พบผลลัพธ์ทั้งหมด 460 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดิน - โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของตนเอง แต่ไม่แสดงสิทธิในที่ดินตามกฎหมาย
ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นโจทก์ฟ้องคดีบรรยายฟ้องว่าจำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์ โจทก์ได้แจ้งการครอบครองที่ดินแปลงนี้ไว้แล้ว โจทก์ได้รับความเสียหายขอให้พิพากษาขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์และขอให้ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วยซึ่งเมื่อพิจารณาตามฟ้องแล้วเห็นได้ว่าโจทก์กล่าวอ้างว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์เอง มิได้อาศัยอำนาจจากอธิบดีที่ดินซึ่ งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2479 และมิได้อ้างอำนาจตามมาตรา 8 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 929/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสิทธิในที่ดินและผลกระทบต่อสิทธิรับเงินค่าเวนคืน ศาลพิจารณาเป็นคดีที่คำนวณราคาเงินได้
โจทก์อ้างว่า จำเลยได้ทำสัญญาโอนสิทธิครอบครองที่ดินรวม 5 โฉนดและสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์ด้วยการส่งมอบที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พร้อมทั้งตราสารแห่งสิทธิให้โจทก์ ต่อมาจำเลยได้บอกเลิกสัญญาโอนสิทธิ ขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญาโอนสิทธิครอบครองใช้ได้ตามกฎหมาย จำเลย ไม่มีสิทธิเพิกถอน ห้ามมิให้จำเลยขัดขวางในการที่โจทก์จะใช้สิทธิบนอสังหาริมทรัพย์ จำเลยต่อสู้ว่ากรรมสิทธิในที่ดินยังเป็นของจำเลย ดังนี้จึงเห็นได้ว่าข้อพิพาทในคดีคือที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องเป็นของโจทก์ หรือของจำเลย ถึงแม้คำขอท้ายฟ้องโจทก์จะมิได้บ่งชัดขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินก็ตาม หากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโจทก์ก็เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กับมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนต่อไป ดังนี้ จึงเป็นคดีที่คำขอปลดเปลื้องทุกข์อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 150 ถึงแม้ว่ากรรมสิทธิ์ที่ดินที่พิพาทจะถูกเวนคืนแล้วก็ตาม ก็จำต้องพิจารณาว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นเจ้าของ อันมีสิทธิรับเงินค่าทดแทนอยู่นั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์: การเชื่อโดยสุจริตว่ามีสิทธิในที่ดินเป็นเหตุยกเว้นความรับผิด
การเข้าไปไถนาในที่ดินซึ่งตนเชื่อโดยสุจริตใจว่าตนมีสิทธิโดยชอบที่จะเอาไปทำได้ แม้จะทำให้คันนาของบุคคลอื่นเสียหาย ก็ถือไม่ได้ว่าได้มีเจตนากระทำผิดอันจะเป็นความผิดทางอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 832/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินจากการยกให้และการครอบครองปรปักษ์ แม้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว โจทก์ยังพิสูจน์สิทธิดีกว่าได้
คดีก่อน จำเลยฟ้องขับไล่บิดาโจทก์กับบริวารให้ออกจากที่แปลงพิพาทศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย พิพากษาขับไล่บิดาโจทก์และบริวารออกไปจากที่พิพาท ดังนี้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นบริวารบิดาในคดีก่อนมาฟ้องจำเลย ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทบางส่วนเป็นของโจทก์โดยย่าของโจทก์ยกให้ และได้ครอบครองมาโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาเกิน 10 ปีแล้ว ข้ออ้างของโจทก์เช่นนี้เป็นการกล่าวอ้างว่าตนมีสิทธิดีกว่าซึ่งกฎหมายยอมให้พิสูจน์ได้ และฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนเพราะคู่ความในคดีทั้งสองมิใช่เป็นคู่ความเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ร้องสอดในคดีขับไล่: การบังคับรื้อถอนเมื่ออ้างสิทธิแต่พิสูจน์ไม่ได้
