คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาค้ำประกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 491 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2273/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาค้ำประกัน, ห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริง, อำนาจฟ้องพนักงานเจ้าหน้าที่
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกเบี้ยปรับตามสัญญาค้ำประกันคนต่างด้าว5 ราย โดยจำเลยทำสัญญาค้ำประกันเป็นรายฉบับรวม 5 ฉบับ สำหรับลูกประกันแต่ละรายหากจำเลยผิดสัญญายอมให้ปรับรายละ 20,000 บาท ทุนทรัพย์ในคดีจึงแยกออกตามสัญญาค้ำประกันแต่ละฉบับ แม้จะปรับรวมกันมา ก็ถือว่ากำหนดค่าปรับภายในวงเงินตามสัญญาค้ำประกันแต่ละฉบับไม่เกินฉบับละ 20,000 บาท คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 แม้จำเลยจะฎีกาในข้อเท็จจริงดังกล่าวต่อมา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในประเทศไทยต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองกรุงเทพซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา โดยตำแหน่งหน้าที่ราชการอันกฎหมายกำหนดไว้ให้ทำสัญญาประกันได้ เมื่อจำเลยผิดสัญญาผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่โดยใช้ชื่อตำแหน่งของตนได้
จำเลยสัญญาแก่โจทก์ว่า หากผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่งย่อมให้โจทก์ปรับเป็นเงิน 20,000 บาท จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยผิดสัญญาจำเลยก็ต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์ตามสัญญาจะอ้างว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1869/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันครอบคลุมความเสียหายจากความประมาทในการปฏิบัติงานของลูกจ้างที่เกิดจากละเมิด
จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้แก่โจทก์มีความว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ได้เข้าทำงานในองค์การโจทก์แล้ว ภายหลังได้หลบหลีกหนีหายไป หรือได้ฉ้อโกงยักยอก หรือทำให้ทรัพย์สินของโจทก์ต้องสูญเสียหายไปด้วยประการใด ๆ ก็ดี จำเลยที่ 2 ยินยอมชดใช้หนี้สินหรือความเสียหายแทนจำเลยที่ 1 ต่อมาปรากฏว่าจำเลยที่ 1 พนักงานขับรถยนต์โดยสารของโจทก์ ได้ขับรถยนต์โดยสารของโจทก์ในทางการที่จ้างด้วยความประมาทชน พ. ถึงแก่ความตาย ซึ่งโจทก์ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้นด้วย และโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทายาทผู้ตายไปแล้ว โจทก์จึงชอบที่จะได้ชดใช้จากจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 426 แต่จำเลยที่ 1 ได้หลบหนีไปและไม่ชำระหนี้สินดังกล่าวให้แก่โจทก์ ดังนั้น จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1ในการเข้าทำงานกับโจทก์จึงต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน, ข้อจำกัดทุนทรัพย์, เหตุสุดวิสัย, การผิดสัญญา, หน้าที่ตามสัญญา
แม้โจทก์ฟ้องกำหนดจำนวนทุนทรัพย์มา 100,000 บาท แต่ตามฟ้องปรากฏว่าจำเลยทำสัญญาค้ำประกันคนต่างด้าว 2 ราย ซึ่งเรียกว่าลูกประกันโดยแยกทำสัญญารายละฉบับ มีข้อสัญญาว่าถ้าจำเลยผิดสัญญาแต่ละรายยอมให้ปรับรายละ 50,000 บาท ทุนทรัพย์ในคดีจึงแยกออกตามสัญญาค้ำประกันแต่ละฉบับ คือฉบับละ 50,000 บาท เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่าจำเลยผิดสัญญาค้ำประกันและกำหนดค่าปรับรวมกันมา 60,000 บาท ก็ยังถือได้ว่ากำหนดค่าปรับในวงเงินตามสัญญาค้ำประกันแต่ละฉบับ ไม่เกินฉบับละ 50,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 (อ้างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 692/2524)
ส่วนที่จำเลยอ้างว่า จำเลยส่งลูกประกันออกไปนอกราชอาณาจักรไม่ได้เพราะเหตุสุดวิสัย เนื่องจากในระยะเวลาที่เกิดเหตุประเทศไทยไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศกัมพูชา ซึ่งลูกประกันมีสัญชาตินั้น ปรากฏว่าหน้าที่ของจำเลยที่ต้องจัดการให้ลูกประกันออกไปเสียจากราชอาณาจักรก็มิได้กำหนดในสัญญาว่าต้องส่งกลับประเทศภูมิลำเนา ดังนั้นเพียงแต่ให้ออกไปนอกราชอาณาจักรก็เป็นการเพียงพอแล้วอีกทั้งเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์สั่งให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาก็ล่วงเลยระยะเวลาที่ประเทศไทยและประเทศกัมพูชาขาดความสัมพันธ์ทางการทูตกันแล้ว จำเลยจึงสามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ กรณีไม่เป็นเหตุสุดวิสัยดังที่จำเลยอ้าง นอกจากนี้เหตุสุดวิสัยที่จะอ้างเพื่อให้หลุดพ้นไม่ต้องปฏิบัติตามสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 219 นั้นจะต้องเป็นเหตุซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่ได้ทำสัญญาด้วย ดังนั้น การที่จำเลยยังคงทำสัญญาค้ำประกันลูกประกันดังกล่าวทั้งที่ทราบอยู่แล้วว่าประเทศไทยและประเทศกัมพูชาไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตต่อกัน และพฤติการณ์ที่จำเลยไม่จัดการให้ลูกประกันออกไปนอกราชอาณาจักร ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, การบอกเลิกสัญญา, ดอกเบี้ยทบต้น, และขอบเขตความรับผิดของสัญญาค้ำประกัน/จำนอง
