พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมโดยไม่มีหมายจับและข้อยกเว้นตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา การต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน
การที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุมจำเลยโดยไม่มีหมายจับและกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 78(1) ถึง (4)และวรรคสุดท้ายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้น เป็นการจับกุมโดยไม่มีอำนาจ แม้จำเลยต่อสู้ขัดขวางการจับกุมก็ไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกความของพยานที่ไม่ยึดถือคำให้การที่ผู้เสียหายจัดทำ ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ฝ่ายผู้เสียหายพิมพ์คำให้การและแผนที่เกิดเหตุแจกจ่ายพยานโจทก์เพื่อให้พยานเบิกความตามนั้น แต่เมื่อพยานดังกล่าวมาเบิกความต่อศาล พยานต่างยืนยันว่าได้ให้การตามรู้ตามเห็นโดยสัตย์จริงทั้งนั้น พยานไม่ได้ยึดถือเอาข้อความที่เขาพิมพ์แจกมา ให้การต่อศาล ดังนี้ คำพยานเหล่านี้ถ้าเบิกความประกอบด้วยเหตุผลก็ย่อมฟังได้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วันกระทำผิดไม่ตรงตามฟ้อง ทำให้ศาลลงโทษจำเลยไม่ได้ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยสมคบกันทำร้ายร่างกายและทำให้โจทก์เสื่อมเสียอิสระภาพในวันเวลาเดียวกัน ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยคนเดียวฐานทำให้เสื่อมเสียอิสระภาพ และยกฟ้องปล่อยจำเลยอื่น โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยอื่นตามฟ้อง ส่วนจำเลยคนที่ถูกลงโทษก็อุทธรณ์ขอให้ปล่อย ศาลอุทธรณ์เห็นว่า วันที่หาว่ากระทำผิด ได้ความไม่ตรงกับฟ้อง จึงพิพากษาให้ยกฟ้องปล่อยจำเลยที่อุทธรณ์ไป โดยไม่พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าความผิดทั้ง 2 ฐานที่กล่าวหาว่ากระทำผิดก็เป็นวันเดียวกัน ถ้าตามทางพิจารณาในเรื่องวันกระทำผิด ได้ความแตกต่างกับฟ้องแล้วถึงอย่างไรศาลก็ย่อมลงโทษจำเลยไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 หากเป็นเช่นนั้น คดีของโจทก์ก็ไม่จำเป็นที่ศาลจะย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3914/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการกำหนดเงินรางวัลทนายความตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา การอุทธรณ์และฎีกาคำสั่งศาล
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จ่ายเงินรางวัลแก่ทนายความที่ศาลตั้งให้เป็นคำสั่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสาม ซึ่งกำหนดให้ศาลเป็นผู้จ่าย เงินรางวัลตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนด และระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายแก่ทนายความที่ศาลตั้งให้ผู้ต้องหาหรือจำเลย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 173 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 ข้อ 5 และข้อ 6 กำหนดให้ศาลชั้นต้นเป็นผู้กำหนดเงินรางวัลให้ทนายความเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้ว หรือเมื่อทนายความได้ปฏิบัติหน้าที่เสร็จแล้ว ในกรณีที่มีการดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาก็ยังกำหนดให้ศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งจ่ายเงินรางวัลเพิ่มเติมสำหรับการดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาให้ทนายความได้ตามที่เห็นสมควร ดังนี้ ตามระเบียบดังกล่าวกำหนดให้เฉพาะศาลชั้นต้นเป็นผู้มีหน้าที่กำหนดเงินรางวัลให้ทนายความ ทั้งในการปฏิบัติหน้าที่ในศาลชั้นต้น ศาลชั้นอุทธรณ์และศาลฎีกา ไม่ได้กำหนดให้ศาลชั้นอุทธรณ์หรือศาลฎีกามีหน้าที่ในการกำหนดเงินรางวัลให้ทนายความแต่อย่างใด เมื่อปรากฏว่า ศาลชั้นต้นได้กำหนดเงินรางวัลทนายความในคดีนี้ให้แก่ผู้ร้องตามอัตราที่ระเบียบกำหนดไว้แล้ว ผู้ร้องจึงไม่สิทธิอุทธรณ์คำสั่งว่าศาลชั้นต้นกำหนดเงินรางวัลให้ผู้ร้องน้อยเกินไปและไม่เหมาะสม กับขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 กำหนดเงินรางวัลให้ผู้ร้องใหม่เป็นเงิน 10,000 บาท การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ร้อง แม้จะพิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้น ก็เป็นการไม่ชอบ และไม่ก่อสิทธิแก่ผู้ร้องที่จะฎีกา ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4302/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดขอบเขตการฟ้อง โจทก์ฟ้องครอบครองเพื่อจำหน่าย ศาลอุทธรณ์ลงโทษสนับสนุนพยายามจำหน่าย เป็นการนอกเหนือฟ้อง ห้ามตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามฟ้อง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่ฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้ช่วยเหลือติดต่อในการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวและพิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางแล้วลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวนั้น ถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกฟ้องในความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย การที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษฐานร่วมกันมีแมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอีก จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มิได้บรรยายฟ้องไว้ว่า จำเลยร่วมกันจำหน่ายหรือพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางให้แก่บุคคลใด แสดงว่าโจทก์มิได้ประสงค์จะให้ศาลลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงแห่งคดียังไม่พอฟังว่าจำเลยมีส่วนเกี่ยวข้องครอบครองหรือมีอำนาจตัดสินใจสามารถจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางได้โดยตรง ก็ชอบที่จะพิพากษายกฟ้อง จะฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นผู้สนับสนุนการพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลาง เป็นข้อเท็จจริงที่แตกต่างไปจากที่โจทก์กล่าวในฟ้องและถือว่าโจทก์มิได้ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสี่ ประกอบมาตรา 225
