พบผลลัพธ์ทั้งหมด 323 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 838/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตคลองและการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง: น้ำท่วมถึงไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของคลอง
ที่ลาดติดต่อกับฝั่งคลองนั้นถึงแม้ในฤดูน้ำน้ำท่วมถึงก็ยังไม่เป็นเหตุพอจะชี้ขาดได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของคลอง พะยาน คู่ความจะขอสืบพะยานในข้อที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีศาลงดสืบพะยานนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คานเรือเป็นสิ่งปลูกสร้างต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน แม้จะให้เช่ารวมกับเรือน
คานเรือเป็นสิ่งปลูกสร้างอันจะต้องเสียภาษีตามกฎหมายข้างบน ฎีกาอุทธรณ์ ปัญหากฎหมาย เมื่อไม่มีการโต้เถียงกันในข้อเท็จจริง ปัญหาว่าคานเรือจะเป็นสิ่งปลูกสร้างอันจะต้องเสียภาษีตาม พรบ.โรงเรือนและที่ดินหรือไม่เป็นปัญหากฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 576/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนทางหลวง: ฟ้องล่าช้าเกิน 1 ปี
+ทางอาชญาตัดสินทางแพ่งโดยโจทก์ไม่ได้เสียค่าธรรมเนียม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 550/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์: สิ่งปลูกสร้างบนที่เช่า และการเป็นส่วนควบ
โฮเต็ล โรงมหรศพแลครัวไฟ ถึงแม้ปลูกอยู่ในที่ซึ่งเช่าจากผู้อื่นก็นับว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ การวินิจฉัยว่าอะไรเป็นหรือไม่เป็นส่วนควบต้องวิเคราะห์ตามมาตรา 107-109 ซึ่งไม่เกี่ยวกับปัญหาว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ ผู้ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ไม่มีบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ของผู้เช่า คงมีบุริมสิทธิเหนือสังหาริมทรัพย์เท่านั้น วิธีพิจารณาความแพ่ง ขัดทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายเรือน (สิ่งปลูกสร้าง) บนที่ดินของผู้อื่นเป็นโมฆะ แม้เป็นอสังหาริมทรัพย์ ผู้ซื้อไม่ได้รับกรรมสิทธิ
เรือนเสาไม้แก่น ฝาแลพื้นกะดานเป็นอสังหาริมทรัพย์ ฎีกาที่ 591/2472 สัญญาซื้อขายเรือนดังกล่าวนี้ทำกันเองเป็นโมฆะ ผู้ซื้อไม่ได้กรรมสิทธิขัดทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 492/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในที่หลวง: เจ้าพนักงานปล่อยปละละเลยทำให้จำเลยไม่มีผิดฐานขัดคำสั่ง
จำเลยปลูกเรือนโรงในที่ทางหลวงมาช้านาน เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้รื้อถอนไป จำเลยไม่รื้อก็ยังไม่มีผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน ที่ดินกฎเสนาบดีเกษตร์ วิธีพิจารณาแพ่ง ค่าเสียหายที่ต้องรื้อ ผู้ใดอยู่ในที่หลวงเมื่อต้องรื้อไปไม่ได้ค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 262/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาซื้อขายและการเรียกร้องค่าเสียหายจากสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินผู้อื่น โดยการยอมไม่ขอให้ปฏิบัติตามสัญญา
ผิดสัญญาค่าเสียหายที่ปลูกสร้างลงในที่ผู้อื่น วิธีพิจารณาแพ่งโจทก์ยอมไม่ขอให้ปฏิบัติตามสัญญา จะมาขอชั้นฎีกาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 120/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายฝากอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่จดทะเบียน และผลกระทบต่อกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้าง
ตามหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินที่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ระบุว่า จำเลยขายฝากเฉพาะที่ดินไม่เกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 252 ด้วย ซึ่งต้องแปลความว่าไม่รวมบ้านไม่มีเลขที่บ้านด้วย เพราะฉะนั้นการขายฝากสมบูรณ์เฉพาะที่ดินเท่านั้น แม้โจทก์จะอ้างว่าโจทก์กับจำเลยตกลงขายฝากที่ดินพร้อมบ้าน 2 หลัง คือบ้านเลขที่ 252 กับบ้านที่ไม่มีเลขที่บ้านอีก 1 หลัง แต่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งว่าจดทะเบียนขายฝากบ้าน 2 หลัง ดังกล่าวด้วยไม่ได้เพราะต้องประเมินราคาจึงจดทะเบียนขายฝากเฉพาะที่ดิน โจทก์กับจำเลยจึงได้ทำสัญญาซื้อขายบ้าน 2 หลัง เพิ่มเติมตามที่ตกลงกันตามหนังสือสัญญาซื้อขาย แต่สัญญาขายฝากเป็นสัญญาซื้อขายประเภทหนึ่งจึงต้องนำบทบัญญัติเรื่องซื้อขายมาใช้บังคับด้วย ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง กำหนดว่าการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ เมื่อการขายฝากบ้านทั้งสองหลังไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงตกเป็นโมฆะ นอกจากนี้สัญญาขายฝากที่ดิน และสัญญาซื้อขาย ยังทำวันเดียวกันแสดงให้เห็นเจตนาโดยชัดแจ้งว่าคู่สัญญาต้องการหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียม จึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 อีกด้วย ดังนั้นโจทก์ไม่อาจอ้างว่าบ้านทั้งสองหลังตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยหลักส่วนควบได้ โจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในบ้านทั้งสองหลัง
คู่สัญญาไม่ได้ตกลงขายฝากบ้านเลขที่ 252 ด้วย บ้านหลังดังกล่าวยังเป็นของจำเลยโดยไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดิน และกรณีไม่ต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1310 เพราะกรณีนี้ไม่ใช่จำเลยปลูกบ้านเลขที่ 252 ในที่ดินของโจทก์ แม้ภายหลังขายฝากจำเลยจะได้ต่อเติมบ้านหลังดังกล่าวก็ตาม เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ในที่ดินของโจทก์อีกต่อไป จำเลยต้องรื้อบ้านหลังดังกล่าวออกจากที่ดินของโจทก์
ส่วนบ้านไม่มีเลขที่ ขณะทำสัญญาขายฝากที่ดินบ้านหลังไม่มีเลขที่บ้านยังอยู่ระหว่างก่อสร้าง การที่โจทก์ปล่อยให้จำเลยก่อสร้างบ้านหลังดังกล่าวในที่ดินที่ขายฝากต่อไปโดยโจทก์ไม่ได้ห้ามปราม จำเลยซึ่งเป็นผู้ปลูกสร้างย่อมเข้าใจว่าตนมีสิทธิที่จะปลูกสร้างได้ต่อไปจนแล้วเสร็จเพราะเชื่อตามสัญญาขายฝากว่าตนมีสิทธิไถ่ที่ดินคืนได้ภายในกำหนดในสัญญา การปลูกสร้างบ้านไม่มีเลขที่บ้านของจำเลยจึงเป็นการสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต แต่เมื่อทำสัญญาขายฝากแล้วจำเลยไม่ไถ่คืนภายในกำหนด ที่ดินที่ขายฝากย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยเด็ดขาด กรณีดังกล่าวไม่มีบทกฎหมายที่จะใช้ปรับได้โดยตรง จึงต้องใช้บทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง อันได้แก่ ป.พ.พ. มาตรา 1310 วรรคหนึ่ง ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของโรงเรือนนั้น แต่ต้องใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้นให้แก่จำเลยผู้สร้าง และการที่โจทก์ปล่อยให้จำเลยปลูกสร้างบ้านต่อไปในที่ดินของโจทก์โดยมิได้ห้ามปรามถือว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อในการสร้างโรงเรือนของจำเลย โจทก์จึงไม่อาจบอกปัดไม่ยอมรับโรงเรือนนั้น และต้องใช้ค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มให้แก่จำเลย
คู่สัญญาไม่ได้ตกลงขายฝากบ้านเลขที่ 252 ด้วย บ้านหลังดังกล่าวยังเป็นของจำเลยโดยไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดิน และกรณีไม่ต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1310 เพราะกรณีนี้ไม่ใช่จำเลยปลูกบ้านเลขที่ 252 ในที่ดินของโจทก์ แม้ภายหลังขายฝากจำเลยจะได้ต่อเติมบ้านหลังดังกล่าวก็ตาม เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ในที่ดินของโจทก์อีกต่อไป จำเลยต้องรื้อบ้านหลังดังกล่าวออกจากที่ดินของโจทก์
