คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หักกลบลบหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 314 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2554 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หักกลบลบหนี้จากสัญญาเดียวกัน: ศาลฎีกาชี้ว่าการหักกลบลบหนี้ต้องพิจารณาในชั้นบังคับคดี
ความรับผิดชอบจำเลยที่ต้องชำระค่างานให้แก่โจทก์กับความรับผิดของโจทก์ที่จะต้องชำระค่าปรับแก่จำเลยเกิดจากสัญญาเดียวกัน ต่างฝ่ายต่างผูกพันในหนี้อันเดียวกัน จึงหาใช่เป็นการหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 วรรคหนึ่ง ซึ่งมาตรา 344 ห้ามมิให้หักกลบลบหนี้หากสิทธิเรียกร้องนั้นยังมีข้อต่อสู้ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยกขึ้นปรับบทวินิจฉัยไม่ เมื่อจำเลยและโจทก์ต่างมีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่กันในแต่ละคดีซึ่งการบังคับคดีตามคำพิพากษาต้องกระทำแยกต่างหากจากกัน ดังนี้ จำเลยจะขอหักหนี้ได้เพียงใดหรือไม่ จึงเป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ที่เกิดจากสัญญาเดียวกัน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าต้องไปว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดี
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าก่อสร้างในงานที่ทำให้แก่จำเลย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ จำเลยฎีกาขอให้นำเงินค่าปรับที่ศาลพิพากษาให้โจทก์ชำระแก่จำเลยในอีกคดีหนึ่งมาหักกลบลบหนี้ในคดีนี้ ดังนี้ ความรับผิดของจำเลยที่ต้องชำระค่างานแก่โจทก์กับความรับผิดของโจทก์ที่จะต้องชำระค่าปรับแก่จำเลยเกิดจากสัญญาเดียวกัน ต่างฝ่ายต่างผูกพันในหนี้อันเดียวกัน จึงหาใช่เป็นการหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 วรรคหนึ่ง ซึ่งมาตรา 344 ห้ามมิให้หักกลบลบหนี้หากสิทธิเรียกร้องนั้นยังมีข้อต่อสู้อยู่ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยกขึ้นปรับแก่คดีไม่ เมื่อจำเลยและโจทก์ต่างมีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่กันในแต่ละคดีซึ่งการบังคับคดีตามคำพิพากษาต้องกระทำแยกต่างหากจากกัน ดังนี้ จำเลยจะขอหักหนี้ได้เพียงใดหรือไม่ จึงเป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8704/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีภาษีอากรนอกคำฟ้อง โจทก์ต้องฟ้องเรียกค่าภาษีที่ค้างชำระทั้งหมด ไม่สามารถหักกลบลบหนี้ได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าภาษีอากร เงินเพิ่มอากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่มและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม ในสินค้ารายการที่ 5 ที่จำเลยนำเข้า ตามที่โจทก์ประเมินและแจ้งการประเมินให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งการประเมิน จำนวนเงินภาษีย่อมยุติตามการประเมินแม้จะปรากฏว่าจำเลยชำระภาษีอากรในสินค้ารายการที่ 4 ที่นำเข้าพร้อมกันเกินไว้ เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยเคยแสดงเจตนาขอหักกลบลบหนี้ไว้และเมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้จำเลยก็ขาดนัดยื่นคำให้การ ฟ้องโจทก์จึงไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการหักกลบลบหนี้ ทั้งในเรื่องของจำนวนภาษีที่จะได้คืน จำเลยต้องขอคืนค่าภาษีอากรตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 และ ป.