คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อสังหาริมทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 440 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1299/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี สิทธิบอกเลิกสัญญา และผลของการรับค่าเช่าล่วงหน้า
การเช่าอสังหาริมทรัพย์มีกำหนดเวลากว่า 3 ปี โดยทำเป็นหนังสือแต่มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้เพียง 3 ปี ต่อจากนั้น ผู้เช่าคงเช่าอยู่ต่อมา ย่อมถือว่าเป็นการเช่าโดยไม่มีกำหนดเวลา ตามมาตรา 570 เมื่อโจทก์ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาเช่าตามมาตรา 566 แล้ว สัญญาเช่าจึงระงับและเนื่องจากคดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยเกี่ยวกับค่าเช่า จำเลยผู้เช่าจะยกเอาเหตุที่ได้ชำระค่าเช่าล่วงหน้าให้โจทก์ขึ้นมาอ้างเพื่อไม่ยอมออกจากห้องเช่าไม่ได้ และถึงแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าโจทก์ได้รับชำระค่าเช่าล่วงหน้า 12 เดือน จึงอาจสันนิษฐานได้ว่าคู่สัญญาตกลงเช่าต่อไปอีก 12 เดือนก็ตาม แต่เมื่อเป็นการเช่าที่โจทก์มีสิทธิบอกเลิกการเช่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 ดังกล่าวแล้ว เพียงแต่โจทก์รับเงินค่าเช่าล่วงหน้าสำหรับค่าเช่าพ้นกำหนด 3 ปีแล้วไว้จากจำเลย จำเลยก็ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บังคับให้โจทก์ต้องให้จำเลยเช่าต่อไปอีก 12 เดือน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1299/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี ไม่จดทะเบียน และการบอกเลิกสัญญาเช่าที่ชอบด้วยกฎหมาย
การเช่าอสังหาริมทรัพย์มีกำหนดเวลากว่า 3 ปี โดยทำเป็นหนังสือแต่มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้เพียง 3 ปี ต่อจากนั้น ผู้เช่าคงเช่าอยู่ต่อมา ย่อมถือว่าเป็นการเช่าโดยไม่มีกำหนดเวลา ตามมาตรา 570 เมื่อโจทก์ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาเช่าตามมาตรา 566 แล้ว สัญญาเช่าจึงระงับและเนื่องจากคดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยเกี่ยวกับค่าเช่าจำเลยผู้เช่าจะยกเอาเหตุที่ได้ชำระค่าเช่าล่วงหน้าให้โจทก์ขึ้นมาอ้างเพื่อไม่ยอมออกจากห้องเช่าไม่ได้ และถึงแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าโจทก์ได้รับชำระค่าเช่าล่วงหน้า 12 เดือน จึงอาจสันนิษฐานได้ว่าคู่สัญญาตกลงเช่าต่อไปอีก 12 เดือน ก็ตามแต่เมื่อเป็นการเช่าที่โจทก์มีสิทธิบอกเลิกการเช่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 ดังกล่าว แล้ว เพียงแต่โจทก์รับเงินค่าเช่าล่วงหน้าสำหรับค่าเช่าพ้นกำหนด 3 ปีแล้วไว้จากจำเลย จำเลยก็ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บังคับให้โจทก์ต้องให้จำเลยเช่าต่อไปอีก 12 เดือน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 876/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์โดยผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์เกิน 3 ปี ไม่ผูกพันผู้เยาว์ แม้ต่อมาจะให้สัตยาบัน
สัญญาให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์เกินกว่าสามปี ที่บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้ทำแทนผู้เยาว์ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล สัญญานั้นไม่มีผลบังคับผูกพันผู้เยาว์ตั้งแต่การเช่าครบ 3 ปีแล้วตลอดมา และไม่เป็นโมฆียะอันจะพึงบอกล้างได้ จึงไม่เป็นกรณีที่ผู้เยาว์เมื่อบรรลุนิติภาวะแล้วจะให้สัตยาบันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1550

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: สิทธิการเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการเป็นของทั้งสองฝ่าย
