พบผลลัพธ์ทั้งหมด 486 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 524/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการครอบครองที่ดินหลังคำพิพากษาถึงที่สุด การโอนสิทธิ และการฟ้องขับไล่
คดีก่อนจำเลยฟ้องมารดาโจทก์ว่า บิดาจำเลยกู้เงินมารดาโจทก์ แล้วมอบที่นาพิพาทให้มารดาโจทก์ยึดถือทำกินต่างดอกเบี้ยบิดาจำเลยตายแล้ว จำเลยเป็นผู้รับมรดก จึงขอให้มารดาโจทก์คืนที่นาพิพาทแก่จำเลย ศาลพิพากษาถึงที่สุดฟังตามที่มารดาโจทก์ต่อสู้คดีว่า บิดาจำเลยขายที่นาพิพาทให้มารดาโจทก์จำเลยครอบครองที่พิพาทอยู่โดยอาศัยสิทธิมารดาโจทก์ พิพากษายกฟ้อง ปรากฏว่าระหว่างพิจารณาคดีก่อน มารดาโจทก์ยกที่นาพิพาทให้โจทก์และเมื่อคดีก่อนถึงที่สุดแล้วโจทก์จึงฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ อ้างว่าจำเลยอาศัย จำเลยต่อสู้ว่า การที่จำเลยฟ้องมารดาโจทก์ในคดีก่อนเป็นการแสดงเจตนาแย่งการครอบครองโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อเกิน 1 ปีนับแต่ถูกแย่งการครอบครอง ไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้เมื่อคำพิพากษาคดีก่อนซึ่งถึงที่สุดแล้วฟังว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทอยู่โดยอาศัยสิทธิมารดาโจทก์จำเลยจะโต้เถียงฝ่าฝืนคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วว่าจำเลยได้แสดงเจตนาแย่งการครอบครองที่พิพาทอีกไม่ได้ โจทก์ได้รับโอนที่นาพิพาทมา ถือได้ว่าได้รับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับที่พิพาทด้วยการที่จำเลยอยู่ในที่พิพาทต่อมาต้องถือว่าจำเลยอยู่โดยอาศัยสิทธิของโจทก์ แม้นานเท่าใดก็หาเป็นการแย่งการครอบครองไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2873-2878/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิหน้าที่ในสัญญาจะซื้อขาย: ผู้ซื้อทราบข้อพิพาท ย่อมผูกพันตามสัญญาเดิม
จำเลยที่ 1 (จำเลยที่ 1 ในสามสำนวนแรก) และ จ. เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ 2133 และสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินได้ทำสัญญาจะซื้อขายห้องแถวไม้ 3 ห้อง พร้อมที่ดินซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดที่ 2133 ให้แก่โจทก์ทั้ง 3 (โจทก์ในสามสำนวนแรก) คนละห้อง โดยให้ผ่อนชำระเป็นรายเดือน แล้วจำเลยที่ 1 และ จ. ได้ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 (จำเลยที่ 2 ที่ 3 ในสามสำนวนแรก) โดยไม่แจ้งให้โจทก์ทั้ง 3 ทราบ โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้ซื้อทราบอยู่ก่อนแล้วว่าจำเลยที่ 1 และ จ. กับโจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกัน และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ยอมรับทั้งสิทธิ์และหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และ จ. ผู้ขาย ซึ่งเท่ากับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ทำสัญญาตกลงกับจำเลยที่ 1 และ จ. (คู่สัญญาของโจทก์ทั้งสาม) ว่าตนจะชำระหนี้แก่โจทก์ทั้ง 3 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จำเลยที่ 2 ที่ 3 มิได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและห้องพิพาทกับโจทก์ทั้ง 3 ขึ้นใหม่ คงถือตามสัญญาเดิม เมื่อต่อมาจำเลยทั้ง 3 ได้แจ้งเรื่องการซื้อขายระหว่างจำเลยต่อโจทก์ทั้ง 3 ว่าถ้าโจทก์ทั้ง 3 ยังประสงค์จะซื้อที่ดินและห้องแถวอยู่ก็ให้ส่งเงินที่ค้างทั้งหมดแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ภายใน 7 วัน โจทก์ทั้ง 3 มีหนังสือตอบตกลงขอให้จำเลยที่ 2 นัดวันโอนกรรมสิทธิ์ ดังนี้ ย่อมเป็นการแสดงเจตนาของโจทก์ทั้ง 3 ที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 สิทธิ์ของโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้เกิดมีขึ้นแล้ว คู่สัญญาหาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิ์นั้นในภายหลังได้ไม่ จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องผูกพันตนร่วมกับจำเลยที่ 1 และ จ. เป็นคู่สัญญารับผิดในการปฏิบัติตามสัญญานั้นต่อโจทก์ทั้งสามด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2472-2474/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ต้องมีสัญญาใหม่ที่ชัดเจน การแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดหนี้ใหม่
