พบผลลัพธ์ทั้งหมด 52 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2597/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีส่วนร่วมในการพิจารณาคดีขององค์คณะศาลที่ขัดแย้งตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การที่บ. ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมาแล้วมาเป็นองค์คณะลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อีกเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา11(5)ศาลฎีกาเห็นว่ามีเหตุอันสมควรให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียแล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อให้พิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา247ประกอบด้วยมาตรา243(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2525/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาประนีประนอมยอมความโดยพยานบุคคลขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความปรากฏแต่เพียงว่า จำเลยลงชื่อในฐานะพยาน การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่า จำเลยลงชื่อในฐานะเป็นคู่สัญญาซึ่งต้องรับผิดตามสัญญาเท่ากับเป็นการนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1514/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ด้วยพยานบุคคลขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การนำสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาซื้อขายซึ่งต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข)เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามมาตรา142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7409/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกข้ออ้างเรื่องที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินในชั้นฎีกาที่ไม่ชอบตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์เพิ่งยกปัญหาข้อนี้ขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6564/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเพิ่มเติมและการใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่บังคับใช้ย้อนหลัง ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อพิพากษาใหม่
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.1 ของโจทก์ต้องห้ามรับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87,90เดิมเนื่องจากโจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาให้จำเลยก่อนวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อน โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่จำต้องส่งสำเนาให้จำเลยก่อนวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานนัดแรกไม่ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กลับวินิจฉัยว่าโจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติม อ้างว่าหลงลืมพลั้งเผลอโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ไม่สามารถทราบได้ว่าต้องนำหนังสือเช่ามาสืบและโจทก์ไม่ทราบว่าหนังสือเช่านั้นมีอยู่ กรณีไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติม คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2ในส่วนนี้ เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแห่งคำอุทธรณ์ และเป็นการนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสี่ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2535 มาตรา 3 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มิได้ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม เป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2535 มาตรา 2 จึงเป็นการนำกฎหมายที่บังคับใช้ภายหลังมาใช้บังคับย้อนหลังต่อกระบวนพิจารณาที่ล่วงเลยมาแล้วย่อมเป็นการไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยต่อไปว่า แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตและโจทก์อ้างเอกสารที่ระบุพยานเพิ่มเติมเป็นพยานแล้ว ก็ย่อมต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87,90 นั้นก็หาได้แสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยว่าไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 เดิม อย่างไร ไม่ได้อ้างบทบัญญัติของกฎหมาย และแปลความหมายของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 เดิม ไว้ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141(4) ประกอบด้วยมาตรา 246 ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ส่งสำนวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 2เพื่อให้พิพากษาใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(1) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอน นส.3 ต้องฟ้องบุคคลภายนอกที่มีสิทธิเกี่ยวข้องด้วย มิฉะนั้นถือเป็นการฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์เป็นผู้แจ้งการครอบครองที่ดินพิพาท ต่อมาจำเลยได้ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้วจดทะเบียนโอนขายให้ ต.ในวันเดียวกัน ต. จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทแก่ธนาคาร ก.ดังนั้น ผู้โต้แย้งสิทธิและผู้ทำนิติกรรมเกี่ยวกับการเพิกถอนการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินพิพาทนอกจากจำเลยแล้วยังมีเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอ ต. และธนาคาร ก.ด้วย การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเพียงคนเดียวซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทแล้วโดยมิได้ฟ้องหรือเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาเป็นคู่ความด้วยแต่โจทก์กลับขอให้ศาลเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์และนิติกรรมดังกล่าวเป็นการขอให้ศาลพิพากษากระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความในคดี ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 โจทก์มิอาจฟ้องบังคับได้ ชอบที่ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้สถานที่ทำการเดิมถูกรื้อถอน และการจงใจขาดนัดพิจารณาคดี
ภูมิลำเนาของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71(เดิม) ได้แก่ถิ่นที่สำนักงานแห่งใหญ่หรือที่ตั้งทำการหรือถิ่นที่ได้เลือกเอาเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการตามข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้ง คือ บ้านเลขที่3642-3646 ส่วนจำเลยที่ 2 ที่อ้างว่าอยู่บ้านเลขที่ 1723 ตามสำเนาทะเบียนบ้านนั้น แม้บ้านดังกล่าวถือได้ว่าเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนหรือแสดงความประสงค์แทนจำเลยที่ 1 ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 75(เดิม) ถือได้ว่า จำเลยที่ 2 มีหลักแหล่งที่ทำการเป็นปกติณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 อีกแห่งจึงเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2ด้วย เมื่อโจทก์ขอให้ส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกแก่จำเลยทั้งสองที่สำนักงานแห่งใหญ่ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการส่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74(2) แต่เมื่อส่งไม่ได้เนื่องจากสถานที่สำนักงานดังกล่าวถูกรื้อไปแล้วและไม่ปรากฏมีการแจ้งย้ายไปอยู่สำนักงานแห่งใหญ่ที่ใหม่ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2ได้แจ้งให้โจทก์ทราบถึงภูมิลำเนาอีกแห่งหนึ่งของจำเลยที่ 2 จึงเป็นกรณีที่ไม่สามารถส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยได้โดยวิธีธรรมดา ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79วรรคหนึ่ง ก็ได้บัญญัติทางแก้โดยให้ลงโฆษณาหรือทำวิธีอื่นใดตามที่ศาลเห็นสมควร การที่โจทก์ขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทั้งสองโดยประกาศทางหนังสือพิมพ์ จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3370/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย: กำหนดเวลาและข้อยกเว้นการใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เมื่อพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 146 บัญญัติให้สิทธิแก่บุคคลล้มละลายเจ้าหนี้ หรือบุคคลผู้ได้รับความเสียหายโดยการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง เกี่ยวกับเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนกฎหมายมาใช้บังคับโดยอนุโลม ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 ได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์ของผู้ร้องในคดีล้มละลายนั้น เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาด กรณีจึงอยู่ภายในกำหนดเวลา14 วัน ที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 146
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3844/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องเปลี่ยนแปลงตัวจำเลยจากนิติบุคคลเป็นบุคคลธรรมดา มิชอบตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องบริษัทร.จำกัด เป็นจำเลยที่ 3 ในคดีนี้มาตั้งแต่แรกโดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 3 เป็นนิติบุคคล แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้องบุคคลธรรมดาเป็นจำเลยที่ 3 การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเปลี่ยนชื่อบริษัทร.จำกัด จำเลยที่ 3 เป็นบริษัทร.จำกัดหรือนายว.จำเลยที่3โดยอ้างว่าคำว่าบริษัทร.จำกัด เป็นชื่อในทางการค้าหรือนามแฝงหรือฉายาของนายว. แล้วต่อมายื่นคำร้องอีกฉบับขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอแก้ชื่อจำเลยที่ 3 จากบริษัทร.จำกัดหรือนายว.เป็นนายว.นั้น เท่ากับเป็นการขอแก้ไขคำฟ้องจากเดิมซึ่งฟ้องนิติบุคคลเป็นจำเลยที่ 3 เท่านั้นมาเป็นฟ้องบุคคลธรรมดาเพิ่มเป็นจำเลยที่ 3 ด้วยแล้วขอแก้ไขคำฟ้องอีกครั้งหนึ่งโดยขอเปลี่ยนตัวจำเลยที่ 3 จากนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมิใช่เป็นเรื่องที่จะขอแก้ไขคำฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179โจทก์จึงขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนั้นไม่ได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องตามคำร้องของโจทก์ทั้งสองฉบับ จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ บรรดากระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นทั้งหมดในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับนาย ว. หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเช่นนั้นแล้ว รวมทั้งคำสั่งของศาลชั้นต้นในเวลาต่อมา ซึ่งสั่งให้จำหน่ายบริษัท ร. จำกัด ออกจากสำนวนความ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย ชอบที่ศาลจะเพิกถอนเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 บริษัทร.จำกัดจึงยังคงมีฐานะเป็นจำเลยที่ 3 ในคดีนี้อยู่ และแม้บริษัทร.จำกัดมิได้ฎีกาขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาอื่นนอกจากคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์กับคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายบริษัทร.จำกัด ออกจากสำนวนความแต่เมื่อกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการพิจารณาคดีศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246,247 ซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรเพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นทั้งหมดในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับนายว. หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 962/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความและการลงลายมือชื่อในคำร้อง: การแต่งตั้งทนายความที่ถูกต้องตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องทั้งสองมี ฉ. ลงชื่อเป็นผู้ร้องและผู้เรียงพิมพ์แต่ในใบแต่งทนายความของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 ทั้งสองฉบับที่ระบุแต่งตั้งให้ น. เป็นทนายความของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2กับมี ฉ. ทนายความผู้มีใบอนุญาต ลงลายมือชื่อในคำรับเป็นทนายความไม่ใช่ น. เมื่อผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 มิได้มีเจตนาแต่งตั้งให้ ฉ.เป็นทนายความก็ต้องถือว่าฉ. ลงลายมือชื่อในคำรับเป็นทนายความโดยไม่มีสิทธิ ฉ. จึงมิใช่ทนายความของผู้ร้องทั้งสองและไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในคำร้องขัดทรัพย์แทนผู้ร้องทั้งสองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62 อย่างไรก็ตามคำร้องขัดทรัพย์เป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 1(3) ต้องลงลายมือชื่อของผู้ร้องทั้งสองตาม มาตรา 67(5)หรือลายมือชื่อของทนายความที่ผู้ร้องทั้งสองแต่งตั้งตาม มาตรา 62เมื่อคำร้องขัดทรัพย์มี ฉ. ลงลายมือชื่อโดยผู้ร้องทั้งสองมิได้แต่งตั้งให้เป็นทนายความ มิใช่เป็นกรณีที่คำร้องไม่มีลายมือชื่อของผู้ร้องตาม มาตรา 67(5) อันจะสั่งให้แก้ไขได้ตามมาตรา 18วรรคหนึ่ง ศาลจึงมีคำสั่งไม่รับคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องทั้งสองโดยไม่ต้องส่งคืนคำร้องนั้นไปให้แก้ไขมาก่อน.