ผู้ร้องสอดที่เข้ามาเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) และ (3) มีสิทธิ์เสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ อาจได้รับหรือถูกบังคับให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท ผู้ร้องสอดเข้ามาต่อสู้คดีกับโจทก์อ้างว่าที่พิพาทเป็นของผู้ร้องสอด แต่ผู้ร้องสอดนำสืบไม่สม ผู้ร้องสอดจึงต้องรับผิดตามคำพิพากษา เมื่อผู้ร้องสอดเข้ายึดถือที่พิพาทโดยปราศจากสิทธิ์ใด ๆ อันจะพึงอ้างได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องสอดจึงต้องถูกบังคับให้รื้อถอนไป หาเป็นการบังคับคดีนอกฟ้องหรือเกินคำขอไม่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท ผู้ร้องสอดเข้ามาต่อสู้คดีกับโจทก์อ้างว่าที่พิพาทเป็นของผู้ร้องสอด แต่ผู้ร้องสอดนำสืบไม่สม ผู้ร้องสอดจึงต้องรับผิดตามคำพิพากษา เมื่อผู้ร้องสอดเข้ายึดถือที่พิพาทโดยปราศจากสิทธิ์ใด ๆ อันจะพึงอ้างได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องสอดจึงต้องถูกบังคับให้รื้อถอนไป หาเป็นการบังคับคดีนอกฟ้องหรือเกินคำขอไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อที่ดินโดยบริษัทที่มีกรรมการเป็นชาวต่างชาติ แม้ผิดกฎหมายเดิม แต่เมื่อกฎหมายแก้ไขแล้ว โจทก์มีสิทธิในที่ดินได้
จำเลยที่ 3 มิได้โต้แย้งมาโดยชัดแจ้งว่าที่ศาลล่างฟังข้อเท็จจริงตามคำเบิกความของพยานบุคคลและพยานเอกสารของโจทก์ว่า ส. และจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของโจทก์ในการลงชื่อซื้อที่ดินพิพาทนั้น และความจริง ส. และจำเลยที่ 1 มิได้ลงชื่อในโฉนดในฐานะตัวแทนของโจทก์ดังที่ศาลล่างฟังมา ดังนี้ จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะฟังเป็นอย่างอื่น
การที่โจทก์สืบพยานบุคคลว่าผู้มีชื่อในโฉนดเป็นตัวแทนของโจทก์ นั้น หาได้สืบในข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือตามความหมายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 นั้นไม่ แต่เป็นการสืบพยานในข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลย ในกรณีตัวแทนอีกส่วนหนึ่ง จึงมิใช่การนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารที่กฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือแต่ประการใด
ถ้าหากเป็นคดีมีข้อพิพาทในหนี้ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์โดยอาศัยสัญญาตัวแทนเป็นมูลกรณี ก็อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 ที่จะต้องมีหนังสือตั้งตัวแทนเพราะสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 มิได้ใช้บังคับในกรณีที่ตัวการตัวแทนพิพาทกันตามสัญญาตัวแทนโดยเฉพาะเพราะตัวการตัวแทนผูกพันกันตามสัญญาตัวแทนอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ไม่ได้อาศัยหนี้ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ต้อง ทำเป็นหนังสือเป็นข้อผูกพันอันเป็นมูลฟ้องแต่ประการใดเลย
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 97(5) กฎหมายใช้คำว่า 'กรรมการ' มิได้ใช้คำว่า 'คณะกรรมการ' ดังนั้น เมื่อได้ความว่าโจทก์เป็นบริษัทจำกัด มีคนต่างด้าวคนหนึ่งเป็นกรรมการรวมอยู่ด้วย จึงย่อมหมายถึงกรรมการคนใดคนหนึ่ง ไม่หมายความว่ากรรมการทุกคนต้องเป็นคนต่างด้าวโจทก์จึงอยู่ในข่ายที่จะมีสิทธิในที่ดินได้เสมือนคนต่างด้าวตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86