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มิได้บรรยายฟ้องไว้ว่า จำเลยร่วมกันจำหน่ายหรือพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางให้แก่บุคคลใด แสดงว่าโจทก์มิได้ประสงค์จะให้ศาลลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงแห่งคดียังไม่พอฟังว่าจำเลยมีส่วนเกี่ยวข้องครอบครองหรือมีอำนาจตัดสินใจสามารถจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางได้โดยตรง ก็ชอบที่จะพิพากษายกฟ้อง จะฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นผู้สนับสนุนการพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลาง เป็นข้อเท็จจริงที่แตกต่างไปจากที่โจทก์กล่าวในฟ้องและถือว่าโจทก์มิได้ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสี่ ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาต้องวินิจฉัยประเด็นตามฟ้องครบถ้วนและมีเหตุผลรองรับ หากไม่ทำถือว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คำพิพากษาต้องมีข้อสำคัญเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ โดยวินิจฉัยตามประเด็นในคำฟ้องทุกข้อ กล่าวคือ ต้องวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ดำเนินการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรม ตรวจสอบบัญชีรายชื่อของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นของผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ตรวจนับคะแนน รายงานผลการนับคะแนน และประกาศผลนับคะแนนตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ จำเลยทั้งสองได้ลงลายมือชื่อรับรองรายงานผลการเลือกตั้งอันเป็นความเท็จ และเป็นการจงใจไม่ปฏิบัติตามหน้าที่หรือไม่ ที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในส่วนวินิจฉัยคดีเพียงว่า โจทก์ไม่มีพยานยืนยันว่าจำเลยทั้งสองร่วมกับพวกนำบัตรเลือกตั้งที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรรมการตรวจคะแนน 312 ใบ มาทำเครื่องหมายแล้วใส่ลงในหีบ แล้วพิพากษายกฟ้อง โดยที่มิได้วินิจฉัยประเด็นตามฟ้องให้ครบถ้วนดังกล่าวข้างต้น ทั้งมิได้วินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ และเหตุผลในการตัดสินทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมาย จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (5) และ (6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15624/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาเรื่องโทษโดยศาลชั้นต้นขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การจดรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนการบวกโทษเป็นไม่บวกโทษนั้น ถือเป็นการแก้ไขคำพิพากษา เพราะทำให้ผลของคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับโทษของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป มิใช่เป็นกรณีที่มีข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14093/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและองค์ประกอบความผิด ศาลมีอำนาจยกฟ้องได้แม้จำเลยรับสารภาพ
โจทก์บรรยายฟ้องนำข้อความในบทบัญญัติในมาตรา 38 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มากล่าวในฟ้องเท่านั้น ไม่ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดในการกระทำความผิดของจำเลยว่า จำเลยประกอบกิจการให้เช่า หรือแลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์อย่างไร ภาพยนตร์ที่ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายนั้นมีลักษณะหรืออยู่ในรูปแบบใด สถานที่ประกอบกิจการอยู่บริเวณใด พอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องของโจทก์ส่วนนี้จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
การที่โจทก์นำแต่เพียงข้อความอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์มาบรรยายในฟ้อง โดยไม่ได้บรรยายข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยในความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้า จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ไม่ชอบ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายภาพยนตร์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาฯ โดยศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้พิพากษาลงโทษหรือยกฟ้องในข้อหานี้ แม้คำพิพากษาตอนท้ายจะระบุว่า "คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก" และจะแปลความได้ว่าพิพากษายกฟ้องในข้อหาดังกล่าวแต่ศาลต้องระบุเหตุผลในการตัดสินยกฟ้องด้วยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 186 (6) (8) การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ไม่ได้พิพากษาในข้อหานี้เป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาทางอาญา ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ซึ่งเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์ไม่อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง, มาตรา 15 และ ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1)
