พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2919/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ซื้อขายหุ้นโดยไม่ได้รับใบหุ้น การซื้อขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายพิเศษ และดอกเบี้ยเกินอัตรา
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยต้องรับผิดชำระค่าหุ้นพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์หรือไม่เพียงใด เป็นการกำหนดไว้อย่างกว้าง ๆ ประเด็นที่กำหนดไว้จะมีความหมายอย่างไร ต้องเป็นไปตามคำฟ้องและคำให้การโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าหุ้นที่ซื้อแทนจำเลยพร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า โจทก์ยังมิได้จัดให้จำเลยได้รับใบหุ้น ไม่ทราบว่าโจทก์จัดการซื้อหุ้นให้จำเลยจริงหรือไม่หรือหากซื้อหุ้นให้จำเลยได้ การซื้อขายหุ้นซึ่งมิได้ออกใบหุ้นที่ระบุชื่อผู้ถือเป็นโมฆะจำเลยไม่ต้องรับผิดค่าหุ้นคดีจึงไม่มีประเด็นว่า โจทก์นำหุ้นของจำเลยไปขายกับรับเงินปันผลไว้แทนจำเลยหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยให้โจทก์เป็นตัวแทนซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อซื้อมาแล้วถ้าราคาหุ้นสูงขึ้นก็จะสั่งขายทันที โดยหุ้นที่ซื้อมาจะให้โจทก์เก็บรักษาไว้เพื่อความสะดวกในการสั่งขาย ดังนี้ หุ้นที่โจทก์ซื้อตามคำสั่งของจำเลยเป็นหลักทรัพย์ ตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติเพื่อกิจการนี้โดยเฉพาะ และวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของจำเลยเป็นการเก็งกำไรจากการขึ้นลงของราคาหุ้นมากกว่าประสงค์ให้มีการโอนใบหุ้นใส่ชื่อผู้ซื้อ การซื้อขายหุ้นจึงไม่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129.
จำเลยให้โจทก์เป็นตัวแทนซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อซื้อมาแล้วถ้าราคาหุ้นสูงขึ้นก็จะสั่งขายทันที โดยหุ้นที่ซื้อมาจะให้โจทก์เก็บรักษาไว้เพื่อความสะดวกในการสั่งขาย ดังนี้ หุ้นที่โจทก์ซื้อตามคำสั่งของจำเลยเป็นหลักทรัพย์ ตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติเพื่อกิจการนี้โดยเฉพาะ และวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของจำเลยเป็นการเก็งกำไรจากการขึ้นลงของราคาหุ้นมากกว่าประสงค์ให้มีการโอนใบหุ้นใส่ชื่อผู้ซื้อ การซื้อขายหุ้นจึงไม่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดยักยอกเงินของพนักงานรัฐ: การพิจารณาความผิดตามกฎหมายอาญาและกฎหมายพิเศษ
พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 18 บัญญัติให้พนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งกฎหมายลักษณะอาญา เมื่อจำเลยซึ่งเป็นพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยมีหน้าที่จำหน่ายตั๋วเดินทางยักยอกเงินค่าตั๋วเดินทางที่จำเลยได้รับไว้ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และโดยที่พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 3 บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมายไม่เป็น 'พนักงาน' ตามกฎหมายฉบับดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 ด้วย
ปัญหาเรื่องการปรับบทลงโทษจำเลยเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย และแก้เสียให้ถูกต้องได้
ปัญหาเรื่องการปรับบทลงโทษจำเลยเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย และแก้เสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4144/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องหมิ่นประมาทต้องชัดเจนถึงความเสียหายที่อ้างถึง เพื่อให้ลงโทษตามกฎหมายพิเศษได้
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าจำเลยโฆษณาหมิ่นประมาทผู้เสียหายด้วยข้อความอย่างไรเท่านั้น หาได้บรรยายว่าการโฆษณาข้อความดังกล่าวในฟ้องเป็นการแสดงอย่างเคลือบคลุมว่าได้มีความเสื่อมโทรมเลวทรามหรือผิดร้ายเสียหายในกรมเจ้าท่าโดยไม่แสดงว่าเป็นเรื่องใดข้อใดไม่ จึงถือไม่ได้ว่าฟ้องได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดในข้อหาตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 42 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 ข้อ 2 (4) แม้โจทก์จะมีคำขอให้ลงโทษตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวและจำเลยให้การรับสารภาพก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ เพราะจะเป็นการพิพากษานอกไปจากข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3636/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่านาต้องทำตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด (พระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517) มิเช่นนั้นการบอกเลิกไม่ชอบ