โจทก์ให้จำเลยกู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยได้เบิกเงินเกินบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีหลายครั้งเพื่อหักกลบลบหนี้กัน ดังนี้ สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด
การที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยนำเงินส่งเข้าบัญชีเพื่อลดยอดเงินที่เบิกเกินบัญชีทั้งหมดภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันรับหนังสือมิฉะนั้นโจทก์จะดำเนินคดีแก่จำเลย เช่นนี้ เป็นการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยมีผลให้สัญญาเลิกกันเมื่อครบกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันรับหนังสือแล้ว หลังจากสัญญาเลิกกันแล้วธนาคารโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกไม่ได้ คงคิดดอกเบี้ยโดยวิธีธรรมดาได้เท่านั้น
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่โจทก์ในวงเงินสองแสนบาท ในสัญญาค้ำประกันข้อ 6 ระบุไว้ว่า จำเลยที่2 จะจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 94029 เป็นประกัน แล้วต่อมาจำเลยที่ 2 ก็ทำสัญญาจำนองที่ดินโฉนดดังกล่าวแก่โจทก์โดยระบุในสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองว่าเพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่เป็นหนี้โจทก์จำนวนเงินไม่เกินสองแสน บาท ดังนี้ทั้งสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองต่างเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ในวงเงินสองแสนบาทรายเดียวกัน หาใช่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเป็นผู้ค้ำประกันฐานะหนึ่ง และต้องรับผิดตามสัญญาจำนองอีกฐานะหนึ่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจลงนามสัญญา, สัญญาค้ำประกัน, และการลดเบี้ยปรับจากสัญญาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
ขณะทำสัญญากับจำเลย ภ. ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ คือโจทก์ ซึ่งมีฐานะเป็นกรมในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี การลงนามในสัญญาดังกล่าวเป็นการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ตามระเบียบแบบแผนและตามที่ได้รับมอบหมายจากทางราชการของโจทก์ ดังนี้ถือได้ว่า ภ. ได้กระทำการไปในฐานะเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายจากโจทก์มีอำนาจลงนามในสัญญาแทนโจทก์ได้โดยชอบ โดยไม่จำต้องมีการมอบอำนาจเพื่อการนี้อีก
เงินทุนมูลนิธิฟอร์ดมอบให้แก่รัฐบาลไทยเพื่อเป็นการช่วยเหลือในการจัดส่งข้าราชการไปศึกษาอบรมและฝึกงาน ณ ต่างประเทศเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการไทยเมื่อโจทก์ติดต่อจนได้รับทุนมาแล้วได้จัดส่งจำเลยที่ 1 ไปศึกษา ณ ต่างประเทศ โดยโจทก์จำเลยทำสัญญากันว่า เมื่อเสร็จการศึกษาแล้วจำเลยที่ 1 จะต้องกลับมารับราชการในสังกัดโจทก์ ดังนี้ วัตถุประสงค์ของสัญญาที่ทำกันไว้หาได้ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ จำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันตามข้อสัญญาที่ทำไว้
จำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินเดือนที่ได้รับไปจากโจทก์พร้อมด้วยเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของเงินเดือนคืนให้แก่โจทก์ อันเป็นการบรรเทาความเสียหายให้แก่โจทก์ส่วนหนึ่งแล้ว จำเลยที่ 2 เป็นแต่เพียงผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 2 ยอมตนเข้าผูกพันค้ำประกันจำเลยที่ 1 ก็เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาของจำเลยที่ 1 และประโยชน์อันจะพึงมีแก่โจทก์โดยส่วนรวมแต่ถ่ายเดียว จึงมีเหตุผลที่ควรได้รับความเห็นใจ เห็นได้ว่าในกรณีเช่นนี้การคิดเอาเบี้ยปรับจากจำเลยที่ 2 อีกเท่าหนึ่งของจำนวนเงินทุนที่ต้องชดใช้คืนน่าจะสูงเกินส่วน สมควรลดเบี้ยปรับเฉพาะส่วนนี้ลงกึ่งหนึ่ง
จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันฎีกาขอให้ลดจำนวนเบี้ยปรับแต่เพียงผู้เดียวเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรลดเบี้ยปรับและกรณีเป็นหนี้ร่วมกันจะแบ่งแยกมิได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3944/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาค้ำประกัน: 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 แม้มิได้มีกฎหมายกำหนดอายุความโดยเฉพาะ