รัษฎากร การที่จำเลยเพียงโต้แย้งพิกัดอัตราศุลกากรตอนนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร มิใช่การขอคืนค่าภาษีอากรตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กฎหมายกำหนด ศาลไม่อาจพิพากษาให้นำเงินค่าภาษีอากรที่จำเลยชำระไว้เกินมาหักกลบลบหนี้กับค่าภาษีอากรที่โจทก์ฟ้องขอให้ชำระได้ เพราะเป็นการพิพากษานอกคำฟ้องโจทก์ อันเป็นการต้องห้าม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8325/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน, คดีล้มละลาย, การหักกลบลบหนี้, สิทธิเจ้าหนี้, เงินฝากประกัน
การที่จำเลยทั้งสามในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมกันรับผิดชำระหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้เพื่อปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ระบุจำนวนเงินพร้อมอัตราดอกเบี้ยไว้แน่นอน สามารถคำนวณยอดหนี้ถึงวันฟ้องได้ หนี้ตามฟ้องจึงเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ส่วนการที่โจทก์อาจได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของ อ. ในภายหลังนั้น หาเป็นเหตุให้หนี้ตามฟ้องกลับกลายเป็นหนี้ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่
ความปรากฏเพียงว่าในการทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้มอบบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์และบัญชีเงินฝากประจำไว้ให้แก่โจทก์เป็นประกันเท่านั้น แต่มิได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับการให้สิทธิโจทก์นำเงินฝากดังกล่าวมาหักชำระหนี้ไว้อย่างไร สิทธิเรียกร้องในเงินฝากจึงยังเป็นของจำเลยที่ 1 ดังนั้นแม้โจทก์มิได้นำเงินฝากในบัญชีที่วางประกันไว้มาหักจากยอดหนี้ดังที่จำเลยทั้งสามอ้าง กรณีก็ต้องถือว่าจำเลยทั้งสามมียอดหนี้ค้างชำระอยู่ตามฟ้อง ซึ่งจำเลยที่ 1 คงมีสิทธิเพียงขอให้โจทก์นำเงินฝากมาหักกลบลบหนี้ได้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกัน โจทก์จึงไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 10 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7463/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเช่าและค่าปรับ, การหักกลบลบหนี้, ลูกหนี้ร่วม
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 563 บัญญัติว่า คดีอันผู้ให้เช่าจะฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่านั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหกเดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าการที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าปรับตามสัญญาเช่าวันละ 200 บาท ของค่าเช่าแต่ละงวดที่ยังไม่ได้ชำระกับค่าปรับจำนวนหนึ่งในสิบของค่าเช่าที่เหลือตลอดอายุของสัญญาเช่าเป็นการฟ้องเรียกค่าปรับตามสัญญาเช่าที่กำหนดให้จำเลยผู้เช่าต้องชำระเพราะเหตุผิดสัญญาจึงอยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 563 ต้องใช้อายุความหกเดือน แต่การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ชำระค่าขาดประโยชน์เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายอันสืบเนื่องมาจากการผิดสัญญาเช่า มิใช่กรณีฟ้องเกี่ยวแก่สัญญาเช่าเมื่อกฎหมายลักษณะเช่าทรัพย์ไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความสิบปีตามมาตรา 193/30 ฟ้องโจทก์ในส่วนค่าขาดประโยชน์จึงไม่ขาดอายุความและเมื่อค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องใช้แก่โจทก์เป็นมูลหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกชำระกันได้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้เช่าและจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ผู้ค้ำประกันคำพิพากษาจึงต้องมีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งต้องรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
ส่วนที่จำเลยที่ 1 ฎีกาขอหักกลบลบหนี้ค่าเสียหายและค่าปรับกับโจทก์จากเงินที่จำเลยที่ 1 วางเป็นประกันตามสัญญาเช่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ขอหักกลบลบหนี้มาในคำให้การ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการหักกลบลบหนี้ ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้มาและศาลอุทธรณ์เห็นว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่งนั้นชอบแล้วศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7319/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้จากบัญชีเงินฝากโดยไม่ปรากฏข้อตกลงชัดเจน และหนี้ขาดอายุความ
ตามคำยินยอมคำขอเปิดบัญชีสะสมทรัพย์ข้อ 3 และข้อ 4 มีข้อความว่า "ข้าพเจ้ายินยอมให้ธนาคารนำเงินที่ข้าพเจ้านำเข้าฝากในบัญชีสะสมทรัพย์มาหักทอนยอดหนี้ที่เกิดขึ้นตามกล่าวในข้อ 3 หรือหนี้ลักษณะอื่นใดที่ข้าพเจ้ามีอยู่กับธนาคารได้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบล่วงหน้า" ซึ่งข้อ 3 มีข้อความว่า "ในกรณีที่ข้าพเจ้าให้คำยินยอมหรือมอบอำนาจให้แก่ธนาคารหรือได้สั่งการไว้เป็นลายลักษณ์อักษรให้แก่ธนาคารหักเงินจากบัญชีเพื่อชำระหนี้ให้แก่ธนาคารหรือบุคคลอื่น เช่น รายการชำระหนี้ตามบัตรเครดิต ... เป็นต้น ถ้าหากธนาคารได้ผ่อนผันการจ่ายเงินเกินบัญชีไป ข้าพเจ้ายอมผูกพันตนที่จะจ่ายเงินคืนธนาคารโดยถือเสมือนว่าข้าพเจ้าได้ร้องขอเบิกเงินเกินบัญชีต่อธนาคาร และยินยอมให้ธนาคารเรียกดอกเบี้ยสำหรับจำนวนเงินดังกล่าวในอัตราสูงสุดที่ธนาคารได้มีประกาศกำหนด.." โดยไม่ปรากฏข้อตกลงว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 นำหนี้ที่โจทก์มีอยู่ต่อจำเลยที่ 1 ก่อนวันขอเปิดบัญชีสะสมทรัพย์มาหักจากเงินฝากในบัญชีของโจทก์ได้ อีกทั้งตามคำขอเป็นผู้ถือบัตรเครดิตของโจทก์ โจทก์ตกลงชำระหนี้การใช้บัตรเครดิตด้วยการให้จำเลยที่ 1 หักเงินจากบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์เลขที่ 170-0-09210-7 เท่านั้น โดยไม่มีข้อตกลงว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 หักเงินจากบัญชีเงินฝากอื่นของโจทก์ได้อีก ดังนั้นจำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธินำเงินฝากจากบัญชีสะสมทรัพย์ของโจทก์เลขที่ 230-0-38370-6 มาหักชำระหนี้บัตรเครดิตได้ และจำเลยที่ 1 ก็มิอาจนำเงินฝากในบัญชีสะสมทรัพย์มาหักกลบลบหนี้บัตรเครดิตตาม ป.พ.พ. มาตรา 344 โดยไม่มีข้อตกลงระหว่างกันได้ เนื่องจากในวันที่โจทก์เปิดบัญชีสะสมทรัพย์ไว้กับจำเลยที่ 1 ขณะนั้นสิทธิเรียกร้องในหนี้บัตรเครดิตที่โจทก์มีต่อจำเลยที่ 1 ได้ขาดอายุความไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6083/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินฝากถูกอายัดเป็นหลักประกันการปล่อยชั่วคราว ห้ามนำไปหักกลบลบหนี้อื่น แม้คดีอาญาจะยกฟ้อง
ในขณะที่จำเลยยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวนางหรือนางสาว ว. จำเลยในคดีอาญาของศาลแขวงธนบุรี จำเลยนำหนังสือรับรองยอดเงินฝากประจำของธนาคารผู้คัดค้าน ซึ่งระบุยืนยันว่าจะไม่ให้มีการถอนเงินออกจากบัญชีดังกล่าวจนกว่าจะได้รับคำสั่งเปลี่ยนแปลงจากศาลมาประกอบในการขอปล่อยชั่วคราว และศาลแขวงธนบุรีมีหนังสือแจ้งอายัดเงินฝาก ไปยังธนาคารผู้คัดค้าน ธนาคารผู้คัดค้านได้รับแจ้งอายัดสมุดเงินฝากของจำเลยไว้แล้ว และธนาคารผู้คัดค้านจะระงับการจำหน่ายจ่ายโอนและการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในสมุดเงินฝากของจำเลยดังกล่าวไว้ตามคำสั่งศาลจนกว่าจะได้รับแจ้งการเปลี่ยนแปลงเป็นหนังสือจากศาลเป็นอย่างอื่น ย่อมเป็นการแสดงเจตนาโดยชัดแจ้ง ว่าเงินในบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยดังกล่าวได้นำไปใช้เป็นหลักประกันการขอปล่อยชั่วคราวนางหรือนางสาว ว. และธนาคารผู้คัดค้านยังมีภาระผูกพันที่จะต้องระงับการจำหน่ายจ่ายโอนและการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในสมุดเงินฝากประจำของจำเลยดังกล่าวไว้ตามคำสั่งศาลแขวงธนบุรีจนกว่าจะได้รับแจ้งการเปลี่ยนแปลงเป็นหนังสือจากศาล เมื่อธนาคารผู้คัดค้านยังไม่ได้รับแจ้งการเปลี่ยนแปลงเป็นหนังสือจากศาลแขวงธนบุรีหนังสืออายัดของศาลจึงยังมีผลผูกพันธนาคารผู้คัดค้านอยู่ ธนาคารผู้คัดค้านไม่มีสิทธินำเงินในสมุดเงินฝากประจำของจำเลยดังกล่าวไปหักกลบลบหนี้กับบัญชีเครดิตของจำเลยที่เป็นลูกหนี้ของธนาคารผู้คัดค้านได้ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือแจ้งอายัดเงินฝากและขอให้ส่งเงินมาให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีตามกฎหมาย ธนาคารผู้คัดค้านจึงต้องปฏิบัติและส่งเงินมาตามคำสั่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5334/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ค่าโฆษณาที่ไม่สมบูรณ์ และผลของการผิดสัญญาซื้อขายห้องชุด
หนี้ที่จะหักกลบลบหนี้กันได้นั้นต้องเป็นหนี้อย่างเดียวกัน และต้องเป็นหนี้ที่ไม่มี ข้อต่อสู้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 ประกอบมาตรา 344 พยานหลักฐานที่โจทก์อ้างได้แก่ใบเสร็จรับเงินซึ่งโดยปกติเป็นเอกสารแสดงการรับเงิน จึงมิได้เป็นหลักฐานที่แสดงว่าจำเลยยังเป็นหนี้โจทก์ ส่วนใบส่งของ/ใบแจ้งหนี้เป็นเอกสารที่บริษัท ท. มีไปถึงจำเลย จึงเป็นหลักฐานที่แสดงว่าหนี้ค่าโฆษณาดังกล่าวเป็นหนี้ที่จำเลยพึงชำระแก่บริษัท ท. โดยเฉพาะเจาะจง มิได้พึงชำระให้แก่โจทก์ แม้โจทก์และบริษัท ท. เป็นบริษัท ในเครือเดียวกัน แต่ก็เป็นนิติบุคคลคนละรายกันตามกฎหมาย หากจะมีการโอนหนี้ของ บริษัท ท. ให้แก่โจทก์ก็จะต้องทำเป็นหนังสือและต้องบอกกล่าวไปยังจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ หรือจำเลยต้องยินยอมด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 แต่ไม่ปรากฏว่ามีการกระทำ ดังกล่าว และที่โจทก์อ้างว่ามีการสรุปยอดหนี้กันแล้ว คงเหลือจำนวนเงินที่โจทก์จะต้อง ชำระให้แก่จำเลยอีก 257,000 บาท ก็เป็นเพียงเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นเองแต่เพียงฝ่ายเดียว ส่วนที่โจทก์อ้างว่า พนักงานของจำเลยส่งโทรสารไปยังโจทก์แจ้งว่าโจทก์ต้องชำระเงินจำนวน 574,000 บาท ก็ปรากฏในเอกสารดังกล่าวว่ามีผู้ลงนาม ในตอนท้ายเป็นชื่อเล่นว่า ม. โดยไม่ปรากฏว่ามีชื่อจำเลยอยู่ และไม่ปรากฏว่าส่งไปจากที่ใด ส่วนจำเลยนำสืบปฏิเสธโดยสิ้นเชิงว่าจำเลยไม่ได้ว่าจ้างโจทก์ให้ทำโฆษณา แสดงว่าจำเลยยังมีข้อต่อสู้ในเรื่องหนี้ค่าโฆษณาที่โจทก์จะขอหักกลบลบหนี้กับจำเลย โจทก์จึงไม่อาจนำหนี้ค่าโฆษณาของบริษัท ท. ไปหักกลบลบหนี้กับเงินที่โจทก์จะต้องชำระ ในวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10669/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีเรียกคืนเงินที่ส่งผิดพลาด และการหักกลบลบหนี้ค่าตอบแทนการค้า