ส่วนบ้านไม่มีเลขที่ ขณะทำสัญญาขายฝากที่ดินบ้านหลังไม่มีเลขที่บ้านยังอยู่ระหว่างก่อสร้าง การที่โจทก์ปล่อยให้จำเลยก่อสร้างบ้านหลังดังกล่าวในที่ดินที่ขายฝากต่อไปโดยโจทก์ไม่ได้ห้ามปราม จำเลยซึ่งเป็นผู้ปลูกสร้างย่อมเข้าใจว่าตนมีสิทธิที่จะปลูกสร้างได้ต่อไปจนแล้วเสร็จเพราะเชื่อตามสัญญาขายฝากว่าตนมีสิทธิไถ่ที่ดินคืนได้ภายในกำหนดในสัญญา การปลูกสร้างบ้านไม่มีเลขที่บ้านของจำเลยจึงเป็นการสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต แต่เมื่อทำสัญญาขายฝากแล้วจำเลยไม่ไถ่คืนภายในกำหนด ที่ดินที่ขายฝากย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยเด็ดขาด กรณีดังกล่าวไม่มีบทกฎหมายที่จะใช้ปรับได้โดยตรง จึงต้องใช้บทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง อันได้แก่ ป.พ.พ. มาตรา 1310 วรรคหนึ่ง ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของโรงเรือนนั้น แต่ต้องใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้นให้แก่จำเลยผู้สร้าง และการที่โจทก์ปล่อยให้จำเลยปลูกสร้างบ้านต่อไปในที่ดินของโจทก์โดยมิได้ห้ามปรามถือว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อในการสร้างโรงเรือนของจำเลย โจทก์จึงไม่อาจบอกปัดไม่ยอมรับโรงเรือนนั้น และต้องใช้ค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8576-8578/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างบนที่ดิน: อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมาย
คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สิ่งปลูกสร้างอาคารชุด ร. เป็นส่วนควบของที่ดินตามโฉนดที่ดิน โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 อุทธรณ์ สรุปได้ความว่า จำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารชุด ร. โดยเจ้าของที่ดินยินยอมให้จำเลยที่ 1 ก่อสร้าง จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้มีสิทธิเหนือพื้นดิน ทั้งยังปรากฏตามสัญญาซื้อขายว่า ซื้อขายเฉพาะที่ดิน ไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง และงบการเงิน ก็ระบุว่าจำเลยที่ 1 มีสินค้าคงเหลือเป็นอาคารชุด ซึ่งปลูกสร้างบนที่ดิน อันเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลที่เกี่ยวกับบริษัท กรณีจึงเป็นที่แจ้งชัดว่า กรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างอาคารชุด ร. ซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินตามโฉนดที่ดิน เป็นของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ดังนี้ ในการวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตจากเจ้าของที่ดินให้ก่อสร้างอาคารชุด ร. บนที่ดินดังกล่าวหรือไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 อ้างอันเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อความผิดที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4061/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นส่วนควบของสิ่งปลูกสร้างกับที่ดิน และผลกระทบต่อการบังคับคดี
แม้ผู้ร้องเป็นผู้ปลูกสร้างตึกแถวเลขที่ 7/170 บนที่ดินโฉนดเลขที่ 21664 ก็ตาม แต่ปรากฏว่าผู้ร้องได้ทำหนังสือยกที่ดินเฉพาะส่วนของผู้ร้องทั้งหมดตามโฉนดที่ดินเลขที่ 21664 พร้อมตึกแถวสามชั้นเลขที่ 7/170 ให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ดังนี้เมื่อตึกแถว 3 ชั้น เลขที่ 7/170 ยังปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 21664 ตึกแถวเลขที่ 7/170 ย่อมเป็นส่วนควบของที่ดินโฉนดเลขที่ 21664 การที่ผู้ร้องจะก่อตั้งกรรมสิทธิ์ในตึกแถวเลขที่ 7/170 แยกออกต่างหากจากที่ดินโฉนดเลขที่ 21664 จะทำได้ก็โดยการก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1410 เมื่อผู้ร้องไม่เคยจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้สมบูรณ์ถูกต้องตามกฎหมาย จึงไม่มีผลทำให้ตึกแถวเลขที่ 7/170 นั้นมิใช่เป็นส่วนควบของที่ดินโฉนดเลขที่ 21664 ผู้ร้องไม่ได้กรรมสิทธิ์ตึกแถวเลขที่ 7/170 แยกต่างหากจากที่ดินโฉนดเลขที่ 21664 ต้องถือว่าเป็นทรัพย์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โจทก์จึงนำยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 21664 พร้อมตึกแถวเลขที่ 7/170 ออกขายทอดตลาดได้