ความผิดฐานให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายซึ่งภาพยนตร์ที่ยังไม่ผ่านการตรวจพิจารณาฯ ตามมาตรา 25 พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ย่อมหมายถึงการตรวจเนื้อหาของภาพยนตร์ที่บันทึกในวัสดุต่างๆ ก่อนจะอนุญาตให้นำออกฉาย ให้เช่าแลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายในราชอาณาจักร เพื่อไม่ให้มีการเผยแพร่ภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมออกสู่สาธารณะ โจทก์จึงต้องบรรยายข้อเท็จจริงในฟ้องให้ชัดเจนว่าจำเลยนำภาพยนตร์เรื่องใดบ้างที่ไม่ผ่านการตรวจออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่าย การที่โจทก์บรรยายฟ้องโดยระบุเพียงจำนวนแผ่นของภาพยนตร์ จึงเป็นฟ้องที่มิได้บรรยายถึงรายละเอียดที่เกี่ยวกับสิ่งของที่เกี่ยวข้องพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดี ย่อมเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
การที่โจทก์นำแต่เพียงข้อความอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์มาบรรยายในฟ้อง โดยไม่ได้บรรยายข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยในความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้า จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ไม่ชอบ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายภาพยนตร์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาฯ โดยศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้พิพากษาลงโทษหรือยกฟ้องในข้อหานี้ แม้คำพิพากษาตอนท้ายจะระบุว่า "คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก" และจะแปลความได้ว่าพิพากษายกฟ้องในข้อหาดังกล่าวแต่ศาลต้องระบุเหตุผลในการตัดสินยกฟ้องด้วยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 186 (6) (8) การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ไม่ได้พิพากษาในข้อหานี้เป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาทางอาญา ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ซึ่งเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์ไม่อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง, มาตรา 15 และ ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1)
ความผิดฐานให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายซึ่งภาพยนตร์ที่ยังไม่ผ่านการตรวจพิจารณาฯ ตามมาตรา 25 พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ย่อมหมายถึงการตรวจเนื้อหาของภาพยนตร์ที่บันทึกในวัสดุต่างๆ ก่อนจะอนุญาตให้นำออกฉาย ให้เช่าแลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายในราชอาณาจักร เพื่อไม่ให้มีการเผยแพร่ภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมออกสู่สาธารณะ โจทก์จึงต้องบรรยายข้อเท็จจริงในฟ้องให้ชัดเจนว่าจำเลยนำภาพยนตร์เรื่องใดบ้างที่ไม่ผ่านการตรวจออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่าย การที่โจทก์บรรยายฟ้องโดยระบุเพียงจำนวนแผ่นของภาพยนตร์ จึงเป็นฟ้องที่มิได้บรรยายถึงรายละเอียดที่เกี่ยวกับสิ่งของที่เกี่ยวข้องพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดี ย่อมเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังคำให้การในชั้นสอบสวนภายหลังการแก้ไขกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา: การใช้กฎหมายเดิมก่อนแก้ไข
ก่อนสอบคำให้การจำเลย พนักงานสอบสวนได้แจ้งสิทธิแก่จำเลยซึ่งเป็นผู้ต้องหาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 ประกอบด้วยมาตรา 7 ทวิ จึงชอบด้วยกฎหมายในขณะที่พนักงานสอบสวนทำการสอบคำให้การจำเลยแล้ว ส่วน ป.วิ.อ. มาตรา 134/4 ซึ่งบัญญัติว่า ในการถามคำให้การผู้ต้องหา ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบก่อนว่า (1) ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ ถ้าผู้ต้องหาให้การ ถ้อยคำที่ผู้ต้องหาให้การนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ (2) ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้เป็นบทบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 22)ฯ ซึ่งมีผลใช้บังคับภายหลังวันที่เจ้าพนักงานสอบสวนทำการสอบคำให้การจำเลย ดังนั้น ถ้อยคำของจำเลยที่ให้ไว้แก่พนักงานสอบสวนตามบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาจึงเป็นไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 ซึ่งเป็นบทบัญญัติของกฎหมายก่อนมีการแก้ไขให้ถ้อยคำของผู้ต้องหาใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในการพิจารณาได้ ประกอบกับ ป.วิ.อ. ที่แก้ไขใหม่ดังกล่าว ก็ไม่มีบทบัญญัติให้นำ มาตรา 134/4 มาใช้บังคับแก่คดีที่การสอบสวนเสร็จสิ้นไปก่อนวันที่กฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวมีผลใช้บังคับ จึงต้องใช้หลักทั่วไปว่ากฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์รับฟังคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนของจำเลยนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2589/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายจัดตั้งศาลแขวง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โดยวินิยฉัยข้อเท็จจริงว่า โจทก์สละสิทธิหรือไม่ยึดถือสิทธิใดๆ ในเช็คพิพาทอีกต่อไป จึงเป็นการยอมความในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยโดยพิเคราะห์ว่าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 เมื่อโจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับที่โจทก์อุทธรณ์อีก จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ แม้โจทก์จะยื่นฎีกาโดยมีผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่การอนุญาตให้ฎีกาดังกล่าวไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 221 ซึ่งผู้พิพากษาดังกล่าวจะอนุญาตให้ฎีกาได้เฉพาะในคดีซึ่งห้ามฎีกาไว้โดยมาตรา 218, 219 และ 220 เท่านั้น มิได้ให้ผู้พิพากษานั้นอนุญาตให้ฎีกาในกรณีดังกล่าวได้ โจทก์ย่อมไม่อาจฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้นได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4