แม้การที่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 ผลของข้อห้ามนี้มีอย่างไรนั้น ยังมีบทบัญญัติต่อไปในมาตรา 94 ว่าบรรดาที่ดินที่คนต่างด้าวได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ได้รับอนุญาตให้คนต่างด้าวนั้นจัดการจำหน่ายภายในเวลาที่อธิบดีกำหนดให้ ฯลฯ ถ้าไม่จำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่กำหนดให้อธิบดีมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้น และให้นำบทบัญญัติเรื่องการบังคับจำหน่ายที่ดินตามความในหมวด 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลมดังนี้เป็นที่เห็นได้ว่า กฎหมายมิได้ถือว่าการได้ที่ดินมาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เช่น โดยการซื้อขายนั้น ไม่มีผลใด ๆ เสียเลย แม้คนต่างด้าวจะไม่สามารถถือและใช้สิทธิในที่ดินนั้นได้อย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยบริบูรณ์ แต่กฎหมายก็ยังบัญญัติให้จำหน่ายที่ดินนั้นเสียตามกำหนดเวลาที่อธิบดีมีคำสั่ง มิฉะนั้นอธิบดีจะจัดการจำหน่ายเองตามวิธีการที่กฎหมายบังคับไว้ (อ้างฎีกาที่ 499/2500) ซึ่งคนต่างด้าวจะได้รับค่าที่ดินคืนไป เมื่อประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 97(5) ได้ยกเลิกไปแล้วโดยที่อธิบดีก็มิได้สั่งให้โจทก์จำหน่ายที่ดินซึ่งมีผู้ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทนโจทก์ จึงไม่มีเหตุผลอย่างใดที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์ถือกรรมสิทธิ์ที่พิพาทไม่ได้
การที่โจทก์สืบพยานบุคคลว่าผู้มีชื่อในโฉนดเป็นตัวแทนของโจทก์ นั้น หาได้สืบในข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือตามความหมายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 นั้นไม่ แต่เป็นการสืบพยานในข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลย ในกรณีตัวแทนอีกส่วนหนึ่ง จึงมิใช่การนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารที่กฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือแต่ประการใด
ถ้าหากเป็นคดีมีข้อพิพาทในหนี้ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์โดยอาศัยสัญญาตัวแทนเป็นมูลกรณี ก็อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 ที่จะต้องมีหนังสือตั้งตัวแทนเพราะสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 มิได้ใช้บังคับในกรณีที่ตัวการตัวแทนพิพาทกันตามสัญญาตัวแทนโดยเฉพาะเพราะตัวการตัวแทนผูกพันกันตามสัญญาตัวแทนอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ไม่ได้อาศัยหนี้ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ต้อง ทำเป็นหนังสือเป็นข้อผูกพันอันเป็นมูลฟ้องแต่ประการใดเลย
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 97(5) กฎหมายใช้คำว่า 'กรรมการ' มิได้ใช้คำว่า 'คณะกรรมการ' ดังนั้น เมื่อได้ความว่าโจทก์เป็นบริษัทจำกัด มีคนต่างด้าวคนหนึ่งเป็นกรรมการรวมอยู่ด้วย จึงย่อมหมายถึงกรรมการคนใดคนหนึ่ง ไม่หมายความว่ากรรมการทุกคนต้องเป็นคนต่างด้าวโจทก์จึงอยู่ในข่ายที่จะมีสิทธิในที่ดินได้เสมือนคนต่างด้าวตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86
