงับการทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์เรือก่อนจดทะเบียน ต้องถือว่าขณะทำนิติกรรมจำเลยที่ 2 รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบ ตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 237 โจทก์จึงใช้สิทธิขอเพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์เรือระหว่างจำเลยทั้งสองได้
ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์เรือระหว่างจำเลยทั้งสองแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมกลับมามีชื่อเป็นเจ้าของเรือ ตามเดิมโดยไม่ต้องให้จำเลยทั้งสองไปดำเนินการในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์อีก ศาลจึงไม่จำเป็นต้องพิพากษาให้บังคับตามคำขอในส่วนนี้
ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์เรือระหว่างจำเลยทั้งสองแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมกลับมามีชื่อเป็นเจ้าของเรือ ตามเดิมโดยไม่ต้องให้จำเลยทั้งสองไปดำเนินการในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์อีก ศาลจึงไม่จำเป็นต้องพิพากษาให้บังคับตามคำขอในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6157/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระภาษีจากการขายทอดตลาด: กรรมสิทธิ์โอนเมื่อจดทะเบียน ผู้ซื้อมีสิทธิรับเงินคืนจากลูกหนี้
แม้ผู้ซื้อทรัพย์จะเป็นผู้ประมูลซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 12723 จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวจะโอนไปเป็นของผู้ซื้อทรัพย์ก็ต่อเมื่อมีการนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วเท่านั้น และในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นจะต้องมีการตีราคาหรือประเมินราคาที่ดินเพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนและต้องถือว่าราคาประเมินที่ดินดังกล่าวนั้นเป็นเงินที่ได้พึงประเมินของเจ้าของที่ดินอันตกเป็นภาระที่ต้องนำไปคำนวณเสียภาษีเงินได้อีกด้วย ฉะนั้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ผู้ซื้อทรัพย์ได้ชำระต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ซื้อได้จากการขายทอดตลาดจึงเป็นภาระภาษีของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ซื้อทรัพย์ย่อมมีสิทธิได้รับคืนจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพียงเท่าที่มีอยู่หลังจากหักค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินจากการซื้อประมูลทอดตลาด: ผู้ซื้อได้สิทธิแม้ผู้ขายเดิมไม่มีสิทธิสมบูรณ์
แม้จำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมาก่อน ป. ซื้อที่ดินพิพาทและศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาว่า จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทในคดีที่ ป. เป็นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาทตามคดีแพ่งของศาลชั้นต้นก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าก่อนหน้านั้น ป. นำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองแก่ ก. ในปี 2530 และถูก ก. ฟ้องบังคับจำนองที่ดินพิพาทต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2531 แต่ ป. ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม ก. จึงนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาด และโจทก์เป็นผู้ซื้อทอดตลาดที่ดินพิพาทได้ก็ต้องถือว่า ก. ยึดสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจาก ป. แล้วหากจำเลยเป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยก็ต้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทในคดีที่ ก. เป็นโจทก์ฟ้องบังคับจำนองแก่ ป. ก่อนเอาที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทและศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ขายแล้ว แม้ ป. ไม่ได้เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจนำที่ดินออกขายทอดตลาดได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 308 เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีนำที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดและโจทก์เป็นผู้ซื้อทอดตลาดที่ดินพิพาทได้ โจทก์จึงได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจากการซื้อทอดตลาด สิทธิของโจทก์ผู้ซื้อที่ดินพิพาทโดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลจึงมิเสียไป ถึงแม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่าที่ดินพิพาทนั้นมิใช่ของ ป. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 อันเป็นข้อยกเว้นหลักกฎหมายที่ว่า "ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน"
เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของและมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลย การที่จำเลยปลูกห้องแถว 5 ห้อง รุกล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาทย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์และทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ แต่จำเลยมิได้ยกข้อโต้แย้งเกี่ยวกับจำนวนค่าเสียหายที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กำหนดให้จำเลยใช้แก่โจทก์ขึ้นอ้างไว้โดยชัดแจ้งในฎีกา ฎีกาของจำเลยในส่วนค่าเสียหายจึงไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ และเมื่อจำเลยไม่ได้เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท การที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีบังคับคดีรื้อถอนห้องแถว 5 ห้อง ของจำเลยออกจากที่ดินพิพาทตามคำพิพากษา การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นละเมิดต่อจำเลย โจทก์จึงไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยตามฟ้องแย้ง
เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของและมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลย การที่จำเลยปลูกห้องแถว 5 ห้อง รุกล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาทย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์และทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ แต่จำเลยมิได้ยกข้อโต้แย้งเกี่ยวกับจำนวนค่าเสียหายที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กำหนดให้จำเลยใช้แก่โจทก์ขึ้นอ้างไว้โดยชัดแจ้งในฎีกา ฎีกาของจำเลยในส่วนค่าเสียหายจึงไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ และเมื่อจำเลยไม่ได้เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท การที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีบังคับคดีรื้อถอนห้องแถว 5 ห้อง ของจำเลยออกจากที่ดินพิพาทตามคำพิพากษา การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นละเมิดต่อจำเลย โจทก์จึงไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยตามฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3300/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยสิทธิครอบครองและการส่งมอบการครอบครองทำให้สิทธิครอบครองตกแก่ผู้ซื้อ
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า บิดาโจทก์ขายที่ดินพิพาทให้บิดาจำเลยไปแล้วและขณะมีการทำสัญญาซื้อขายนั้นที่ดินของบิดาโจทก์มีเพียงสิทธิครอบครอง แม้สัญญาซื้อขายดังกล่าวจะไม่ได้ทำต่อเจ้าพนักงานที่ดินก็ตาม แต่บิดาโจทก์ได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่บิดาจำเลยแล้ว สิทธิครอบครองจึงตกแก่บิดาจำเลย บิดาจำเลยมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทโดยสมบูรณ์ เมื่อบิดาจำเลยถึงแก่ความตาย จำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมย่อมมีสิทธิรับมรดกที่ดินพิพาทมาเป็นสิทธิครอบครองของจำเลย จำเลยจึงเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2607/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ออกหนังสือรับรองคุณภาพสินค้าที่เท็จ นำไปสู่ความเสียหายของผู้ซื้อ
โจทก์สั่งซื้อครั่งเม็ดชั้นคุณภาพ ข. จากจำเลยที่ 1 โดยระบุในสัญญาซื้อขายว่าต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองจากจำเลยที่ 2 โจทก์ตรวจสอบพบว่า ครั่งเม็ดที่จำเลยที่ 2 รับรองนั้นไม่ได้มาตรฐาน ดังนี้ การที่จำเลยที่ 2 แอบอ้างว่าเป็นผู้ตรวจสอบอย่างเป็นทางการของสมาคมผู้นำเข้าเชลแล็กแห่งสหรัฐอเมริกา และจำเลยที่ 2 ตรวจสอบคุณภาพครั่งเม็ดและออกหนังสือรับรองคุณภาพให้แก่จำเลยที่ 1 ผิดไปจากความเป็นจริง โดยจำเลยที่ 2 ทราบถึงความสำคัญของหนังสือรับรองน้ำหนักและคุณภาพสินค้าดีว่ามีผลต่อการตัดสินใจของผู้ซื้อเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้าและการตกลงรับซื้อสินค้าระหว่างประเทศนั้น โดยใช้หนังสือรับรองน้ำหนักและคุณภาพดังกล่าวประกอบการซื้อขายสินค้าและเพื่อพิจารณาว่าสินค้านั้นมีคุณภาพพอเพียงแก่การส่งไปประเทศใดหรือไม่ด้วย ประกอบกับเมื่อได้รับหนังสือรับรองน้ำหนักและคุณภาพจากจำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 1 ก็อาศัยหนังสือรับรองดังกล่าวแสดงต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อว่าสินค้าที่ขนส่งไปส่งมอบให้แก่โจทก์นั้นเป็นสินค้าครั่งเม็ดชั้นคุณภาพ ข. ตามข้อกำหนดของสมาคมผู้นำเข้าเชลแล็กแห่งสหรัฐอเมริกาตามที่ตกลงซื้อขายกัน และรับชำระเงินค่าสินค้าโดยวิธีเลตเตอร์ออฟเครดิต การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์และทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เป็นค่าสินค้า ค่าธรรมเนียมธนาคาร ค่าใช้จ่ายด้านพิธีการศุลกากร และค่าขนส่งสินค้า และต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวอันถือเป็นค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันจำเลยที่ 2 ได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายฐานผิดสัญญาซื้อขาย
การจะให้บุคคลหลายคนต้องรับผิดร่วมกันในหนี้จำนวนใดจำนวนหนึ่งอย่างลูกหนี้ร่วมต้องเป็นไปโดยนิติกรรม หรือมีกฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งให้บุคคลเหล่านั้นต้องรับผิดร่วมกันอย่างลูกหนี้ร่วมเท่านั้น แต่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์อันเนื่องจากการผิดสัญญาซื้อขาย ส่วนจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์อันเนื่องจากการทำละเมิด จึงไม่มีการทำนิติกรรมไว้ว่าจะต้องร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าเสียหายต่อโจทก์ และไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายกำหนดให้ความรับผิดในลักษณะนี้เป็นไปอย่างลูกหนี้ร่วมกัน กรณีนี้หากโจทก์บังคับชำระหนี้จากจำเลยคนใดแล้วต้องนำมาหักออกจากความรับผิดของจำเลยอีกคนด้วย
การจะให้บุคคลหลายคนต้องรับผิดร่วมกันในหนี้จำนวนใดจำนวนหนึ่งอย่างลูกหนี้ร่วมต้องเป็นไปโดยนิติกรรม หรือมีกฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งให้บุคคลเหล่านั้นต้องรับผิดร่วมกันอย่างลูกหนี้ร่วมเท่านั้น แต่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์อันเนื่องจากการผิดสัญญาซื้อขาย ส่วนจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์อันเนื่องจากการทำละเมิด จึงไม่มีการทำนิติกรรมไว้ว่าจะต้องร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าเสียหายต่อโจทก์ และไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายกำหนดให้ความรับผิดในลักษณะนี้เป็นไปอย่างลูกหนี้ร่วมกัน กรณีนี้หากโจทก์บังคับชำระหนี้จากจำเลยคนใดแล้วต้องนำมาหักออกจากความรับผิดของจำเลยอีกคนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14144/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลดหนี้ภาระค้ำประกันเมื่อผู้รับจำนองยินยอมให้ผู้ซื้อรับภาระจำนอง และการระงับหนี้ของผู้ค้ำประกันร่วม
จำเลยที่ 4 และที่ 5 ต่างทำสัญญาค้ำประกันหนี้กู้ยืมเงินและหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำนวนเดียวกันไว้ต่อโจทก์ โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม พร้อมกับจดทะเบียนจำนองที่ดินของจำเลยที่ 4 และที่ 5 ไว้เป็นประกันหนี้ดังกล่าวด้วย ต่อมาจำเลยที่ 5 ขายที่ดินที่จำนองให้แก่จำเลยที่ 2 และโจทก์มีหนังสือที่แสดงเจตนาว่ายอมปลดหนี้ภาระการค้ำประกันให้แก่จำเลยที่ 5 จนหมดสิ้นแล้ว เมื่อบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันมิได้กำหนดความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกันต่อกันไว้ จึงต้องใช้หลักทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 293 และมาตรา 296 การที่โจทก์สละสิทธิต่อจำเลยที่ 5 ย่อมมีผลทำให้หนี้ตามภาระการค้ำประกันสำหรับจำเลยที่ 5 ระงับไปตามมาตรา 340 และย่อมมีผลทำให้หนี้ตามภาระการค้ำประกันสำหรับจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมระงับไปด้วยตามมาตรา 293 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 และแม้ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 เนื่องจากต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนและหนี้ตามภาระการค้ำประกันดังกล่าวเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ในระหว่างจำเลยที่ 4 และที่ 5 ศาลฎีกาจึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 4 ได้ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากการขายทอดตลาด: สิทธิของผู้ซื้อ vs. ภาระภาษีของผู้ขาย
เงินได้จากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) และการขายทอดตลาดนั้น จำเลยเป็นผู้มีเงินได้จากการขายทอดตลาด จำเลยจึงมีภาระต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการขายทอดตลาดดังกล่าว ส่วนผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ซื้ออยู่ในฐานะเป็นผู้จ่ายเงินให้แก่จำเลย จึงเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินที่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ตามมาตรา 50 (6) (ข) และนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียนตามมาตรา 52 วรรคสอง ดังนั้น เงินค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ผู้คัดค้านได้ทดรองจ่ายแทนจำเลยไป จึงเป็นเงินรายได้ของแผ่นดินที่กรมสรรพากรมีหน้าที่จัดเก็บ ไม่ใช่เป็นเงินรายได้สุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่จะนำไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์