การเช่านาและการบอกเลิกการเช่านาพิพาทอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 เมื่อโจทก์บอกเลิกการเช่านาพิพาทก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลาการเช่านา โดยจำเลยรับทราบและไม่ประสงค์จะเช่านาพิพาทเช่นกัน จึงเป็นการแสดงเจตนาของทั้งสองฝ่ายว่า ผู้ให้เช่านากับผู้เช่านาตกลงเลิกการเช่านาพิพาท ซึ่งกรณีนี้มาตรา 31 (3) ของพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 ให้ทำเป็นหนังสือต่อหน้านายอำเภอหรือผู้ที่นายอำเภอมอบหมาย การเช่านาจึงจะสิ้นสุดลงก่อนกำหนดระยะเวลาเช่านา ดังนั้น เมื่อหนังสือบอกเลิกการเช่านาพิพาทไม่ได้ทำต่อหน้านายอำเภอหรือผู้ที่นายอำเภอมอบหมายจึงไม่เป็นผลให้การเช่านาพิพาทสิ้นสุดลงก่อนกำหนดระยะเวลาเช่า การบอกเลิกสัญญาเช่าของโจทก์จึงไม่ชอบ
พระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 เป็นกฎหมายพิเศษ นอกเหนือกฎหมายธรรมดา จึงต้องบังคับตามกฎหมายพิเศษ
พระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 เป็นกฎหมายพิเศษ นอกเหนือกฎหมายธรรมดา จึงต้องบังคับตามกฎหมายพิเศษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2711/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์ (ข้าว) ความผิดทางอาญาและกฎหมายพิเศษ ผู้สนับสนุนความผิด
ผู้รับฝากข้าวมีหน้าที่จะต้องคืนทรัพย์ที่รับฝากแก่ผู้ฝากผู้รับฝากจะนำทรัพย์ออกใช้สอยหรือมอบให้ผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ฝากหาได้ไม่กรณีมิใช่เป็นการฝากเงินซึ่งผู้รับฝากไม่จำเป็นต้องส่งคืนเงินอันเดียวกันกับที่รับฝากไว้การฝากข้าวซึ่งเป็นสังหมะทรัพย์นั้นหากผู้รับฝากยักยอกเอาข้าวไปโดยทุจริตไม่สามารถส่งคืนข้าวที่รับฝากไว้ให้แก่ผู้ฝากได้ผู้รับฝากอาจต้องส่งคืนข้าวชนิดและประเภทเดียวกันให้แก่ผู้ฝากซึ่งเป็นการชำระหนี้ในทางแพ่งเท่านั้นหามีผลให้ผู้รับฝากพ้นความรับผิดฐานยักยอกในทางอาญาไม่. เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่1ยักยอกข้าวโดยมีจำเลยที่2เป็นผู้ให้ความช่วงเหลือแม้ศาลอุทธรณ์จะไม่ลงโทษจำเลยที่1ด้วยเพราะคดีสำหรับจำเลยที่1เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วศาลอุทธรณ์ก็ลงโทษจำเลยที่2ฐานเป็นผู้สนับสนุนได้ ความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญากับความผิดฐานยักย้ายข้าวจากสถานที่เก็บโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติการค้าข้าวพุทธศักราช2489เป็นความผิดที่มีองค์ประกอบต่างกันและเป็นอิสระจากกันการกระทำกรรมเดียวอาจเป็นความผิดทั้งสองฐานได้มิใช่เป็นกรณีที่ถ้าการกระทำเป็นความผิดฐานหนึ่งแล้วมิอาจเป็นความผิดอีกฐานหนึ่งได้เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าในการยักย้ายข้าวซึ่งเป็นความผิดฐานยักยอกนั้นจำเลยที่2มิได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าวพุทธศักราช2489จำเลยที่2ก็มีความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2398/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละประเด็นในชั้นชี้สองสถาน การวินิจฉัยตามกฎหมายพิเศษ (พ.ร.บ.ตลาดหลักทรัพย์) และการนำข้อเท็จจริงที่ยอมรับมาใช้ในการตัดสิน