หนี้ที่เกิดจากสัญญาซื้อขายซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนนั้นฐานะของคู่สัญญามิได้เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ฝ่ายเดียวแต่ละฝ่ายต่างมี 2 ฐานะคือเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องให้บุคคลอื่นต่อไปนั้น จะใช้วิธีการแบบโอนสิทธิเรียกร้องธรรมดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 หาได้ไม่เมื่อจำเลยได้ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่มารดาโจทก์แต่ละสำนวนและมารดาโจทก์แต่ละสำนวนได้โอนสิทธิให้โจทก์กรณีเป็นเรื่องแปลงหนี้โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ลูกหนี้ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา350 คือจะต้องทำสัญญาต่อกัน ซึ่งบางกรณีต้องทำเป็นหนังสือด้วยและต้องไม่ขืนใจลูกหนี้ซึ่งหมายความว่าทั้งลูกหนี้เจ้าหนี้ต้องยินยอมต่อกันนั่นเองหาใช่เพียงแต่แจ้งการโอนให้ลูกหนี้ทราบก็เกิดสัญญาแปลงหนี้ใหม่ได้ไม่ เมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์จำเลยได้มีการทำสัญญากันใหม่หนี้ใหม่ก็ไม่เกิดขึ้นโจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยแต่อย่างใด และไม่เกิดอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องจากสัญญาเช่าและการโอนสิทธิเช่า: สิทธิเรียกร้องลักษณะสัญญาต่างตอบแทนมีอายุความ 10 ปี
โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าตึกแถวซึ่งโจทก์ทำการก่อสร้างในที่ดินของผู้อื่นให้แก่จำเลย เพื่อเป็นค่าตอบแทน จำเลยยอมจ่ายเงินให้โจทก์จำนวนหนึ่งโดยจ่ายบางส่วนในวันทำสัญญาและในวันเข้าอยู่ในตึกแถวส่วนที่เหลือตกลงแบ่งชำระกันเป็น 2 งวด งวดแรกชำระแล้ว คงค้างชำระงวดหลังซึ่งนานเกิน 5 ปีแล้ว ดังนี้เงินตามสัญญาที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์นั้นเป็นค่าตอบแทนในการที่โจทก์ยอมตกลงทำสัญญาให้จำเลยได้รับโอนสิทธิการเช่าตึกแถวซึ่งตามปกติธรรมดาแล้วจำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ทั้งหมด แต่เพื่อผ่อนผันแบ่งเบาภาระให้จำเลย จึงได้ทำสัญญาเป็นแบ่งงวดชำระ จำนวนเงินดังกล่าวเป็นผลประโยชน์ที่โจทก์ควรจะได้รับจากการที่ยอมให้จำเลยเข้าทำสัญญาเช่าตึกแถว มิใช่เงินอันพึงส่งเพื่อผ่อนทุนคืนโดยตรงเป็นงวดๆ และไม่ใช่การเรียกเอาเงินค้างจ่าย เช่น เงินปีเงินเดือน หรือเงินอื่นๆ ที่เป็นทำนองเดียวกันที่มีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา จึงไม่เป็นสิทธิเรียกร้องที่กำหนดอายุความไว้ 5 ปี ตามความในมาตรา 166 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิเรียกร้องของโจทก์เข้าลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทน ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เฉพาะเป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความทั่วไปกำหนด 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2323/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจบังคับคดีขับไล่หลังการโอนสิทธิ - ยังคงมีผล
แม้โจทก์จะโอนขายกรรมสิทธิ์ห้องพิพาทไปในระหว่างการบังคับคดีตามคำพิพากษา โจทก์ก็คงยังมีอำนาจบังคับคดีให้จำเลยและบริวารออกไปจากห้องพิพาทตามคำพิพากษาให้ขับไล่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2071/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดสิทธิเรียกร้องที่จำเลยโอนให้ผู้อื่นก่อนมีคำสั่ง ศาลไม่มีอำนาจบังคับให้กรมอาชีวศึกษาจ่ายเงิน