การฟ้องให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3936/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกทรัพย์คืนและการบังคับตามสัญญาค้ำประกัน: คดีไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ว่าได้ยักยอกเอาเงินค่าธรรมเนียมการใช้ไฟฟ้าของโจทก์ไปเป็นประโยชน์ต่อส่วนตัว เป็นการฟ้องคดีเพื่อติดตามเอาทรัพย์สินของโจทก์คืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 มิใช่มีอายุความ 1 ปีในฐานะละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ 3 โจทก์ฟ้องให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งกฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีสิทธิฟ้องได้ภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3701/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสัญญาค้ำประกันคนต่างด้าว: ผู้มีอำนาจตามกฎหมาย แม้ไม่ใช่ผู้ทำสัญญาโดยตรง
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันคนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไว้กับพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจ คนเข้าเมืองผู้มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2493 คนอื่นซึ่งมิใช่ผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองเมื่อจำเลยผิดสัญญาผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ย่อมมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยบังคับตามสัญญาค้ำประกันนั้น โดยอาศัยตำแหน่งพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นคู่สัญญากับจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 284/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันรวมถึงหนี้ในอนาคต สิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันต้องพิจารณาร่วมกัน แม้เช็คขาดอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กู้เงินไป 700,000 บาท จำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 1 นำ เช็คของลูกค้า 6 ฉบับเป็นเงิน 242,239 บาท มาชำระหนี้ โจทก์นำไปชำระหนี้แก่ ธ. ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ธ. นำเช็คมาคืน โจทก์ได้ชำระเงินตามเช็คทั้ง 6 ฉบับไปแล้ว จำเลยที่ 1 ยังเป็นหนี้โจทก์อยู่ 242,239 บาท ดังนี้ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ ดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันส่วนที่โจทก์บรรยายถึงเช็ค 6 ฉบับมาด้วย ก็เพื่อแสดงให้เห็นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 นำเช็คมาชำระหนี้เงินกู้ยืมแล้วโจทก์ยังไม่ได้รับเงินเท่านั้น ฉะนั้นการวินิจฉัยว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ จึงต้องวินิจฉัยตามมูลหนี้ที่โจทก์ฟ้อง คือสัญญากู้ยืมและค้ำประกันจะนำอายุความเรื่องเช็คมาวินิจฉัยว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความไม่ได้ เพราะเป็นการนอกประเด็นตามคำฟ้อง
สัญญาค้ำประกันที่ค้ำประกันรวมถึงหนี้ในอนาคตด้วยนั้น มีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 681
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยโดยมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ เป็นการผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 284/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเช็คไม่ตัดสิทธิผู้ค้ำประกันตามสัญญากู้ยืมและค้ำประกัน ศาลต้องวินิจฉัยมูลหนี้หลัก
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กู้เงินไป 700,000 บาทจำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 1 นำ เช็คของลูกค้า 6 ฉบับเป็นเงิน 242,239 บาท มาชำระหนี้ โจทก์นำไปชำระหนี้แก่ ธ.ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ธ. นำเช็คมาคืน โจทก์ได้ชำระเงินตามเช็คทั้ง 6 ฉบับไปแล้ว จำเลยที่ 1 ยังเป็นหนี้โจทก์อยู่ 242,239 บาท ดังนี้ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ ดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องโดยอาศัยมูลหนี้ ตามสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกัน ส่วนที่โจทก์บรรยายถึง เช็ค 6 ฉบับมาด้วย ก็เพื่อแสดงให้เห็นพฤติการณ์ที่จำเลย ที่ 1 นำเช็คมาชำระหนี้เงินกู้ยืมแล้วโจทก์ยังไม่ได้รับเงินเท่านั้น ฉะนั้นการวินิจฉัยว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ จึงต้องวินิจฉัยตามมูลหนี้ที่โจทก์ฟ้อง คือสัญญากู้ยืม และค้ำประกันจะนำอายุความเรื่องเช็คมาวินิจฉัยว่าคดีของ โจทก์ขาดอายุความไม่ได้ เพราะเป็นการนอกประเด็นตามคำฟ้อง
สัญญาค้ำประกันที่ค้ำประกันรวมถึงหนี้ในอนาคตด้วยนั้น มีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 681
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยโดยมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ เป็นการผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
of 50