เดิมศาลชั้นต้นได้ชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทในคดีไว้ แล้ว ต่อมาคู่ความทั้งสองฝ่ายแถลงว่า ขอสละประเด็นในชั้นชี้สองสถานทั้งหมด และติดใจขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายตามคำแถลงที่ศาลชั้นต้นจดไว้นั้นดังนี้หมายความว่า ประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดขึ้นในชั้นชี้สองสถาน คู่ความขอสละ หาได้หมายความรวมถึงข้อเท็จจริงข้อกฎหมายที่ปรากฏในคำฟ้อง คำให้การที่ไม่เป็นประเด็นแห่งคดีซึ่งโจทก์กล่าวอ้าง จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธถือว่าจำเลยยอมรับแล้วตามกฎหมายไม่ ศาลจึงย่อมนำมารับฟังและวินิจฉัยชี้ขาดคดีได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกสำนวน เมื่อหุ้นพิพาทที่โจทก์ซื้อตามคำสั่งของจำเลยเป็น หลักทรัพย์ตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2517ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติเพื่อกิจการนี้โดยเฉพาะจึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 ในการวินิจฉัยคดีศาลต้องนำกฎหมายมาปรับแก่คดีให้ตรงตามรูปคดีที่พิพาทกันไม่จำต้องพิพากษาไปตามคำแถลงของคู่ความหรือตามความประสงค์ของคู่ความ เมื่อฟังว่าเป็นเรื่องพิพาทกันตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอันเป็นกฎหมายพิเศษ ก็จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาวินิจฉัยคดีหาได้ไม่ แม้จะเป็นความประสงค์ของคู่ความหรือคู่ความแถลงขอก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1428-1429/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ: กระทรวงการคลังมีอำนาจฟ้องได้ แม้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เนื่องจากพระบรมราชโองการและกฎหมายพิเศษ
ที่ดินซึ่งรัฐบาลซื้อจากเอกชนเพื่อสร้างสถานที่ราชการ และได้มีพระบรมราชโองการ ให้ขึ้นทะเบียนเป็นกรรมสิทธิ์ของกระทรวงการคลังแต่ครั้งสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช ในทะเบียนที่ราชพัสดุมีหมายหตุไว้ในช่องใช้ราชการหรือจัดให้เช่าทำประโยชน์ว่าให้เช่าปลูกโรงชั่วคราว ที่ดินราชพัสดุซึ่งอยุ่ติดต่อกันได้ใช้ปลูกสร้างเป็นที่ทำการแขวงการทาง กรมธนารักษ์ในกระทรวงการคลังมอบให้สรรพากรจังหวัดเป็นผู้ดูแล แม้ที่ดินดังกล่าวจะยังมิได้ใช้ปลูกสร้างสถานที่ราชการ ก็เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 ซึ่งมิใช่ที่ดินรกร้างว่างเปล่า
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2512)
ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ. 2506 มาตรา 9 ซึ่งบัญญัติว่ากระทรวงการคลังมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับการเงินแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร หรือกิจการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน นอกจากสาธารณสมบัติของแผ่นดิน นั้น หาได้ยกเว้นมิให้กระทรวงการคลังมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับสาธารณสมบัติของแผ่นดินทุกชนิดไม่
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 บัญญัติว่า บรรดาที่ดินทั้งหลายอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน หรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้อธิบดีมีอำนาจดูแลรักษาดำเนินการคุ้มครองป้องกันได้ตามควรแก่กรณี อำนาจหน้าที่ดังว่านี้ รัฐมนตรีจะมอบหมายให้ทบวงการเมืองอื่นเป็นผู้ใช้ก็ได้ แต่โดยที่ได้มีพระบรมราชโองการให้กระทรวการคลังมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินราชพัสุรายพิพาท และขึ้นทะเบียนไว้แล้วก่อนใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พระบรมราชโองการในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย่อมถือเป็นกฎหมายให้อำนาจกระทรวงการคลังเป็นผู้รับผิดชอบดูแลรักษา และดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินราชพัสดุ อธิบดีกรมที่ดินจึงไม่มีอำนาจ และเมื่อมีประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 8 วรรคท้าย บัญญัติว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการมหาดไทยมีอำนาจที่จะจัดขึ้นทะเบียนเป็นทบวงการเมืองได้ กระทรวงการคลังก็คงใช้อำนาจครอบครองที่ราชพัสดุอยู่เช่นเดิม โดยมิได้มีการเปลี่ยนแปลง ย่อมถือได้ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้จัดให้ที่พิพาทขึ้นทะเบียนเป็นของกระทรวงการคลังแล้วโดยอนุโลม พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมเป็นกฎหมายทั่วไปที่กำหนดอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามกฎหมายของกระทรวงและทบวงการเมืองต่างๆ ย่อมไม่ลบล้างอำนาจของกระทรวงการคลังซึ่งได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคท้าย อันเป็นกฎหมายพิเศษ เพราะกฎหมายพิเศษย่อมยกเว้นกฎหมายทั่วไป กระทรวงการคลังจึงมีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับที่ราชพัสดุรายพิพาทได้ (อ้างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1159/2511)
สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น ผู้ใดจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินหาได้ไม่
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2512)
ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ. 2506 มาตรา 9 ซึ่งบัญญัติว่ากระทรวงการคลังมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับการเงินแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร หรือกิจการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน นอกจากสาธารณสมบัติของแผ่นดิน นั้น หาได้ยกเว้นมิให้กระทรวงการคลังมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับสาธารณสมบัติของแผ่นดินทุกชนิดไม่
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 บัญญัติว่า บรรดาที่ดินทั้งหลายอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน หรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้อธิบดีมีอำนาจดูแลรักษาดำเนินการคุ้มครองป้องกันได้ตามควรแก่กรณี อำนาจหน้าที่ดังว่านี้ รัฐมนตรีจะมอบหมายให้ทบวงการเมืองอื่นเป็นผู้ใช้ก็ได้ แต่โดยที่ได้มีพระบรมราชโองการให้กระทรวการคลังมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินราชพัสุรายพิพาท และขึ้นทะเบียนไว้แล้วก่อนใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พระบรมราชโองการในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย่อมถือเป็นกฎหมายให้อำนาจกระทรวงการคลังเป็นผู้รับผิดชอบดูแลรักษา และดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินราชพัสดุ อธิบดีกรมที่ดินจึงไม่มีอำนาจ และเมื่อมีประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 8 วรรคท้าย บัญญัติว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการมหาดไทยมีอำนาจที่จะจัดขึ้นทะเบียนเป็นทบวงการเมืองได้ กระทรวงการคลังก็คงใช้อำนาจครอบครองที่ราชพัสดุอยู่เช่นเดิม โดยมิได้มีการเปลี่ยนแปลง ย่อมถือได้ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้จัดให้ที่พิพาทขึ้นทะเบียนเป็นของกระทรวงการคลังแล้วโดยอนุโลม พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมเป็นกฎหมายทั่วไปที่กำหนดอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามกฎหมายของกระทรวงและทบวงการเมืองต่างๆ ย่อมไม่ลบล้างอำนาจของกระทรวงการคลังซึ่งได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคท้าย อันเป็นกฎหมายพิเศษ เพราะกฎหมายพิเศษย่อมยกเว้นกฎหมายทั่วไป กระทรวงการคลังจึงมีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับที่ราชพัสดุรายพิพาทได้ (อ้างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1159/2511)
สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น ผู้ใดจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1428-1429/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ: กระทรวงการคลังมีอำนาจฟ้องได้ แม้มีกฎหมายเฉพาะอื่น
ที่ดินซึ่งรัฐบาลซื้อจากเอกชนเพื่อสร้างสถานที่ราชการ และได้มีพระบรมราชโองการให้ขึ้นทะเบียนเป็นกรรมสิทธิ์ของกระทรวงการคลังแต่ครั้งสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช ในทะเบียนที่ราชพัสดุมีหมายเหตุไว้ในช่องใช้ราชการหรือจัดให้เช่าทำประโยชน์ว่าให้เช่าปลูกโรงชั่วคราว ที่ดินราชพัสดุซึ่งอยู่ติดต่อกันได้ใช้ปลูกสร้างเป็นที่ทำการแขวงการทางกรมธนารักษ์ในกระทรวงการคลังมอบให้สรรพากรจังหวัดเป็นผู้ดูแลแม้ที่ดินดังกล่าวจะยังมิได้ใช้ปลูกสร้างสถานที่ราชการ ก็เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 ซึ่งมิใช่ที่ดินรกร้างว่างเปล่า (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2512)
ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ.2506 มาตรา 9 ซึ่งบัญญัติว่า กระทรวงการคลังมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับการเงินแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร หรือกิจการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน นอกจากสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น หาได้ยกเว้นมิให้กระทรวงการคลังมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับสาธารณสมบัติของแผ่นดินทุกชนิดไม่
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 บัญญัติว่า บรรดาที่ดินทั้งหลายอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้อธิบดีมีอำนาจดูแลรักษาดำเนินการคุ้มครองป้องกันได้ตามควรแก่กรณี อำนาจหน้าที่ดังว่านี้รัฐมนตรีจะมอบหมายให้ทบวงการเมืองอื่นเป็นผู้ใช้ก็ได้แต่โดยที่ได้มีพระบรมราชโองการให้กระทรวงการคลังมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินราชพัสดุรายพิพาท และขึ้นทะเบียนไว้แล้วก่อนใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พระบรมราชโองการในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย่อมถือเป็นกฎหมายให้อำนาจกระทรวงการคลังเป็นผู้รับผิดชอบดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ราชพัสดุ อธิบดีกรมที่ดินจึงไม่มีอำนาจ และเมื่อมีประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 8 วรรคท้าย บัญญัติว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจที่จะจัดขึ้นทะเบียนเป็นของทบวงการเมืองได้กระทรวงการคลังก็คงใช้อำนาจครอบครองที่ราชพัสดุอยู่เช่นเดิม โดยมิได้มีการเปลี่ยนแปลง ย่อมถือได้ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้จัดให้ที่พิพาทขึ้นทะเบียนเป็นของกระทรวงการคลังแล้วโดยอนุโลม พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมเป็นกฎหมายทั่วไปที่กำหนดอำนาจและหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามกฎหมายของกระทรวงและทบวงการเมืองต่างๆ ย่อมไม่ลบล้างอำนาจของกระทรวงการคลังซึ่งได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคท้าย อันเป็นกฎหมายพิเศษ เพราะกฎหมายพิเศษย่อมยกเว้นกฎหมายทั่วไป กระทรวงการคลังจึงมีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับที่ราชพัสดุรายพิพาทได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1149/2511)
สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น ผู้ใดจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินหาได้ไม่
ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ.2506 มาตรา 9 ซึ่งบัญญัติว่า กระทรวงการคลังมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับการเงินแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร หรือกิจการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน นอกจากสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น หาได้ยกเว้นมิให้กระทรวงการคลังมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับสาธารณสมบัติของแผ่นดินทุกชนิดไม่
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 บัญญัติว่า บรรดาที่ดินทั้งหลายอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้อธิบดีมีอำนาจดูแลรักษาดำเนินการคุ้มครองป้องกันได้ตามควรแก่กรณี อำนาจหน้าที่ดังว่านี้รัฐมนตรีจะมอบหมายให้ทบวงการเมืองอื่นเป็นผู้ใช้ก็ได้แต่โดยที่ได้มีพระบรมราชโองการให้กระทรวงการคลังมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินราชพัสดุรายพิพาท และขึ้นทะเบียนไว้แล้วก่อนใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พระบรมราชโองการในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย่อมถือเป็นกฎหมายให้อำนาจกระทรวงการคลังเป็นผู้รับผิดชอบดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ราชพัสดุ อธิบดีกรมที่ดินจึงไม่มีอำนาจ และเมื่อมีประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 8 วรรคท้าย บัญญัติว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจที่จะจัดขึ้นทะเบียนเป็นของทบวงการเมืองได้กระทรวงการคลังก็คงใช้อำนาจครอบครองที่ราชพัสดุอยู่เช่นเดิม โดยมิได้มีการเปลี่ยนแปลง ย่อมถือได้ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้จัดให้ที่พิพาทขึ้นทะเบียนเป็นของกระทรวงการคลังแล้วโดยอนุโลม พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมเป็นกฎหมายทั่วไปที่กำหนดอำนาจและหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามกฎหมายของกระทรวงและทบวงการเมืองต่างๆ ย่อมไม่ลบล้างอำนาจของกระทรวงการคลังซึ่งได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคท้าย อันเป็นกฎหมายพิเศษ เพราะกฎหมายพิเศษย่อมยกเว้นกฎหมายทั่วไป กระทรวงการคลังจึงมีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับที่ราชพัสดุรายพิพาทได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1149/2511)
สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น ผู้ใดจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1428-1429/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ: กฎหมายพิเศษเหนือกว่ากฎหมายทั่วไป, สาธารณสมบัติของแผ่นดินห้ามยกอายุความ
ที่ดินซึ่งรัฐบาลซื้อจากเอกชนเพื่อสร้างสถานที่ราชการ.และได้มีพระบรมราชโองการให้ขึ้นทะเบียนเป็นกรรมสิทธิ์ของกระทรวงการคลังแต่ครั้งสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช. ในทะเบียนที่ราชพัสดุมีหมายเหตุไว้ในช่องใช้ราชการหรือจัดให้เช่าทำประโยชน์ว่าให้เช่าปลูกโรงชั่วคราว. ที่ดินราชพัสดุซึ่งอยู่ติดต่อกันได้ใช้ปลูกสร้างเป็นที่ทำการแขวงการทางกรมธนารักษ์ในกระทรวงการคลังมอบให้สรรพากรจังหวัดเป็นผู้ดูแล. แม้ที่ดินดังกล่าวจะยังมิได้ใช้ปลูกสร้างสถานที่ราชการ. ก็เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 ซึ่งมิใช่ที่ดินรกร้างว่างเปล่า. (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2512).
ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ.2506 มาตรา 9 ซึ่งบัญญัติว่า.กระทรวงการคลังมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับการเงินแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร หรือกิจการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน นอกจากสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น. หาได้ยกเว้นมิให้กระทรวงการคลังมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับสาธารณสมบัติของแผ่นดินทุกชนิดไม่.
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 บัญญัติว่า. บรรดาที่ดินทั้งหลายอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินนั้น. ถ้าไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น. ให้อธิบดีมีอำนาจดูแลรักษาดำเนินการคุ้มครองป้องกันได้ตามควรแก่กรณี. อำนาจหน้าที่ดังว่านี้รัฐมนตรีจะมอบหมายให้ทบวงการเมืองอื่นเป็นผู้ใช้ก็ได้.แต่โดยที่ได้มีพระบรมราชโองการให้กระทรวงการคลังมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินราชพัสดุรายพิพาท และขึ้นทะเบียนไว้แล้วก่อนใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน. พระบรมราชโองการในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย่อมถือเป็นกฎหมายให้อำนาจกระทรวงการคลังเป็นผู้รับผิดชอบดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ราชพัสดุ.อธิบดีกรมที่ดินจึงไม่มีอำนาจ. และเมื่อมีประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 8 วรรคท้าย บัญญัติว่า. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจที่จะจัดขึ้นทะเบียนเป็นของทบวงการเมืองได้.กระทรวงการคลังก็คงใช้อำนาจครอบครองที่ราชพัสดุอยู่เช่นเดิม โดยมิได้มีการเปลี่ยนแปลง. ย่อมถือได้ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้จัดให้ที่พิพาทขึ้นทะเบียนเป็นของกระทรวงการคลังแล้วโดยอนุโลม. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมเป็นกฎหมายทั่วไปที่กำหนดอำนาจและหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามกฎหมายของกระทรวงและทบวงการเมืองต่างๆ. ย่อมไม่ลบล้างอำนาจของกระทรวงการคลังซึ่งได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคท้าย อันเป็นกฎหมายพิเศษ. เพราะกฎหมายพิเศษย่อมยกเว้นกฎหมายทั่วไป. กระทรวงการคลังจึงมีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับที่ราชพัสดุรายพิพาทได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1149/2511).
สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น ผู้ใดจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินหาได้ไม่.
ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ.2506 มาตรา 9 ซึ่งบัญญัติว่า.กระทรวงการคลังมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับการเงินแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร หรือกิจการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน นอกจากสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น. หาได้ยกเว้นมิให้กระทรวงการคลังมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับสาธารณสมบัติของแผ่นดินทุกชนิดไม่.
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 บัญญัติว่า. บรรดาที่ดินทั้งหลายอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินนั้น. ถ้าไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น. ให้อธิบดีมีอำนาจดูแลรักษาดำเนินการคุ้มครองป้องกันได้ตามควรแก่กรณี. อำนาจหน้าที่ดังว่านี้รัฐมนตรีจะมอบหมายให้ทบวงการเมืองอื่นเป็นผู้ใช้ก็ได้.แต่โดยที่ได้มีพระบรมราชโองการให้กระทรวงการคลังมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินราชพัสดุรายพิพาท และขึ้นทะเบียนไว้แล้วก่อนใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน. พระบรมราชโองการในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย่อมถือเป็นกฎหมายให้อำนาจกระทรวงการคลังเป็นผู้รับผิดชอบดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ราชพัสดุ.อธิบดีกรมที่ดินจึงไม่มีอำนาจ. และเมื่อมีประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 8 วรรคท้าย บัญญัติว่า. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจที่จะจัดขึ้นทะเบียนเป็นของทบวงการเมืองได้.กระทรวงการคลังก็คงใช้อำนาจครอบครองที่ราชพัสดุอยู่เช่นเดิม โดยมิได้มีการเปลี่ยนแปลง. ย่อมถือได้ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้จัดให้ที่พิพาทขึ้นทะเบียนเป็นของกระทรวงการคลังแล้วโดยอนุโลม. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมเป็นกฎหมายทั่วไปที่กำหนดอำนาจและหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามกฎหมายของกระทรวงและทบวงการเมืองต่างๆ. ย่อมไม่ลบล้างอำนาจของกระทรวงการคลังซึ่งได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคท้าย อันเป็นกฎหมายพิเศษ. เพราะกฎหมายพิเศษย่อมยกเว้นกฎหมายทั่วไป. กระทรวงการคลังจึงมีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับที่ราชพัสดุรายพิพาทได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1149/2511).
สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น ผู้ใดจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าเคหะควบคุม จำเลยต้องยกประเด็นต่อสู้ชัดเจนในคำให้การจึงจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินเป็นกฎหมายพิเศษให้สิทธิแก่ผู้เช่าต่างหากจากกฎหมายที่ว่าด้วยลักษณะเช่าตามธรรมดา เมื่อจำเลยไม่ยกขึ้นเป็นประเด็นต่อสู้ไว้โดยชัดแจ้งในคำให้การว่า ห้องที่จำเลยเช่าเป็นเคหะควบคุมและอ้างสิทธิที่จำเลยจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินั้น จำเลยก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว แม้จะฟังว่าจำเลยไม่เคยค้างค่าเช่าก็ตาม(อ้างฎีกาที่ 1135/2505 และที่ 1470/2508)
การเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือ ผู้ให้เช่าย่อมฟ้องขอให้ศาลบังคับให้ผู้เช่าออกไปเมื่อใดก็ได้ ไม่จำเป็นที่ผู้ให้เช่าจะต้องทำการบอกกล่าวก่อนฟ้อง (อ้างฎีกาที่ 133/2507)
การเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือ ผู้ให้เช่าย่อมฟ้องขอให้ศาลบังคับให้ผู้เช่าออกไปเมื่อใดก็ได้ ไม่จำเป็นที่ผู้ให้เช่าจะต้องทำการบอกกล่าวก่อนฟ้อง (อ้างฎีกาที่ 133/2507)