แม้การที่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 ผลของข้อห้ามนี้มีอย่างไรนั้น ยังมีบทบัญญัติต่อไปในมาตรา 94 ว่าบรรดาที่ดินที่คนต่างด้าวได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ได้รับอนุญาตให้คนต่างด้าวนั้นจัดการจำหน่ายภายในเวลาที่อธิบดีกำหนดให้ ฯลฯ ถ้าไม่จำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่กำหนดให้อธิบดีมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้น และให้นำบทบัญญัติเรื่องการบังคับจำหน่ายที่ดินตามความในหมวด 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลมดังนี้เป็นที่เห็นได้ว่า กฎหมายมิได้ถือว่าการได้ที่ดินมาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เช่น โดยการซื้อขายนั้น ไม่มีผลใด ๆ เสียเลย แม้คนต่างด้าวจะไม่สามารถถือและใช้สิทธิในที่ดินนั้นได้อย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยบริบูรณ์ แต่กฎหมายก็ยังบัญญัติให้จำหน่ายที่ดินนั้นเสียตามกำหนดเวลาที่อธิบดีมีคำสั่ง มิฉะนั้นอธิบดีจะจัดการจำหน่ายเองตามวิธีการที่กฎหมายบังคับไว้ (อ้างฎีกาที่ 499/2500) ซึ่งคนต่างด้าวจะได้รับค่าที่ดินคืนไป เมื่อประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 97(5) ได้ยกเลิกไปแล้วโดยที่อธิบดีก็มิได้สั่งให้โจทก์จำหน่ายที่ดินซึ่งมีผู้ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทนโจทก์ จึงไม่มีเหตุผลอย่างใดที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์ถือกรรมสิทธิ์ที่พิพาทไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 354/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และสิทธิในที่ดินร่วม: ศาลต้องสืบพยานเพื่อพิสูจน์การครอบครองเป็นสัดส่วน
จำเลยยอมรับว่า โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาท 1 ใน 3 จำเลย 2 คนมีอยู่คนละ 1 ใน 3 แต่จำเลยเถียงว่าได้ครอบครองที่พิพาทเป็นสัดส่วนกันมาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ในวันนัดพร้อม จำเลยก็ยังยืนยันที่จะขอส่วนแบ่งตรงที่ที่จำเลยครอบครองอยู่ เมื่อจำเลยอ้างว่าได้ครอบครองที่พิพาทเป็นสัดส่วนมาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ถ้าเป็นความจริงจำเลยก็ชอบที่จะได้กรรมสิทธิ์ตรงที่ที่จำเลยครอบครองตามความในมาตรา 1382 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ข้อต่อสู้ของจำเลยจึงเป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องฟังกันต่อไป
(อ้างฎีกาที่ 1424/2497)
(อ้างฎีกาที่ 1424/2497)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินเช่า, การยึดถือแทน, และอายุความฟ้องร้องสิทธิในที่ดิน
ข้อที่ว่าจำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2,3 เข้าอยู่ในที่ดินเพื่อกรีดยางของโจทก์นั้น ไม่ปรากฏในคำฟ้องของโจทก์ จึงไม่มีประเด็นจะพึงวินิจฉัย
โจทก์มิได้นำสืบว่าจำเลยที่ 1 ร่วมในการกระทำละเมิด จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2,ที่ 3
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามขัดขวางไม่ยอมส่งมอบที่ดินตามสัญญา จำเลยที่ 1 ยังให้จำเลยที่ 2 แจ้งการครอบครองแบบ ส.ค.1 เลขที่ 288/98 ในที่ของโจทก์เพื่อฉ้อโกงโจทก์ จำเลยทั้งสามละเมิดสิทธิของโจทก์เก็บผลน้ำยางพาราวันละ 3 แผ่น เป็นเงินวันละ 30 บาทตลอดมา โจทก์ได้รับความเสียหายดังนี้ถือได้ว่า คำฟ้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
จำเลยที่ 2 ที่ 3 เข้าอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1 ซึ่งเช่าจากโจทก์ อันเป็นการยึดถือแทนโจทก์ หาได้เข้าอยู่อย่างเป็นเจ้าของไม่ เมื่อจำเลยทั้งสามมิได้บอกกล่าวการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังโจทก์ ก็ต้องถือว่าจำเลยทั้งสามยังคงยึดถือแทนโจทก์ตามเดิม ที่พิพาทจึงเป็นของโจทก์
จำเลยอ้างว่าโจทก์ถูกแย่งการครอบครอง จึงเป็นกรณีตามที่มีบัญญัติไว้ในมาตรา 1375 และเมื่อฟังว่าจำเลยทั้งสามยึดถือที่พิพาทแทนโจทก์ซึ่งเท่ากับโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่พิพาทอยู่ตลอดมา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