ศาลสั่งอายัดสิทธิ์เรียกร้องของจำเลยก่อนมีคำพิพากษาตามคำร้องในกรณีฉุกเฉินของโจทก์ แต่ปรากฏว่าจำเลยได้โอนสิทธิ์เรียกร้องให้บุคคลอื่นไปก่อนแล้ว แม้ว่าเงินที่โจทก์ขอให้อายัดจะยังคงมีอยู่ที่บุคคลภายนอกผู้ได้รับคำสั่งอายัดก็ตาม คำสั่งอายัดนั้นไม่มีผลบังคับ เพราะโจทก์ไม่มีสิทธิ์ขอให้ศาลสั่งอายัดเงินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2071/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดสิทธิเรียกร้องที่โอนไปแล้ว ศาลตัดสินว่าโจทก์ไม่มีสิทธิอายัดทรัพย์สินที่จำเลยโอนสิทธิไปแล้ว แม้เงินยังอยู่ที่ผู้รับคำสั่งอายัด
ศาลสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยก่อนมีคำพิพากษาตามคำร้องในกรณีฉุกเฉินของโจทก์ แต่ปรากฏว่าจำเลยได้โอนสิทธิเรียกร้องให้บุคคลอื่นไปก่อนแล้ว แม้ว่าเงินที่โจทก์ขอให้อายัดจะยังคงมีอยู่ที่บุคคลภายนอกผู้ได้รับคำสั่งอายัดก็ตามคำสั่งอายัดนั้นไม่มีผลบังคับ เพราะโจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลสั่งอายัดเงินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่า, การโอนสิทธิ, สัญญาต่างตอบแทน, การผิดสัญญา, อำนาจฟ้อง
โจทก์ทำสัญญาจดทะเบียนเช่าตึกแถวพิพาทมาจากเจ้าของ แล้วตกลงโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทให้จำเลย โดยจำเลยให้ค่าตอบแทนเป็นเงินผ่อนชำระเป็น 3 งวดดังนี้ การที่จำเลยยอมเข้าทำสัญญารับโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทกับโจทก์ เป็นการยอมรับนับถือสิทธิของโจทก์เหนือตึกพิพาทจำเลยจึงไม่อาจโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเหนือตึกพิพาทที่จะฟ้องจำเลยได้ ถึงแม้โจทก์จะได้รับการบอกเลิกการเช่าจากเจ้าของตึกพิพาทในภายหลัง ก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับเจ้าของตึก หาเป็นเหตุให้ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งมีมาแต่เดิมระงับไปไม่ จำเลยยังคงผูกพันอยู่กับโจทก์ตามสัญญาดังกล่าว ทั้งการที่จำเลยเข้าใช้สิทธิในตึกพิพาทก็โดยอาศัยความยินยอมของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย และสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อจำเลยมิได้ชำระเงินให้โจทก์ตามเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยก็ไม่ปฏิบัติตามจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์บอกเลิกสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596-597/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาท การโอนสิทธิ และการเรียกร้องสิทธิในที่ดินมรดก
เจ้ามรดกมีทายาท 9 คนรวมทั้งโจทก์และ พ.กับ น.จำเลยในคดีนี้ด้วย ทายาทอื่น 3 คนเคยฟ้องโจทก์ขอแบ่งที่พิพาทอันเป็นที่ดินมรดกซึ่งโจทก์มีชื่อใน น.ส.3 แทนทายาท จำเลยให้การสู้คดีโดยอ้างว่าได้ครอบครองเพื่อตน คดีนั้นศาลพิพากษาถึงที่สุดให้แบ่งที่พิพาทเป็น 9 ส่วน ให้ทายาทที่ฟ้องคนละ 1 ส่วน การที่โจทก์ถูกฟ้องและให้การต่อสู้คดีโดยอ้างว่าได้ครอบครองเพื่อตนนั้น หาใช่เป็นการบอกกล่าวไปยังทายาทอื่นที่ไม่ได้ฟ้องด้วยว่าโจทก์จะไม่เจตนายึดถือที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกไว้แทนต่อไปไม่ ตราบใดที่โจทก์ยังมิได้บอกกล่าวไปยังบทายาทอื่นว่าไม่เจตนาจะยึดถือที่พิพาทแทนต่อไป ก็ต้องถือว่าโจทก์ครอบครองที่พิพาทแทนทายาทอื่นด้วยดังเดิม พ.และ น.จำเลยคดีนี้ยังคงเป็นเจ้าของรวมในที่พิพาทในส่วนที่ยังมิได้โต้แย้งกัน ทั้งการฟ้องคดีขอแบ่งที่พิพาทอันเป็นมรดกนั้นทายาทอื่นซึ่งมีส่วนอยู่ด้วยไม่จำต้องฟ้องคดีหมดทุกคนก็ย่อมได้สิทธิ ตามส่วนที่จะรับมรดกตามคำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงส่วนของทายาทนั้น ๆ โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายครอบครองที่พิพาทแทนทายาทอื่นจะอ้างเอาการต่อสู้คดีดังกล่าวว่าเป็นการเข้าแย่งการครอบครองเองหาได้ไม่ และไม่อยู่ในบังคับของเวลาสำหรับเรียกร้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง เมื่อคดีก่อนนั้นศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ครอบครองที่พิพาทไว้แทนทายาทอื่นซึ่งรวมถึง พ. และ น.จำเลยคดีนี้ด้วย พ. และ น. ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่ออำเภอขอให้ใส่ชื่อของตนใน น.ส.3 ตามสิทธิของตนได้ เมื่อใส่แล้วก็มีความชอบธรรมที่จะโอนขายส่วนของตนให้ผู้อื่นไปโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์