จำเลยผู้ขายเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้พึงประเมินจากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ต่างหาก ไม่ใช่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ซื้อ เมื่อผู้คัดค้านไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้พึงประเมินแล้ว คำว่า "ค่าภาษีต่างๆ" ตามที่ระบุไว้ในบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินจึงไม่หมายรวมถึงค่าภาษีเงินได้พึงประเมินด้วยและเมื่อผู้คัดค้านได้ทดรองจ่ายค่าภาษีดังกล่าวแทนจำเลยไปก่อนแล้ว ย่อมมีสิทธินำใบเสร็จรับเงินที่ได้ทดรองจ่ายแทนจำเลยไปนั้น ไปขอรับเงินคืนจากเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ภายในกำหนดตามที่ระบุไว้ และในการจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงิน เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องระบุรายการหักคืนเงินภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้คัดค้านด้วย
จำเลยผู้ขายเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้พึงประเมินจากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ต่างหาก ไม่ใช่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ซื้อ เมื่อผู้คัดค้านไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้พึงประเมินแล้ว คำว่า "ค่าภาษีต่างๆ" ตามที่ระบุไว้ในบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินจึงไม่หมายรวมถึงค่าภาษีเงินได้พึงประเมินด้วยและเมื่อผู้คัดค้านได้ทดรองจ่ายค่าภาษีดังกล่าวแทนจำเลยไปก่อนแล้ว ย่อมมีสิทธินำใบเสร็จรับเงินที่ได้ทดรองจ่ายแทนจำเลยไปนั้น ไปขอรับเงินคืนจากเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ภายในกำหนดตามที่ระบุไว้ และในการจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงิน เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องระบุรายการหักคืนเงินภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้คัดค้านด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีจากการขายทอดตลาด: ผู้ซื้อมีสิทธิขอคืนเงินภาษีที่ทดรองจ่ายให้ผู้ขาย
เงินได้จากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) และการขายทอดตลาดนั้น จำเลย (ผู้ขาย) เป็นผู้มีเงินได้จากการขายทอดตลาด ฉะนั้น ตาม ป.รัษฎากร จำเลยจึงมีภาระต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการขายทอดตลาดดังกล่าว ส่วนผู้คัดค้าน (ผู้ซื้อ) อยู่ในฐานะเป็นผู้จ่ายเงินให้แก่จำเลย จึงเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินที่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ตามมาตรา 50 (6) (ข) และนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียนตามมาตรา 52 วรรคสอง ดังนั้นเงินค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ผู้คัดค้านได้ทดรองจ่ายแทนจำเลยไปนั้น จึงเป็นเงินรายได้ของแผ่นดินที่กรมสรรพากรมีหน้าที่จัดเก็บ ไม่ใช่เป็นเงินรายได้สุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลย ที่จะนำไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์
เงินได้พึงประเมินจากการขายทอดตลาดตามที่กล่าวมาแล้วนั้น จำเลยผู้ขายเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้พึงประเมินดังกล่าวต่างหากไม่ใช่ผู้คัดค้าน เมื่อผู้คัดค้านไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้พึงประเมินแล้ว คำว่า "ค่าภาษีต่าง ๆ" ตามที่ระบุไว้จึงไม่น่าจะหมายรวมถึงค่าภาษีเงินได้ถึงประเมินด้วยและเมื่อผู้คัดค้านได้ทดรองจ่ายไปนั้น ไปขอรับเงินคืนจากเจ้าพนักงานบังคับคดีได้และในการจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงินเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ต้องระบุรายการหักคืนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย ให้แก่ผู้คัดค้านด้วย
เงินได้พึงประเมินจากการขายทอดตลาดตามที่กล่าวมาแล้วนั้น จำเลยผู้ขายเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้พึงประเมินดังกล่าวต่างหากไม่ใช่ผู้คัดค้าน เมื่อผู้คัดค้านไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้พึงประเมินแล้ว คำว่า "ค่าภาษีต่าง ๆ" ตามที่ระบุไว้จึงไม่น่าจะหมายรวมถึงค่าภาษีเงินได้ถึงประเมินด้วยและเมื่อผู้คัดค้านได้ทดรองจ่ายไปนั้น ไปขอรับเงินคืนจากเจ้าพนักงานบังคับคดีได้และในการจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงินเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ต้องระบุรายการหักคืนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย ให้แก่ผู้คัดค้านด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7313/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์ในการเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ร้องที่ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดโดยไม่มีมูล
ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์โดยอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ปฏิบัติตามระเบียบและกฎหมาย กล่าวคือมิได้แจ้งประกาศการขายทอดตลาดทรัพย์ให้จำเลยที่ 1 หรือให้แก่ผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียทราบถึงวันขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 3 ทั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ไปโดยไม่สุจริต สมรู้ร่วมคิดกับผู้ซื้อทรัพย์กดราคาและกระทำโดยประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องทั้งสอง จึงเป็นการร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง ประกอบมาตรา 296 วรรคสอง หากผู้ซื้อทรัพย์ซึ่งอาจได้รับความเสียหายเนื่องจากการยื่นคำร้องขอดังกล่าวเห็นว่ามีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้า ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้ผู้ร้องทั้งสองวางเงินหรือหาประกันต่อศาลภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนด เพื่อเป็นประกันค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลนั้นได้ซึ่งผู้ซื้อทรัพย์ได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ผู้ร้องทั้งสองนำเงินมาวางประกัน 50,000 บาท ผู้ร้องทั้งสองได้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้ว ต่อมาศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสอง ผู้ร้องทั้งสองยื่นอุทธรณ์ หากผู้ซื้อทรัพย์เห็นว่าคำร้องนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้า ผู้ซื้อทรัพย์ก็มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าวเพื่อขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องทั้งสองนั้นชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนได้ ในกรณีเช่นว่านี้ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้แยกการพิจารณาเป็นสำนวนต่างหากจากคดีเดิม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคท้าย ดังนั้น ที่ผู้ซื้อทรัพย์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้มีคำสั่งให้ผู้ร้องทั้งสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนในคดีเดิมจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ระหว่างการขายทอดตลาดทรัพย์ จำเลยที่ 3 ได้ตกลงกับโจทก์โดยขอผ่อนชำระหนี้ และจำเลยที่ 3 ได้ผ่อนชำระตามบันทึกดังกล่าวให้แก่โจทก์ โจทก์จึงมีหน้าที่ที่จะขอให้งดการบังคับคดี โดยงดการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 3 ไว้ แต่โจทก์หาได้กระทำแต่อย่างใด คงปล่อยให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 3 ทั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้แจ้งให้ผู้ร้องที่ 1 ทราบถึงวันขายทอดตลาด พฤติการณ์ดังกล่าวจึงมีเหตุให้ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดจึงมิใช่การยื่นคำร้องโดยไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้า
ระหว่างการขายทอดตลาดทรัพย์ จำเลยที่ 3 ได้ตกลงกับโจทก์โดยขอผ่อนชำระหนี้ และจำเลยที่ 3 ได้ผ่อนชำระตามบันทึกดังกล่าวให้แก่โจทก์ โจทก์จึงมีหน้าที่ที่จะขอให้งดการบังคับคดี โดยงดการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 3 ไว้ แต่โจทก์หาได้กระทำแต่อย่างใด คงปล่อยให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 3 ทั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้แจ้งให้ผู้ร้องที่ 1 ทราบถึงวันขายทอดตลาด พฤติการณ์ดังกล่าวจึงมีเหตุให้ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดจึงมิใช่การยื่นคำร้องโดยไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7313/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์ในการเรียกร้องค่าเสียหายจากการยื่นคำร้องเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ไม่มีมูล
ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง ประกอบมาตรา 296 วรรคสอง ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสองผู้ร้องทั้งสองยื่นอุทธรณ์ ดังนี้ หากผู้ซื้อทรัพย์เห็นว่า คำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของผู้ร้องทั้งสองไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้า ผู้ซื้อทรัพย์ย่อมมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าวเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องทั้งสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ศาลมีอำนาจสั่งให้แยกการพิจารณาเป็นสำนวนต่างหากจากคดีเดิม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคหก การที่ผู้ซื้อทรัพย์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้มีคำสั่งให้ผู้ร้องทั้งสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนในคดีเดิมจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว