พบผลลัพธ์ทั้งหมด 829 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2252/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเฉลี่ยทรัพย์: ลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่มีทรัพย์สินอื่น เจ้าหนี้มีสิทธิขอเฉลี่ยจากทรัพย์สินที่ถูกยึด
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคสองที่ห้ามมิให้ศาลอนุญาตตามคำขอเฉลี่ยทรัพย์ เว้นแต่ศาลเห็นว่าผู้ยื่นคำขอไม่สามารถเอาชำระหนี้ได้จากทรัพย์สินอื่น ๆ ของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น คำว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาในที่นี้หมายความถึงลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้ถูกยึดทรัพย์อยู่ในคดีที่มีการขอเฉลี่ยทรัพย์ถ้าไม่มีทรัพย์สินอื่นอีก ผู้ขอก็ขอเฉลี่ยจากเงินที่ขายทรัพย์ได้หาได้หมายความถึงลูกหนี้ตามคำพิพากษาคนอื่นในคดีที่ผู้ขอเฉลี่ยชนะคดีหรือบุคคลอื่นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2190/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเท็จจริงหลังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ไม่อาจนำมาใช้เป็นผลร้ายต่อลูกหนี้
ข้อเท็จจริงที่ว่าหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสองเด็ดขาดในคดีนี้แล้ว มีเจ้าหนี้อื่นอีกสองรายได้ยื่นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วยนั้น มิใช่ข้อเท็จจริงที่เกิดจากทางนำสืบของคู่ความก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จึงไม่อาจนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาฟังให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้จากการเบิกเงินเกินบัญชีและการรับผิดของผู้ค้ำประกัน/ผู้จำนอง เมื่อลูกหนี้ไม่มีหนี้จริง
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินไปจากโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกันและผู้จำนอง แม้จำเลยที่ 1 จะให้การและนำสืบหักล้างเพียงว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง แต่จำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์จึงมีภาระนำสืบพิสูจน์ว่าจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ชำระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็น หนี้โจทก์ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันและผู้จำนอง จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ และเป็นกรณีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกฟ้องให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1049/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนขายที่ดินในคดีล้มละลาย ต้องมีนิติสัมพันธ์เจ้าหนี้-ลูกหนี้ที่ผูกพันบังคับได้ก่อน
แม้จำเลยได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้ผู้คัดค้านที่ 1ภายในระยะเวลา 3 เดือน ก่อนที่จำเลยจะถูกฟ้องให้ล้มละลายก็ตาม แต่ปรากฏว่าจำเลยกับผู้คัดค้านที่ 1 ไม่เคยผูกนิติสัมพันธ์ที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมายมาก่อน หรือผู้คัดค้านที่ 1 ได้ชำระค่าที่ดินไปแล้ว ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้จำเลยขณะจดทะเบียนโอนขายที่ดินเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จะยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนโดยอาศัย พระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 115 มิได้(วินิจฉัยตามแนวฎีกา 854/2534 ญ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่ต้องมีคู่สัญญาครบถ้วน การตกลงระหว่างลูกหนี้กับบุคคลที่สามไม่ผูกพันเจ้าหนี้เดิม
จำเลยที่ 1 อ้างว่า สามีของจำเลยที่ 2 จะเป็นผู้รับผิดชอบ ชำระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อแทนให้โจทก์ อันเป็นการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ถือว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ ดังนี้เมื่อโจทก์มิได้ตกลงทำสัญญาด้วย กรณีจึงมิใช่การแปลงหนี้ใหม่อันจะทำให้สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์ กับจำเลยที่ 1 ระงับ จำเลยที่ 1 ยังต้องรับผิดต่อโจทก์ ตามคำแก้ฎีกาโจทก์ยอมรับว่าได้รับชำระหนี้จากจำเลยบางส่วนแล้ว จึงต้องนำมาหักออกจากหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิด เมื่อคำฟ้องและคำให้การพอที่จะรับฟังและวินิจฉัยได้ การที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานหลักจากจำเลย ซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อนสืบพยานเสร็จก็มิได้ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง จึงไม่เป็นข้อสำคัญในคดี ฎีกาข้อนี้ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่ต้องมีสัญญาใหม่ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ใหม่ ข้อตกลงระหว่างลูกหนี้เก่ากับบุคคลที่สามไม่ผูกพันเจ้าหนี้
จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ระหว่างเช่าซื้อรถยนต์ประสบอุบัติเหตุ สามีจำเลยที่ 2 รับรถยนต์ไปซ่อมแซมและครอบครองใช้ประโยชน์ตลอดมา การที่สามีจำเลยที่ 2 ตกลงกับจำเลยที่ 1 รับว่าจะโอนสิทธิหน้าที่และความรับผิดทั้งหมดแทนจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์นั้น เป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับสามีจำเลยที่ 2 โจทก์มิได้ตกลงทำสัญญาด้วย จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ซึ่งจะต้องทำสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่อันจะทำให้หนี้ตามสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 668/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้โดยตัวแทน และผลต่ออายุความ การกระทำของตัวแทนผูกพันลูกหนี้
การรับสภาพหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 จะต้องกระทำโดยลูกหนี้แต่ลูกหนี้อาจตั้งตัวแทนให้ชำระหนี้แทนได้ ซึ่งย่อมต้องถือว่าเป็นการชำระหนี้ของลูกหนี้นั้นเอง เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เคยลงลายมือชื่อรับสินค้าแทนจำเลยที่ 1 และเคยพูดขอผัดผ่อนชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 2มอบหลังคาไฟเบอร์กระบะรถชำระหนี้ให้โจทก์เป็นการกระทำ โดยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสิทธิเรียกร้องของโจทก์ ถือได้ว่า จำเลย ที่2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 โดยปริยาย จึงเป็นการรับ สภาพหนี้ที่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ในวันที่จำเลยที่ 1รับสภาพหนี้และเริ่มนับใหม่ตั้งแต่เวลาเมื่อเหตุ ที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นสิ้นสุด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินจากการฉ้อฉล ต้องเกิดก่อนหรือขณะที่ลูกหนี้มีหนี้เจ้าหนี้
คำร้องของ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องได้ร้องขอให้เพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยที่ 3 โอนให้แก่ผู้คัดค้านโดยไม่มีค่าตอบแทนและเป็นการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 แต่ตามคำร้องมิได้บรรยายว่าลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้รายใดเสียเปรียบ จึงต้องถือว่าผู้ร้องขอให้เพิกถอนการโอนซึ่งทำให้โจทก์ต้องเสียเปรียบรายเดียวเท่านั้น ซึ่งการร้องขอตามบทกฎหมายดังกล่าวจะต้องได้ความว่าลูกหนี้ต้องเป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่ก่อนหรือขณะที่ลูกหนี้ทำนิติกรรมอันจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบจำเลยที่ 3 จดทะเบียนโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้คัดค้านไป เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2525 แต่จำเลยที่ 3 เพิ่งเป็นลูกหนี้โจทก์เมื่อปี 2528 อันเป็นเวลาภายหลังจากที่จำเลยที่ 3 โอนที่ดินให้ผู้คัดค้านแล้วถึง 3 ปี ขณะที่จำเลยที่ 3 โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นโจทก์จึงยังไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 3ผู้ร้องไม่มีสิทธิจะร้องขอให้เพิกถอนการโอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้
ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกชำระหนี้ให้โจทก์ โจทก์ จึงมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ได้โดย สิ้นเชิงตามป.พ.พ. มาตรา 291 แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะมีลูกหนี้ร่วม คนอื่นก็ตาม เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากที่ดินที่ได้ โอนขายให้จำเลยที่ 2ที่ 3 ไป และขณะโอนขาย จำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็ทราบดีว่าจำเลยที่ 1เป็นหนี้โจทก์และไม่มีทรัพย์สินอื่นพอ ชำระหนี้โจทก์ โจทก์ย่อมขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมอันเป็นการฉ้อฉล โจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2948/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลภายนอกชำระหนี้แทนลูกหนี้: สัญญาที่ทำด้วยความสมัครใจมีผลผูกพัน
ข. ขับรถยนต์โดยประมาทชนรถยนต์ของโจทก์เสียหาย จึงมีหนี้ที่ ข. ต้องชำระต่อโจทก์ จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกขอเข้ามาชำระหนี้แทน ข. และโจทก์ก็ตกลงด้วยโดยทำเป็นบันทึกกันไว้แม้เอกสารดังกล่าวจะไม่ใช่หนังสือรับสภาพหนี้แต่ก็เป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งคู่ความกระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่เป็นการขืนใจลูกหนี้และไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ จึงมีผลตามกฎหมายผูกพันจำเลยให้ต้องรับผิดต่อโจทก์.