โจทก์ฟ้องเรียกเงินจากการที่พนักงานของโจทก์โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากจำเลยที่ 1 เป็นค่าตอบแทนจากการจำหน่ายสินค้า เกินกว่าที่จำเลยที่ 1 ควรจะได้รับ เป็นกรณีฟ้องเรียกคืนทรัพย์ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสองได้รับโดยปราศจากมูลจะอ้างตามกฎหมาย เข้าลักษณะลาภมิควรได้ ห้ามฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าจะมีสิทธิเรียกคืน หรือเมื่อพ้นกำหนดเวลาสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น การที่ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548 มีการตรวจหนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองครั้งสุดท้าย พบว่าโจทก์ส่งเงินมูลค่าสูงกว่าให้จำเลยทั้งสอง วันดังกล่าวจึงก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ ที่จะเรียกคืนฐานลาภมิควรได้ โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 6 ตุลาคม 2549 ยังไม่เกินหนึ่งปีนับแต่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเงินที่ส่งผิดพลาดคืน คดีจึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนจากการจำหน่ายสินค้าจากโจทก์มากกว่าที่โจทก์ส่งให้จำเลยทั้งสองผิดพลาด หลักลบกลบหนี้แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินคืนจากจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6866/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างก่อสร้าง, ค่าเสียหายจากการชำรุดบกพร่อง, การหักกลบลบหนี้, การเพิ่มเติมงานต้องมีหลักฐาน
หนังสือสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารนั้น เป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งกฎหมายมิได้บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ฉะนั้น โจทก์จึงสามารถนำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยตกลงยินยอมให้โจทก์ก่อสร้างเพิ่มเติมผิดไปจากแบบแปลนที่ตกลงกันไว้เดิมได้ ไม่ต้องห้ามนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
จำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการก่อสร้างชำรุดบกพร่องจำนวน 446,430 บาท ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้แก่จำเลยจำนวน 102,080 บาท จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งว่าค่าเสียหายส่วนนี้ควรเป็นจำนวน 151,040 บาท แม้โจทก์จะไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ก็ตามแต่โจทก์ก็ได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยว่าศาลชั้นต้นคิดคำนวณรวมค่าเสียหายในส่วนนี้ไม่ถูกต้อง ซึ่งที่ถูกเป็นเงินเพียง 77,240 บาท เท่านั้น จึงถือว่าโจทก์ได้โต้แย้งในจำนวนค่าเสียหายนี้แล้ว ฉะนั้น ค่าเสียหายส่วนชำรุดบกพร่องนี้จึงหายุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ ทั้งถือเป็นเรื่องแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ ในคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงมีอำนาจแก้ไขคิดคำนวณใหม่ให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143
of 32