จำเลยลงลายพิมพ์นิ้วมือตั้ง พ.เป็นทนายความ แม้จะมีพยานลงชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือเพียงคนเดียว แต่ พ.ก็ได้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาในฐานะทนายของจำเลยมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นจนถึงชั้นอุทธรณ์ โดยจำเลยยอมรับเอาผลของการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นตลอดมาและโจทก์ก็มิได้คัดค้านประการใดมาแต่ต้น ดังนี้ พ.จึงมีอำนาจที่จะฎีกาในฐานะทนายของจำเลยได้
จำเลยลงลายพิมพ์นิ้วมือตั้ง พ.เป็นทนายความ แม้จะมีพยานลงชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือเพียงคนเดียว แต่ พ.ก็ได้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาในฐานะทนายของจำเลยมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นจนถึงชั้นอุทธรณ์ โดยจำเลยยอมรับเอาผลของการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นตลอดมาและโจทก์ก็มิได้คัดค้านประการใดมาแต่ต้น ดังนี้ พ.จึงมีอำนาจที่จะฎีกาในฐานะทนายของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2036/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะตั้งแต่แรก: การติดตามทรัพย์สินจากนิติกรรมโมฆียะและการโอนสิทธิที่มิชอบ
ส.ภริยาโจทก์ได้ขายที่พิพาทให้แก่ก.กับพวกไปโดยโจทก์มิได้ให้ความยินยอม โจทก์ฟ้อง ส.และก.กับพวกเป็นคดีแรกขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเสีย ปรากฏว่า ก. กับพวกขายที่พิพาทแก่จำเลยที่ 1 ไปแล้วโจทก์จึงขอให้ศาลเรียกจำเลยที่ 1 เข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีนั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นว่า นิติกรรมซื้อขายที่ดินระหว่าง ส. กับ ก. และพวก เป็นโมฆะ ให้เพิกถอนเสีย และเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่าง ก. กับพวก กับจำเลยที่ 1 เสียด้วย ศาลฎีกาพิพากษายืน ขณะที่คดีแรกอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยที่ 1 ได้ขายฝากที่พิพาทแก่จำเลยที่ 2 และที่พิพาทหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ให้ทำลายนิติกรรมการขายฝากระหว่างจำเลยทั้งสองเสียดังนี้ การที่โจทก์ฟ้อง ส. กับพวก ขอให้เพิกถอนนิติกรรมอันเป็นโมฆียะในคดีแรกนั้น ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกล้างนิติกรรมแล้ว เมื่อในที่สุดศาลพิพากษาว่านิติกรรมดังกล่าวเป็นโมฆะ นิติกรรมนั้นย่อมเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138 วรรคแรกการที่ ก.กับพวก โอนขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 ก็ดี หรือจำเลยที่ 1ขายฝากที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ก็ดี เป็นอันใช้ยันโจทก์ไม่ได้ เพราะการขายต่อ ๆ มา จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจที่จะโอนขายได้ เข้าหลักที่ว่าผู้รับโอนไม่มีอำนาจดีกว่าผู้โอน เพราะนิติกรรมอันเดิมเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกเสียแล้ว โจทก์ย่อมใช้สิทธิตามเอาทรัพย์สินตามมาตรา 1336 ได้ กรณีเช่นนี้ จะนำมาตรา 1299 และ 1300 มาปรับแก่คดีหาได้ไม่ ส่วนมาตรา 1329 นั้น ต้องได้ความว่า ได้ทรัพย์สินมาในระหว่างที่ยังไม่มีการบอกล้างโมฆียะกรรม ถ้าได้มาภายหลังล้างโมฆียะกรรมแล้ว ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง