คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กฎหมายอิสลาม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้กฎหมายมรดก: กฎหมายอิสลาม vs. ประมวลกฎหมายแพ่งฯ กรณีการยกทรัพย์สิน
คดีมรดกของผู้ถือศาสนาอิสลามอันเกิดขึ้นในศาล ของจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูลนั้น ต้องใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวมรดกบังคับแทนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ในการที่จะพิจารณาวินิจฉัยว่าทรัพย์อะไรเป็นมรดกหรือไม่นั้น จะต้องใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บังคับเสียก่อน
ผู้ตายทำหนังสือ(นาซา)ยกที่ดินให้จำเลยตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ แม้ตามกฎหมายอิสลามมีว่าการให้ด้วยหนังสือนาซานี้ใช้ได้ ที่ดินไม่เป็นมรดกต่อไปตามกฎหมายอิสลามไม่แบ่งมรดกก็ตาม แต่ปรากฏว่าการยกให้ไม่ถูกแบบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพราะไม่ได้จดทะเบียน ที่ดินจึงยังเป็นของผู้ตายอยู่ในเวลาตายจึงต้องถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าที่ดินนี้ยังเป็นมรดกของผู้ตายอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 633/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกตามกฎหมายอิสลาม: การแบ่งมรดกเสร็จสิ้นแล้วเป็นเหตุให้ไม่ต้องวินิจฉัยความชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์จำเลยเป็นคนนับถือศาสนาอิสลาม ได้ฟ้องขอแบ่งมรดกตามกฎหมายอิสลาม เมื่อทางพิจารณาปรากฏว่าได้มีการแบ่งมรดกกัน และโจทก์ได้รับส่วนแบ่งไปเสร็จแล้วคดีไม่จำต้องวินิจฉัยว่า การแบ่งมรดกนั้นชอบด้วยกฎหมายอิสลามหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 232/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกตามกฎหมายอิสลาม: การพิจารณาคดีโดยผู้พิพากษาและดะโต๊ะยุติธรรม
คดีมรดกอันจะต้องบังคับตามกฎหมายอิสลามในเขต 4 จังหวัดนั้นจะต้องมีดะโต๊ะยุติธรรม 1 นายนั่งพิจารณาพร้อมด้วยผู้พิพากษา โดยผู้พิพากษาวินิจฉัยข้อเท็จจริงได้ความอย่างไรแล้ว ให้ดะโต๊ะยุติธรรมวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามและลงลายมือชื่อในคำพิพากษาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในสินสมรสภายใต้กฎหมายอิสลาม: การแบ่งมรดกเมื่อไม่มีบทบัญญัติเรื่องสินสมรส
โจทฟ้องว่าสาลดีกาพิพากสาไห้แบ่งมรดกตามกดหมายอิสลาม เมื่อกดหมายอิสลามไม่มีบัญญัติเรื่องสมรส โจทไม่มีสิทธิได้แบ่งสมรส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2487

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกตามกฎหมายอิสลามกับสิทธิในสินสมรส
โจทก์ฟ้องว่าศาลฎีกาพิพากษาให้แบ่งมรดกตามกฎหมายอิสลามเมื่อกฎหมายอิสลามไม่มีบัญญัติเรื่องสมรส โจทก์ไม่มีสิทธิได้แบ่งสินสมรส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1355/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ศาลบังคับใช้กฎหมายอิสลามในคดีมรดกอิสลาม คู่ความไม่ต้องนำสืบ
คดีเกี่ยวกับมฤดกของคนถือสาสนาอิสลาม ต้องใช้กฎหมายอิสลามบังคับ พะยาน หน้าที่นำสืบ ข้อความที่ศาลรู้เอง คดีที่ต้องใช้กฎหมายอิสลามบังคับนั้น เป็นหน้าที่ของศาลเป็นผู้ใช้กฎหมายบังคับแก่คู่ความ หาใช่เป็นหน้าที่ของคู่ความจะต้องนำสืบไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4230/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่าโดยใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดชายแดนใต้ และผลทางทะเบียน
โจทก์และจำเลยเป็นอิสลามศาสนิก มีภูมิลำเนาในจังหวัดนราธิวาส สมรสกันถูกต้องตามหลักกฎหมายอิสลามและจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์มาฟ้องหย่าจำเลยโดยบรรยายเหตุแห่งการหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สภาพแห่งข้อหาจึงเป็นเรื่องครอบครัว ย่อมตกอยู่ภายใต้บังคับแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489 มาตรา 3 ที่ให้ใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับแทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงต้องใช้เหตุฟ้องหย่าตามหลักกฎหมายอิสลามมาบังคับใช้แทน ป.