คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้เยาว์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 452 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1641/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้เยาว์ร้องทุกข์-ถอนคำร้องทุกข์: อำนาจผู้แทนโดยชอบธรรม & ผลของการแต่งทนายโดยลำพัง
โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เยาว์ ลงชื่อแต่งทนายให้ดำเนินกระบวนพิจารณาและอุทธรณ์ฎีกา มาโดยลำพังไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมดำเนินคดีแทน อุทธรณ์และฎีกาของโจทก์ร่วม ย่อมเป็นอุทธรณ์และฎีกาที่ไม่ชอบ
คำแจ้งความที่เพียงแต่แจ้งให้พนักงานตำรวจทราบไว้เป็นหลักฐานมิได้ขอให้ดำเนินคดีกับจำเลย ย่อมไม่เป็นคำร้องทุกข์ตามกฎหมาย
คำให้การของผู้เสียหายที่พนักงานสอบสวนได้จดบันทึกไว้ในตอนท้ายมีข้อความว่า "ในวันนี้ทางข้าฯ และมารดาข้าฯ จึงมาร้องทุกข์มอบคดีให้พนักงานสอบสวน สน.พญาไทดำเนินคดีกับนายเอสวูดดี้ในข้อหากระทำอนาจาร ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 1(7), 123 แล้ว
เมื่อผู้เยาว์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาและบิดายังมีชีวิตอยู่มารดาของผู้เยาว์จึงไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ จึงไม่มีอำนาจถอนคำร้องทุกข์แทนผู้เยาว์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจถอนคำร้องทุกข์ของผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์: ความถูกต้องของคำสั่งศาล
ก่อนสืบพยานโจทก์ บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์แทนผู้เสียหาย ศาลชั้นต้นสอบโจทก์โจทก์แถลงรับว่าผู้ร้องเป็นบิดาของผู้เสียหาย ทั้งเป็นผู้ร้องทุกข์คดีนี้ในชั้นสอบสวนจริง ศาลชั้นต้นจึงสั่งจำหน่ายคดี เช่นนี้โจทก์จะอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งว่า คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นไม่ชอบ เพราะผู้เสียหายได้แจ้งความร้องทุกข์ไว้ด้วยตัวเองโดยตรงด้วย บิดาผู้เสียหายจึงไม่มีอำนาจถอนคำร้องทุกข์โดยลำพังนั้นหาได้ไม่ เพราะเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่
ผู้ร้องทุกข์ย่อมมีอำนาจถอนคำร้องทุกข์ได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้เสียหายเองหรือร้องทุกข์ในฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 126 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์เพื่อเป็นภริยา ไม่ถือว่าเป็นการพาไปเพื่ออนาจาร
จำเลยกับผู้เยาว์รักใคร่ชอบพอกันแล้วหนีตามกันไปพักค้างคืนที่อื่น 20 กว่าคืน แล้วพากันกลับมาขอขมาพ่อแม่ผู้เยาว์ และพักอยู่กินด้วยกันที่บ้านพ่อแม่ผู้เยาว์อีก 10 กว่าวัน พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลย ย่อมถือได้ว่าจำเลยพาผู้เยาว์ไปเพื่อเป็นภริยา ไม่ใช่พาไปเพื่ออนาจาร จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพาผู้เยาว์ไปอยู่กินฉันสามีภริยา ไม่ถือเป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร
จำเลยกับผู้เยาว์รักใคร่ชอบพอกันแล้วหนีตามกันไปพักค้างคืนที่อื่น 20 กว่าคืนแล้วพากันกลับมาขอขมาพ่อแม่ผู้เยาว์ และพักอยู่กินด้วยกันที่บ้านพ่อแม่ผู้เยาว์อีก 10 กว่าวันพฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลย ย่อมถือได้ว่าจำเลยพาผู้เยาว์ไปเพื่อเป็นภริยา ไม่ใช่พาไปเพื่ออนาจาร จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1405/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแทนผู้เยาว์: บิดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส/จดทะเบียนบุตร ไม่มีอำนาจฟ้องแทน
บิดาของผู้เยาว์ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เยาว์ ทั้งไม่ได้จดทะเบียนว่าผู้เยาว์เป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าผู้เยาว์เป็นบุตร ไม่เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ ที่จะมีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้เยาว์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 5(1)
แม้ภายหลังที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว บิดาของผู้เยาว์ได้ไปจดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เยาว์ บิดาของผู้เยาว์ก็เพิ่งจะมีอำนาจปกครองผู้เยาว์นับแต่วันจดทะเบียนสมรส เมื่อขณะยื่นฟ้อง บิดาของผู้เยาว์ไม่ใช่ผู้ใช้อำนาจปกครอง จึงไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้เยาว์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1405/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแทนผู้เยาว์: บิดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส/บุตร ไม่มีอำนาจฟ้อง
บิดาของผู้เยาว์ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เยาว์ ทั้งไม่ได้จดทะเบียนว่าผู้เยาว์เป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าผู้เยาว์เป็นบุตร ไม่เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ ที่จะมีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้เยาว์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(1)
แม้ภายหลังที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว บิดาของผู้เยาว์ได้ไปจดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เยาว์ บิดาของผู้เยาว์ก็เพิ่งจะมีอำนาจปกครองผู้เยาว์นับแต่วันจดทะเบียนสมรส เมื่อขณะยื่นฟ้อง บิดาของผู้เยาว์ไม่ใช่ผู้ใช้อำนาจปกครอง จึงไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรม ของผู้เยาว์ ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้เยาว์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1405/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแทนผู้เยาว์: บิดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส/บุตร ไม่มีอำนาจฟ้อง
บิดาของผู้เยาว์ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เยาว์. ทั้งไม่ได้จดทะเบียนว่าผู้เยาว์เป็นบุตร. หรือศาลพิพากษาว่าผู้เยาว์เป็นบุตร. ไม่เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์. ที่จะมีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้เยาว์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(1).
แม้ภายหลังที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว. บิดาของผู้เยาว์ได้ไปจดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เยาว์. บิดาของผู้เยาว์ก็เพิ่งจะมีอำนาจปกครองผู้เยาว์นับแต่วันจดทะเบียนสมรส เมื่อขณะยื่นฟ้อง บิดาของผู้เยาว์ไม่ใช่ผู้ใช้อำนาจปกครอง. จึงไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรม ของผู้เยาว์. ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้เยาว์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมรดกของผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล มิฉะนั้นเป็นโมฆะ
ผู้เยาว์อายุ 18 ปีมีภริยา แต่มิได้จดทะเบียนสมรส ย่อมยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ผู้เยาว์ลงนามทำสัญญาโดยมีผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือเป็นพยานในเอกสารสัญญานั้บถือได้ว่า ผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมแล้ว
ทายาททุกคนทำสัญญาแบ่งปันมรดกซึ่งไม่มีพินัยกรรม เป็นการระงับข้อพิพาทแห่งกองมรดกที่จะมีขึ้น จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 (4) ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของผู้เยาว์มิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ดังนั้น เมื่อยังมิได้รับอนุญาตจากศาล ผู้ใช้อำนาจปกครองในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมจึงไม่อาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดก
สัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดกซึ่งผู้เยาว์ทำและผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมโดยมิได้รับอนุญาตจากศาล ย่อมตกเป็นโมฆะ แม้สัญญาประนีประนอมยอมความนั้นทำขึ้นระหว่างผู้เยาว์กับทายาทอื่นอีกหลายคน แต่จำนวนทายาทหรือจำนวนทรัพย์มรดกที่จะได้รับส่วนแบ่งที่เกี่ยวพัน ไม่อาจแบ่งแยกออกจากกันได้ ย่อมตกเป็นโมฆะด้วยกันทั้งสิ้น
การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้น อาจทำได้โดยทายาทต่างครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย ทายาทผู้ใดครอบครองมรดกส่วนไหนก็ย่อมมีสิทธิเฉพาะส่วนนั้น ส่วนอื่นที่ตนมิได้เกี่ยวข้อง ย่อมขาดอายุความมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมรดกของผู้เยาว์: โมฆะหากไม่มีคำอนุญาตจากศาล
ผู้เยาว์อายุ 18 ปีมีภริยา แต่มิได้จดทะเบียนสมรสย่อมยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ผู้เยาว์ลงนามทำสัญญาโดยมีผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือเป็นพยานในเอกสารสัญญานั้นถือได้ว่าผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมแล้ว
ทายาททุกคนทำสัญญาแบ่งปันมรดกซึ่งไม่มีพินัยกรรม เป็นการระงับข้อพิพาทแห่งกองมรดกที่จะมีขึ้น จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(4)ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของผู้เยาว์มิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ดังนั้น เมื่อยังมิได้รับอนุญาตจากศาล ผู้ใช้อำนาจปกครองในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมจึงไม่อาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดก
สัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดกซึ่งผู้เยาว์ทำและผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลย่อมตกเป็นโมฆะ แม้สัญญาประนีประนอมยอมความนั้นทำขึ้นระหว่างผู้เยาว์กับทายาทอื่นอีกหลายคน แต่จำนวนทายาทหรือจำนวนทรัพย์มรดกที่จะได้รับส่วนแบ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวพัน ไม่อาจแบ่งแยกออกจากกันได้ ย่อมตกเป็นโมฆะด้วยกันทั้งสิ้น
การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้น อาจทำได้โดยทายาทต่างครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย ทายาทผู้ใดครอบครองมรดกส่วนไหนก็ย่อมมีสิทธิเฉพาะส่วนนั้น ส่วนอื่นที่ตนมิได้เกี่ยวข้อง ย่อมขาดอายุความมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมรดกของผู้เยาว์: โมฆะหากไม่มีคำอนุญาตจากศาล และผลกระทบของอายุความมรดก
ผู้เยาว์อายุ 18 ปีมีภริยา. แต่มิได้จดทะเบียนสมรส.ย่อมยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ผู้เยาว์ลงนามทำสัญญาโดยมีผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือเป็นพยานในเอกสารสัญญานั้นถือได้ว่า.ผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมแล้ว.
ทายาททุกคนทำสัญญาแบ่งปันมรดกซึ่งไม่มีพินัยกรรม. เป็นการระงับข้อพิพาทแห่งกองมรดกที่จะมีขึ้น. จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ.
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(4)ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของผู้เยาว์มิได้. เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ดังนั้น เมื่อยังมิได้รับอนุญาตจากศาล. ผู้ใช้อำนาจปกครองในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมจึงไม่อาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดก.
สัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดกซึ่งผู้เยาว์ทำและผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมโดยมิได้รับอนุญาตจากศาล.ย่อมตกเป็นโมฆะ แม้สัญญาประนีประนอมยอมความนั้นทำขึ้นระหว่างผู้เยาว์กับทายาทอื่นอีกหลายคน. แต่จำนวนทายาทหรือจำนวนทรัพย์มรดกที่จะได้รับส่วนแบ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวพัน. ไม่อาจแบ่งแยกออกจากกันได้. ย่อมตกเป็นโมฆะด้วยกันทั้งสิ้น.
การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้น อาจทำได้โดยทายาทต่างครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด. เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย. ทายาทผู้ใดครอบครองมรดกส่วนไหนก็ย่อมมีสิทธิเฉพาะส่วนนั้น. ส่วนอื่นที่ตนมิได้เกี่ยวข้อง. ย่อมขาดอายุความมรดก.
of 46