โจทก์มิได้นำสืบว่าจำเลยที่ 1 ร่วมในการกระทำละเมิด จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2,ที่ 3
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามขัดขวางไม่ยอมส่งมอบที่ดินตามสัญญา จำเลยที่ 1 ยังให้จำเลยที่ 2 แจ้งการครอบครองแบบ ส.ค.1 เลขที่ 288/98 ในที่ของโจทก์เพื่อฉ้อโกงโจทก์ จำเลยทั้งสามละเมิดสิทธิของโจทก์เก็บผลน้ำยางพาราวันละ 3 แผ่น เป็นเงินวันละ 30 บาทตลอดมา โจทก์ได้รับความเสียหายดังนี้ถือได้ว่า คำฟ้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
จำเลยที่ 2 ที่ 3 เข้าอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1 ซึ่งเช่าจากโจทก์ อันเป็นการยึดถือแทนโจทก์ หาได้เข้าอยู่อย่างเป็นเจ้าของไม่ เมื่อจำเลยทั้งสามมิได้บอกกล่าวการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังโจทก์ ก็ต้องถือว่าจำเลยทั้งสามยังคงยึดถือแทนโจทก์ตามเดิม ที่พิพาทจึงเป็นของโจทก์
จำเลยอ้างว่าโจทก์ถูกแย่งการครอบครอง จึงเป็นกรณีตามที่มีบัญญัติไว้ในมาตรา 1375 และเมื่อฟังว่าจำเลยทั้งสามยึดถือที่พิพาทแทนโจทก์ซึ่งเท่ากับโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่พิพาทอยู่ตลอดมา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินนิคมสร้างตนเอง: การได้มาซึ่งสิทธิ และความเป็นผู้เสียหาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปปลูกเรือนในที่พิพาทของร้อยโทบุญเกิดซึ่งอ้างว่าได้รับจัดสรรจากนิคมสร้างตนเองดังนี้ ต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ.2485 มาตรา 7,8 ซึ่งจะเห็นได้ว่า ที่ดินที่นิคมจัดสรรให้นั้น ผู้ที่ได้รับจัดสรรต้องเข้าครอบครองทำประโยชน์และปฏิบัติการอย่างอื่นอีกจนเจ้าหนี้ที่ออกหนังสือรับรองว่าได้ทำประโยชน์และได้รับโฉนดแผนที่หรือตราจองแล้วจึงจะพ้นจากการ เป็นที่หวงห้ามตามข้อเท็จจริง ร้อยโทบุญเกิดยังไม่ได้รับโฉนดแผนที่หรือตราจอง ที่ดินรายนี้จึงยังไม่พ้นจากการเป็นที่หวงห้ามหรือนัยหนึ่งยังไม่เป็นของร้อยโทบุญเกิด ฉะนั้น หากจะฟังว่าร้อยโทบุญเกิดได้รับจัดสรรมา ก็ยังไม่ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ที่พิพาทยังไม่เป็นของร้อยโทบุญเกิดแม้จำเลยเข้าครอบครองก็ฟังไม่ได้ว่าเป็นการรบกวนสิทธิหรือการครอบครองของร้อยโทบุญเกิดร้อยโทบุญเกิดจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่ต้องอ้างอิงสิทธิในที่ดิน การวินิจฉัยเกินคำฟ้องเป็นเหตุให้คำพิพากษาเป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินราชพัสดุแปลงหนึ่ง จำเลยปลูกบ้านเรือนอยู่ในที่ดินแปลงนี้บางส่วน โดยเช่าจากผู้แทนโจทก์ จำเลยต่อสู้ว่าที่ดินที่จำเลยปลูกบ้านไม่ใช่ของโจทก์ อยู่นอกเขตที่ดินราชพัสดุของโจทก์ จำเลยไม่ได้เช่าจากโจทก์ ประเด็นที่จะต้องพิจารณา คือ ที่พิพาทเป็นที่ดินของโจทก์หรือไม่ การที่ศาลวินิจฉัยว่า ถึงแม้เป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่านอกเขตที่ดินราชพัสดุ โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง เพราะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์มีหน้าที่ดูแลทรัพย์สินของแผ่นดิน จึงเป็นการพิพากษาคดีเกินหรือนอกไปจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
แม้จำเลยจะไม่มีสิทธิอยู่ในที่พิพาท ผู้ที่จะฟ้องขับไล่ได้ก็ต้องมีสิทธิหรือมีอำนาจหน้าที่ในที่ดินนั้น และถูกโต้แย้งสิทธิ.
แม้จำเลยจะไม่มีสิทธิอยู่ในที่พิพาท ผู้ที่จะฟ้องขับไล่ได้ก็ต้องมีสิทธิหรือมีอำนาจหน้าที่ในที่ดินนั้น และถูกโต้แย้งสิทธิ.