พ.พ. มาตรา 1516 เมื่อโจทก์ได้ถูกตัดสินให้หย่าขาดจากการเป็นภริยาจำเลยโดยคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส โดยระบุไว้ในหนังสือการหย่าร้างว่า คำตัดสินนี้เป็นคำชี้ขาดตามหลักศาสนาและกฎระเบียบทุกประการ จึงเป็นการหย่ากันโดยชอบตามหลักกฎหมายอิสลาม มีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้เช่นเดียวกับการหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และสามารถนำไปใช้เพื่อจดทะเบียนหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้เลย โดยโจทก์ไม่จำต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาล ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 851/2551 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้กฎหมายอิสลามในคดีมรดก: การพิจารณาศาสนาของผู้คัดค้าน
แม้คดีจะเกิดขึ้นในเขตจังหวัดสตูลและผู้ร้องซึ่งเป็นอิสลามศาสนิกเริ่มต้นคดีอย่างไม่มีข้อพิพาท โดยยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของ ท. ผู้ตายซึ่งเป็นอิสลามศาสนิกก็ตาม แต่เมื่อมีการคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 ก็มีผลให้คดีกลายเป็นคดีมีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 (4) โดยผู้ร้องและผู้คัดค้านมีฐานะเป็นคู่ความ เมื่อปรากฏว่าผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งมีฐานะเสมือนจำเลยมิใช่อิสลามศาสนิก จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 3 ของ พ.ร.บ. ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูลฯ ถือไม่ได้ว่าเป็นคดีแพ่งเกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัวและมรดกของอิสลามศาสนิกในเขตจังหวัดสตูล ต้องใช้บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 6 บังคับแก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 851/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้กฎหมายอิสลามในคดีมรดกเมื่อคู่ความฝ่ายหนึ่งมิใช่อิสลามศาสนิก
คดีเกิดขึ้นในเขตจังหวัดสตูลและผู้ร้องซึ่งเป็นอิสลามศาสนิกเริ่มต้นคดีอย่างไม่มีข้อพิพาทโดยยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของผู้ตายซึ่งเป็นอิสลามศาสนิก การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำคัดค้านมีผลให้คดีกลายเป็นคดีมีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 (4) โดยผู้ร้องและผู้คัดค้านมีฐานะเป็นคู่ความ เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งมีฐานะเสมือนจำเลยมิไช่อิสลามศาสนิก จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 3 ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489 ถือไม่ได้ว่าเป็นคดีแพ่งเกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัวและมรดกของอิสลามศาสนิกในเขตจังหวัดสตูล จึงต้องใช้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 บังคับแก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 851/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้กฎหมายอิสลามในคดีมรดก: ผู้คัดค้านมิใช่อิสลามศาสนิก จึงใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
แม้คดีจะเกิดขึ้นในเขตจังหวัดสตูลและผู้ร้องเป็นอิสลามศาสนิกเริ่มต้นคดีอย่างไม่มีข้อพิพาท โดยยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของนายทวี ผู้ตาย ซึ่งเป็นอิสลามศาสนิกก็ตาม แต่เมื่อมีการคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 ก็มีผลทำให้คดีกลายเป็นคดีมีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 (4) โดยผู้ร้องและผู้คัดค้านมีฐานะเป็นคู่ความ เมื่อปรากฏว่าผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งมีฐานะเสมือนจำเลยนับถือศาสนาพุทธ จึงมิใช่อิสลามศาสนิก จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 3 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลาและสตูล พ.ศ.2489 ถือไม่ได้ว่าเป็นคดีแพ่งเกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัวและมรดกของอิสลามศาสนิกในเขตจังหวัดสตูล ต้องใช้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 บังคับแก่คดี
of 4