ที่ดินของผู้คัดค้านอยู่ในเขตเวนคืนกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์กับผู้คัดค้านไม่ตกลงกันในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน ผู้บัญชาการทหารบกผู้ร้อง ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงได้มีหนังสือถึงผู้คัดค้านกำหนดราคาเด็ดขาดสำหรับค่าทดแทนที่ดิน หากผู้คัดค้านไม่สนองรับภายใน 15 วัน ผู้ร้องจะขอให้ตั้งอนุญาโตตุลาการต่อไป ผู้คัดค้านมีหนังสือตอบมาภายใน 15 วัน ว่าไม่ยินยอมตกลงตามราคาที่ผู้ร้องกำหนดมา และขอใช้สิทธิตั้งอนุญาโตตุลาการตามกฎหมายเช่นเดียวกัน แสดงว่าผู้คัดค้านเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการตามกฎหมายแล้ว ผู้ร้องจะอ้างว่าผู้คัดค้านไม่ประสงค์ใช้สิทธิตั้งอนุญาโตตุลาการ และนำเงินค่าทดแทนมาวางศาลเพื่อจะเข้าครอบครองที่ดินหาได้ไม่ เพราะพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 มิได้บังคับว่าการเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการจะต้องระบุข้อบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 211 ไว้ด้วย และการดำเนินการตั้งอนุญาโตตุลาการต่อไปนั้น มิได้มีกฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ จึงเป็นหน้าที่ของทั้งสองฝ่ายในอันที่จะดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล สัญญาจะซื้อขายที่ไม่มีการอนุญาตจึงไม่ผูกพัน
การขายอสังหาริมทรัพย์ของเด็ก ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำมิได้เว้นแต่ศาลจะอนุญาต และผู้ใช้อำนาจจะให้ความยินยอมแก่เด็กโดยมิได้รับอนุญาตจากศาล ก็ไม่อาจทำได้เช่นเดียวกัน ทั้งการขายนั้นหมายความรวมถึงสัญญาจะขายอสังหาริมทรัพย์ของเด็กด้วย เมื่อผู้ใช้อำนาจปกครองไม่มีอำนาจที่จะทำได้ สัญญาจะขายอสังหาริมทรัพย์ของเด็กย่อมไม่ผูกพันเด็ก เด็กจะอ้างว่าผู้จะซื้อผิดสัญญาและจะริบมัดจำหาได้ไม่(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 816-817/2494)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล สัญญาจะซื้อขายที่ไม่มีการอนุญาตจึงไม่ผูกพัน
การขายอสังหาริมทรัพย์ของเด็กผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำมิได้เว้นแต่ศาลจะอนุญาต และผู้ใช้อำนาจจะให้ความยินยอมแก่เด็กโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลก็ไม่อาจทำได้เช่นเดียวกัน ทั้งการขายนั้นหมายความรวมถึงสัญญาจะขายอสังหาริมทรัพย์ของเด็กด้วย เมื่อผู้ใช้อำนาจปกครองไม่มีอำนาจที่จะทำได้ สัญญาจะขายอสังหาริมทรัพย์ของเด็กย่อมไม่ผูกพันเด็ก เด็กจะอ้างว่าผู้จะซื้อผิดสัญญาและจะริบมัดจำหาได้ไม่(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 816-817/2494)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2170/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์เกิน 3 ปี โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเป็นโมฆะ และประเด็นการบอกเลิกสัญญาเช่าที่ไม่ได้กำหนดในประเด็นนำสืบ
บิดาทำสัญญาต่างตอบแทนให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ของบุตรผู้เยาว์ตลอดชีวิตผู้เช่าโดยมิได้รับอนุญาตจากศาล เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 การให้เช่ามีผลผูกพันบุตรผู้เยาว์เพียง 3 ปี
จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์ไม่เคยบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยแต่เมื่อศาลชั้นต้นชี้สองสถานและสั่งกำหนดประเด็นนำสืบ ไม่ได้กำหนดประเด็นนำสืบข้อนี้ไว้ และจำเลยก็ไม่ได้โต้แย้งคำสั่งนั้น ดังนี้ จำเลยจะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226, 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อสังหาริมทรัพย์-สัญญาซื้อขาย-นิติกรรมอำพราง-สัญญากู้ยืม: การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำตามแบบ หากไม่ถูกต้องอาจเป็นนิติกรรมกู้ยืม
1. การที่จะวินิจฉัยว่าทรัพย์ใดเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือไม่นั้นย่อมอยู่ที่ลักษณะสภาพของตัวทรัพย์นั้นเองว่าเป็นทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน.ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 100 หรือไม่ ส่วนทรัพย์นั้นจะเป็นส่วนควบของที่ดินหรือไม่เป็นคนละเรื่องกัน ดังเช่นปลูกตึกลงในที่ดินที่เช่าผู้อื่นเป็นการชั่วคราวตึกนั้นย่อมไม่เป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 109 แต่ลักษณะสภาพของตึกเป็นทรัพย์ติดอยู่กับที่ดินเป็นการถาวรตึกนั้นจึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ การซื้อขายตึกเช่นว่านี้จึงต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
2. แม้ข้อความในสัญญาจะมีเงื่อนไขว่า ผู้ขายมีสิทธิซื้อโรงเรือนคืนได้ภายในกำหนด 5 เดือนก็ดี แต่ในสัญญานั้นเองก็มีข้อความว่ายอมให้ผู้ซื้อยึดถือครอบครองเป็นเจ้าของตั้งแต่วันทำสัญญาโดยที่ผู้ขายซึ่งยังคงอาศัยอยู่ในโรงเรือนต้องเสียค่าตอบแทนซึ่งในสัญญาเรียกว่าดอกเบี้ยให้แก่ผู้ซื้อเป็นรายเดือน และผู้ขายก็ได้รับเงินค่าโรงเรือนไปครบถ้วนแล้ว ดังนี้ สัญญาพิพาทจึงมิใช่สัญญาจะซื้อจะขาย หากแต่เป็นสัญญาซื้อขายเด็ดขาดในลักษณะของสัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งถ้ามิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะ
3. จำเลยที่ 3 ต้องการเงิน 30,000 บาทเพื่อนำไปชำระหนี้ผู้อื่นจึงขอให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นน้อง ทำสัญญาขายโรงเรือนให้โจทก์ในสัญญาพิพาทมีเงื่อนไขว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 จะซื้อคืนได้ภายใน 5 เดือนเท่าราคาขายพร้อมด้วยดอกเบี้ย และโจทก์ผู้ซื้อยอมให้จำเลยที่ 1 ที่ 2ยังคงอาศัยอยู่ในโรงเรือนได้ นอกจากนี้จำเลยที่ 3 ยังได้ทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์อีกฉบับหนึ่งว่า เมื่อครบกำหนด 5 เดือนถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ยอมออกจากโรงเรือน และไม่สามารถใช้เงิน30,000 บาทกับดอกเบี้ยคืนให้โจทก์แล้ว จำเลยที่ 3 ยอมใช้เงิน30,000 บาทกับดอกเบี้ยแทน ดังนี้ สัญญาพิพาทเข้าแบบเป็นนิติกรรมกู้ยืมเงินอีกอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 136โจทก์ย่อมฟ้องเรียกเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยได้ แม้ในคำบรรยายฟ้องโจทก์จะไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งว่า หากสัญญาพิพาทเป็นโมฆะแล้ว โจทก์จำเลยตั้งใจให้สมบูรณ์ในแบบสัญญากู้เงินก็ดี เมื่อตามฟ้องของโจทก์คำให้การจำเลยประกอบกับข้อนำสืบของทั้งสองฝ่ายรับฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างใดแล้ว ก็เป็นเรื่องของศาลที่จะยกบทกฎหมายขึ้นปรับคดีเองได้ ทั้งโจทก์มีคำขอให้จำเลยใช้เงินคืนให้โจทก์ด้วยจึงไม่ใช่นอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใด
(ข้อ 3 วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 38/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อสังหาริมทรัพย์, สัญญาซื้อขาย, สัญญาจะซื้อขาย, โมฆะ, นิติกรรมกู้ยืม
1. การที่จะวินิจฉัยว่าทรัพย์ใดเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือไม่นั้น ย่อมอยู่ที่ลักษณะสภาพของตัวทรัพย์นั้นเองว่าเป็นทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน.ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 100 หรือไม่ ส่วนทรัพย์นั้นจะเป็นส่วนควบของที่ดินหรือไม่เป็นคนละเรื่องกัน ดังเช่นปลูกตึกลงในที่ดินที่เช่าผู้อื่นเป็นการชั่วคราวตึกนั้นย่อมไม่เป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109 แต่ลักษณะสภาพของตึกเป็นทรัพย์ติดอยู่กับที่ดินเป็นการถาวรตึกนั้นจึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ การซื้อขายตึกเช่นว่านี้จึงต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
2. แม้ข้อความในสัญญาจะมีเงื่อนไขว่า ผู้ขายมีสิทธิซื้อโรงเรือนคืนได้ภายในกำหนด 5 เดือนก็ดี แต่ในสัญญานั้นเองก็มีข้อความว่า ยอมให้ผู้ซื้อยึดถือครอบครองเป็นเจ้าของตั้งแต่วันทำสัญญา โดยที่ผู้ขายซึ่งยังคงอาศัยอยู่ในโรงเรือนต้องเสียค่าตอบแทน ซึ่งในสัญญาเรียกว่าดอกเบี้ยให้แก่ผู้ซื้อเป็นรายเดือน และผู้ขายก็ได้รับเงินค่าโรงเรือนไปครบถ้วนแล้ว ดังนี้ สัญญาพิพาทจึงมิใช่สัญญาจะซื้อจะขาย หากแต่เป็นสัญญาซื้อขายเด็ดขาดในลักษณะของสัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งถ้ามิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะ
3. จำเลยที่ 3 ต้องการเงิน 30,000 บาทเพื่อนำไปชำระหนี้ผู้อื่น จึงขอให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นน้อง ทำสัญญาขายโรงเรือนให้โจทก์ ในสัญญาพิพาทมีเงื่อนไขว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 จะซื้อคืนได้ภายใน 5 เดือนเท่าราคาขายพร้อมด้วยดอกเบี้ย และโจทก์ผู้ซื้อยอมให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ยังคงอาศัยอยู่ในโรงเรือนได้ นอกจากนี้จำเลยที่ 3 ยังได้ทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์อีกฉบับหนึ่งว่า เมื่อครบกำหนด 5 เดือน ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ยอมออกจากโรงเรือน และไม่สามารถใช้เงิน 30,000 บาทกับดอกเบี้ยคืนให้โจทก์แล้ว จำเลยที่ 3 ยอมใช้เงิน30,000 บาทกับดอกเบี้ยแทน ดังนี้ สัญญาพิพาทเข้าแบบเป็นนิติกรรมกู้ยืมเงินอีกอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 136 โจทก์ย่อมฟ้องเรียกเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยได้ แม้ในคำบรรยายฟ้องโจทก์จะไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งว่า หากสัญญาพิพาทเป็นโมฆะแล้ว โจทก์จำเลยตั้งใจให้สมบูรณ์ในแบบสัญญากู้เงินก็ดี เมื่อตามฟ้องของโจทก์คำให้การจำเลยประกอบกับข้อนำสืบของทั้งสองฝ่ายรับฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างใดแล้ว ก็เป็นเรื่องของศาลที่จะยกบทกฎหมายขึ้นปรับคดีเองได้ ทั้งโจทก์มีคำขอให้จำเลยใช้เงินคืนให้โจทก์ด้วย จึงไม่ใช่นอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใด
(ข้อ 3 วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 38/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 797/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ร้องสอดในคดีละเมิดและอสังหาริมทรัพย์ที่กระทบสิทธิในที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยไถคราดและขุดดินถมเหมืองน้ำสาธารณะทำให้โจทก์และบุคคลอื่นซึ่งมีนาอยู่บริเวณนั้น ไม่มีทางระบายน้ำหรือทดน้ำเข้านาได้ โจทก์ห้าม จำเลยเถียงว่าเหมืองน้ำผ่านกลางที่นาของจำเลย จำเลยมีสิทธิกลบถมได้ ขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหาย และพิพากษาแสดงว่าทำนบพิพาท เหมืองน้ำพิพาทและคลองเป็นสาธารณะ คำฟ้องเช่นนี้เป็นทั้งคดีละเมิดและคดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์
ในระหว่างพิจารณา ผู้ร้องสอดร้องขอเข้าเป็นคู่ความเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองบังคับตามสิทธิของตน โดยอ้างว่านาที่โจทก์อ้างว่าเหมืองน้ำผ่านเป็นของผู้ร้องสอด จำเลยทำไปโดยอาศัยสิทธิและความเห็นชอบของผู้ร้องสอด ดังนี้ เป็นการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) เมื่อได้ยื่นคำร้องขอมาถูกต้อง คือ คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาผู้ร้องสอดย่อมมีสิทธิเข้าเป็นคู่ความได้
การร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)นั้นแม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ร้องสอดก็หาหมดสิทธิร้องสอดเข้าเป็นคู่ความไม่
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยขุดเหมืองน้ำซึ่งจำเลยขุดดินถมให้มีสภาพเดิม เมื่อผู้ร้องสอดอ้างว่าเป็นเจ้าของนา ที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยขุดเหมืองน้ำ ย่อมเป็นกรณีพิพาทกันเกี่ยวถึงนาที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าเป็นเจ้าของ การที่ผู้ร้องสอดร้องเข้ามาจึงไม่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของผู้ร้องสอด แล้วพิจารณาคดีไปโดยจำเลยขาดนัดพิจารณาและพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี เมื่อผู้ร้องสอดอุทธรณ์คำสั่ง และศาลอุทธรณ์เห็นว่าผู้ร้องสอดมีสิทธิเข้าเป็นคู่ความได้ จะพิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้นให้รับคำร้องสอดไว้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยไม่พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นเสียด้วยนั้น ยังไม่บริบูรณ์เพราะถ้าหากคำพิพากษาศาลชั้นต้นยังมีอยู่ ย่อมไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นขึ้นมาด้วย และศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่แล้ว ซึ่งมีผลถึงผู้ร้องสอดด้วย ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องแก้ไข
of 44